dc.contributor.author | รัชนี คอมแพงจันทร์ | th_TH |
dc.contributor.author | Ratchanee Khomphangchan | th_TH |
dc.contributor.author | กิตติเชษฐ์ ธีรกุลพงศ์เวช | th_TH |
dc.contributor.author | Kittichet Teerakulphongvej | th_TH |
dc.contributor.author | ประพนธ์ เครือเจริญ | th_TH |
dc.contributor.author | Prapon Kruacharoen | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-12-07T02:19:38Z | |
dc.date.available | 2023-12-07T02:19:38Z | |
dc.date.issued | 2566-04 | |
dc.identifier.other | hs3048 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5979 | |
dc.description.abstract | การศึกษาการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เขตสุขภาพที่ 8 เพื่อสนับสนุนการจัดบริการปฐมภูมิ ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เก็บข้อมูลเชิงสำรวจ (Survey ) การสัมภาษณ์กลุ่ม (Group Interview) อสม. ในพื้นที่ 7 จังหวัดในเขตสุขภาพที่ 8 ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดบึงกาฬ จำนวน 800 คน ใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและการวัดค่าการกระจาย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) อสม. ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง อายุ ระหว่าง 51-60 ปี ร้อยละ 43.5 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 77.3 ระดับการศึกษา มัธยมศึกษา ร้อยละ 65.9 อาชีพทำนา ร้อยละ 62.2 เกินครึ่งรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่ำกว่า 6,000 บาท ร้อยละ 56.3 ระยะเวลาในการเป็น อสม. มากที่สุด ระหว่าง 10-19 ปี ร้อยละ 39.0 สูงที่สุด 41 ปี ต่ำที่สุด 1 ปี เฉลี่ย 20 ปี ส่วนใหญ่รับผิดชอบหลังคาเรือนระหว่าง 10-15 หลังคาเรือน ส่วนใหญ่ได้ใช้โทรศัพท์มือถือประเภทสมาร์ทโฟน ร้อยละ 97.7 จ่ายค่าโทรศัพท์มือถือเฉลี่ยมากกว่า 300 บาทต่อเดือน ครึ่งหนึ่งเคยได้รับรางวัลหรือได้รับการเชิดชูเกียรติ ร้อยละ 50.3 ส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 70.9 ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกฌาปนกิจสงเคราะห์ ระดับประเทศ ร้อยละ 72.7 มีความรู้ในการปฏิบัติงานควบคุมป้องกันและควบคุมโรคภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.38, SD = 0.64) ด้านการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต อสม. มีการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของ อสม. ทั้งหมดจำนวน 7 ด้าน พบว่า ด้านจิตใจ คุณค่าและความภาคภูมิใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.37, SD = 0.66) และอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านสังคมและการสนับสนุนทางสังคม (x̄ = 4.19, SD = 0.34) ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน (x̄ = 3.92, SD = 0.59) ด้านร่างกาย (x̄ = 3.85, SD = 0.55) ด้านความก้าวหน้า (x̄ = 3.77, SD = 0.88) ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ (x̄ = 3.62, SD = 0.77) ด้านความสมดุลงานกับชีวิตส่วนตัว ระดับปานกลาง (x̄ = 3.06, SD = 0.46) มีเงินเพียงพอใช้จ่ายตามที่ท่านต้องการ (x̄ = 3.19, SD = 0.88) ข้อเสนอในการศึกษาระดับนโยบายสนับสนุนการปฏิบัติงานโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศผ่านทางโทรศัพท์มือถือและมีการสนับสนุนสวัสดิการในการใช้เครือข่ายการสื่อสารที่เข้าถึงได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ราคาถูก ทบทวนและเพิ่มสวัสดิการ ค่าตอบแทนและการเชิดชูเกียรติแก่อาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานและสร้างเสริมคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในรูปแบบต่างๆ ให้กับ อสม. เพื่อมีสุขภาพแข็งแรงและเป็นบุคคลต้นแบบด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน | th_TH |
dc.subject | Village Health Volunteers | th_TH |
dc.subject | Quality of Life | th_TH |
dc.subject | คุณภาพชีวิต | th_TH |
dc.subject | บริการปฐมภูมิ (การแพทย์) | th_TH |
dc.subject | Primary Care (Medicine) | th_TH |
dc.subject | การสร้างเสริมสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Promotion | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | COVID-19 (Disease) | th_TH |
dc.subject | โควิด-19 (โรค) | th_TH |
dc.subject | Coronaviruses | th_TH |
dc.subject | ไวรัสโคโรนา | th_TH |
dc.subject | Coronavirus Infections | th_TH |
