dc.contributor.author | ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Yongyud Wongpiromsarn | th_TH |
dc.contributor.author | พีร วงศ์อุปราช | th_TH |
dc.contributor.author | Peera Wongupparaj | th_TH |
dc.contributor.author | สกาวรัตน์ พวงลัดดา | th_TH |
dc.contributor.author | Skaorat Puangladda | th_TH |
dc.contributor.author | อรุโณทัย สิงห์ตาแก้ว | th_TH |
dc.contributor.author | Arunothai Singtakaew | th_TH |
dc.contributor.author | สว่างจิตร วสุวัต | th_TH |
dc.contributor.author | Sawangjit Wasuwat | th_TH |
dc.date.accessioned | 2024-03-19T07:56:16Z | |
dc.date.available | 2024-03-19T07:56:16Z | |
dc.date.issued | 2566-12-20 | |
dc.identifier.other | hs3080 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/6027 | |
dc.description.abstract | ข้อมูลจากการสำรวจแสดงให้เห็นถึงระดับความเครียดที่สูงในกลุ่มพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งถือว่ามากกว่าประชาชนทั่วไป ความเครียดส่งผลต่อหน้าที่บริหารจัดการของสมอง โดยจะกระทบต่อการทำงานและการใช้ชีวิตเป็นลำดับ งานวิจัยนี้จึงมุ่งทดสอบประสิทธิผลของการฝึกจัดการความเครียดด้วยวิธีการฝึกหายใจและการฝึกสติต่อหน้าที่บริหารจัดการของสมอง (Electroencephalography, EEG) ในกลุ่มพยาบาลวิชาชีพที่ทำงานในเขตสุขภาพที่ 4 ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นแบบการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลอง จำนวน 10 คนได้รับการฝึกสติ ส่วนกลุ่มควบคุม จำนวน 10 คน ได้รับการฝึกหายใจ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบวัดความรู้สึกเครียด กิจกรรมทดสอบหน้าที่การบริหารจัดการของสมองด้วยคอมพิวเตอร์ชนิด Berg’s Card Sorting Task และ Stroop Task และเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองแบบ 14 ช่องสัญญาณ รุ่น Emotiv epoc x สถิติทดสอบแบบวัดซ้ำใช้เปรียบเทียบคะแนนจากแบบวัดและกิจกรรมทดสอบทางคอมพิวเตอร์รวมถึงคลื่นไฟฟ้าสมองของทั้งสองกลุ่มในช่วงก่อนฝึก หลังฝึกและติดตามผล ผลการวิจัย พบว่า การฝึกสติช่วยลดความเครียดของพยาบาลและเพิ่มหน้าที่บริหารจัดการของสมองหลังฝึกได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับมาก แต่การฝึกหายใจไม่ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับความเครียดและหน้าที่บริหารจัดการของสมองแต่อย่างใด นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าสมองขณะพักทั้ง 5 ช่วงความถี่ (เดลต้า ธีต้า อัลฟ่า บีต้า และแกมม่า) ในพยาบาลทั้งกลุ่มฝึกหายใจและกลุ่มฝึกสติ พบว่า การฝึกหายใจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของคลื่นธีต้า ณ ตำแหน่งสมองส่วนหน้าฝั่งซ้าย (F3 และ FC5FC5) คลื่นบีต้า ณ ตำแหน่งสมองส่วนหน้าฝั่งซ้ายและขวา (F3 และ F8F8) เท่านั้น แต่การฝึกจิตส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าสมองในทุกช่วงคลื่น กล่าวคือ คลื่นเดลต้า ณ ตำแหน่งสมองส่วนหน้าฝั่งซ้ายและข้างฝั่งขวา (F7 และ P8P8) คลื่นธีต้า ณ ตำแหน่งสมองส่วนท้ายฝั่งซ้าย (O1O1) คลื่นอัลฟ่า ณ ตำแหน่งสมองส่วนหน้าฝั่งซ้ายและข้างฝั่งขวา (F7 และ P8P8) คลื่นบีต้า ณ ตำแหน่งสมองส่วนหน้าฝั่งซ้าย (F3 และ F7F7) และคลื่นแกมม่า ณ ตำแหน่งสมองส่วนหน้าและข้างฝั่งซ้ายและขวา (F7 และ P8P8) ข้อค้นพบทั้งจากข้อมูลเชิงพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมองยืนยันถึงประสิทธิภาพของการฝึกสติในกลุ่มพยาบาล ซึ่งควรได้รับการส่งเสริมให้ใช้ลดความเครียดในระดับองค์กรและเป็นนโยบายต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ความเครียด | th_TH |
dc.subject | การจัดการความเครียด | th_TH |
dc.subject | Stress | th_TH |
dc.subject | Stress Management | th_TH |
dc.subject | การฝึกสติ | th_TH |
dc.subject | สมาธิ | th_TH |
dc.subject | Mindfulness | th_TH |
dc.subject | Mindfulness--Methods | th_TH |
dc.subject | สมอง | th_TH |
dc.subject | Brain | th_TH |
dc.subject | คลื่นไฟฟ้าสมอง | th_TH |
dc.subject | พยาบาล | th_TH |
dc.subject | Nurses | th_TH |
dc.subject | พยาบาลวิชาชีพ | th_TH |
dc.subject | Professional Nurses | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.title | ประสิทธิผลการฝึกจัดการความเครียดด้วยวิธีการฝึกหายใจและการฝึกสติต่อหน้าที่บริหารจัดการของสมองและคลื่นไฟฟ้าสมองในกลุ่มพยาบาลวิชาชีพที่ทำงานในเขตสุขภาพที่ 4 | th_TH |
dc.title.alternative | The Effectiveness of Stress Management by Deep Breathing and Mindfulness Training on Executive Function and EEG in Nurse of Health Region 4 | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The survey demonstrated a higher level of stress in nurses in relative to other populations. Stress affects the executive functioning of the brain and possibly affects workability and daily living. The current investigation aimed to examine the effectiveness of stress management by deep breathing and mindfulness training on executive function and EEG in nurse of health region 4. This study is a randomized controlled trial with 10 participants who received the mindfulness training (i.e., experimental group) and another group (i.e., control group) received the deep breathing training. Research tools included the perceived stress scale, computerized neuropsychological tests (i.e., Berg s Card Sorting and Stroop), and a brainwave recording device (i.e., Emotiv epoc with 14 channels. Repeated measures were used to compare the scores from the scale, co mputerized tasks, and brainwaves of both groups during pretest, posttest, and follow up. The main findings indicated that the mindfulness training significantly decreased stress and increased executive functions of the nurses, but the breathing training did not affect the stress and executive functions of the nurses. Furthermore, brainwaves analysis from five bands of resting state EEG (i.e., delta, theta, alpha, beta, and gamma) found that the breathing training induced only the changes in theta and beta waves at frontal electrode sites (i.e., F3 and FC5 for theta and F3 and F8 for beta). However, the mindfulness training elicited the changes in all five EEG bands (i.e., delta for F7 and P8; theta for Q1; alpha for F7 and P8; beta for F3 and F7; gamma for F7 and P8) at frontal, parietal, and occipital electrode The behavioral and EEG results confirmed the effectiveness of mindfulness training in nurses , which should be promoted to reduce stress in organization and policy levels. | th_TH |
dc.identifier.callno | WM172 ย126ป 2566 | |
dc.identifier.contactno | 66-026 | |
dc.subject.keyword | การฝึกหายใจ | th_TH |
dc.subject.keyword | Deep Breathing | th_TH |
dc.subject.keyword | Mindfulness Training | th_TH |
dc.subject.keyword | เขตสุขภาพ | th_TH |
dc.subject.keyword | Regional Health Area | th_TH |
dc.subject.keyword | เขตสุขภาพที่ 4 | th_TH |
dc.subject.keyword | Regional Health Area 4 | th_TH |
dc.subject.keyword | EEG | th_TH |
.custom.citation | ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์, Yongyud Wongpiromsarn, พีร วงศ์อุปราช, Peera Wongupparaj, สกาวรัตน์ พวงลัดดา, Skaorat Puangladda, อรุโณทัย สิงห์ตาแก้ว, Arunothai Singtakaew, สว่างจิตร วสุวัต and Sawangjit Wasuwat. "ประสิทธิผลการฝึกจัดการความเครียดด้วยวิธีการฝึกหายใจและการฝึกสติต่อหน้าที่บริหารจัดการของสมองและคลื่นไฟฟ้าสมองในกลุ่มพยาบาลวิชาชีพที่ทำงานในเขตสุขภาพที่ 4." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6027">http://hdl.handle.net/11228/6027</a>. | |
.custom.total_download | 13 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 13 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 4 | |