แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์และความเป็นไปได้ของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA โดยชุดเก็บตัวอย่างด้วยตัวเองในประเทศไทย

dc.contributor.authorพจมาน พิศาลประภาth_TH
dc.contributor.authorPochamana Phisalprapath_TH
dc.contributor.authorสุรศักดิ์ เสาแก้วth_TH
dc.contributor.authorSurasak Saokaewth_TH
dc.contributor.authorภัทรวลัย ตลึงจิตรth_TH
dc.contributor.authorPattarawalai Talungchitth_TH
dc.contributor.authorธเนศ ชัยสถาผลth_TH
dc.contributor.authorThanet Chaisathapholth_TH
dc.contributor.authorกิรติ เก่งกล้าth_TH
dc.contributor.authorKirati Kengklath_TH
dc.contributor.authorสุกฤษฏิ์ กาญจนสุระกิจth_TH
dc.contributor.authorSukrit Kanchanasurakitth_TH
dc.contributor.authorชญานิศ โฆสิตะมงคลth_TH
dc.contributor.authorChayanis Kositamongkolth_TH
dc.contributor.authorเอื้อรัตน์ มีประมูลth_TH
dc.contributor.authorEuarat Mepramoonth_TH
dc.date.accessioned2023-10-31T08:20:02Z
dc.date.available2023-10-31T08:20:02Z
dc.date.issued2566-09
dc.identifier.otherhs3036
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5963
dc.description.abstractที่มา : มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่มีอุบัติการณ์สูงเป็นอันดับ 3 ในสตรีไทย แม้ว่าปัจจุบันสตรีไทยจะมีสิทธิในเข้าถึงบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก แต่อุบัติการณ์และอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทยก็ยังคงสูง เนื่องจากอุปสรรคต่างๆ ของนโยบายการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ซึ่งทำให้อัตราการเข้ารับบริการการตรวจคัดกรองไม่สูงเท่าที่ควร นโยบายการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตัวเองอาจเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่จะช่วยเพิ่มอัตราการเข้ารับบริการการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีไทย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะ (1) ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ต้นทุนประสิทธิผลและความยอมรับ (2) ประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ (3) วิเคราะห์ผลกระทบด้านงบประมาณ และ (4) ศึกษาความเป็นไปได้ของนโยบายการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Human Papillomavirus, HPV) DNA โดยชุดเก็บตัวอย่างด้วยตัวเองในประเทศไทย ระเบียบวิธีวิจัย : (1) ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบโดยการสืบค้นฐานข้อมูลทางการแพทย์ ได้แก่ Embase MEDLINE และ PubMed จนถึงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เกณฑ์การคัดเข้าของการศึกษา ได้แก่ การศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผล การศึกษาที่ประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และการศึกษาเกี่ยวกับความยอมของสตรีไทยและความเป็นไปได้ในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA โดยชุดเก็บตัวอย่างด้วยตัวเอง (2) วิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผลในมุมมองทางสังคมของนโยบายตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA โดยชุดเก็บตัวอย่างด้วยตัวเองร่วมกับการเก็บตัวอย่างโดยบุคลากรทางการแพทย์ในประเทศไทย โดยเปรียบเทียบกับนโยบายการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA โดยบุคลากรทางการแพทย์เพียงอย่างเดียว และการไม่มีนโยบายการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (3) วิเคราะห์ผลกระทบด้านงบประมาณของนโยบายในมุมมองของผู้จ่ายเงิน และ (4) ศึกษาความเป็นไปได้ของนโยบายด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกในบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและสตรีที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ผลการศึกษา : (1) จากการศึกษาในฐานข้อมูลทั้งหมด จำนวน 1,326 การศึกษา พบการศึกษาที่ผ่านเกณฑ์การคัดเข้าและคัดออกรวม 16 การศึกษา แบ่งเป็นการศึกษาด้านประสิทธิภาพของการตรวจคัดกรอง 6 การศึกษา ซึ่งสรุปผลได้ว่าการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตัวเองและการตรวจคัดกรองโดยบุคลากรทางการแพทย์โดยวิธี HPV DNA มีประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน โดยมีความไวประมาณร้อยละ 74-91 และความจำเพาะประมาณร้อยละ 84-99 เมื่อเปรียบเทียบกับผลจากการตรวจด้วยคอลโปสโคป ส่วนการศึกษาด้านความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ 7 การศึกษา ให้ผลสรุปว่าการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA โดยชุดเก็บตัวอย่างด้วยตัวเองมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ และการศึกษาเกี่ยวกับความยอมและความเป็นไปได้ 3 การศึกษา พบว่า สตรีไทยส่วนใหญ่ชื่นชอบการตรวจคัดกรองด้วยตัวเองมากกว่าการตรวจคัดกรองโดยแพทย์ (2) วิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผลในมุมมองทางสังคม พบว่า การมีนโยบายการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตัวเองโดยวิธี HPV DNA ร่วมกับการตรวจคัดกรองโดยบุคลากรทางการแพทย์จัดเป็นนโยบายที่ทำให้ประหยัดต้นทุนได้ เมื่อเปรียบกับนโยบายการตรวจคัดกรองโดยบุคลากรทางการแพทย์เพียงอย่างเดียวและการไม่มีนโยบายการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในบริบทของประเทศไทย (3) การมีนโยบายการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตัวเองมีผลกระทบด้านงบประมาณเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 700 ล้านบาทต่อปี (4) บุคลากรทางการแพทย์และสตรีกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ยอมรับวิธีการตรวจคัดกรองด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตามในสตรีที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหรือมีอาการทางนรีเวช ควรได้รับการตรวจโดยแพทย์มากกว่า สรุป : การมีนโยบายการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตัวเองร่วมกับการตรวจคัดกรองโดยบุคลากรทางการแพทย์เป็นนโยบายที่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในบริบทของประเทศไทย แม้ว่าจะเพิ่มผลกระทบด้านงบประมาณ แต่ประโยชน์ที่ได้จากการเพิ่มอัตราการตรวจคัดกรองจะสูงกว่าการมีนโยบายตรวจคัดกรองโดยบุคลากรทางการแพทย์เพียงอย่างเดียว ผู้กำหนดนโยบายควรนำผลการศึกษาที่ได้ไปใช้ในการพัฒนานโยบายการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของประเทศไทยต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectมะเร็งth_TH
