Show simple item record

The Impact of Increasing Cost-Effectiveness Threshold on Drug Price, Decision to Include Drugs to NLEM and Budget Impact from Public Funders

dc.contributor.authorวรรณฤดี อิสรานุวัฒน์ชัยth_TH
dc.contributor.authorWanrudee Isaranuwatchaith_TH
dc.contributor.authorเกรียง ตั้งสง่าth_TH
dc.contributor.authorKriang Tungsangath_TH
dc.contributor.authorยศ ตีระวัฒนานนท์th_TH
dc.contributor.authorYot Teerawattananonth_TH
dc.contributor.authorWang, Yith_TH
dc.contributor.authorบุสดี โสบุญth_TH
dc.contributor.authorBudsadee Soboonth_TH
dc.contributor.authorวรรณนิษา เถียรทวีth_TH
dc.contributor.authorWannisa Theantaweeth_TH
dc.contributor.authorจุฑาทิพ เลาหเรืองชัยยศth_TH
dc.contributor.authorJutatip Laoharuangchaiyotth_TH
dc.contributor.authorธนกฤต มงคลชัยภักดิ์th_TH
dc.contributor.authorThanakrit Mongkolchaipakth_TH
dc.contributor.authorธนิศา ทาทองth_TH
dc.contributor.authorThanisa Thathongth_TH
dc.contributor.authorWee, Hwee Linth_TH
dc.contributor.authorNakamura, Ryotath_TH
dc.date.accessioned2024-04-05T07:12:49Z
dc.date.available2024-04-05T07:12:49Z
dc.date.issued2567-03
dc.identifier.otherhs3077
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6048
dc.description.abstractบทนำ : มีการอภิปรายอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับมูลค่าที่เหมาะสมของเพดานความคุ้มค่า (Cost-Effectiveness Threshold, CET) ทั่วโลก หลายประเทศรวมทั้งสหราชอาณาจักรและประเทศไทยได้รับคำขอว่า CET ปัจจุบันต่ำเกินไปและควรเพิ่มขึ้น จากการทบทวนวรรณกรรมและสถานการณ์ปัจจุบันพบว่าประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่มีการกำหนด CET ที่ชัดเจนและมีการปรับเพิ่ม CET ถึง 2 ครั้ง ประสบการณ์ของประเทศไทยจะช่วยตอบคำถามได้ว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อมีการเพิ่ม CET โดยข้อค้นพบจากการศึกษานี้สามารถช่วยในการอภิปรายว่าควรเพิ่มค่า CET หรือไม่ ดังนั้นโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (Health Intervention and Technology Assessment Program (HITAP)) ได้รับมอบหมายจากคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ รอบปี พ.ศ. 2562-2564 ให้ดำเนินการศึกษาวิจัย เรื่อง “ผลกระทบของการเพิ่มเพดานความคุ้มค่าในอดีตที่ผ่านมาที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของราคายา การตัดสินใจคัดเลือกยาเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติและภาระงบประมาณของเจ้าภาพกองทุนต่าง ๆ” เพื่อประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการปรับเพดานความคุ้มค่า วัตถุประสงค์ : โครงการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบของการเพิ่มเพดานความคุ้มค่าต่อการพิจารณายาในบัญชียาหลักแห่งชาติของประเทศไทย (Thailand National List of Essential Medicines, NLEM) และตอบคำถามวิจัย ดังนี้ 1) การเพิ่มเพดานความคุ้มค่ามีผลกระทบต่อราคายาที่ใช้ในการศึกษาความคุ้มค่าหรือไม่ 2) การเพิ่มเพดานความคุ้มค่ามีผลกระทบต่อการตัดสินใจของคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติหรือไม่ 3) การเพิ่มเพดานความคุ้มค่ามีผลกระทบต่อภาระงบประมาณของระบบประกันสุขภาพหรือไม่ วิธีการศึกษา : การศึกษานี้เริ่มจากการทบทวนเอกสารและวรรณกรรม จากนั้นได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งได้มาจากเอกสารประกอบการพิจารณายาในบัญชียาหลักแห่งชาติ ระหว่าง พ.ศ. 2551-2563 ทีมวิจัยได้ใช้ Multivariable Regression Models เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของการเพิ่มเพดานความคุ้มค่าในอดีตที่ผ่านมาที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของราคายา และการตัดสินใจคัดเลือกยาเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติและทีมวิจัยได้ทำการวิเคราะห์เชิงพรรณนาต่อภาระงบประมาณของกองทุนต่างๆ ผลการศึกษา : การศึกษานี้พบว่าการปรับเพิ่มเพดานความคุ้มค่า มีผลกระทบต่อราคายาที่ใช้ในการศึกษาความคุ้มค่าอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (คำถามวิจัยข้อ 1) และมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของคณะอนุกรรมการฯ ในการบรรจุยาใหม่เข้าบัญชียาหลักแห่งชาติอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (คำถามวิจัยข้อ 2) สำหรับคำถามวิจัยข้อ 3 ข้อมูลงบประมาณไม่สามารถตอบคำถามวิจัยได้ว่า การปรับเพิ่มเพดานความคุ้มค่านั้นมีผลกระทบต่อภาระงบประมาณของระบบประกันสุขภาพหรือไม่ สรุปผลการศึกษา : เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานว่าการปรับเพิ่มเพดานความคุ้มค่าส่งผลต่อการตัดสินใจของคณะอนุกรรมการฯ ในการบรรจุยาใหม่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ข้อเสนอให้ปรับเพิ่มเพดานความคุ้มค่าที่มากกว่า 160,000 บาท/ปีสุขภาวะ ด้วยเหตุผลเพื่อเพิ่มการเข้าถึงยาใหม่จึงยังขาดหลักฐานสนับสนุน รวมทั้งควรติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลอีกในอนาคตเพราะขนาดตัวอย่างที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้ข้อสรุปของงานวิจัยนี้เปลี่ยนแปลงได้และควรสนับสนุนการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เพื่อเข้าใจบริบทและมีคำอธิบายเชิงลึกของปรากฏการณ์ที่พบในการศึกษาเชิงปริมาณนี้th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectยา--ราคาth_TH
