Show simple item record

The Development of Integrated Medication-Adherence Community Model for Non-Communicable Chronic Disease Patients

dc.contributor.authorชื่นจิตร กองแก้วth_TH
dc.contributor.authorChuenjid Kongkaewth_TH
dc.contributor.authorอุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์th_TH
dc.contributor.authorUraiwan Chaichanawiroteth_TH
dc.contributor.authorปิ่นหทัย ศุภเมธาพรth_TH
dc.contributor.authorPinhatai Supametapornth_TH
dc.date.accessioned2023-10-31T03:47:59Z
dc.date.available2023-10-31T03:47:59Z
dc.date.issued2566-06
dc.identifier.otherhs3035
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5961
dc.description.abstractที่มาและความสำคัญ : โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นกลุ่มโรคที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาอย่างต่อเนื่อง ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้การรักษาบรรลุเป้าหมาย วัตถุประสงค์ : (1) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้จากผลการวิจัยต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำของชุดโครงการความร่วมมือด้านการใช้ยาแบบบูรณาการสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (2) เพื่อพัฒนารูปแบบของต้นแบบส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ยาแบบบูรณาการสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มารับการรักษาที่คลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลชุมชน และ (3) เพื่อทดสอบต้นแบบการส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ยาแบบบูรณาการสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มารับการรักษาที่คลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลชุมชน ระเบียบวิธีวิจัย : เป็นการวิจัยผสมผสาน ประกอบด้วย (1) การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้จากผลการวิจัยต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำของชุดโครงการความร่วมมือด้านการใช้ยา (2) การวิเคราะห์ข้อมูลการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคลากร ผู้ป่วยและผู้ดูแล เพื่อพัฒนาต้นแบบที่ร่างขึ้นและการศึกษาแบบทดลองแบบสุ่ม ชนิดมีการไขว้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ไม่มีความร่วมมือในการรักษาด้วยยาที่เข้ารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลวังทอง ที่คำนวณได้เท่ากับ จำนวน 72 คน การเก็บข้อมูล ส่วนที่ 1 ทดสอบการเปลี่ยนแปลงเชิงปริมาณของอัตราชุกของความร่วมมือในการใช้ยาก่อนและหลังการได้รับระบบบริการใหม่ในผู้ป่วย จำนวน 36 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับระบบบริการปกติเป็นระยะเวลา 1 เดือน จากนั้นได้รับระบบบริการใหม่เป็นระยะเวลา 1 เดือน และส่วนที่ 2 ทดสอบความต่อเนื่องของความร่วมมือด้วยการรักษาด้วยยาหลังจากได้รับระบบบริการใหม่ ในผู้ป่วยอีกกลุ่ม จำนวน 37 คน โดยจัดให้ได้รับระบบบริการใหม่ก่อนเป็นระยะเวลา 1 เดือน จากนั้นเข้าสู่ระบบปกติเป็นระยะเวลา 1 เดือน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความร่วมมือในการใช้ยาด้วยตนเอง สำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และการสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบข้อมูล 2 กลุ่ม ที่มีความสัมพันธ์กันโดยใช้สถิติ McNemar Test และ Wilcoxon Signed Ranks Test และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างข้อมูล 2 กลุ่ม ที่เป็นอิสระกัน โดยใช้สถิติ Mann Whitney U Test โดยใช้โปรแกรมสถิติ SPSS เวอร์ชัน 21 ผลการศึกษา : ผู้เชี่ยวชาญมีฉันทามติเกี่ยวกับนิยาม ความหมายของความร่วมมือในการรักษาด้วยยาที่สอดคล้องกับ 6 ขั้นตอน การจัดการการใช้ยาด้วยตนเองตามแนวคิดของ Bailey et al. (2013) และครอบคลุมกิจกรรมตามเส้นทางการรับบริการของผู้ป่วยในสถานพยาบาล ผลการทดสอบต้นแบบส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ยาแบบบูรณาการสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มารับการรักษาที่คลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลชุมชน (ระบบใหม่) พบว่า สัดส่วนของผู้ป่วยที่มีความร่วมมือในการรักษาด้วยยาเพิ่มขึ้นหลังได้รับระบบบริการใหม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และเมื่อพิจารณาตามขั้นตอนความร่วมมือในการรักษาด้วยยาจะพบว่า ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในขั้นตอนการบริหารจัดการยา (p = 0.046) และขั้นตอนการใช้ยา (p < 0.001) เมื่อเปรียบเทียบผลของระบบในแต่ละช่วงเดือน ช่วงเดือนที่ 1 ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของกลุ่มที่ได้รับระบบใหม่กับกลุ่มที่ได้รับระบบปกติ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) โดยกลุ่มที่ได้รับระบบใหม่มีความร่วมมือในการรักษาด้วยยาดีกว่ากลุ่มที่ได้รับระบบปกติ ช่วงเดือนที่ 2 ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของกลุ่มที่สลับมารับระบบใหม่กับกลุ่มที่สลับมารับระบบปกติ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.002) กลุ่มที่สลับมารับระบบใหม่ในเดือนที่ 2 มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนผู้ป่วย โดยมีจำนวนผู้ป่วยที่มีความร่วมมือในการรักษาด้วยยาเพิ่มขึ้นกว่าช่วงที่ได้รับระบบปกติในเดือนที่ 1 ส่วนกลุ่มที่สลับมารับระบบเดิมในเดือนที่ 2 มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนผู้ป่วย โดยจำนวนผู้ป่วยที่มีความร่วมมือในการรักษาด้วยยาลดลงกว่าช่วงที่ได้รับระบบปกติในเดือนที่ 1 สรุปผลการศึกษา : เมื่อเปรียบเทียบกับระบบบริการปกติ ระบบบริการใหม่ช่วยเพิ่มความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผลของการให้บริการในระบบใหม่มีความต่อเนื่องของความร่วมมือในการใช้ยาอย่างน้อย 1 เดือน ในอนาคตควรทดสอบการนำระบบบริการใหม่ในโรงพยาบาลอื่น เพื่อยืนยันประสิทธิภาพของต้นแบบและการนำต้นแบบไปใช้อย่างกว้างขวางth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectยาth_TH
dc.subjectDrugsth_TH
dc.subjectการใช้ยาth_TH
dc.subjectDrug Utilizationth_TH
dc.subjectยา--การใช้รักษาth_TH
dc.subjectการรักษาด้วยยาth_TH
dc.subjectการใช้ยาอย่างสมเหตุผลth_TH
dc.subjectRational Drug Useth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectโรคไม่ติดต่อth_TH
dc.subjectNon-Communicable Diseasesth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านความร่วมมือในการใช้ยาแบบบูรณาการสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังth_TH
