แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

แผนงานพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายและการประเมินสถานะด้านสุขภาพหนึ่งเดียวในระดับประเทศ และระดับจังหวัด

dc.contributor.authorรัตนพร ตั้งวังวิวัฒน์th_TH
dc.contributor.authorRatanaporn Tangwangvivatth_TH
dc.contributor.authorมนัญญา ประเสริฐสุขth_TH
dc.contributor.authorMananya Prasertsookth_TH
dc.contributor.authorชฎาภรณ์ เพียรเจริญth_TH
dc.contributor.authorChadaporn Phiancharoenth_TH
dc.contributor.authorชิติ หุ่นอุตกฤษณ์th_TH
dc.contributor.authorChiti Hoonaukitth_TH
dc.contributor.authorสุวรรณา กาหลงth_TH
dc.contributor.authorSuwanna Kalongth_TH
dc.contributor.authorอังคณา เลขะกุลth_TH
dc.contributor.authorAngkana Lekagulth_TH
dc.contributor.authorวันวิสาห์ แก้วขันแข็งth_TH
dc.contributor.authorWanwisa Kaewkhankhaength_TH
dc.date.accessioned2024-02-09T02:18:10Z
dc.date.available2024-02-09T02:18:10Z
dc.date.issued2567-01
dc.identifier.otherhs3069
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6007
dc.description.abstractภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีรายงานการเกิดโรคติดต่อจากสัตว์และคน และภูมิภาคนี้ประสบปัญหาโรคระบาดจากสัตว์สู่คนหลายครั้งในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา ตัวอย่างเช่น การระบาดของไวรัสนิปาห์ (Nipah Virus) ที่มีการตรวจพบครั้งแรกในมาเลเซียในปี พ.ศ. 2541-2542 โดยมีผู้ป่วยต้องสงสัยจำนวน 265 ราย ไวรัสชนิดนี้ได้แพร่กระจายจากค้างคาว (แหล่งรังโรคในสัตว์ตามธรรมชาติ) สู่สุกรและต่อมาได้แพร่กระจายจากสุกรสู่คน รวมถึงการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เริ่มมีการระบาดจากภูมิภาคเอเชีย แล้วส่งผลกระทบไปทั่วโลก ประกอบกับข้อมูลจาก World Organization for Animal Health (WOAH) พบว่า โรคอุบัติใหม่ส่วนใหญ่เป็นโรคที่มาจากสัตว์ การนำแนวคิดด้านสุขภาพหนึ่งเดียวมาใช้ในการแก้ปัญหาโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ ถือว่ามีประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากเป็นการมองภาพในองค์รวม ทั้งภาคส่วนของสุขภาพคน สุขภาพสัตว์และสิ่งแวดล้อม สำหรับแผนปฏิบัติการที่ผ่านมา (พ.ศ. 2560-2564) นั้น ได้มีการดำเนินการในแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่เกิดการชะงักเนื่องจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้ไม่ได้มีการติดตามการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับส่วนของกระทรวงสาธารณสุขมีบทบาทในการป้องกันควบคุมโรคอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการไม่ได้เต็มที่รวมถึงประสบการณ์การดำเนินงานและการจัดการผลกระทบที่แต่ละหน่วยงานได้รับ ทำให้ต้องมีการปรับแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ความเป็นจริง ศูนย์ประสานงานสุขภาพหนึ่งเดียวในฐานะหน่วยงานกลาง ที่มีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งภาคสุขภาพคน สัตว์และสิ่งแวดล้อม จึงเป็นกลไกในการพัฒนางานแบบบูรณาการด้านสุขภาพหนึ่งเดียว มีกลไกการประสานงานและสามารถต่อยอดในการแบ่งปันข้อมูลด้านโรคหรือเชื้ออุบัติใหม่ที่มีศักยภาพในการเกิดโรคในอนาคต ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุขฉุกเฉิน รวมถึงพัฒนาเครื่องมือในการประเมินสถานะระดับจังหวัดและระดับประเทศ กรมควบคุมโรคจึงได้จัดทำแผนงานพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายด้านสุขภาพหนึ่งเดียวในระดับประเทศและระดับจังหวัด เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการเตรียมทรัพยากร และเพิ่มขีดความสามารถด้านสาธารณสุขฉุกเฉิน โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) พัฒนาแผนปฏิบัติการการดำเนินงานด้านสุขภาพหนึ่งเดียวในระดับประเทศ 2) พัฒนาเครือข่ายและกลไกในการประสานงานและแบ่งปันข้อมูลระหว่างเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งด้านสุขภาพคน สัตว์และสิ่งแวดล้อมในระดับประเทศและระดับจังหวัด เพื่อเสนอต่อผู้บริหารในการเตรียมพร้อมรับมือโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ และ 3) พัฒนาเครื่องมือในการประเมินสถานะ การทำงานร่วมกันแบบสุขภาพหนึ่งเดียวที่ระดับจังหวัด โดยมีการดำเนินงานโดยการวิเคราะห์และเปรียบเทียบเครื่องมือประเมินสถานะการดำเนินงานสุขภาพหนึ่งเดียว เช่น เครื่องมือ State Party Self-Assessment Annual Reporting Tool (SPAR) เครื่องมือ Joint External Evaluation (JEE) เครื่องมือ Performance of Veterinary Services (PVS) มาเปรียบเทียบกับเครื่องมือประเมินสถานะการดำเนินงานสุขภาพหนึ่งเดียว และได้นำข้อบกพร่องมาปรับปรุงเข้าไปในเกณฑ์การประเมินเพื่อให้การประเมินครบถ้วนและครอบคลุมในด้านคน สัตว์และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งมีการปรับปรุงเกณฑ์การให้คะแนนระดับสถานะสุขภาพหนึ่งเดียวให้เกิดการให้คะแนนที่ชัดเจน และไม่คลุมเครือ จากนั้นได้นำเครื่องมือประเมินสถานะหนึ่งเดียวลงไปใช้ประเมินการทำงานจริง ทำพื้นที่ต้นแบบในการประเมินได้ทราบสถานะการดำเนินงานด้านสุขภาพหนึ่งเดียวของตนเองและทราบประเด็นที่ท้าทาย ที่พื้นที่ต้องไปดำเนินการต่อ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพสุขภาพหนึ่งเดียวต่อไป โดยได้มีผลผลิตเชิงประจักษ์ อาทิ คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนหน่วยบูรณาการสุขภาพหนึ่งเดียวและการประเมินสถานะสุขภาพหนึ่งเดียว ระดับเขตสุขภาพและระดับจังหวัด เกณฑ์การประเมินที่นำไปใช้จริงในจังหวัดนำร่อง (จังหวัดเชียงใหม่) และแผนปฏิบัติการด้านสุขภาพหนึ่งเดียวth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectOne Healthth_TH
dc.subjectสุขภาพองค์รวมth_TH
dc.subjectเวชศาสตร์ฉุกเฉินth_TH
dc.subjectEmerging Infectious Diseasesth_TH
dc.subjectEnvironment and Public Healthth_TH
dc.subjectHealth--Managementth_TH
dc.subjectการจัดการด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectPublic Health Administrationth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleแผนงานพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายและการประเมินสถานะด้านสุขภาพหนึ่งเดียวในระดับประเทศ และระดับจังหวัดth_TH
dc.title.alternativeThe Roadmap of Capacity Building for One Health Network and the Conduct of National and Provincial One Health Assessment in Thailandth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeZoonotic diseases have been reported several times in Southeast Asia, especially in the past few decades. For example, during 1998-1999, the first Nipah virus outbreak was reported in Malaysia, and the suspected cases for this virus would be 256. In general, this kind of virus can spread from bats, which are one of the natural reservoirs, to pigs. After that, the virus can be transmitted from pigs to humans. Besides, Nipah virus, COVID-19, one of zoonotic diseases originating in Asia, has caused enormous negative impacts throughout the world. According to World Organization for Animal Health (WOAH), most of Emerging Infectious Diseases (EIDs) have an animal origin. As handling emerging and re-emerging diseases effectively needs close and constructive collaboration among all relevant sectors, ranging from human and animal to environmental health, therefore multisectoral collaboration through One Health approach is of prime importance for this public health situation. Regarding the previous action plan (2017–2021), there were many activities implemented among related organizations; however, because of COVID-19, some of them needed to be suspended. In addition, during the difficult situation of COVID-19, the Ministry of Public Health had to take all measures in preventing and controlling this disease, which made an effect on the implementation of some activities. Therefore, the action plan needed to be adjusted according to the situation during that time. Coordinating unit for One Health, the center for One Health collaboration, has its mechanism to work with all related partners (human, animal, and environmental health) both public and private sectors. Most importantly, information sharing, capacity building, National and Provincial One Health assessment, as well as effective preparedness plans have been developed and strengthened for dealing with public health emergency and other unexpected situation at all levels. In addition, the Department of Disease Control has devised the One Health Plan both in national and provincial levels, which are beneficial to allocating resources and building capacity. The objectives of this project are: 1) to develop the national action plan for One Health 2) to develop the network and mechanism for coordination and information sharing between human, animal and environmental health sectors at the national and provincial levels in order to propose them to the policy makers. 3) to develop tools for One Health Assessment at the subnational and provincial level. For the third objective, the tool developed would be analyzed and compared with other tools devised by international organizations, such as State Party Self-Assessment Annual Reporting Tool (SPAR), Joint External Evaluation (JEE) and the Performance of Veterinary Services (PVS). As a result, the One Health Assessment tool can be applied to assess human, animal, and environmental health comprehensively. Moreover, the criteria for this tool would be clear, precise and practical in the real situation. Consequently, with the use of this tool, the local authorities responsible for One Health can know their One Health status, challenging situation, and the way forward as well as how to strengthen the capacity building for One Health in their areas. The results of this project are the Multisectoral Coordination (One Health) Unit and One Health Assessment at the Sub-national and provincial levels, the criteria for One Health Assessment implemented in the pilot province (Chieng-Mai), and the One Health Action Planth_TH
dc.identifier.callnoWA540.JT3 ร372ผ 2567
dc.identifier.contactno66-113
dc.subject.keywordEIDsth_TH
dc.subject.keywordสุขภาพหนึ่งเดียวth_TH
dc.subject.keywordสาธารณสุขฉุกเฉินth_TH
.custom.citationรัตนพร ตั้งวังวิวัฒน์, Ratanaporn Tangwangvivat, มนัญญา ประเสริฐสุข, Mananya Prasertsook, ชฎาภรณ์ เพียรเจริญ, Chadaporn Phiancharoen, ชิติ หุ่นอุตกฤษณ์, Chiti Hoonaukit, สุวรรณา กาหลง, Suwanna Kalong, อังคณา เลขะกุล, Angkana Lekagul, วันวิสาห์ แก้วขันแข็ง and Wanwisa Kaewkhankhaeng. "แผนงานพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายและการประเมินสถานะด้านสุขภาพหนึ่งเดียวในระดับประเทศ และระดับจังหวัด." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6007">http://hdl.handle.net/11228/6007</a>.
.custom.total_download24
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year24
.custom.downloaded_fiscal_year4

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs3069.pdf
ขนาด: 7.422Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย