Show simple item record

Development of Probiotic Product Prototype for Supplement of Beneficial Bacteria in Colorectal Cancer (2nd Year)

dc.contributor.authorรวี เถียรไพศาลth_TH
dc.contributor.authorRawee Teanpaisanth_TH
dc.contributor.authorวรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณth_TH
dc.contributor.authorWorrawit Wanichsuwanth_TH
dc.contributor.authorศุภฤกษ์ เลาหวิริยะกมลth_TH
dc.contributor.authorSupparerk Laohawiriyakamolth_TH
dc.contributor.authorนันทิยา พาหุมันโตth_TH
dc.contributor.authorNuntiya Pahumuntoth_TH
dc.date.accessioned2024-03-20T07:44:37Z
dc.date.available2024-03-20T07:44:37Z
dc.date.issued2567-03
dc.identifier.otherhs3086
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6029
dc.description.abstractมะเร็งลำไส้เป็นสาเหตุการตายอันดับ 3 ของมะเร็งทุกชนิดในประชากรทั่วโลก สาเหตุสัมพันธ์กับการขาดสมดุลของจุลินทรีย์ในช่องท้อง มีรายงานการศึกษาก่อนหน้าทั้งการศึกษานอกกายและการศึกษาในกายแสดงให้เห็นว่า จุลินทรีย์โพรไบโอติกสามารถป้องกันมะเร็งลำไส้ได้ กลไกการทำงานของโพรไบโอติกในการป้องกันมะเร็งลำไส้ ได้แก่ การยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรคซึ่งจะเป็นสาเหตุเหนี่ยวนำให้เซลล์ลำไส้เปลี่ยนเป็นเซลล์มะเร็ง สร้างสารที่ช่วยในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งลำไส้ กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย ต้านการอักเสบและส่งเสริมให้เซลล์ลำไส้ทำงานได้ตามปกติ ปัจจุบันมีรายงานว่าโพสต์ไบโอติก หมายถึงสารประกอบที่ได้จากโพรไบโอติก จากน้ำเลี้ยงโพรไบโอติก รวมถึงเซลล์โพรไบโอติกที่ไม่มีชีวิต สามารถให้ประสิทธิภาพในการทำงานเช่นเดียวกับโพรไบโอติกที่มีชีวิต ในรายงานนี้เป็นการรายงานฉบับสมบูรณ์ของการดำเนินงานของปีที่ 2 ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ถึง 30 ธันวาคม พ.ศ. 2566 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของต้นแบบผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกสายพันธุ์ แลคโตแบซิลลัส พาราเคซิอิเอสดีหนึ่งและแลคโตแบซิลลัส แรมโนซัส เอสดีสิบเอ็ดร่วมกัน ในทางคลินิก โดยเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ในรูปแบบจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่มีชีวิตและจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่ไม่มีชีวิต และมีกลุ่มควบคุมที่ไม่มีจุลินทรีย์โพรไบโอติก ทั้งนี้โดยติดตามผลของผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกต่อระบบนิเวศน์ของจุลินทรีย์ประจำถิ่นในทางเดินอาหารหรือไมโครไบโอม และระบบภูมิคุ้มกันในอาสาสมัครมะเร็งลำไส้ ผลการศึกษา มีอาสาสมัครเป็นผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะ 2 และระยะ 3 ซึ่งได้รับการรักษาตามมาตรฐานแล้ว 6 เดือน อยู่ระหว่างการติดตามของแพทย์ผู้ให้การรักษาเข้าร่วมในโครงการ จำนวน 30 คน เมื่อสิ้นสุดโครงการหลังการติดตาม 6 เดือน มีอาสาสมัครเหลือในโครงการ จำนวน 28 คน เป็นกลุ่มโพรไบโอติกที่มีชีวิต จำนวน 10 คน จุลินทรีย์โพรไบโอติกที่ไม่มีชีวิต จำนวน 10 คน และกลุ่มควบคุมที่ไม่มีจุลินทรีย์โพรไบโอติก จำนวน 8 คน ผลการศึกษาพบว่า ระดับสารอักเสบ IL-1β, TNF-α, IL-6, IL-8 และ IL-17A ในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังได้รับผลิตภัณฑ์ 6 เดือน โดยในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกที่มีชีวิต ค่า p-value<0.001, 0.014, <0.001, 0.046, 0.035 ตามลำดับ และกลุ่มได้รับผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกที่ไม่มีชีวิต ค่า p-value<0.001, <0.001, <0.001, 0.005, 0.033 ตามลำดับ ในทางตรงกันข้าม ระดับสารอักเสบดังกล่าวในกลุ่มควบคุมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่า p<0.001, <0.001, 0.001 ตามลำดับ นอกจากนี้ ระดับสารต้านการอักเสบ IL-10 and IL-12 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกที่มีชีวิต ค่า p-value=0.004 และ <0.001; และ กลุ่มได้รับผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกที่ไม่มีชีวิต ค่า p-value=0.016 และ <0.001 สำหรับกลุ่มควบคุมระดับ IL-10 and IL-12 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่า p-value 0.039 และ > 0.05 ตามลำดับ ในการตรวจหาระดับสารกรดไขมันสายสั้นในน้ำล้างลำไส้ พบทุกกลุ่มมีค่าบิวทิเรทและโพรพิโอเนทเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับเวลาเริ่มต้น โดยการเปรียบเทียบมีค่า p<0.001 ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกที่ไม่มีชีวิตเทียบกับกลุ่มควบคุม มีค่าบิวทิเรทและโพรพิโอเนทเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่า p-value=0.039 และ <.001 ตามลำดับ สำหรับกลุ่มที่ได้รับผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกที่มีชีวิตมีระดับบิวทิเรทและโพรพิโอเนทเพิ่มขึ้นเทียบกับกลุ่มควบคุม แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับผลของโพรไบโอติกต่อไมโครไบโอม พบความหลากหลายของไมโครไบโอต้าเพิ่มขึ้นในกลุ่มที่ได้รับโพรไบโอติกทั้งชนิดมีชีวิตและไม่มีชีวิต พบเชื้อแบคทีรอยดีส์และพรีโวเทลลา ซึ่งเป็นเชื้อทางเดินอาหารเพิ่มขึ้น รวมทั้งเชื้อแฟคาลิแบคทีเรีย ซึ่งเป็นเชื้อสร้างสารบิวทิเรทและพบเชื้อฟิวโซแบคทีเรียม ซึ่งเป็นเชื้อเกี่ยวข้องกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ลดลงในกลุ่มได้รับโพรไบโอติก โดยสรุปผลการศึกษานี้สนับสนุนการประยุกต์ใช้จุลินทรีย์แลคโตแบซิลลัสพาราเคซิอิเอสดีหนึ่งร่วมกับจุลินทรีย์แลคโตแบซิลลัสแรมโนซัสเอสดีสิบเอ็ด มีผลดีในการปรับสภาวะในลำไส้ของอาสาสมัครที่เป็นมะเร็งลำไส้ให้ดีขึ้น เป็นการเพิ่มข้อมูลของการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ดังกล่าวในทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectมะเร็งth_TH
dc.subjectCancerth_TH
dc.subjectมะเร็งลำไส้th_TH
dc.subjectColorectal Cancerth_TH
dc.subjectโพรไบโอติกth_TH
dc.subjectProbioticsth_TH
dc.subjectจุลินทรีย์th_TH
dc.subjectBacteriath_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies)th_TH
dc.titleการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกเพื่อการสร้างเสริมจุลินทรีย์ที่ดี ในลำไส้ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (ปีที่ 2)th_TH
dc.title.alternativeDevelopment of Probiotic Product Prototype for Supplement of Beneficial Bacteria in Colorectal Cancer (2nd Year)th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeColorectal cancer is the third most prevalent cause of death among the different types of cancer worldwide, which relates to imbalance of the gut microbiota. Previous studies both in vitro and in vivo have shown that probiotics could prevent the development of colorectal cancer. The potential mechanisms responsible for anti-carcinogenic actions of probiotics include modification of the intestinal microbiota composition, changes in metabolic activity of the microbiota, binding and degrading of carcinogenic compounds, production of compounds with anti-carcinogenic activity, immunomodulation, improvement of the intestinal barrier, inhibition of cell proliferation and induction of apoptosis in cancer cells. Currently, postbiotics including probiotic culture supernatant, non-viable culture and metabolic activities have been suggested to provide the same effect as viable probiotic cells. This is the complete report of the second year during 2 September 2022 to 30 December 2023. The present study aimed to investigate the effect of probiotic product prototype containing L. paracasei SD1 and L. rhamnosus SD11 in combination in form of live and heat-killed compared to placebo in colorectal patients grade II and grade III. The investigations were included gut microbiome and immune responses. Of 30 patients with CRC grade II and grade III whom received standard treatment participated at the beginning, 28 (10 live-probiotic, 10 heat-killed and 8 placebo) completed the 6 months trial. Results showed that the levels of pro-inflammatory cytokines in serum included IL-1β, TNF-α, IL-6, IL-8 and IL-17A were significantly decreased among CRC patients received live- and heat-killed probiotics for 6 months compared to the beginning (p-value <0.001, 0.014, <0.001, 0.046, 0.035, for live probiotic group; and p-value <0.001, <0.001, <0.001, 0.005, 0.033, for heat-killed group respectively). In contrast, such levels in placebo group were significantly increased for IL-1β, TNF-α, and IL-8 after 6 months of intervention (p-value <0.001, <0.001, 0.001, respectively), and those were also significantly higher than the groups received probiotic products (p-value <0.001, <0.001, <0.001, respectively). Conversely, anti-inflammatory cytokines IL-10 and IL-12 were increased among patients in probiotic treatment (p-value = 0.004 and <0.001; p-value = 0.016 and <0.001, for live- and heat killed- probiotic, respectively). IL-10 and IL-12 were reduced in placebo group (p-value 0.039 and > 0.05, respectively). The short chain fatty acids, butyrate and propionate, levels in colonic fluids were significantly increased in all groups compared to the beginning (p <0.001). Those among patients who received heated killed products were significantly increased compared to placebo (p-value = 0.039 and <0.001, respectively) after 6 months of interventions. The short chain fatty acids in live probiotic group were higher placebo group, but it was not significant. The effect of probiotic interventions on gut microbiome was analyzed, the bacterial diversity tended to increase among the patients received live- and heat killed-probiotic products after 6 months. Gut microbiota, Bacteroides and Prevotella levels, together with Faecalibacterium, a butyrate producer, were higher among patients taking probiotic products than placebo group. Fusobacterium, an associated CRC bacterium, level was lower in probiotic groups than in placebo group. In conclusion, results in current study support on the application of the probiotics, L. paracasei SD1 and L. rhamnosus SD11 in combination, for improvement of CRC patients, adding new evidence for using probiotics and their clinical significance in vivo study.th_TH
dc.identifier.callnoQZ200 ร168ก 2567
dc.identifier.contactno65-045
.custom.citationรวี เถียรไพศาล, Rawee Teanpaisan, วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ, Worrawit Wanichsuwan, ศุภฤกษ์ เลาหวิริยะกมล, Supparerk Laohawiriyakamol, นันทิยา พาหุมันโต and Nuntiya Pahumunto. "การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกเพื่อการสร้างเสริมจุลินทรีย์ที่ดี ในลำไส้ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (ปีที่ 2)." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6029">http://hdl.handle.net/11228/6029</a>.
.custom.total_download58
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month4
.custom.downloaded_this_year58
.custom.downloaded_fiscal_year58

Fulltext
Icon
Name: hs3086.pdf
Size: 1.219Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record