แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การศึกษาสถานะการขึ้นทะเบียนยาสามัญใหม่และศักยภาพในการลดค่าใช้จ่ายด้านยาหลังจากได้รับการอนุมัติการศึกษาชีวสมมูลโดยสำนักพัฒนาการคุ้มครองการวิจัยในมนุษย์

dc.contributor.authorชาฮีดา วิริยาทรth_TH
dc.contributor.authorShaheda Viriyathornth_TH
dc.contributor.authorพิสภาสินี พิศาลสินธุ์th_TH
dc.contributor.authorPispasinee Pisansinth_TH
dc.contributor.authorศลิษา ฤทธิมโนมัยth_TH
dc.contributor.authorSalisa Rittimanomaith_TH
dc.contributor.authorวริษฐา หวังบรรจงกุลth_TH
dc.contributor.authorWaritta Wangbanjongkunth_TH
dc.contributor.authorวลัยพร พัชรนฤมลth_TH
dc.contributor.authorWalaiporn Patcharanarumolth_TH
dc.contributor.authorวิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียรth_TH
dc.contributor.authorViroj Tangcharoensathienth_TH
dc.date.accessioned2024-01-19T04:24:56Z
dc.date.available2024-01-19T04:24:56Z
dc.date.issued2566-12-19
dc.identifier.otherhs3057
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5999
dc.description.abstractการศึกษาชีวสมมูล (Bioequivalence Studies) ในมนุษย์เป็นการทดสอบความเท่าเทียมกันระหว่าง ยาสามัญและยาอ้างอิงในด้านอัตราและปริมาณของ Active Pharmaceutical Ingredient (API) ในบริเวณที่ต้องการให้เกิดฤทธิ์ของยา การศึกษาเช่นนี้ทำให้เกิดความเชื่อมั่นต่อคุณภาพของยาสามัญใหม่มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ การศึกษาชีวสมมูลเป็นการทดลองในมนุษย์ ผู้รับการทดลองแต่ละคนต้องได้รับปริมาณยาสามัญใหม่และยาอ้างอิงในขนาดที่เท่ากันภายใต้เงื่อนไขการทดลองที่เหมือนกัน ถ้าหากตัวยาสำคัญถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตของร่างกายในปริมาณและเวลาที่ไม่แตกต่างกันจึงจะถือว่ายาที่ศึกษานั้นมีความเท่าเทียมกัน ดังนั้น การศึกษาชีวสมมูลฯ ซึ่งทดลองในมนุษย์ จึงจำเป็นต้องได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย เพื่อเป็นข้อยืนยันได้ว่า หลักการและแนวทางในการวิจัยดังกล่าวมีความถูกต้องตามหลักวิชาการและให้ความสำคัญในการคุ้มครองอาสาสมัครที่ร่วมวิจัยอย่างเหมาะสม ซึ่งสำนักพัฒนาการคุ้มครองการวิจัยในมนุษย์ (สคม.) เป็นหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวกับการคุ้มครองการวิจัยในมนุษย์และได้มีการพิจารณาโครงการวิจัยเพื่ออนุมัติจริยธรรมงานวิจัยมาอย่างต่อเนื่อง สคม. จึงมีบทบาทสำคัญมากในการพัฒนายาสามัญใหม่ของประเทศไทย เนื่องจาก สคม.เป็นด่านแรกในการพิจารณาความเหมาะสมของการศึกษาชีวสมมูล เมื่อการศึกษานั้นผ่านการพิจารณาอนุมัติให้จัดทำการศึกษาได้และได้ทำการศึกษาจนเสร็จเรียบร้อย จะเป็นจุดตั้งต้นในการนำไปต่อยอดขอขึ้นทะเบียนยาเพื่อออกสู่ท้องตลาดเพื่อจำหน่ายต่อไป ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีการผลิตยาสามัญใหม่จำนวนหลายรายการมากขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงการวิจัยชีวสมมูลของยาที่ยื่นเสนอขออนุมัติด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์จาก สคม. จำนวน 14 ปี ในช่วง พ.ศ. 2551 - 2564 เพื่อประเมินจำนวนและสถานะโครงการการขึ้นทะเบียนการผลิตยาสามัญใหม่กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รวมถึงการประมาณมูลค่าที่ประหยัดได้จากยาสามัญใหม่ซึ่งทดแทนยาต้นแบบ (หรือยาอื่นๆ ในตลาด) โดยใช้สถิติเชิงปริมาณเพื่อคำนวณรายจ่ายยาที่ประหยัดได้เมื่อใช้ยาสามัญใหม่ทดแทนยาต้นแบบหรือยาอื่นๆ ในตลาดที่มีการวางจำหน่ายในขณะนั้น ทั้งนี้ จะพิจารณาเฉพาะยาสามัญใหม่ที่ยื่นขอรับการพิจารณาด้านจริยธรรมการวิจัยจาก สคม. ในช่วง พ.ศ. 2551-2564 เท่านั้น ผลการศึกษา พบว่า โครงการที่ยื่นขอพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์จาก สคม. ในช่วงเวลาที่ศึกษามีจำนวนทั้งสิ้น 737 โครงการ ในจำนวนนี้มีสองโครงการยื่นถอนการขอจริยธรรมการวิจัยก่อนการพิจารณา โดยโครงการส่วนมาก (ร้อยละ 79.7 ของโครงการที่ยื่นขออนุมัติจริยธรรมการวิจัยทั้งหมด หรือจำนวน 586 โครงการ จากจำนวน 735 โครงการ) ได้รับอนุมัติจริยธรรมการวิจัยฯ ในทันที หลังจากมีการประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาผลการอนุมัติจริยธรรมการวิจัยฯ ทั้งนี้ โครงการที่ทำวิจัยเสร็จสมบูรณ์และแจ้งปิดโครงการมีจำนวน 507 โครงการ หรือร้อยละ 69.0 ของโครงการที่ได้รับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยทั้งหมด และมีโครงการแจ้งยื่นถอนการดำเนินงานวิจัยหรือยุติการวิจัยจำนวน 106 โครงการ ส่วนที่เหลืออีกจำนวน 122 โครงการ ไม่มีการแจ้งสถานะความก้าวหน้าของโครงการ อย่างไรก็ตาม ในจำนวนโครงการทั้งหมดที่ได้มีการวิจัยเสร็จสมบูรณ์และแจ้งปิดโครงการนั้น มีเพียงจำนวน 53 โครงการ ที่รายงานว่าได้รับรหัสเลขทะเบียนยาจาก อย. โดยในจำนวนนี้ มีเพียง 22 รายการ (ร้อยละ 41.5 ของโครงการที่ได้รับรหัสทะเบียนยาจาก อย.) ที่สามารถหาข้อมูลราคายาได้ ทั้งนี้ ยาสามัญใหม่ยื่นขออนุมัติจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ทำการวิจัยเสร็จสมบูรณ์และได้รับเลขทะเบียนยาเรียบร้อยจำนวน 22 รายการนั้น ส่วนมาก (16 รายการ) มีราคาต่ำกว่ายาเดียวกันยี่ห้ออื่นๆ ในตลาดที่มีการวางจำหน่ายในปีเดียวกัน (หรือปีใกล้เคียงที่ห่างกันไม่เกินหนึ่งปี) ในขณะที่ อีกจำนวน 6 รายการ มีราคาไม่ต่ำกว่ายาเดียวกันยี่ห้ออื่นที่เคยมีจำหน่ายอยู่แล้ว สถานการณ์นี้สะท้อนถึงโอกาสที่ยาสามัญใหม่สามารถประหยัดได้จากส่วนต่างของราคาโดยเปรียบเทียบ ทั้งนี้ ส่วนต่างของราคาในยาแต่ละรายการมีความแตกต่างกัน ครอบคลุมตั้งแต่-9.6 บาทต่อหน่วย (1 เม็ด/แคปซูล/มิลลิลิตร) ไปจนถึง 1,388.5 บาทต่อหน่วย โดยราคารวมสูงสุดและต่ำสุดที่ประหยัดได้ต่อหน่วยของยาทั้งจำนวน 22 รายการ เท่ากับ 1,626.4 บาท และ 149.2 บาทต่อหน่วย ตามลำดับ นักวิจัยไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลจำนวนการผลิตยาจำนวน 22 รายการ ที่มีฐานข้อมูลเก็บไว้ที่ อย. จึงทำการขอความอนุเคราะห์จากองค์การเภสัชกรรม (อภ.) และเข้าถึงข้อมูลการผลิตของยาที่สามารถหาราคายา (ราคายาสามัญใหม่และราคายาตัวอื่นๆ ในตลาด) ได้เพียงจำนวน 4 รายการ ได้แก่ Sofosbuvir 400 มิลลิกรัม, Gabapentin 300 มิลลิกรัม, Favipiravir 200 มิลลิกรัม, และ Tenofovir+Emtricitabine 300/200 มิลลิกรัม จึงสามารถใช้เป็นตัวอย่างในการคำนวณมูลค่าที่อาจประหยัดได้ โดยยาทั้ง 4 รายการมีมูลค่าที่ประหยัดได้สูงสุดเท่ากับ 1,087.4 ล้านบาท, 395.3 ล้านบาท, 93.8 ล้านบาท และ 0.9 ล้านบาท ตามลำดับ ดังนั้น การที่มียาสามัญใหม่ออกสู่ตลาดมากขึ้น จึงเป็นการเพิ่มโอกาสที่ประเทศจะสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านยาได้มากขึ้น การศึกษานี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า สคม. มีกระบวนการพิจารณาอนุมัติจริยธรรมงานวิจัยในมนุษย์สำหรับการศึกษาชีวสมมูลยาสามัญใหม่ที่รวดเร็ว ซึ่งช่วยสนับสนุนให้มีการศึกษาชีวสมมูลในประเทศไทยได้ดี อันมีผลต่อเนื่องให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่ายสุขภาพด้านยาของประเทศไทยได้อย่างมาก นอกจากนี้ การศึกษานี้ยังชี้ให้เห็นถึงโอกาสในการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม เช่น การค้นหาสาเหตุ อุปสรรคต่างๆ ของการศึกษาชีวสมมูลในมนุษย์ของไทย รวมถึงการถอดบทเรียนจุดอ่อนจุดแข็ง และปัจจัยสำเร็จของการได้รับรหัสเลขทะเบียนยาในกรณีผลการศึกษาชีวสมมูลประสบความสำเร็จ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบและการบริหารจัดการด้านการยื่นขอรหัสเลขทะเบียนยาอีกด้วยth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectยาth_TH
dc.subjectDrugsth_TH
dc.subjectชีวสมมูลth_TH
dc.subjectBioequivalenceth_TH
dc.subjectชีวสมมูลของยาth_TH
dc.subjectยา--การขึ้นทะเบียนth_TH
dc.subjectตำรับยา--การขึ้นทะเบียนth_TH
dc.subjectทะเบียนยาth_TH
dc.subjectCost Savingsth_TH
dc.subjectMedicine--Researchth_TH
dc.subjectการวิจัยทางคลินิกth_TH
dc.subjectการทดลองในมนุษย์th_TH
dc.subjectClinical Trialsth_TH
dc.subjectสิทธิบัตรth_TH
dc.subjectPatentsth_TH
dc.subjectสิทธิบัตร--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการศึกษาสถานะการขึ้นทะเบียนยาสามัญใหม่และศักยภาพในการลดค่าใช้จ่ายด้านยาหลังจากได้รับการอนุมัติการศึกษาชีวสมมูลโดยสำนักพัฒนาการคุ้มครองการวิจัยในมนุษย์th_TH
dc.title.alternativeA Study on Registration Status of New Generic Medicines and Cost Savings After Bioequivalence Studies Approved by the Institution for the Development of Human Research Protectionsth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeBioequivalence studies are designed to compare two medicines generic drug and the original drug, that both are equal in the rate and extent to which the active pharmaceutical ingredient (API) becomes available at the site(s) of drug action. Bioequivalence study increases people’s trust in generic drugs. Bioequivalence studies are conducted in human trials in which each subject receives the same dose of each drug under similar experimental conditions. Bioequivalence is concluded when the absorption rate of the generic drug is not significantly different from of the original drug or reference drug. These studies must be approved by the research ethics committee to ensure that the research is conducted in accordance with ethical guidelines and that volunteers are adequately protected. The Institute for the Development of Human Research Protections (IHRP) has continuously reviewed and approved research involving human subjects to ensure that the research protocol meets the ethical guidelines. IHRP approval triggers bioequivalence studies in Thailand. This study aims to explore the bioequivalence projects submitted to and approved by IHRP during 2008-2021 of their success and registration by the Thai Food and Drug Administration (FDA) and local production of new generic drugs and to estimate the total cost saving if all original products were substituted by the equivalent generic medicines Quantitative statistics are used for the analysis. The results show that 14 years between 2008 and 2021, there were 737 research project proposals submitted to the IHRP, among this number, two projects withdrew. After the committee meeting, most of them (79.7%) immediately obtained ethical approval. A total of 507 studies, or two-thirds of the total projects (69.0 percent), reported successful bio-equivalent studies. There were 106 projects withdrew from conducting bioequivalence studies, while 122 projects did not provide the updated status of the studies. Among the successful studies, 53 projects received marketing authorization numbers. Of these, only 22 items have drug price information available. Most of the new generic drugs which were submitted to the IHRP and achieved drug registration numbers had a lower price than other similar drugs in the market that were launched in the same year. This reflects the possibility that the new generic drugs could gain economic savings due to the price differences. The unit price difference varies, ranging from -9.6 baht per unit (one tablet/ capsule/ milliliter) to 1,388.5 baht per unit. The highest and lowest total savings per unit of all 22 items were 1,626.4 baht and 149.2 baht per unit of medicine, respectively. However, researchers cannot access to FDA database on quantity of local manufacturing of these 22 generic drugs, it is not possible to calculate the total cost saving if original versions were fully replaced by generic version. Only four items including Sofosbuvir 400 mg, Gabapentin 300 mg, Favipiravir 200 mg, and Tenofovir+Emtricitabine 300/200 mg had the completed data of prices and quantity reported by the Government Pharmaceutical Organization. The maximum of value saving from these drugs were 1,087.4 million baht, 395.3 million baht, 93.8 million baht, and 0.9 million baht respectively. Therefore, the increased number of new generic drugs could significantly reduce cost of medicines spent by the country. This study highlights that the approval process of IHRP on bioequivalence studies is quick and it facilitates the process of having new generic medicines to the market which further resulted in huge cost saving on pharmaceutical spending of Thai health systems. The study also pointed out the opportunity for further research, such as challenges on conducting bioequivalence, strengths or success factors and weaknesses in obtaining marketing authorization numbers. These issues can be the evidence to support the development of the drug registration system in Thailand.th_TH
dc.identifier.callnoQV55 ช529ก 2566
dc.identifier.contactno66-044
dc.subject.keywordการวิจัยในมนุษย์th_TH
dc.subject.keywordBioequivalence Studiesth_TH
dc.subject.keywordNew Generic Medicinesth_TH
dc.subject.keywordGeneric Medicinesth_TH
dc.subject.keywordการลดค่าใช้จ่ายth_TH
dc.subject.keywordDrug Registrationth_TH
.custom.citationชาฮีดา วิริยาทร, Shaheda Viriyathorn, พิสภาสินี พิศาลสินธุ์, Pispasinee Pisansin, ศลิษา ฤทธิมโนมัย, Salisa Rittimanomai, วริษฐา หวังบรรจงกุล, Waritta Wangbanjongkun, วลัยพร พัชรนฤมล, Walaiporn Patcharanarumol, วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร and Viroj Tangcharoensathien. "การศึกษาสถานะการขึ้นทะเบียนยาสามัญใหม่และศักยภาพในการลดค่าใช้จ่ายด้านยาหลังจากได้รับการอนุมัติการศึกษาชีวสมมูลโดยสำนักพัฒนาการคุ้มครองการวิจัยในมนุษย์." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5999">http://hdl.handle.net/11228/5999</a>.
.custom.total_download22
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year22
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs3057.pdf
ขนาด: 688.8Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย