Show simple item record

Medication and Medical Supplies Service System Design for Patients Receiving Medication at Type 1 Pharmacies in Hat Yai, Songkhla

dc.contributor.authorสิริรัตน์ สุวัชรชัยติวงศ์th_TH
dc.contributor.authorSirirat Suwatcharachaitiwongth_TH
dc.contributor.authorนิกร ศิริวงศ์ไพศาลth_TH
dc.contributor.authorNikorn Sirivongpaisalth_TH
dc.contributor.authorปราณภา หังสพฤกษ์th_TH
dc.contributor.authorPrannapa Hungsaphruekth_TH
dc.date.accessioned2024-01-11T04:00:03Z
dc.date.available2024-01-11T04:00:03Z
dc.date.issued2566-11
dc.identifier.otherhs3052
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5996
dc.description.abstractโครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบระบบบริการด้านยาสำหรับโครงการผู้ป่วยรับยาที่ร้านยาใกล้บ้านตามรูปแบบที่ 3 ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาล โดยมุ่งเน้นการจัดการการเคลื่อนที่และการไหลของยาในระบบโซ่อุปทานด้านการดูแลสุขภาพภายนอกโรงพยาบาลตามมุมมองการออกแบบเชิงระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานที่มีเป้าหมายแห่งความสำเร็จที่สำคัญ คือ การตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยได้อย่างทันเวลา ด้วยต้นทุนการบริการที่ต่ำที่สุดและคุณภาพการบริการตามที่ผู้ป่วยระบุ โดยในงานวิจัยนี้พิจารณาปัจจัยในการออกแบบ 3 ปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ (1) การกำหนดร้านยาที่เหมาะสมกับการกระจายตัวของผู้ป่วย โดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (2) การออกแบบปริมาณสินค้าคงคลังที่เหมาะสมของร้านยา และ (3) การนำเสนอรูปแบบการกระจายการขนส่งยา ภายใต้การให้บริการในรูปแบบที่ 3 ที่มุ่งเน้นให้ร้านยาเป็นผู้บริหารจัดการเพื่อเตรียมจ่ายยาให้กับผู้ป่วยตามใบสั่งยาที่ได้รับจากโรงพยาบาล ซึ่งโครงการนี้พิจารณาผู้ป่วยเรื้อรัง 4 กลุ่มโรคในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหอบหืดและโรคจิตเวช จากฐานข้อมูลโรงพยาบาลหาดใหญ่ นอกจากนี้ได้ขยายขอบเขตการศึกษาด้านการกำหนดร้านยาที่เหมาะสมกับการกระจายตัวของประชากรกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมโครงการอื่นๆ ที่ดำเนินการโดย สปสช. ซึ่งประกอบด้วย 1) โครงการแจกชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) 2) โครงการแจกถุงยางอนามัย และ 3) โครงการแจกยาคุมกำเนิด เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาระบบกระจายยาและเวชภัณฑ์ผ่านหน่วยบริการร้านยา จากผลการวิจัยในโครงการนี้สามารถนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติงานสำหรับแต่ละภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในระบบโซ่อุปทานด้านการดูแลสุขภาพได้ รวมทั้งได้นำเสนอการประเมินต้นทุนการให้บริการของร้านยาในโครงการรับยาใกล้บ้านภายใต้รูปแบบที่ 3 สำหรับผู้ป่วยต่อรายth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectยาth_TH
dc.subjectDrugsth_TH
dc.subjectร้านขายยาth_TH
dc.subjectDrugstoresth_TH
dc.subjectDrug Storageth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectการบริหารโรงพยาบาลth_TH
dc.subjectHospital Administrationth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการออกแบบระบบบริการด้านยาและเวชภัณฑ์สำหรับผู้ป่วยมารับยาที่ร้านยาแผนปัจจุบันประเภท 1 ในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาth_TH
dc.title.alternativeMedication and Medical Supplies Service System Design for Patients Receiving Medication at Type 1 Pharmacies in Hat Yai, Songkhlath_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aims to design a drug service system for patients to receive medicine at a drug store near patients' homes according to Model 3 of the National Health Security Office (NHSO), which is part of the project to reduce congestion in hospitals. It focuses on managing the flow of medicines in the healthcare supply chain outbound of hospitals, fundamentally from a logistics and supply chain design perspective. The essential goal of service is to respond to patient needs promptly, with the lowest service costs, and service quality as stated by patients. In this research, three key design factors were considered: (1) determining the optimal location of drug stores according to the distribution of patients by applying geographic information systems (GIS), (2) designing proper inventory levels for pharmacies, and (3) proposing drug transportation distribution models. Following the service Model 3 of NHSO, the direction is on drug stores being responsible for managing and preparing to dispense medicines to patients by prescriptions received from hospitals. Chronically ill patients under 4 groups of diseases in the Hat Yai District, namely diabetes, high blood pressure, asthma, and psychiatric diseases, were regarded as focused groups referred to the Hat Yai Hospital database. In addition, the scope of the study was expanded to cover other projects operated by the NHSO to locate the drug stores, consisting of 1) the Antigen Test Kit (ATK) allocation project, 2) the condom allocation project, and 3) the birth control pill allocation project, to the benefit of developing a drug and medical supply distribution system through the drug store service unit. The research results in policy recommendations as operational guidelines for each relevant sector in the healthcare supply chain system. It also evaluated the cost per visit of drugstore service providers in the Drug Pick Up Near Patients' Home Project under Model 3 of the NHSO.th_TH
dc.identifier.callnoQV55 ส732ก 2566
dc.identifier.contactno65-031
dc.subject.keywordรับยาที่ร้านขายยาth_TH
dc.subject.keywordDrug-Dispensing Servicesth_TH
.custom.citationสิริรัตน์ สุวัชรชัยติวงศ์, Sirirat Suwatcharachaitiwong, นิกร ศิริวงศ์ไพศาล, Nikorn Sirivongpaisal, ปราณภา หังสพฤกษ์ and Prannapa Hungsaphruek. "การออกแบบระบบบริการด้านยาและเวชภัณฑ์สำหรับผู้ป่วยมารับยาที่ร้านยาแผนปัจจุบันประเภท 1 ในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5996">http://hdl.handle.net/11228/5996</a>.
.custom.total_download36
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year36
.custom.downloaded_fiscal_year36

Fulltext
Icon
Name: hs3052.pdf
Size: 18.92Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record