Show simple item record

An Economic Evaluation of Radiofrequency Ablation of Medial Branch in Patients with Chronic Low Back Pain from Facet Joints in Thailand

dc.contributor.authorมานิต สิทธิมาตรth_TH
dc.contributor.authorManit Sittimartth_TH
dc.contributor.authorButani, Dimpleth_TH
dc.contributor.authorชิตวรรณ พูนศิริth_TH
dc.contributor.authorChittawan Poonsirith_TH
dc.contributor.authorมันตา กรกฎth_TH
dc.contributor.authorManta Korakotth_TH
dc.contributor.authorปราโมทย์ เอื้อโสภณth_TH
dc.contributor.authorPramote Euasobhonth_TH
dc.contributor.authorกรวีร์ พสุธารชาติth_TH
dc.contributor.authorKoravee Pasutharnchatth_TH
dc.contributor.authorพรพรรณ เฉลิมกิจพานิชย์th_TH
dc.contributor.authorPornpan Chalermkitpanitth_TH
dc.contributor.authorศศิกานต์ นิมมานรัชต์th_TH
dc.contributor.authorSasikaan Nimmaanratth_TH
dc.contributor.authorยศ ตีระวัฒนานนท์th_TH
dc.contributor.authorYot Teerawattananonth_TH
dc.date.accessioned2024-01-19T06:24:42Z
dc.date.available2024-01-19T06:24:42Z
dc.date.issued2566-09
dc.identifier.otherhs3060
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6000
dc.description.abstractโครงการวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย ซึ่งการจี้เส้นประสาทด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง (radiofrequency ablation, RFA) สำหรับผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง (chronic low back pain) ได้ถูกนำเสนอโดยกลุ่มแพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพในกระบวนการค้นหาหัวข้อเพื่อพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ เมื่อ พ.ศ. 2562 และได้รับการคัดเลือกให้มีความสำคัญและให้มีการประเมินความคุ้มค่าและผลกระทบงบประมาณของมาตรการดังกล่าว ก่อนที่คณะอนุกรรมการกำหนดประเภทและขอบเขตในการให้บริการสาธารณสุขที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต จะพิจารณาและนำเสนอต่อคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อตัดสินใจต่อไป การประเมินความคุ้มค่านี้ดำเนินการตามคู่มือการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพของประเทศไทย โดยมีการวิเคราะห์แบบต้นทุน-อรรถประโยชน์ (cost-utility analysis) โดยใช้แบบจำลองมาร์คอฟ (Markov model) ในมุมมองทางสังคมและกรอบระยะเวลาที่ 16, 28 เดือนในกรณี base case และ 52 เดือนในกรณี scenario case ที่มีการทำ RFA ซ้ำได้ 1 ครั้ง รวมถึงประเมินผลกระทบด้านงบประมาณ (budget impact) ในกรอบระยะเวลา 5 ปี และการรวบรวมข้อมูลเรื่องความพร้อมของการให้บริการรักษาผู้ป่วยโรคปวดหลังส่วนล่างด้วยวิธี RFA ในประเทศไทย การรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังจากข้อฟาเซตด้วยวิธี RFA เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรการรักษาแบบอนุรักษ์นิยมหรือประคับประคอง (conservative/supportive care) ได้แก่ การทานยาแก้ปวด การฉีดยา การบำบัดด้วยการออกกำลังกาย มาตรการให้ความรู้ เป็นต้น ยังไม่มีความคุ้มค่าในบริบทประเทศไทย ซึ่งมีเกณฑ์ความเต็มใจจ่ายที่ 160,000 บาทต่อปีสุขภาวะ โดยมีอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่มเท่ากับ 537,394 และ 318,536 บาทต่อปีสุขภาวะ ใน base case ที่กรอบระยะเวลา 16, 28 เดือน ตามลำดับ ในกรณี scenario case นั้น หัตถการ RFA มีค่า ICER อยู่ที่ 282,484 บาท/ปีสุขภาวะ นอกจากนี้ ในราคาหัตถการ RFA เฉลี่ยที่ 22,388 บาทต่อครั้ง จะส่งผลให้เกิดภาระงบประมาณอยู่ที่ 3,466 ล้านบาทในปีแรก และ 1,558 ล้านบาทในปีถัดไป สำหรับผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ในการรับ RFA ได้ในกรณีของ base case ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงพยาบาลจำนวน 17 แห่งทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีเครื่อง RFA และแพทย์เฉพาะทางจำนวน 112 คน ที่สามารถให้หัตถการ RFA ได้ อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพมหานคร ถึงแม้หัตถการ RFA ยังไม่มีความคุ้มค่าในประเทศไทยเมื่อเทียบกับการรักษาแบบเดิมหรืออนุรักษ์นิยม กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียเสนอให้ RFA บรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ เพราะช่วยลดความแตกต่างในการเข้าถึงบริการลดปวดของผู้ป่วยระหว่างระบบประกันสุขภาพ เป็นการพัฒนาขีดความสามารถของระบบบริการลดปวดให้เกิดขึ้นในภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ นอกเหนือจากกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ๆ บางแห่งเท่านั้น การบรรจุ RFA เป็นชุดสิทธิประโยชน์ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายของระบบสุขภาพในการผ่าตัดเพื่อลดอาการปวดหลังสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ในอนาคต ซึ่งอยู่นอกเหนือกรอบการศึกษาในครั้งนี้ นอกจากนี้หากมีการต่อรองราคาให้ราคาหัตถการถูกลง จะช่วยเพิ่มความคุ้มค่าของการรักษามากยิ่งขึ้นและช่วยลดภาระงบประมาณ ซึ่งมีข้อเสนอให้เพิ่ม RFA เป็นชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยมีราคาเบิกจ่ายประมาณ 12,000 บาทต่อการบริการหนึ่งครั้ง ในลักษณะของการเบิกจ่ายเพิ่มเติม (on top) ในกรณีผู้ป่วยนอกth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectBack Painth_TH
dc.subjectปวดหลังth_TH
dc.subjectปวดหลัง--การรักษาth_TH
dc.subjectChronic Low Back Painth_TH
dc.subjectปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังth_TH
dc.subjectการประเมินผลth_TH
dc.subjectEvaluationth_TH
dc.subjectMeasurementth_TH
dc.subjectเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Economicsth_TH
dc.subjectต้นทุนต่อหน่วยth_TH
dc.subjectCost--Analysisth_TH
dc.subjectCost-Benefit Analysisth_TH
dc.subjectการวิเคราะห์ความคุ้มทุนth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการประเมินความคุ้มค่าของ Medial Branch Radiofrequency Ablation สำหรับโรคปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังจาก Facet Jointsth_TH
dc.title.alternativeAn Economic Evaluation of Radiofrequency Ablation of Medial Branch in Patients with Chronic Low Back Pain from Facet Joints in Thailandth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research project is part of the process of developing Thailand health benefit package (Universal Coverage Benefit Package: UCBP) under the Universal Coverage Scheme. In 2019, Radiofrequency Ablation ( RFA) , a therapeutic intervention for chronic low back pain ( CLBP) , was nominated by a stakeholder group of medical experts to be included in the benefit package. Following the prioritisation process, the RFA topic has been selected to have an assessment to examine the value of money and the budget impact of the intervention, prior to presenting to relevant decisionmakers including the Sub- Committee and the Board of National Health Security Office (NHSO) for further decisions. The cost- utility analysis using a Markov model was performed in following the Thai HTA guideline. RFA was compared with current conservative treatment (e. g. , medications – oral/ injection, physical therapy, pain education etc. ) from a social perspective, using 16, 28 month time horizons in the base case and 52 months in the scenario case where RFA can be repeated once. Budget impact was analysed, as well as assessing the feasibility of providing RFA treatment for CLBP patients in Thailand. With the cost- effectiveness threshold of 160,000 Baht/QALY, RFA for chronic low back pain from facet joints was not cost- effective in the Thai context, yielding the incremental cost effectiveness ratios (ICER) of 537,394 and 318,536 THB/QALY in 16-, 28-month time horizons, respectively. In the scenario case, the RFA procedure had an ICER of 282,484 THB/QALY. With an average price of RFA, 22,388 THB/ time, this resulted in a budget impact for only the intervention of 3,466 million THB in the first year and 1,558 million THB in the following years, if considering all patients who are eligible for RFA. Thailand currently has 17 hospitals, both public and private, that have RFA machines with 112 pain specialists who can perform the procedures. However, this is largely concentrated in central region of Thailand. While the relative cost- effectiveness of Radiofrequency Ablation (RFA) in the Thai context remains less favorable compared to conventional or conservative treatments, various stakeholders have advocated for the incorporation of RFA in the health benefit package. The rationale behind this proposition lies in the potential of RFA to mitigate the existing discrepancies in patient access to pain relief services between health insurance schemes. This strategic incorporation not only holds promise in developing the capacity of the pain relief service in the health system, but also promoting more distribution of pain management infrastructure and accessibility beyond Bangkok and some other major provinces. The inclusion of RFA within the benefits package also bears implications for the eventual mitigation of prospective expenditures associated with back pain surgery for chronic back pain patients, which is beyond the scope of this study to examine. Furthermore, if price negotiation is conducted for RFA procedure to be cheaper, this will increase the cost effectiveness of the procedure even more, as well as lowering overall budget impact. Considering all of the above, it is proposed to incorporate RFA in the Universal Coverage Scheme (UCS), with an add-on/ontop reimbursement tariff approximating 12,000 baht/service provision for outpatient settings.th_TH
dc.identifier.callnoW74 ม453ก 2566
dc.identifier.contactno65-076
dc.subject.keywordRadiofrequency Ablationth_TH
dc.subject.keywordRFAth_TH
.custom.citationมานิต สิทธิมาตร, Manit Sittimart, Butani, Dimple, ชิตวรรณ พูนศิริ, Chittawan Poonsiri, มันตา กรกฎ, Manta Korakot, ปราโมทย์ เอื้อโสภณ, Pramote Euasobhon, กรวีร์ พสุธารชาติ, Koravee Pasutharnchat, พรพรรณ เฉลิมกิจพานิชย์, Pornpan Chalermkitpanit, ศศิกานต์ นิมมานรัชต์, Sasikaan Nimmaanrat, ยศ ตีระวัฒนานนท์ and Yot Teerawattananon. "การประเมินความคุ้มค่าของ Medial Branch Radiofrequency Ablation สำหรับโรคปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังจาก Facet Joints." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6000">http://hdl.handle.net/11228/6000</a>.
.custom.total_download17
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year17
.custom.downloaded_fiscal_year17

Fulltext
Icon
Name: hs3060.pdf
Size: 9.295Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record