แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การศึกษาคุณภาพชีวิตและผลลัพธ์ทางคลินิกในการล้างไตผ่านทางช่องท้องด้วยวิธี Automated Peritoneal Dialysis เปรียบเทียบกับ Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis ในผู้ป่วยเด็กโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

dc.contributor.authorอนิรุธ ภัทรากาญจน์th_TH
dc.contributor.authorAnirut Pattaragarnth_TH
dc.contributor.authorสุวรรณี วิษณุโยธินth_TH
dc.contributor.authorSuwannee Wisanuyotinth_TH
dc.contributor.authorธนพร ไชยภักดิ์th_TH
dc.contributor.authorThanaporn Chaiyapakth_TH
dc.contributor.authorคงกระพัน ศรีสุวรรณth_TH
dc.contributor.authorKonggrapun Srisuwanth_TH
dc.contributor.authorณัฐิดา พงศ์วิไลรัตน์th_TH
dc.contributor.authorNatthida Pongwilairatth_TH
dc.contributor.authorภาคภูมิ ภูมิจิตรth_TH
dc.contributor.authorParkpoom Bhummichitrath_TH
dc.contributor.authorปฐมคม เปรื่องประเสริฐth_TH
dc.contributor.authorPattamakom Pruangprasertth_TH
dc.contributor.authorพรรณทิพา บุญญพาพงศ์th_TH
dc.contributor.authorPantipa Boonyapapongth_TH
dc.contributor.authorนวรัตน์ จงเจษฎ์th_TH
dc.contributor.authorNawarat Chongchetth_TH
dc.contributor.authorอุทัยวรรณ คงคณินth_TH
dc.contributor.authorUthaiwan Kongkaninth_TH
dc.contributor.authorประยงค์ เวชวนิชสนองth_TH
dc.contributor.authorPrayong Vachvanichsanongth_TH
dc.contributor.authorวัฒนา ชาติอภิศักดิ์th_TH
dc.contributor.authorWattana Chartapisakth_TH
dc.date.accessioned2023-11-10T07:54:35Z
dc.date.available2023-11-10T07:54:35Z
dc.date.issued2566-09-30
dc.identifier.otherhs3038
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5964
dc.description.abstractบทนำ : การล้างไตผ่านทางช่องท้อง (Peritoneal Dialysis, PD) เป็นการบำบัดทดแทนไตตัวเลือกส่วนใหญ่สำหรับผู้ป่วยเด็กโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย (End Stage Kidney Disease, ESKD) ซึ่ง Automated Peritoneal Dialysis (APD) เป็นวิธีล้างไตผ่านทางช่องท้องโดยอาศัยเครื่อง Cycler เหมาะสมสำหรับในช่วงเวลากลางคืนระหว่างการนอนหลับ ไม่เป็นอุปสรรคต่อกิจกรรมของเด็กและผู้ดูแลในช่วงเวลากลางวัน ต่างกับวิธี (Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis, CAPD) ซึ่งต้องทำเองในช่วงกลางวัน ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเด็กที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเด็ก ESKD ระหว่าง APD และ CAPD รวมถึงศึกษาเปรียบเทียบอุบัติการณ์ของการติดเชื้อที่สัมพันธ์กับ Peritoneal Dialysis การเปลี่ยนแปลงของความดันเลือด ปัญหาการนอนและการเปลี่ยนแปลงของของเสียและเกลือแร่ในร่างกายระหว่าง APD และ CAPD วิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยรูปแบบ Open-Label Randomized Controlled Trial ร่วมจำนวน 11 สถาบัน อาสาสมัครเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่มีสิทธิการรักษาในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ช่วงอายุ 1 ถึง 18 ปี ที่ได้รับการล้างไตผ่านทางช่องท้องแบบระยะยาว คัดเลือกเฉพาะผู้ที่พักอาศัยในสถานที่ที่มีไฟฟ้าเข้าถึงและสามารถสื่อสารด้วยภาษาไทย จำนวนอาสาสมัครที่ต้องการมีจำนวน 40 รายต่อกลุ่ม ติดตามอาสาสมัครทั้งกลุ่ม APD และCAPD เป็นเวลา 48 สัปดาห์ มีการรวบรวมข้อมูลทางคลินิก ประเมินคุณภาพชีวิตด้วย PedQL และอรรถประโยชน์ด้วย EQ-5D ผลการศึกษา : อาสาสมัครที่เข้าร่วมมีจำนวน 30 ราย เท่ากันในกลุ่ม APD และ CAPD มีอายุเฉลี่ย 10.5 (SD, 4.3) และ 12.3 (SD, 3.1) ปี และได้รับการล้างไตผ่านทางช่องท้องมาก่อนแล้ว 14.9 และ 15 เดือนตามลำดับ เป็นเพศชายและเพศหญิงใกล้เคียงกันในแต่ละกลุ่ม สาเหตุของโรคไตเรื้อรังที่พบบ่อยสุดเป็น Renal Hypoplasia ร้อยละ18.3 รองลงมาเป็น Reflux Nephropathy ร้อยละ 15 อาสาสมัครที่ติดตามจนสิ้นสุดการศึกษาเหลือจำนวน 24 รายในแต่ละกลุ่ม การเปรียบเทียบคะแนนคุณภาพชีวิตโดยใช้แบบสอบถาม PedsQL ซึ่งประเมินโดยผู้ปกครอง ไม่พบความแตกต่างของระดับคุณภาพชีวิตระหว่าง 2 กลุ่ม ในทุกด้าน ในขณะที่ผลประเมินโดยผู้ป่วยเอง พบว่า คะแนนด้านสังคมของกลุ่ม APD สูงกว่ากลุ่ม CAPD ในสัปดาห์ที่ 16 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่พบความแตกต่างของคะแนนคุณภาพชีวิตในด้านอื่น และพบว่า กลุ่ม APD มีแนวโน้มคะแนนด้านสังคม อารมณ์ รวมถึงคะแนนรวมเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากเมื่อสิ้นสุดการศึกษา แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่าง 2 กลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนค่าอรรถประโยชน์ที่ใช้แบบสอบถาม EQ-55D ประเมินโดยผู้ปกครองและผู้ป่วยเองไม่พบความแตกต่างระหว่างผู้ป่วย 2 กลุ่ม และการวิเคราะห์แบบ Mixed-Model Repeated Measure ไม่พบความแตกต่างของการเปลี่ยนแปลงทั้งระดับคุณภาพชีวิตและค่าอรรถประโยชน์ ในการศึกษานี้พบอุบัติการณ์ของภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ 0.34 ครั้งต่อปี ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่ม APD และ CAPD เช่นเดียวกับความแตกต่างของระดับเคมีในเลือดและการเปลี่ยนแปลงความดันเลือดทั้ง Systolic และ Diastolic ก็ไม่พบมีความแตกต่างในระหว่าง 2 กลุ่ม แต่พบว่ามีการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยภาวะความดันเลือดสูง (Hypertensive Urgency และ/หรือ Emergency) จำนวน 12 ครั้งในกลุ่ม CAPD และจำนวน 3 ครั้งในกลุ่ม APD (p=0.01) พบว่า ผู้ป่วยอายุ 6-12 ปี กลุ่ม CAPD มีร้อยละของผู้ที่มีอาการง่วงนอนมากผิดปกติเท่ากับ 40.7 มากกว่ากลุ่ม APD ซึ่งมีร้อยละ 16.7 (p=0.04) ในสัปดาห์ที่ 16 และผู้ป่วยอายุ 13-18 ปี กลุ่ม APD มีชั่วโมงการนอนในสัปดาห์ที่ 48 ในวันธรรมดา 10 (IQR: 8.2, 11) ชั่วโมง และในวันหยุด 10 (IQR: 9, 11.5) ชั่วโมง ซึ่งมากกว่า 8.5 (IQR: 7.4, 9.3) ชั่วโมงในวันธรรมดาและ 8 (IQR: 7.4, 9.5) ชั่วโมงในวันหยุดของกลุ่ม CAPD (p=0.03) สรุปและอภิปรายผลการศึกษา : การเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของคะแนนคุณภาพชีวิตไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่ม APD และ CAPD แต่พบขนาดของความแตกต่างในคะแนนคุณภาพชีวิตด้านสังคม โรงเรียนและคะแนนรวมที่ประเมินโดยผู้ปกครอง และคะแนนด้านสังคมและคะแนนรวมที่ประเมินโดยผู้ป่วยเองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางคลินิก โดยคะแนนที่เพิ่มขึ้นในกลุ่ม APD มีค่ามากกว่า Minimal Clinically Important Difference ทั้งของ PedsQL และ EQ-5D ในผู้ป่วยล้างไต ในขณะที่กลุ่ม CAPD มีคะแนนเพิ่มที่ไม่มากกว่า การไม่พบความแตกต่างของการเปลี่ยนแปลงของระดับคุณภาพชีวิตอาจเป็นเพราะมีขนาดตัวอย่างไม่เพียงพอ นอกจากนี้ EQ-5D ไม่ได้ถูกออกแบบสำหรับประเมินคุณภาพชีวิตในเด็ก ไม่ครอบคลุมมิติด้านโรงเรียนและสังคมของเด็ก การรักษาโดยวิธี APD และ CAPD ไม่มีความแตกต่างในการเกิดปัญหาภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบจากการติดเชื้อการเปลี่ยนแปลงในหน้าที่ของไตและระดับเคมีในเลือด รวมถึงภาวะแทรกซ้อนของความดันเลือด อย่างไรก็ตามพบอุบัติการณ์การรักษาตัวในโรงพยาบาลจากความดันเลือดสูงที่รุนแรงในกลุ่ม CAPD มากกว่า APD อย่างมีนัยสำคัญ ผู้ป่วยเด็กเหล่านี้ส่วนใหญ่มีปัญหาการนอน การรักษาโดยวิธี APD เมื่อเทียบกับ CAPD ไม่ได้เพิ่มปัญหาในการนอน แต่ผลการศึกษาแสดงสัดส่วนของผู้ที่มีอาการง่วงนอนมากผิดปกติในกลุ่ม CAPD เป็น 2.4 เท่ามากกว่ากลุ่ม APD และกลุ่ม APD มีชั่วโมงการนอนที่มากกว่ากลุ่ม CAPDth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectโรคไตth_TH
dc.subjectKidneysth_TH
dc.subjectช่องท้องth_TH
dc.subjectAbdomenth_TH
dc.subjectการล้างไตth_TH
dc.subjectDialysisth_TH
dc.subjectผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องth_TH
dc.subjectPeritoneal Dialysisth_TH
dc.subjectเด็กth_TH
dc.subjectChildrenth_TH
dc.subjectผู้ป่วยเด็กth_TH
dc.subjectQuality of Lifeth_TH
dc.subjectคุณภาพชีวิตth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectหลักประกันสุขภาพแห่งชาติth_TH
dc.subjectUniversal Health Coverageth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการศึกษาคุณภาพชีวิตและผลลัพธ์ทางคลินิกในการล้างไตผ่านทางช่องท้องด้วยวิธี Automated Peritoneal Dialysis เปรียบเทียบกับ Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis ในผู้ป่วยเด็กโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติth_TH