dc.title.alternativeThe Development of Integrated Medication-Adherence Community Model for Non-Communicable Chronic Disease Patientsth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.publicationภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง เครือข่ายวิจัยความร่วมมือในการรักษาด้วยยาเพื่อประเทศไทยใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Medication Adherence Research Network for Rational Drug Use in Thailand)th_TH
dc.description.abstractalternativeBackground Non communicable diseases (NCDs) require continued use of medications for life. Medication adherence is an important factor for successful achievement of therapeutic goal. Objectives (1) To synthesize knowledge from projects in the upstream, midstream, and downstream phases of the Medication Adherence Research Network for Rational Drug Use in Thailand. (2) To develop an integrated medication adherence community model for patients (3) To examine the efficacy of a new integrated medication adherence model for improving medication adherence in patients with non communicable chronic disease. Methods: This study is a mixed method research consisting of: (1) a qualitative method to synthesize knowledge from upstream, midstream, and downstream research results of a series of medication adherence projects; (2) data analysis of knowledge shared in exchange meetings with providers, patients, and caregivers to develop the drafted prototype; and (3) the application of a cross-over randomized clinical trial. Study sample size was calculated to include 72 patients who did not adhere to medication use and attended the clinics of non communicable diseases at Wangthong hospital. Group 1 examined the prevalence rate of patients with medication adherence before and after receiving the new service system model in a group of 36 patients. This group of patients attended a current service model for 1 month, then were assigned to a new service model for another 1 month, and Group 2 examined duration of continued effect from the new service model in another group of 37 patients. This group of patients were assigned the new service system model for 1 month, then attended the current service model for another 1 month The Medication Adherence Questionnaire 20 items (MAQ-20) was a tool for evaluating medication adherence and data was collected through patient interviews. The data was analyzed using McNemar Test and Wilcoxon Signed Ranks Test to compare the two related groups and Mann Whitney U Test to compare the differences between the two independent groups, via SPSS version 21. Results Experts reached a consensus on the definition and meanings of medication adherence consistent with the 6 steps of medication self-management according to Bailey et al. (2013). This covers activities along the patient service path in the hospital. Proportion of patients who adhere to medication use was significantly higher after receiving a new service model in overall process of medication use p < 0 0001) and especially in the step of organizing medication p 0 046)), the step of taking medication p < 0 0001). The effect of the new service model continued for at least 1 month after returning to the current service model judging from the proportion of patients with medication adherence remained the same during and after receiving the new service model. p value = 0 063)). Comparison of the effect of these 2 systems for each time period was also performed. During the first month, a statistically significant difference in medication adherence between the new system and the routine system was observed. (p-value < 0.001). The proportion of patients with medication adherence in the new system was higher than that in the routine system. During the second month, a statistically significant difference in medication adherence between the group that switched to the new system and the group that switched to the routine system was also observed. (p-value < 0.002). The proportion of patients with medication adherence in the group that switched to the new system in 2nd month increased compared to that in this group when receiving the routine system in 1st month. In contrast, the proportion of patients with medication adherence in the group that switched to the routine system in 2nd month decreased compared to that in the group when receiving the new system in 1st month. Conclusions The new service model helped to improve medication adherence in patients with non communicable diseases and the new service model had continued effect on medication adherence for at least 1 month. In the future, implementation of this new service model should be tested in other hospital settings.th_TH
dc.identifier.callnoQV55 ช592ก 2566
dc.identifier.contactno63-119
dc.subject.keywordNCDsth_TH
dc.subject.keywordโรคไม่ติดต่อเรื้อรังth_TH
dc.subject.keywordRDUth_TH
.custom.citationชื่นจิตร กองแก้ว, Chuenjid Kongkaew, อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์, Uraiwan Chaichanawirote, ปิ่นหทัย ศุภเมธาพร and Pinhatai Supametaporn. "การพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านความร่วมมือในการใช้ยาแบบบูรณาการสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5961">http://hdl.handle.net/11228/5961</a>.
.custom.total_download69
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month3
.custom.downloaded_this_year43
.custom.downloaded_fiscal_year6

Fulltext
Icon
Name: hs3035.pdf
Size: 1.210Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record