dc.subject | การติดเชื้อไวรัสโคโรนา | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เขตสุขภาพที่ 8 เพื่อสนับสนุนการจัดบริการปฐมภูมิ ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) | th_TH |
dc.title.alternative | Strengthening Quality of Life of Village Health Volunteers in the 8th Public Health Region for Supporting Primary Health Services During the COVID-19 Pandemic | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The study of strengthening the quality of life of village health volunteers in the 8th Public Health Region for supporting primary health services during the COVID-19 pandemic was conducted by a mixed-method study using a survey and group interview procedure. The sample for this study was 800 individuals of village health volunteers from 7 provinces under the 8th Public Health Region, which are Udon Thani, Sakon Nakhon, Nakhon Phanom, Loei, Nong Khai, Nong Bua Lamphu, and Bueng Kan. Descriptive statistics utilized percentage, mean, distribution, and standard deviation for data analysis. Most of the village health volunteers were females aged between 51-60 years old 43.5%, married 77.3% with secondary education65.9%. Most of them were farmers 62.2% with an average income of under 6,000 baht per month56.3%. The duration of being a village health volunteer was between 10 and 19 years39.0%. The longest duration was 41 years, and the shortest was one year. The village health volunteers were responsible for looking after 10-15 households. The majority used a smartphone 97.7% and paid a phone bill of over 300 baht per month. Half of them had received the award or glorification50.3%. Most of them do not have congenital diseases 70.9% and are members of the funeral assistance 72.7%. The village health volunteers know the practice of disease prevention and control during the COVID-19 pandemic at the highest level (x̄ = 4.38, SD = 0.64). The aspect of strengthening the quality of life of village health volunteers found that they have strengthened the quality of life in seven aspects. The aspects that have been strengthened at the “highest” level are mental, value, and pride (x̄ = 4.37, SD = 0.66). The aspects that have been strengthened at the "high" level are societal and social support (x̄ = 4.19, SD = 0.34), working environment (x̄ = 3.92, SD = 0.59), physical (x̄ = 3.85, SD = 0.55), advancement (x̄ = 3.77, SD = 0.88), compensation, and welfare (x̄ = 3.62, SD = 0.77), and working balance (x̄ = 3.06, SD = 0.46 ). The aspect that has been strengthened at the "moderate" level is having enough money to spend as they wish (x̄ = 3.19, SD = 0.88). The suggestion from this study is that at the policy, working via the smartphone should be promoted and support the phone bill that they have used for their work. Review and increase the welfare, compensation, and glorification of the village health volunteer to encourage morale in working. Enhance the quality of life of the health aspect in various ways for the village health volunteers to be healthy and be role models for health. | th_TH |
dc.identifier.callno | W84.1 ร333ก 2566 | |
dc.identifier.contactno | 65-054 | |
dc.subject.keyword | อสม. | th_TH |
dc.subject.keyword | เขตสุขภาพ | th_TH |
dc.subject.keyword | Regional Health Area | th_TH |
dc.subject.keyword | เขตสุขภาพที่ 8 | th_TH |
dc.subject.keyword | Regional Health Area 8 | th_TH |
.custom.citation | รัชนี คอมแพงจันทร์, Ratchanee Khomphangchan, กิตติเชษฐ์ ธีรกุลพงศ์เวช, Kittichet Teerakulphongvej, ประพนธ์ เครือเจริญ and Prapon Kruacharoen. "การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เขตสุขภาพที่ 8 เพื่อสนับสนุนการจัดบริการปฐมภูมิ ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5979">http://hdl.handle.net/11228/5979</a>. | |
.custom.total_download | 41 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 32 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 2 | |