Show simple item record

Using the CFIR, RE-AIM, and NPT to Analyze and Scale Up the Community-Based Surveillance and Preventative System for Suicide

dc.contributor.authorมธุรส ทิพยมงคลกุลth_TH
dc.contributor.authorMathuros Tipayamongkholgulth_TH
dc.contributor.authorพัชรี วีรพันธุ์th_TH
dc.contributor.authorPatcharee Veeraphanth_TH
dc.contributor.authorสุรัสวดี กลิ่นชั้นth_TH
dc.contributor.authorSuratsawadee Klinchanth_TH
dc.contributor.authorอรพิน ยอดกลางth_TH
dc.contributor.authorOrapin Yodklangth_TH
dc.contributor.authorศิริพร อูปแปงth_TH
dc.contributor.authorSiriporn Oubpangth_TH
dc.contributor.authorอมรรัตน์ ยาวิชัยth_TH
dc.contributor.authorAmonrat Yavichaith_TH
dc.date.accessioned2024-02-29T07:29:13Z
dc.date.available2024-02-29T07:29:13Z
dc.date.issued2567-01
dc.identifier.otherhs3078
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6017
dc.description.abstractสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูนได้พัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตาย เรียกว่า “ระบบเฝ้าระวังและป้องกันการฆ่าตัวตายที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน หรือยุทธศาสตร์ 4 เสา” เพื่อลดอัตราการฆ่าตัวตายในจังหวัด โดยดำเนินงานทุกอำเภอ ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 ซึ่งยุทธศาสตร์ 4 เสา ประกอบด้วย 1) ระบบข้อมูล 2) การตรวจจับสัญญาณเสี่ยงการฆ่าตัวตาย 3) การให้ความช่วยเหลือเยียวยา และ 4) การบริหารจัดการเชิงบูรณาการหลายภาคส่วน การวิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยวิธีผสมผสานใน 3 อำเภอตัวอย่าง เพื่อวัดผลลัพธ์ของยุทธศาสตร์ 4 เสา ในการป้องกันการฆ่าตัวตายและอธิบายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลลัพธ์การดำเนินงานยุทธศาสตร์ 4 เสา ในจังหวัดลำพูนตามกรอบแนวคิดการวิจัยดำเนินการ Reach, Effective, Adoption, Implementation and Maintenance (RE-AIM), Consolidated Framework for Implementation Research (CFIR) และ Normalization Process Theory (NPT) เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ด้วยเครื่องมือการวิจัยพัฒนาจากกรอบแนวคิดการวิจัยดำเนินการ RE-AIM, CFIR และ NPT วิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์และอภิปรายกลุ่มด้วยวิธีวิเคราะห์แก่นสาระ ตามกรอบแนวคิด RE-AIM, CFIR และ NPT วิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจชุมชนด้วย จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติ F-test กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า อัตราฆ่าตัวตายสำเร็จลดลง ร้อยละ 13 โดยร้อยละ 44 ของผู้ที่ฆ่าตัวตาย ส่งสัญญาณเสี่ยงแต่ไม่ได้รับการช่วยเหลือ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับระดับความรู้และทัศนคติชุมชนต่อการฆ่าตัวตาย ผลการดำเนินงานยุทธศาสตร์ฆ่าตัวตายพบปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงานได้แก่ คุณลักษณะของยุทธศาสตร์ 4 เสา ผู้บริหารของจังหวัดและอำเภอให้ความสำคัญ การสื่อสารทั้งภายในและระหว่างหน่วยงาน สมรรถนะของบุคลากรสาธารณสุขและเครือข่ายสุขภาพจิตที่เข้มแข็ง แต่อย่างไรก็ตามยุทธศาสตร์ 4 เสายังไม่สามารถบรรลุประสิทธิผลอาจเกี่ยวข้องกับความตระหนักและทัศนคติของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อการฆ่าตัวตาย ระเบียบ ข้อบังคับและพันธกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ 4 เสา ต้นทุนสังคมและทรัพยากรในพื้นที่ การติดตามประเมินผลและเครือข่ายการป้องกันบำบัด แนวทางการเพิ่มประสิทธิผลของยุทธศาสตร์ 4 เสา ประกอบด้วย การพัฒนาระบบข้อมูลระบาดวิทยาการฆ่าตัวตายระดับตำบล พัฒนาระบบการป้องกันและบำบัดตามระดับความเสี่ยง สร้างความตระหนักและทัศนคติชุมชนต่อการฆ่าตัวตายที่ถูกต้องทั้งในชุมชนและองค์กร สร้างศักยภาพและทักษะด้านการจัดการปัญหาและการเห็นคุณค่าในตน พัฒนาทักษะด้านสังคมและอารมณ์ในนักเรียน พัฒนาการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและต่อเนื่องทั้งภายในหน่วยงานด้านสาธารณสุขและระหว่างหน่วยงานนอกสาธารณสุข สร้างความเข้มแข็งของศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาสมรรถนะของผู้เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ 4 เสา การวิจัยนี้ใช้กรอบแนวคิดการวิจัยดำเนินการที่สามารถอธิบายความสัมพันธ์ของบริบท บุคคลและกลไกที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานยุทธศาสตร์ 4 เสา ภายใต้ระบบการทำงานที่เป็นจริง ตามสภาพการณ์ของการทำงานที่เกิดขึ้น ซึ่งผลการวิจัยสามารถใช้เป็นข้อมูลนำเข้าสำหรับจังหวัดลำพูนในการพัฒนาต่อยอดและสำหรับจังหวัดอื่นในการวางแผนดำเนินการการป้องกันการฆ่าตัวตายที่ใช้ชุมชนเป็นฐานth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการฆ่าตัวตายth_TH
dc.subjectSuicideth_TH
dc.subjectพฤติกรรมฆ่าตัวตายth_TH
dc.subjectSuicidal Behaviorth_TH
dc.subjectการเฝ้าระวังth_TH
dc.subjectSurveillanceth_TH
dc.subjectการฆ่าตัวตาย--การป้องกันth_TH
dc.subjectชุมชนth_TH
dc.subjectCommunityth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการวิเคราะห์ระบบเฝ้าระวังและป้องกันการฆ่าตัวตายที่ใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อการขยายผลด้วยกรอบแนวคิด CFIR, RE-AIM และ NPTth_TH
dc.title.alternativeUsing the CFIR, RE-AIM, and NPT to Analyze and Scale Up the Community-Based Surveillance and Preventative System for Suicideth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe Public Health Office of Lamphun Province has developed a prevention and surveillance system for suicide, called the “the community-based surveillance and preventative system for suicide” or the “Four-Pillar Strategy.” This initiative aims to reduce the suicide rate in the province, implemented across all districts since March 2024. The Four-Pillar Strategy includes 1) Data System, 2) Detection of Suicide Risk Signals, 3) Provision of Assistance and Prevention, and 4) Integrative Comprehensive Management The research conducted involved data collection through a mixed-methods approach in three sample districts to assess the implementation outcomes of the Four-Pillar Strategy. The research employed the RE-AIM, CFIR, and NPT frameworks, collecting data from February to May 2026 using research tools developed based on these frameworks. The analysis included interviews and group discussions, utilizing core content analysis following the RE-AIM, CFIR, and NPT frameworks. Community surveys were also conducted, and statistical analysis, including percentages, means, standard deviations, and F-test, was performed with a significance level set at 0.05. The study found a successful reduction of the suicide rate by 13%, with a 44% of them expressed signals of suicide ideation but did not receive assistance. This may be associated with community knowledge and attitudes towards suicide. Factors supporting the strategy's effectiveness included the characteristics of the Four-Pillar Strategy, the commitment of provincial and district authorities, internal and external communication, the competency of public health personnel and mental health networks. However, challenges in achieving the strategy's goals were linked to community awareness, attitudes, regulations, and the roles of relevant organizations, social assets, and resources. The study recommended enhancing the strategy's effectiveness by developing a sub-district-level epidemiological data system, risk-based prevention and intervention systems, fostering community awareness and reduce stereotypes of suicides, developing problem-solving skills and self-esteem, improving communication within and between health organizations, strengthening counseling centers, and enhancing the capabilities of stakeholders in the Four-Pillar Strategy. This research provides valuable insights for Lamphun Province to further develop its suicide prevention efforts and serves as a reference for other provinces in planning community-based suicide prevention initiatives.th_TH
dc.identifier.callnoWM171.5 ม142ก 2567
dc.identifier.contactno66-010
dc.subject.keywordยุทธศาสตร์ 4 เสาth_TH
.custom.citationมธุรส ทิพยมงคลกุล, Mathuros Tipayamongkholgul, พัชรี วีรพันธุ์, Patcharee Veeraphan, สุรัสวดี กลิ่นชั้น, Suratsawadee Klinchan, อรพิน ยอดกลาง, Orapin Yodklang, ศิริพร อูปแปง, Siriporn Oubpang, อมรรัตน์ ยาวิชัย and Amonrat Yavichai. "การวิเคราะห์ระบบเฝ้าระวังและป้องกันการฆ่าตัวตายที่ใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อการขยายผลด้วยกรอบแนวคิด CFIR, RE-AIM และ NPT." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6017">http://hdl.handle.net/11228/6017</a>.
.custom.total_download25
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year25
.custom.downloaded_fiscal_year25

Fulltext
Icon
Name: hs3078.pdf
Size: 7.030Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record