dc.subjectDrugs--Pricesth_TH
dc.subjectบัญชียาหลักแห่งชาติth_TH
dc.subjectการประเมินผลth_TH
dc.subjectEvaluationth_TH
dc.subjectMeasurementth_TH
dc.subjectเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Economicsth_TH
dc.subjectต้นทุนต่อหน่วยth_TH
dc.subjectCost--Analysisth_TH
dc.subjectCost-Benefit Analysisth_TH
dc.subjectการวิเคราะห์ความคุ้มทุนth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleผลกระทบของการเพิ่มเพดานความคุ้มค่าในอดีตที่ผ่านมาที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของราคายา การตัดสินใจคัดเลือกยาเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติและภาระงบประมาณของเจ้าภาพกองทุนต่างๆth_TH
dc.title.alternativeThe Impact of Increasing Cost-Effectiveness Threshold on Drug Price, Decision to Include Drugs to NLEM and Budget Impact from Public Fundersth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeIntroduction: There has been lots of debate regarding an appropriate value of cost- effectiveness threshold around the world. Many countries including United Kingdom and Thailand receive request that the current CET is too low and should be increased. To our knowledge, Thailand is the only country which has explicit CET and has increased the CET. Therefore, Thailand is in a unique position to help answer the question of what happened when CET was increased. The findings from this study can assist in the discussion of whether CET values should be increased. Health Intervention and Technology Assessment Program (HITAP) was commissioned by the National Drug Subcommittee to answer the question of “What are the Impacts of Increasing Cost-effectiveness Threshold?” to assist in the discussion of whether or not Thailand’s current CET should be increased. Objectives: This study examined the impact of increasing CETs on the medicine prices submitted by pharmaceutical companies in economic evaluation reports to the Thailand National List of Essential Medicines (NLEM) subcommittee, the decision to include or exclude new medications in the NLEM of the Thai government, and budget impact under universal health coverage. Methods: This study started with a review of relevant documents and literature. Subsequently, we conducted a secondary data analysis using data obtained from economic evaluation reports from the National List of Essential Medicines between 2008 and 2020. Multivariable regression model were used to analyze the effects of CET on yearly drug price and the decision to select drugs to be included in the National List of Essential Medicines. Given the available data, descriptive analysis was used to explore the budget impact of included drugs. Results: The study found that increasing CET did not have a statistically significant impact on both the yearly drug cost and the chance of drugs being included into NLEM. There were other factors which may influence yearly drug cost and the chance of drugs being included into NLEM. The available budget data cannot answer the research question of whether or not increased CET can affect the budget burden of the health insurance system. Conclusions: The current findings could not support whether or not the current CET value in Thailand should be increased. Furthermore, future research should continue to monitor the situation and reanalyze the current work as more data become available (as insignificant findings may be due to small sample size). Additionally, qualitative research should be supported to understand the context and provide an in-depth explanation of the phenomena found in this quantitative study.th_TH
dc.identifier.callnoW74 ว256ผ 2567
dc.identifier.contactno64-159
dc.subject.keywordCost-Effectiveness Thresholdth_TH
dc.subject.keywordCETth_TH
.custom.citationวรรณฤดี อิสรานุวัฒน์ชัย, Wanrudee Isaranuwatchai, เกรียง ตั้งสง่า, Kriang Tungsanga, ยศ ตีระวัฒนานนท์, Yot Teerawattananon, Wang, Yi, บุสดี โสบุญ, Budsadee Soboon, วรรณนิษา เถียรทวี, Wannisa Theantawee, จุฑาทิพ เลาหเรืองชัยยศ, Jutatip Laoharuangchaiyot, ธนกฤต มงคลชัยภักดิ์, Thanakrit Mongkolchaipak, ธนิศา ทาทอง, Thanisa Thathong, Wee, Hwee Lin and Nakamura, Ryota. "ผลกระทบของการเพิ่มเพดานความคุ้มค่าในอดีตที่ผ่านมาที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของราคายา การตัดสินใจคัดเลือกยาเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติและภาระงบประมาณของเจ้าภาพกองทุนต่างๆ." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6048">http://hdl.handle.net/11228/6048</a>.
.custom.total_download11
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year11
.custom.downloaded_fiscal_year1

Fulltext
Icon
Name: hs3077.pdf
Size: 5.862Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record