dc.contributor.author | ศิริรัตน์ อนุตระกูลชัย | th_TH |
dc.contributor.author | Sirirat Anutrakulchai | th_TH |
dc.contributor.author | สุณี เลิศสินอุดม | th_TH |
dc.contributor.author | Sunee Lertsinudom | th_TH |
dc.contributor.author | อัมพรพรรณ ธีรานุตร | th_TH |
dc.contributor.author | Ampornpan Theeranut | th_TH |
dc.contributor.author | อุบล ชาอ่อน | th_TH |
dc.contributor.author | Ubon Cha’on | th_TH |
dc.contributor.author | บัณฑิต ถิ่นคำรพ | th_TH |
dc.contributor.author | Bandit Thinkhamrop | th_TH |
dc.contributor.author | จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์ | th_TH |
dc.contributor.author | Chulaporn Limwattananon | th_TH |
dc.contributor.author | ชลธิป พงศ์สกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Chonlatip Pongsakul | th_TH |
dc.contributor.author | ณิชานันทน์ ปัญญาเอก | th_TH |
dc.contributor.author | Nichanun Panyaek | th_TH |
dc.contributor.author | เอกลักษณ์ ลักขณาลิขิตกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Eakalak Lukkanalikitkul | th_TH |
dc.contributor.author | ธีรวัฒน์ มธุรส | th_TH |
dc.contributor.author | Teerawat Mathuros | th_TH |
dc.contributor.author | พัทธนันท์ คงทอง | th_TH |
dc.contributor.author | Phatthanunt Khongthong | th_TH |
dc.contributor.author | ณฐาภพ ชัยชญา | th_TH |
dc.contributor.author | Nathaphop Chaichaya | th_TH |
dc.contributor.author | ธิดารัตน์ มงคลสุคนธรัก | th_TH |
dc.contributor.author | Thidarut Mongkolsukontharuk | th_TH |
dc.date.accessioned | 2024-02-07T06:58:44Z | |
dc.date.available | 2024-02-07T06:58:44Z | |
dc.date.issued | 2567-01 | |
dc.identifier.isbn | 9786166085457 | |
dc.identifier.other | hs3065 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/6005 | |
dc.description.abstract | โครงการป้องกันและชะลอโรคไตเรื้อรังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ดำเนินการสร้างรูปแบบ (โมเดล) เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและลดปัญหาสุขภาพในชุมชน ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พบว่าสิ่งที่มีผลต่อการดูแลรักษาที่ดี คือ การได้รับการดูแลแบบเข้มงวดจากสหสาขาวิชาชีพ การอบรมให้ความรู้และกระตุ้นส่งเสริมการดูแลสุขภาพแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และประชาชนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการใช้สื่อที่กระทบประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะทำให้ได้ผลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดี ป้องกันและชะลอโรคไตเรื้อรัง แต่เมื่อเกิดการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้รูปแบบการรวมกลุ่มที่ผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสหสาขาลงไปในชุมชนไม่สามารถกระทำต่อเนื่องได้แบบเดิม คณะดำเนินงานจึงได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบ โดยนำแนวคิดระบบสุขภาพระยะไกลมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยได้นำไปทดสอบในพื้นที่นำร่อง 8 จุด ภายใต้การดูแลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จำนวน 7 แห่ง ในเขตอำเภออุบลรัตน์ และอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น โดยได้ทำการคัดกรองโรคไตเรื้อรังในประชาชน ณ พื้นที่ดังกล่าว จำนวน 751 คน จากนั้นได้แบ่งพื้นที่ 8 จุด ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยประชากรทั้ง 2 กลุ่มมีอายุ เพศ จำนวนผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและโรคไตเรื้อรังไม่ต่างกัน ทั้ง 2 กลุ่มได้รับการดูแลตามระบบมาตรฐานเหมือนกัน แต่สิ่งที่ต่างกัน คือ มีการเพิ่มเติมการดูแลอาสาสมัครในกลุ่มทดลอง ด้วยการนำระบบสุขภาพระยะไกล (KKU CKD Telehealth platform) แอพลิเคชัน “อสม รักษ์ไต” และระบบลงทะเบียนเพื่อติดตามกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วย โดยให้ความรู้เรื่องโรคไตเป็นระยะ จากนั้นมีการประเมินด้านประสิทธิผลโดยพิจารณาจากผลลัพธ์ทางคลินิกในการควบคุมโรค และด้านประสิทธิภาพโดยพิจารณาจากการเข้าถึงบริการและความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ โดยเปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า ได้ผลลัพธ์ประสิทธิผลในด้านการป้องกันและลดความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะอ้วนที่ชัดเจนมากขึ้นในกลุ่มทดลอง กล่าวคือ ดัชนีมวลกายของอาสาสมัครลดลง 1.09 กก./ตร.ม. ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีการลดลงของความดันโลหิตซิสโตลิก/ไดแอสโตลิก 7/4 มม.ปรอท และในคนที่เป็นโรคเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดลดลง 14.95 มก./ดล. แต่ยังไม่เห็นผลในการลดความรุนแรงของโรคไต อาจเป็นเพราะระยะเวลาการดำเนินการวิจัยสั้นเพียง 8 เดือน อาจจะทำให้ยังไม่เห็นผลการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจากงานวิจัยที่ผ่านมา ควรใช้เวลาประมาณ 1-3 ปีถึงจะเห็นการลดลงของการเสื่อมของไต นอกจากนี้ผลการดำเนินงาน พบว่า สามารถลดพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไตและโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ ลดเค็ม ลดการสูบบุหรี่ การใช้ยาชุดที่มีส่วนประกอบของยา NSAIDs (Non-Stearoidal Anitiinflammatory Drugs) และสเตียรอยด์ การใช้สารเคมีเพื่อปราบศัตรูพืชในการเกษตรและการดื่มสุรา ซึ่งเมื่อประเมินผลด้านประสิทธิภาพพบว่าสามารถลดผู้ป่วยรายใหม่ของโรคความดันโลหิตสูงและมีการเข้าถึงบริการมากขึ้น (ร้อยละ 94.9) เทียบกับกลุ่มควบคุม (ร้อยละ 60.4) และมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นต้นแบบและนำไปขยายผลในระดับนโยบายของประเทศได้ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | โรคไต | th_TH |
dc.subject | Kidneys | th_TH |
dc.subject | โรคไตเรื้อรัง | th_TH |