dc.subjectCancerth_TH
dc.subjectมะเร็งปากมดลูกth_TH
dc.subjectมะเร็งปากมดลูก--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectCervical Cancerth_TH
dc.subjectCervical Cancer--Prevention & Controlth_TH
dc.subjectการตรวจคัดกรองth_TH
dc.subjectเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Economicsth_TH
dc.subjectต้นทุนต่อหน่วยth_TH
dc.subjectCost--Analysisth_TH
dc.subjectCost-Benefit Analysisth_TH
dc.subjectการวิเคราะห์ความคุ้มทุนth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์และความเป็นไปได้ของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA โดยชุดเก็บตัวอย่างด้วยตัวเองในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeCost-Utility and Feasibility Analyses of Cervical Cancer Screening Using Self-Collected Sample Kit for Human Papillomavirus DNA Test in Thailandth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeBackground: Cervical cancer is the third most common cancer in Thai women. Despite the national health benefit coverage of cervical cancer screening, its incidence and mortality rates are still high. The success of the screening policy is restrained due to various barrier factors that minimize the screening rate. Self-screening is one of the promising strategies that could reduce barriers to screening in Thai women. This study aimed to conduct (1) a systematic review of efficacy or effectiveness, cost-effectiveness, and acceptability; (2) cost-utility analysis; (3) budget impact analysis; and (4) feasibility analysis of cervical cancer screening policy by using a self-collected sample kit for HPV DNA test in Thailand. Methods: (1) A systematic search was conducted in 3 medical databases, i.e., Embase, MEDLINE, and PubMed on October 12th, 2022. The studies related to efficacy or effectiveness, cost-effectiveness, and acceptability or feasibility of cervical cancer screening by using a self-collected sample kit for HPV DNA test were included in the systematic review. (2) A cost-utility analysis of 3 options, i.e., (a) additional self-screening, (b) clinician screening only, and (c) no screening policies, was performed using a societal perspective. (3) budget impacts of the additional self-screening policy were calculated from a provider perspective. Lastly, (4) a feasibility study was done by in-depth interviewed medical professionals involved in cervical cancer screening and women who were the target group. Results: (1) Among 1,326 studies, 16 were included in the systematic review. There were 6 studies that reported screening performance of self-collected sample HPV DNA tests. Overall, the accuracy of screening by HPV DNA test using either self-collected or clinician-collected samples was similar, with approximately 74-91% sensitivity and 84-99% specificity when compared to the results of colposcopy at CIN2 or worse. There were 7 economic evaluation studies, all of which reported that self-screening was cost-effective. In addition, 3 feasibility studies found that majority of Thai women preferred self-screening to clinician screening. (2) Our cost-utility analysis revealed that the additional self-screening policy was the best-buy policy when compared among the three option. (3) The average budget impact per year of additional self-screening policy was around 723 million Thai baht. (4) Medical Professionals and the target group mostly accepted self-screening method. However, women who were at-risk or had gynecological symptoms should be examined by a clinician. Conclusions: In context of Thailand, additional self-screening policy for cervical cancer prevention was cost-saving compared to clinician screening only policy. The benefit of additional number of screened women predominated the incremental cost. Policy-makers should consider this evidence in the policy optimization process.th_TH
dc.identifier.callnoQZ200 พ177ก 2566
dc.identifier.contactno65-051
.custom.citationพจมาน พิศาลประภา, Pochamana Phisalprapa, สุรศักดิ์ เสาแก้ว, Surasak Saokaew, ภัทรวลัย ตลึงจิตร, Pattarawalai Talungchit, ธเนศ ชัยสถาผล, Thanet Chaisathaphol, กิรติ เก่งกล้า, Kirati Kengkla, สุกฤษฏิ์ กาญจนสุระกิจ, Sukrit Kanchanasurakit, ชญานิศ โฆสิตะมงคล, Chayanis Kositamongkol, เอื้อรัตน์ มีประมูล and Euarat Mepramoon. "การวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์และความเป็นไปได้ของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA โดยชุดเก็บตัวอย่างด้วยตัวเองในประเทศไทย." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5963">http://hdl.handle.net/11228/5963</a>.
.custom.total_download80
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year54
.custom.downloaded_fiscal_year11

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs3036.pdf
ขนาด: 4.086Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย