Show simple item record

Economic Evaluation of Percutaneous Epidural Adhesiolysis Catheter in Post Lumbar Surgery Syndrome and Lumbar Spinal Stenosis Patients

dc.contributor.authorณัฏฐิญา ค้าผลth_TH
dc.contributor.authorNattiya Kapolth_TH
dc.contributor.authorศุทธินี ไชยแก้วth_TH
dc.contributor.authorSuttinee Chaikaewth_TH
dc.contributor.authorยศ ตีระวัฒนานนท์th_TH
dc.contributor.authorYot Teerawattananonth_TH
dc.contributor.authorกานต์ชนก ศิริสอนth_TH
dc.contributor.authorKanchanok Sirisonth_TH
dc.contributor.authorปราโมทย์ เอื้อโสภณth_TH
dc.contributor.authorPramote Euasobhonth_TH
dc.contributor.authorนุช ตันติศิรินทร์th_TH
dc.contributor.authorNuj Tontisirinth_TH
dc.date.accessioned2024-01-25T07:22:42Z
dc.date.available2024-01-25T07:22:42Z
dc.date.issued2566-10
dc.identifier.otherhs3061
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6001
dc.description.abstractในปัจจุบันหัตถการการใช้สายสวนสลายพังผืด (Percutaneous Epidural Adhesiolysis, PEA) เป็นการรักษาทางเลือกของอาการปวดในกรณีที่ผู้ป่วยโรคช่องประสาทไขสันหลังตีบแคบและผู้ป่วยที่มีภาวะปวดไม่หายขาดหลังผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอวที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาตามมาตรฐาน (standard treatment) รวมไปถึงการรักษาด้วยการใช้ยาฉีดสเตียรอยด์เข้าช่องเหนือเยื่อไขสันหลังชั้นนอก (Epidural Steroid Injection, ESI) ซึ่งเป็นหัตถการที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบันแต่หัตถการดังกล่าวยังคงมีปัญหาเรื่องการเบิกจ่ายของกองทุนสุขภาพต่างๆ การรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังที่มีสาเหตุจากโรคช่องประสาทไขสันหลังตีบแคบและผู้ป่วยที่มีภาวะปวดไม่หายขาดหลังผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอวนั้นจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ลดความทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวด ทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาดำเนินชีวิตปกติได้ หัตถการการใช้สายสวนสลายพังผืด จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษา อีกทั้งยังเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังไม่ได้เป็นมาตรฐานการรักษาของประเทศไทย ตลอดจนมีราคาค่าใช้จ่ายที่สูง ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้การให้บริการหัตถการ PEA จำเป็นต้องมีความพร้อมของบุคลากร ซึ่งในปัจจุบันหัตถการดังกล่าวมีการบริการเฉพาะในโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เท่านั้น จึงจำเป็นต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการปฏิบัติของการให้บริการด้วยหัตถการ PEA การศึกษานี้เป็นการวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์ โดยใช้แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ Markov เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนและผลลัพธ์ของหัตถการการใช้สายสวนสลายพังผืดในการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังที่มีสาเหตุจากโรคช่องประสาทไขสันหลังตีบแคบและผู้ป่วยที่มีภาวะปวดไม่หายขาดหลังผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอวโดยเปรียบเทียบการรักษาตามมาตรฐาน (standard treatment) และการรักษาด้วยการใช้ยาฉีดสเตียรอยด์เข้าช่องเหนือเยื่อไขสันหลังชั้นนอก (epidural steroid injection) และ ศึกษาประเมินผลกระทบด้านงบประมาณ (budget impact analysis) ที่มีต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอีก 5 ปีข้างหน้า กรณีบรรจุหัตถการ PEA หรือ ESI เข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์ ผลการศึกษาด้านความคุ้มค่า พบว่า หัตถการ PEA ยังไม่มีความคุ้มค่าในบริบทประเทศไทยเมื่อเทียบกับการทำหัตถการ ESI และการรักษาตามมาตรฐาน และเมื่อพิจารณาความคุ้มค่าของหัตถการ ESI เมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาตามมาตรฐานก็ยังไม่มีความคุ้มค่าในบริบทประเทศไทยเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าหัตถการ ESI ไม่มีความคุ้มค่าที่ความเต็มใจจ่ายของประเทศไทย แต่หัตถการดังกล่าวเป็นหัตถการที่ให้บริการมาอย่างยาวนานและใช้กันอย่างแพร่หลาย ช่วยบรรเทาอาการปวด ลดความทุกข์ทรมานและเพิ่มคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยที่มีภาวะปวดไม่หายขาดหลังผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอวที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษามาตรฐาน อีกทั้ง ช่วยชะลอการผ่าตัด (delay surgery) เป็นทางเลือกในการบรรเทาอาการปวดสำหรับผู้ป่วยที่ยังไม่พร้อมผ่าตัดหรือในผู้สูงอายุในกลุ่มโรคช่องประสาทไขสันหลังตีบแคบ หรือผู้ป่วยมีภาวะปวดไม่หายขาดหลังผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอวที่จะต้องผ่าตัดซ้ำ (re-operative) อย่างไรก็ตาม หากมีการบรรจุหัตถการ ESI และ PEA เข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์ในกลุ่มผู้ป่วยโรคช่องประสาทไขสันหลังตีบแคบและผู้ป่วยที่มีภาวะปวดไม่หายขาดหลังผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอวในประเทศไทย โดยพิจารณาการทำหัตถการ ESI เพียงอย่างเดียวในกลุ่มผู้ป่วยโรคช่องประสาทไขสันหลังตีบแคบที่จำเป็นต้องได้รับหัตถการ ESI คิดเป็นงบประมาณ ปีแรก 1,098 ล้านบาท และปีถัดไปประมาณ 22 ล้านบาทต่อปี และเมื่อพิจารณาการทำหัตถการ ESI เพียงอย่างเดียวในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะปวดไม่หายขาดหลังผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอวที่คาดว่าจะได้รับหัตถการ คิดเป็นงบประมาณ ปีแรก 46 ล้านบาท และปีถัดไปประมาณ 5 ล้านบาทต่อปีth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectกระดูกสันหลังth_TH
dc.subjectSpinalth_TH
dc.subjectการประเมินผลth_TH
dc.subjectEvaluationth_TH
dc.subjectMeasurementth_TH
dc.subjectเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Economicsth_TH
dc.subjectต้นทุนต่อหน่วยth_TH
dc.subjectCost--Analysisth_TH
dc.subjectCost-Benefit Analysisth_TH
dc.subjectการวิเคราะห์ความคุ้มทุนth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของสายสวนสลายพังผืดในช่องเหนือไขสันหลังในผู้ป่วยที่มีภาวะปวดไม่หายขาดหลังผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอวและโรคช่องประสาทไขสันหลังตีบแคบth_TH
dc.title.alternativeEconomic Evaluation of Percutaneous Epidural Adhesiolysis Catheter in Post Lumbar Surgery Syndrome and Lumbar Spinal Stenosis Patientsth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativePercutaneous epidural adhesiolysis ( PEA) is an alternative treatment for individuals suffering from chronic back pain due to lumbar spinal stenosis or those experiencing persistent pain after lumbar spine surgery or post- lumbar surgery syndrome, which does not respond to conventional treatment. Standard treatment usually includes the administration of steroid injections into the space above the outer spinal cord (Epidural steroid injection; ESI), a procedure commonly practiced today but still facing challenges in reimbursement from different health insurance schemes. Treating chronic low back pain stemming from spinal canal stenosis and addressing the pain persisting after lumbar spine surgery can significantly enhance a patient's quality of life, alleviate pain, and enable their return to normal activities. The procedure employs a catheter to disrupt the membrane, thus representing a viable treatment option. It also stands as a relatively new technology not yet established as a standard treatment in Thailand and comes with a high cost, rendering it financially burdensome for patients. Moreover, providing PEA procedures necessitates a prepared workforce, with services currently limited to hospitals in the Bangkok metropolitan area. Consequently, assessing the feasibility of delivering services involving PEA procedures is imperative. This study conducted a cost- utility analysis employing a Markov economic model. It compared the costs and outcomes of percutaneous epidural adhesiolysis; PEA, for treating chronic low back pain resulting from spinal epidural stenosis and post- lumbar surgery syndrome with standard treatment and the epidural steroid injection; ESI. Additionally, the study evaluated the budget impact analysis and feasibility analysis of the universal health coverage system over the next 5 years when incorporating PEA or ESI procedures into the benefits package. The findings of the cost- effectiveness study reveal that the PEA procedure is not costeffective in the Thai context compared to the ESI procedure and standard treatment. Similarly, when assessing the cost-effectiveness of the ESI procedure compared to standard treatment, it is also not cost-effective in the Thai context. Nonetheless, despite being not cost-effective and not fully aligned with Thailand's willingness to pay for the ESI procedure, it remains a long- standing and widely used procedure. It effectively alleviates pain, reduces suffering, and enhances the quality of life for patients experiencing persistent pain after lumbar spine surgery unresponsive to standard treatment. Furthermore, it serves as an option for pain relief in cases where patients are not yet prepared for surgery or in elderly individuals with narrowed spinal canals or patients experiencing persistent pain after lumbar spine surgery requiring repeated surgery (Re-operative). In conclusion, if either ESI or PEA procedures be included in the benefits package for patients with spinal stenosis and those with unresolved pain after lumbar spine surgery in Thailand, it should be noted that considering the ESI procedure alone for patients with spinal stenosis would result in a budget requirement of 1,098 million baht for the first year and approximately 22 million baht per year in subsequent years. Similarly, if only the ESI procedure is considered for patients expected to undergo the procedure due to post- lumbar surgery syndrome, the budget for the first year would amount to 46 million baht and approximately 5 million baht per year in subsequent years.th_TH
dc.identifier.callnoW74 ณ313ก 2566
dc.identifier.contactno64-214
dc.subject.keywordสายสวนสลายพังผืดth_TH
dc.subject.keywordPercutaneous Epidural Adhesiolysisth_TH
dc.subject.keywordPEAth_TH
dc.subject.keywordEpidural Steroid Injectionth_TH
dc.subject.keywordESIth_TH
.custom.citationณัฏฐิญา ค้าผล, Nattiya Kapol, ศุทธินี ไชยแก้ว, Suttinee Chaikaew, ยศ ตีระวัฒนานนท์, Yot Teerawattananon, กานต์ชนก ศิริสอน, Kanchanok Sirison, ปราโมทย์ เอื้อโสภณ, Pramote Euasobhon, นุช ตันติศิรินทร์ and Nuj Tontisirin. "การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของสายสวนสลายพังผืดในช่องเหนือไขสันหลังในผู้ป่วยที่มีภาวะปวดไม่หายขาดหลังผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอวและโรคช่องประสาทไขสันหลังตีบแคบ." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6001">http://hdl.handle.net/11228/6001</a>.
.custom.total_download13
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year13
.custom.downloaded_fiscal_year13

Fulltext
Icon
Name: hs3061.pdf
Size: 6.948Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record