dc.subject | Chronic Kidney Disease | th_TH |
dc.subject | Telehealth | th_TH |
dc.subject | Telemedicine | th_TH |
dc.subject | การแพทย์ทางไกล | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน | th_TH |
dc.subject | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล | th_TH |
dc.subject | โปรแกรมประยุกต์ | th_TH |
dc.subject | Application Software | th_TH |
dc.subject | Mobile Applications | th_TH |
dc.subject | โทรศัพท์เคลื่อนที่--โปรแกรมประยุกต์ | th_TH |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.subject | ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) | th_TH |
dc.title | ประสิทธิผลและประสิทธิภาพของนวัตกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังแบบไร้รอยต่อและครอบคลุมด้วยระบบสุขภาพระยะไกล | th_TH |
dc.title.alternative | Effectiveness and Efficiency of Telehealth Innovation for Seamless and Comprehensive Chronic Kidney Disease Care | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | During the past 5 years, the Chronic Kidney Disease Prevention in the Northeast of Thailand (CKDNET) project has been working on a model to change behavior and reduce health problems in the community. It was found that the factors to obtain a good outcome are the intensive approach providing by the multidisciplinary team, health education training, and stimulate health volunteers and clients to promote health care continuously, including the use of media that affect to the five senses. This will be effective in changing behavior in a positive way to prevent and delay chronic kidney disease. However, when the COVID-19 pandemic occurs, the multidisciplinary team cannot work in the community as before. Therefore, the telehealth system is established and applied to fit the situation. The trial was conducted in 8 pilot areas under the supervision of Subdistrict Health Promoting Hospitals in Ubonratana and Nam Phong districts, Khon Kaen province and 751 people were screened for chronic kidney disease. The 8 areas were then divided into 2 groups, the experimental group and the control group, in which both groups having no statistical differences in age, sex, and numbers of people with diabetes, hypertension and chronic kidney disease. Both groups received the same standard of care, but the difference was that the KKU CKD Telehealth Platform, application "Or Sor Mor Rak Tai" for health volunteer and CKD registry were implemented in the experimental group for periodic health education and monitoring of high-risk persons and patients. The effectiveness was then assessed based on clinical outcomes and efficacy based on access to health services, comparing between the experimental and control groups. The results indicate improved health outcomes, including control of weight, blood pressure, and blood sugar levels compared to the control group. The experimental group had changed systolic/diastolic blood pressure by 7/4 mmHg in the CKD group, the BMI decreased by 1.09 kg/m² , and in people with diabetes, blood sugar levels decreased by 14.95 mg/dl. However, no effect has been seen in reducing the severity of kidney disease. It may be because the duration of the second phase of the procedure is as short as 8 months, so there may still be no change effect. which from the previous reports, it should take about 1-3 years to see a decrease in kidney deterioration. In addition, the results showed that it was able to reduce behaviors at risk of kidney disease and non-communicable diseases, namely salt reduction, smoking, the use of a series of drugs containing NSAIDs (nonstearoidal anitiinflammatory drugs) and steroids, the use of chemicals to combat pests in agriculture, and alcohol consumption. When evaluating the effectiveness, It was found to reduce the new cases of hypertension as well as increase access to healthcare services (94.9 %) compared to controls (60.4% ) and have economic value which can be developed as a model and can be expanded at the national policy level. | th_TH |
dc.identifier.callno | WJ340 ศ481ป 2567 | |
dc.identifier.contactno | 65-013 | |
dc.subject.keyword | อสม. | th_TH |
dc.subject.keyword | รพ.สต. | th_TH |
.custom.citation | ศิริรัตน์ อนุตระกูลชัย, Sirirat Anutrakulchai, สุณี เลิศสินอุดม, Sunee Lertsinudom, อัมพรพรรณ ธีรานุตร, Ampornpan Theeranut, อุบล ชาอ่อน, Ubon Cha’on, บัณฑิต ถิ่นคำรพ, Bandit Thinkhamrop, จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์, Chulaporn Limwattananon, ชลธิป พงศ์สกุล, Chonlatip Pongsakul, ณิชานันทน์ ปัญญาเอก, Nichanun Panyaek, เอกลักษณ์ ลักขณาลิขิตกุล, Eakalak Lukkanalikitkul, ธีรวัฒน์ มธุรส, Teerawat Mathuros, พัทธนันท์ คงทอง, Phatthanunt Khongthong, ณฐาภพ ชัยชญา, Nathaphop Chaichaya, ธิดารัตน์ มงคลสุคนธรัก and Thidarut Mongkolsukontharuk. "ประสิทธิผลและประสิทธิภาพของนวัตกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังแบบไร้รอยต่อและครอบคลุมด้วยระบบสุขภาพระยะไกล." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6005">http://hdl.handle.net/11228/6005</a>. | |
.custom.total_download | 55 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 2 | |
.custom.downloaded_this_year | 55 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 8 | |