dc.title.alternativeThe Quality of Life and Clinical Outcomes of Children with End Stage Kidney Disease Undergoing Automated Compared with Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis Under the National Health Security System Coverageth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.publicationภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดบริการล้างไตผ่านทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติสำหรับผู้ป่วยเด็กโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (Feasibility Study on the Establishment of Automated Peritoneal Dialysis Service in National Health Security System for Children with End stage Kidney Disease)th_TH
dc.description.abstractalternativeIntroduction: Peritoneal dialysis (PD) is a common renal replacement therapy for most children with end stage kidney disease (ESKD). Automated peritoneal dialysis (APD) is a method of PD using a cycler machine, suitable for overnight use during sleep, allowing minimal disruption to the daily activities of both children and caregivers. This is in contrast to continuous ambulatory peritoneal dialysis (CAPD), which necessitates daytime self-administration and can impact the quality of life for children receiving renal replacement therapy. Objectives: To investigate and compare the quality of life among pediatric ESKD patients undergoing APD and CAPD. Additionally, to explore and compare the incidence of infection-related complications associated with peritoneal dialysis, alterations in blood pressure, sleep problems, and changes in electrolyte balance within the body during APD and CAPD. Methods: This is an open-label randomized controlled trial conducted across 11 institutions. Volunteers include ESKD pediatric patients aged 1 to 18 years who are eligible for treatment under the national health security system. Patients undergoing long-term peritoneal dialysis were selected. Specifically, participants needed to reside in locations with electricity access and have proficiency in the Thai language. A total of 40 volunteers were required for each group. The study involved a 48-week follow-up of participants in both the APD and CAPD groups. Clinical data were collected. Quality of life was assessed using the PedQL, and health utilities were evaluated with the EQ-5D. Results: The study involved 30 volunteers in each of the APD and CAPD groups, with average ages of 10.5 (SD, 4.3) and 12.3 (SD, 3.1) years, respectively. Participants had been on peritoneal dialysis for an average of 14.9 and 15 months in the APD and CAPD groups, and gender distribution was similar in both groups. The most common cause of ESKD was renal hypoplasia (18.3%), followed by reflux nephropathy (15%). Of the participants who completed the study, 12 withdrew. Using the PedsQL, assessed by parents, there were no significant differences in the quality of life between the two groups in all aspects. However, self-reported assessments found that the social dimension scores were significantly higher in the APD group than the CAPD group at week 16, with statistical significance. Both groups exhibited a notable improvement in social, emotional, and overall scores at the end of the study but no significant differences were nevertheless found in other aspects of quality of life. The EQ-5D, assessed by both parents and patients themselves, did not reveal any significant differences between the two patient groups. The mixed-model repeated measure analysis did not find statistically significant differences in changes in both quality of life and benefits between the two groups. The study found a peritonitis rate of 0.34 cases per year, and there were no significant differences between the APD and CAPD groups. Blood chemistry changes and blood pressure changes over 48 weeks showed no differences between the two groups. Notably, the CAPD group had more hospitalizations for hypertensive urgency and/or emergency (12 cases) compared to the APD group (3 cases) (p < 0.01). In week 16, patients aged 6-12 years in the CAPD group had a significantly higher rate of excessive sleepiness (40.7%) compared to the APD group (16.7%) (p < 0.04). By week 48, patients aged 13-18 years in the APD group had longer daily sleep duration on both weekdays (10 hours) and weekends (10 hours) compared to the CAPD group (8.5 hours and 8 hours on weekdays and weekends, respectively) (p < 0.03). Discussion and conclusion: Quality of life score changes showed no statistically significant differences between the APD and CAPD groups. However, clinically significant improvements in quality of life scores were observed in the social, school, and overall dimensions for the APD group, as assessed by parents and self-assessment. These improvements exceeded the minimal clinically important difference for both PedsQL and EQ-5D in dialysis patients. In contrast, the CAPD group showed some improvement in scores but not to a statistically significant degree. The lack of significant differences in quality of life changes may be due to the limited sample size. It's worth noting that EQ-5D was not designed to evaluate children's quality of life and did not encompass school and social dimensions. Treatment with APD and CAPD did not differ significantly in the incidence of peritonitis due to infection. Changes in kidney function, blood chemistry levels, and blood pressure complications showed no significant differences between the two treatment methods. Nevertheless, hospitalization incidents for severe high blood pressure were significantly more common in the CAPD group than the APD group. Most patients experienced sleep problems, with significantly higher rates of excessive sleepiness in the CAPD group compared to the APD group, at 2.4 times higher. Also, the APD group had longer daily sleep hours on both regular and weekend days in patients aged 13-18 years compared to the CAPD group, which may be attributed to clinical significance.th_TH
dc.identifier.callnoWJ340 อ178ก 2566
dc.identifier.contactno66-120
.custom.citationอนิรุธ ภัทรากาญจน์, Anirut Pattaragarn, สุวรรณี วิษณุโยธิน, Suwannee Wisanuyotin, ธนพร ไชยภักดิ์, Thanaporn Chaiyapak, คงกระพัน ศรีสุวรรณ, Konggrapun Srisuwan, ณัฐิดา พงศ์วิไลรัตน์, Natthida Pongwilairat, ภาคภูมิ ภูมิจิตร, Parkpoom Bhummichitra, ปฐมคม เปรื่องประเสริฐ, Pattamakom Pruangprasert, พรรณทิพา บุญญพาพงศ์, Pantipa Boonyapapong, นวรัตน์ จงเจษฎ์, Nawarat Chongchet, อุทัยวรรณ คงคณิน, Uthaiwan Kongkanin, ประยงค์ เวชวนิชสนอง, Prayong Vachvanichsanong, วัฒนา ชาติอภิศักดิ์ and Wattana Chartapisak. "การศึกษาคุณภาพชีวิตและผลลัพธ์ทางคลินิกในการล้างไตผ่านทางช่องท้องด้วยวิธี Automated Peritoneal Dialysis เปรียบเทียบกับ Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis ในผู้ป่วยเด็กโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5964">http://hdl.handle.net/11228/5964</a>.
.custom.total_download32
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month8
.custom.downloaded_this_year19
.custom.downloaded_fiscal_year10

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs3038.pdf
ขนาด: 1.890Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย