Show simple item record

Fringe Benefit, Welfare and Career Path of Personal in Health Promotion Hospital under Provincial Administrative Organization

dc.contributor.authorอติญาณ์ ศรเกษตรินth_TH
dc.contributor.authorAtiya Sarakshetrinth_TH
dc.contributor.authorดาราวรรณ รองเมืองth_TH
dc.contributor.authorDaravan Rongmuangth_TH
dc.contributor.authorรุ่งนภา จันทราth_TH
dc.contributor.authorRungnapa Chantrath_TH
dc.contributor.authorฉวีวรรณ ศรีดาวเรืองth_TH
dc.contributor.authorChaweewan Sridawruangth_TH
dc.contributor.authorอังสินี กันสุขเจริญth_TH
dc.contributor.authorAngsinee Kansukcharearnth_TH
dc.contributor.authorวรวุฒิ แสงทองth_TH
dc.contributor.authorWorawut Saengthongth_TH
dc.contributor.authorอินทิรา สุขรุ่งเรืองth_TH
dc.contributor.authorIntira Sukrungreungth_TH
dc.contributor.authorสุชาดา นิ้มวัฒนากุลth_TH
dc.contributor.authorSuchada Nimwatanakulth_TH
dc.contributor.authorฐิตารีย์ เชื้อพราหมณ์th_TH
dc.contributor.authorTitaree Chuephramth_TH
dc.date.accessioned2024-01-29T08:06:41Z
dc.date.available2024-01-29T08:06:41Z
dc.date.issued2566-10
dc.identifier.otherhs3064
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6004
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสิทธิประโยชน์สวัสดิการและความก้าวหน้าของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) 2) ศึกษาปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะสิทธิประโยชน์ สวัสดิการและความก้าวหน้าของบุคลากร รพ.สต. สังกัด อบจ. และ 3) พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายสิทธิประโยชน์ สวัสดิการและความก้าวหน้าของบุคลากร รพ.สต. สังกัด อบจ. เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนเลือกแบบแบบเจาะจงและสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของบุคลากร ได้จำนวน 430 คน เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ ท้องถิ่นจังหวัดและผู้มีอำนาจในการบริหารทรัพยากรบุคคล ผู้ตรวจเขตสุขภาพ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด นายกองค์การบริการส่วนจังหวัด ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและผู้ปฏิบัติงานใน รพ.สต. ที่ถ่ายโอน ผู้แทนจากภาคองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำเสนอข้อมูลในรูปแบบการสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อนำเสนอร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย ผลการศึกษา พบว่า 1. ศึกษาสิทธิประโยชน์ สวัสดิการและความก้าวหน้าของบุคลากร รพ.สต. สังกัด อบจ. จากการศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณในภาพรวม พบว่า ระดับความเหมาะสมของสิทธิประโยชน์ สวัสดิการและความก้าวหน้าของบุคลากรโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สอดคล้องกับการศึกษาเชิงคุณภาพ ดังนี้ 1.1 สิทธิประโยชน์ 1.1.1 การได้รับสิทธิประโยชน์ของบุคลากร โดยภาพรวมสิทธิประโยชน์ จัดให้ตามคู่มือแนวทางการดำเนินการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และ รพ.สต. แต่เรื่องงบประมาณ บางแห่งจ่ายช้าเนื่องจากไม่ได้ตั้งงบประมาณมาก่อน แต่ได้รับการแก้ไขแล้ว 1.1.2 การประเมินผลการเลื่อนเงินเดือน ที่ผ่านมาการประเมินโดยกระทรวงสาธารณสุขใช้ผลงานตามตัวชี้วัด แต่การประเมินรอบที่ผ่านมา องค์การบริหารส่วนจังหวัดยังไม่ได้ดำเนินการวางแผนเรื่องการกำหนดตัวชี้วัดในการประเมินผลงาน ทำให้บุคลากรมีความรู้สึกว่าการประเมินไม่เป็นธรรม 1.1.3 ระเบียบการเบิกจ่ายเงินที่ไม่เอื้อทำให้ส่งผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์เรื่องค่าตอบแทน เช่น ค่าตอบแทนนอกเวลา 1.2 สวัสดิการ โดยภาพรวมบุคลากรได้รับสวัสดิการภายหลังการถ่ายโอนยังคงเหมือนเดิม ไม่มีความแตกต่างกันมาก ยกเว้นเรื่องเบี้ยกันดาร 1.3 ความก้าวหน้า มีการสนับสนุนให้บุคลากรมีความก้าวหน้าในสายอาชีพตามขั้นตอนการวางแผนเส้นทางความก้าวหน้าในวิชาชีพ สนับสนุนให้บุคลากรที่มีคุณสมบัติได้ดำรงตำแหน่งชำนาญพิเศษ แต่บางสายงานไม่สามารถเติบโตได้ในงานของตนเอง เช่น ทันตาภิบาล ให้โอกาสในการอบรมสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขา รวมทั้งบุคลากรที่ถ่ายโอนยังได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 1.4 ผลการศึกษาสิทธิประโยชน์ สวัสดิการและความก้าวหน้าของบุคลากร รพ.สต. สังกัด อบจ. จากการวิเคราะห์เอกสาร พบว่า ไม่มีความแตกต่างของแนวทางการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนให้บุคลากรได้รับสิทธิประโยชน์ สวัสดิการและความก้าวหน้าดังเดิม 2. ศึกษาปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะสิทธิประโยชน์ สวัสดิการและความก้าวหน้าของบุคลากร รพ.สต. สังกัด อบจ.พบว่า บางพื้นที่สามารถดำเนินการเรื่องสิทธิประโยชน์ได้ แต่ยังไม่ชัดเจนเรื่อง ระเบียบของพนักงานกระทรวงสาธารณสุขที่จะหมดสัญญา ปี พ.ศ. 2568 ความก้าวหน้าของบุคลากรประเภทลูกจ้างและพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.) ที่ไม่มีช่องทางปรับเลื่อนระดับ 3. พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายสิทธิประโยชน์ สวัสดิการและความก้าวหน้าของบุคลากร รพ.สต. สังกัด อบจ. สรุปประเด็นดังนี้ 3.1 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ควรจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใช้กระบวนสื่อสารให้กับบุคลากร สร้างความเข้าใจสิทธิประโยชน์เดิม เนื่องจากแต่ละพื้นที่มีการดำเนินงานที่แตกต่างกัน รวมถึงเป็นแนวทางการดำเนินงานสำหรับพื้นที่ใหม่ที่กำลังจะถ่ายโอน 3.2 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ควรทบทวนกฎระเบียบที่ไม่สามารถดำเนินการได้ เช่น การเบิกจ่ายต่างๆ จากท้องถิ่น เพื่อให้บุคลากรได้รับสิทธิประโยชน์ สวัสดิการและความก้าวหน้าไม่ต่ำกว่าเดิม ระเบียบต่างๆ ที่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน รวมทั้งระเบียบการจ้างงานพนักงานกระทรวง ลูกจ้างชั่วคราว รวมทั้งการจัดรูปแบบการจัดการบุคลากรตามขนาดและความแตกต่างของท้องถิ่นและทบทวนค่าตอบแทนสำหรับบุคลากรที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เฉพาะห่างไกลและทุรกันดาร กลไกและแนวทางการจ่ายค่าตอบแทนการปฏิบัติงานล่วงเวลาของเจ้าหน้าที่ได้รับค่าตอบแทนล่วงเวลา 3.3 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมแนวทางการจ้างบุคลากรทุกประเภทของ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนให้แก่ อบจ. ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับภารกิจเพื่อให้สามารถขึ้นค่าตอบแทนให้แก่ลูกจ้างเงินบำรุงฯ ได้ ส่งผลเรื่องขวัญกำลังใจของบุคลากร 3.4 องค์การบริหารส่วนจังหวัดควรให้การสนับสนุนด้านความก้าวหน้าของบุคลากรในการเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น เช่น ชำนาญการพิเศษ การเปลี่ยนสายงาน และจัดทำคู่มือ/ขั้นตอน ระเบียบ/แนวทางการปฏิบัติ โดยประกาศให้ทราบอย่างทั่วกัน 3.5 สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข หรือสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ควรดำเนินการเชิงรุกในการทำหนังสือบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อร่วมมือในการผลิต และพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ ที่สอดรับกับการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ 3.6 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นควรเร่งรัดเรื่องโครงสร้างอัตรากำลังของ รพ.สต. รวมทั้งการบริหารอัตรากำลัง เพื่อให้รองรับและสอดคล้องกับความรับผิดชอบงานของ รพ.สต ถ่ายโอนที่มีภารกิจมากขึ้น ตามบริบทสุขภาพพื้นที่ 3.7 คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นในระดับพื้นที่ดำเนินการจัดการเรื่องมาตรฐานกลาง การบริหารงานบุคคล การปรับปรุงโครงสร้างและกรอบอัตรากำลัง หลักเกณฑ์ความก้าวหน้าในสายอาชีพ เงินค่าตอบแทน สวัสดิการ กำหนดโครงสร้างกรอบอัตรากำลังth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสาธารณสุขth_TH
dc.subjectบุคลากรทางการแพทย์th_TH
dc.subjectMedical Personnelth_TH
dc.subjectHealth Manpowerth_TH
dc.subjectHealth Workerth_TH
dc.subjectHealth Workforceth_TH
dc.subjectบริการปฐมภูมิ (การแพทย์)th_TH
dc.subjectPrimary Care (Medicine)th_TH
dc.subjectHealth--Managementth_TH
dc.subjectการจัดการด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectPublic Health Administrationth_TH
dc.subjectการกระจายอำนาจด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลth_TH
dc.subjectองค์การบริหารส่วนจังหวัดth_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleสิทธิประโยชน์ สวัสดิการ และความก้าวหน้าของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดth_TH
dc.title.alternativeFringe Benefit, Welfare and Career Path of Personal in Health Promotion Hospital under Provincial Administrative Organizationth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this mixed- method research were 1) to study the benefits, welfare, and career progression of personnel of health promotion hospital under provincial administrative organizations 2) to explore the problems, challenges, recommendations for benefits, welfare, and career progression of personnel of health promotion hospital under provincial administrative organizations and 3) to develop policy proposals for benefits, welfare, and career progression of personnel of health promotion hospital under provincial administrative organizations. Quantitative data was collected using an online survey. The sample was healthcare personnel who transferred to work under provincial administrative organizations. A total sample of 430 healthcare personnel was selected by purposive sampling and then stratified random sampling according to the proportion of personnel. Qualitative data was collected from key informant including experts, executives of the Ministry of Public Health, executives of provincial administrative organizations, local health committee, person who has authority in human resource management, regional health officer, provincial public health officer, chief executive of the provincial administrative organization, director of the public health division, personal in health promotion hospital under provincial administrative organization, and the representative from provincial administrative organization. Then, the data was presented in the form of a seminar for experts to present a draft policy proposal. The results show that: 1. The benefits, welfare, and career progression of personnel of health promotion hospital under provincial administrative organizations from the qualitative data reveal that overall level of appropriateness of the rights, benefits, and career advancement of personnel is moderate which is consistent with the qualitative data as follows: 1.1 Benefit 1.1.1 In general, benefits are provided according to the guidelines for the transfer of healthcare center responsibilities. However, some budgets are slow to pay because they were not set before, but it has been fixed. 1. 1. 2 Performance evaluation for salary increase: in the past, the Ministry of Public Health evaluated performance based on key performance indicators. owever, in the previous round of evaluations, the provincial administrative organization had not yet implemented a plan for determining key performance indicators in performance evaluations. Therefore, the employees feel that the evaluation is unfair. 1.1.3 Payment regulations that are not conducive have an impact on benefits such as overtime pay. 1.2 Welfare: overall, the benefits received by personnel after the transfer remain the same. There is not much difference except for pensions. 1.3 Progression: the provincial administrative organization supports personnel to have career advancement according to the steps of career path planning. However, some careers cannot grow in their own field such as dental hygienist. Providing opportunities for training to develop expertise in a particular field. Moreover, transferred personnel still receive academic support from the provincial public health office. 1.4 The results of a study on the benefits, welfare, and advancement of health promotion hospitals personnel under the jurisdiction of the provincial administrative organization based on document analysis shows that there is no difference in the operating guidelines to support personnel to receive benefits, welfare, and advancement, as usual. 2. The results of a study of the problems, obstacles, recommendations for benefits, welfare, and advancement of personnel at health promotion hospitals under the jurisdiction of provincial administrative organizations shows that only some provinces that can provide benefits. The regulations for the employees of the Ministry of Public Health who will expire their contract in 2025 are not yet clear. The career advancement of non- civil servant personnel and Ministry of Public Health employees who do not have the opportunity to be promoted to civil servant positions. 3. The policy proposals for benefits, welfare, and advancement of personnel of the health promotion hospital under the jurisdiction of the provincial administrative organization can be summarized as follows: 3. 1 The Department of Local Administration should organize learning exchange activities and use communication processes for personnel to create an understanding of the original benefits, as each area has different operations, including as a guideline for operations for new areas that are about to be transferred. 3. 2 The Department of Local Administration should review regulations that cannot be implemented such as payments from local governments to ensure that personnel receive benefits, welfare, and career advancement at least at the same level as before, various regulations that facilitate operations, including employment regulations, ministry employees, temporary employees, as well as the personnel management according to the size and differences of the locality. The Department of Local Administration should review both the compensation for personnel in remote and underdeveloped areas and establish clear procedures for paying overtime to eligible officials who receive overtime compensation. 3. 3 Provincial administrative organizations should take steps to amend and supplement the guidelines for hiring all types of personnel of health promotion hospitals transferred to local administrative organizations to be appropriate and in line with the mission so that they can increase compensation for maintenance employees, resulting in the morale of the personnel. 3.4 Local administrative organizations should support the career advancement of personnel in entering higher positions, such as special experts, changing careers, and preparing manuals/ procedures/ regulations/ guidelines for practice and announcing them to the public. 3.5 Praboromarajchanok Institute, Ministry of Public Health or other educational institutions in Thailand should take the initiative to collaborate with their local provincial administrative organizations. This collaboration could take many forms, such as joint research projects, community service initiatives, or student internship programs. 3.6 The Department of Local Administration should expedite the matter of the structure and management of staffing for health promotion hospitals to accommodate and align with the increased responsibilities of transferred PHCs, according to the health context of the area. 3.7 The local personnel management standard committee at the local level should develop and implement the standards for personnel management at the local level including the structure and framework of staffing, criteria for career advancement, salaries and benefits, and other related matters.th_TH
dc.identifier.callnoW76 อ137ส 2566
dc.identifier.contactno66-104
dc.subject.keywordHealth Decentralizeth_TH
dc.subject.keywordHealth Decentralizationth_TH
dc.subject.keywordการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขth_TH
dc.subject.keywordรพ.สต.th_TH
dc.subject.keywordอบจ.th_TH
.custom.citationอติญาณ์ ศรเกษตริน, Atiya Sarakshetrin, ดาราวรรณ รองเมือง, Daravan Rongmuang, รุ่งนภา จันทรา, Rungnapa Chantra, ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง, Chaweewan Sridawruang, อังสินี กันสุขเจริญ, Angsinee Kansukcharearn, วรวุฒิ แสงทอง, Worawut Saengthong, อินทิรา สุขรุ่งเรือง, Intira Sukrungreung, สุชาดา นิ้มวัฒนากุล, Suchada Nimwatanakul, ฐิตารีย์ เชื้อพราหมณ์ and Titaree Chuephram. "สิทธิประโยชน์ สวัสดิการ และความก้าวหน้าของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6004">http://hdl.handle.net/11228/6004</a>.
.custom.total_download218
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year218
.custom.downloaded_fiscal_year7

Fulltext
Icon
Name: hs3064.pdf
Size: 2.226Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record