แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การประเมินผลการให้บริการรักษาอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยของร้านยาในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

dc.contributor.authorสุณี เลิศสินอุดมth_TH
dc.contributor.authorSunee Lertsinudomth_TH
dc.contributor.authorปิยะเมธ ดิลกธรสกุลth_TH
dc.contributor.authorPiyameth Dilokthornsakulth_TH
dc.contributor.authorอดิณัฐ อำนวยพรเลิศth_TH
dc.contributor.authorAdinat Umnuaypornlertth_TH
dc.contributor.authorปาริชาติ ธัมมรติth_TH
dc.contributor.authorParichart Thummaratith_TH
dc.contributor.authorนิรัชรา ถวิลการth_TH
dc.contributor.authorNirachara Tawinkanth_TH
dc.date.accessioned2024-04-26T08:25:58Z
dc.date.available2024-04-26T08:25:58Z
dc.date.issued2567-01
dc.identifier.otherhs3088
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6056
dc.description.abstractบทนำ : บริการรักษาอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยของร้านยาเป็นนโยบายของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อลดความแออัดของโรงพยาบาลรัฐและทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการ เริ่มมีการให้บริการตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 การประเมินผลการให้บริการและสังเคราะห์ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจึงมีความจำเป็น เพื่อพัฒนาการดำเนินงานของร้านยาในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ วิธีการศึกษา : การศึกษานี้เป็นการวิจัยด้วยวิธีผสมผสาน (Mixed Method) โดยแบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1. การศึกษาเชิงพรรณนา เพื่อประเมินผลลัพธ์ของบริการเจ็บป่วยเล็กน้อยในร้านยา 2. การศึกษาเชิงคุณภาพ (แบบ Focus Group และการสัมภาษณ์) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ปัญหาอุปสรรคและปัจจัยแห่งความสำเร็จ 3. การศึกษาจุดคุ้มทุน (Breakeven Point) และ 4. การสังเคราะห์ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ผลการศึกษา : ผู้รับบริการตั้งแต่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ถึง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566 มีจำนวน 270,839 คน เป็นเพศหญิงร้อยละ 62.78 อายุเฉลี่ย 40.19± 22.15 ปี พบว่า ผู้รับบริการ ร้อยละ 21.08 มีอายุมากกว่า 60 ปี ผู้รับบริการในเขตสุขภาพที่ 13 กรุงเทพมหานคร มีจำนวนมากที่สุด ร้อยละ 22.26 ความครอบคลุมของจำนวนร้านยา พบว่า 1,067 ร้าน ตั้งอยู่ในเขตจังหวัด 71 จังหวัด คิดเป็นร้อยละ 92.21 และ 309 อำเภอ/เขต คิดเป็นร้อยละ 33.30 อาการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่ผู้รับบริการเข้ารับบริการมากที่สุด ได้แก่ อาการไข้/ไอ/เจ็บคอ ร้อยละ 34.49 รองลงมาคือ ปวดข้อ/ปวดกล้ามเนื้อ และอาการผื่นผิวหนัง ร้อยละ 19.84 และร้อยละ 10.90 ตามลำดับ สำหรับผลลัพธ์ทางคลินิกภาพรวมของการให้บริการรวมทั้ง 3 ไตรมาส พบว่า ผู้รับบริการอาการทุเลาและหายจากอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย ร้อยละ 40.44 และร้อยละ 49.31 ตามลำดับ สำหรับผู้รับบริการที่อาการไม่ดีขึ้นและเภสัชกรให้คำแนะนำเพื่อปรึกษาแพทย์ พบร้อยละ 1.57 ค่าคะแนนอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยก่อนเภสัชกรให้การดูแล (คะแนนเต็ม 10) ได้ค่าคะแนน 5.69±1.96 ค่าคะแนนอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยหลังเภสัชกรให้การดูแล (คะแนนเต็ม 10) ได้ค่าคะแนน 1.35±1.67 เมื่อทดสอบทางสถิติด้วย pair t-test พบว่า ผู้รับบริการมีอาการทางคลินิกที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value < 0.05 เภสัชกรยังให้การดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงของผู้รับบริการ โดยมีการซักประวัติและแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน 6,882 คน คิดเป็นร้อยละ 2.54 และจำนวน 28,571 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 5.58 พบว่า ผู้รับบริการมีความเสี่ยงทางสุขภาพมากที่สุดคือ ด้านอาหาร ร้อยละ 32.96 รองลงมาคือ ไม่ออกกำลังกายและนอนไม่หลับ ร้อยละ 23.51 และ ร้อยละ 16.89 ตามลำดับ พบว่า เภสัชกรจ่ายยาจำนวนเฉลี่ย 2.25±0.30 รายการ โดยร้อยละ 35.93 จ่ายยา จำนวน 2 รายการ และรองลงมาร้อยละ 27.55 จ่ายยา จำนวน 3 รายการ ในด้านความเหมาะสมของการใช้ยาปฏิชีวนะในไข้ ไอ เจ็บคอ ท้องเสียและบาดแผล พบว่า มีการใช้ยาปฏิชีวนะ ร้อยละ 13.88, ร้อยละ 37.35 และร้อยละ 10.27 ตามลำดับ การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ สุ่มจำนวนผู้รับบริการได้ จำนวน 1,037 ราย เป็นผู้ป่วย จำนวน 861 (ร้อยละ 83.03) ญาติผู้ป่วย จำนวน 176 (ร้อยละ 16.97) ผลการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ความพึงพอใจในภาพรวมด้านการให้บริการของเภสัชกร อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ปัจจัยความสำเร็จ ได้แก่ การวางนโยบายและการผลักดันจากสภาเภสัชกรรม การเบิกจ่ายเงิน แนวคิดของเภสัชกรผู้ให้บริการ การเป็นร้านยาคุณภาพ การประชาสัมพันธ์ ทำเลที่ตั้งของร้าน การมีเครือข่ายความร่วมมือในชุมชน คุณค่าจากการจัดบริการเชิงสังคม ได้แก่ การเพิ่มคุณค่าในตัวเภสัชกรเอง การเพิ่มคุณภาพให้กับร้านยาและการเพิ่มคุณค่าให้กับวิชาชีพเภสัชกรรม ซึ่งนับว่าเป็นโครงการที่ยกระดับคุณภาพ ภาพลักษณ์และคุณค่าในระดับบุคคลจนกระทั่งวิชาชีพได้อย่างแท้จริง จุดคุ้มทุนของการให้บริการนี้ คือจำนวน 282 ครั้งต่อเดือน หรือคิดเป็นประมาณ 9.4 ครั้งต่อวัน ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ได้แก่ เพิ่มความครอบคลุมในด้านพื้นที่โดยเพิ่มจำนวนร้านยาการกระจายของร้านยา เพิ่มกลุ่มอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย รายการยา และครอบคลุมสิทธิประกันสังคมและข้าราชการ พัฒนาระบบการส่งต่อกับหน่วยบริการอื่นๆ บทสรุป : บริการอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย เป็นบริการที่ประชาชนได้รับประโยชน์ มีความพึงพอใจมากที่สุด ช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการทางสาธารณสุข ควรมีการดำเนินการต่อเนื่องต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectยาth_TH
dc.subjectDrugsth_TH
dc.subjectร้านขายยาth_TH
dc.subjectDrugstoresth_TH
dc.subjectDrug Storageth_TH
dc.subjectCost--Analysisth_TH
dc.subjectCost-Benefit Analysisth_TH
dc.subjectการวิเคราะห์ความคุ้มทุนth_TH
dc.subjectเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Economicsth_TH
dc.subjectต้นทุนต่อหน่วยth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectหลักประกันสุขภาพแห่งชาติth_TH
dc.subjectหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าth_TH
dc.subjectUniversal Health Coverageth_TH
dc.subjectระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการประเมินผลการให้บริการรักษาอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยของร้านยาในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติth_TH
dc.title.alternativeEvaluation of Community Pharmacy-Based Common Illness Services Outcomes in Universal Coverageth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeIntroduction: Pharmacy treatment for common illnesses is a policy of the National Health Security Office to reduce crowding in government hospitals and make the public have access to services. This service started 1 November 2022. It is necessary to evaluate the results of services and synthesize policy recommendations. To develop the operations of drug stores in the national health insurance system. Methods: This study is mixed methods research, divided into 4 parts: 1. Descriptive study to evaluate the results of common illness services in pharmacies. 2. Qualitative study (focus groups and interviews) to study satisfaction, obstacles and success factors. 3. Study of breakeven point and 4. Synthesis of policy recommendations. Results: There were 270,839 peoples receiving services from 1 December 2022 to 31 August 2023, 62.78% of whom were female, with an average age of 40.19± 22.15 years old. It was found that 21.08% of service customers were over 60 years old. Service customers in Health District 13, Bangkok, there were the largest number, 22.26 %. The coverage of the number of drug stores was found to be 1,067 stores located in 71 provinces, accounting for 92.21 %, and 309 districts, accounting for 33.30 %. Common illnesses which customers receive the most services include: Fever/cough/sore throat symptoms were 34.49 % followed by joint pain/muscle pain and skin rash, 19.84 % and 10.90 %, respectively. For customers whose symptoms did not improve and the pharmacist gave advice to consult a doctor, it was found to be 1.57%. The score for common illnesses before the pharmacist provided care (score out of 10) was 5.69±1.96. The score for common illnesses after the pharmacist provided care (score out of 10) was 1.35±1.67 when statistical testing was done with paired t-. test found that the service customers had a statistically significant improvement in clinical symptoms, p-value < 0.05. Pharmacists also provide care and change at-risk behavior of customers. History was taken and behavior modification recommendations were given to 6,882 customers, accounting for 2.54 %, and 28,571 times, accounting for 5.58 %. It was found that service customers had the greatest health risk in terms of food (32.96 %), followed by not exercising and insomnia, 23.51 % and 16.89 %, respectively. It was found that pharmacists dispensed an average of 2.25±0.30 medicines, with 35.93 % dispensing 2 medicines and the next 27.55 % dispensing 3 medicines. Regarding the suitability of using antibiotics for fever/cough/sore throat, diarrhea and wounds. It was found that 13.88 %, 37.35 %, and 10.27 % used antibiotics, respectively. Assessment of customers satisfaction, random number of customers were 1,037. 861 (83.03 %) were patients and 176 (16.97 %) were relatives of patients. Satisfaction assessment results were at the highest level in every aspect. Overall satisfaction with pharmacists' services at a very high satisfied level. Success factors include policy making and encouragement from the Pharmacy Council, disbursement, concept of service pharmacist, being a quality drug store, public relations, location of the store and having a network of cooperation in the community. The value from providing social services includes increasing the value of the pharmacist himself. Improving the quality of the pharmacy and adding value to the pharmacy profession, which is considered a project that raises the quality, image, and value at the individual level until the profession is truly. The break-even point of providing this service is 282 times per month or approximately 9.4 times per day. Policy recommendations include increasing coverage in the area by increasing the number of drug stores, distribution of drug stores, add a list of common illnesses, a list of medicines, and cover social security and civil service rights. Developing a referral system with other service units. Conclusion: Service for common illnesses is a service that people are most satisfied, helps increase access to public health services and should be continuously.th_TH
dc.identifier.callnoQV55 ส819ก 2567
dc.identifier.contactno66-059
dc.subject.keywordCommon Illnessth_TH
dc.subject.keywordอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยth_TH
dc.subject.keywordเขตสุขภาพth_TH
dc.subject.keywordRegional Health Areath_TH
dc.subject.keywordเขตสุขภาพที่ 13th_TH
dc.subject.keywordRegional Health Area 13th_TH
.custom.citationสุณี เลิศสินอุดม, Sunee Lertsinudom, ปิยะเมธ ดิลกธรสกุล, Piyameth Dilokthornsakul, อดิณัฐ อำนวยพรเลิศ, Adinat Umnuaypornlert, ปาริชาติ ธัมมรติ, Parichart Thummarati, นิรัชรา ถวิลการ and Nirachara Tawinkan. "การประเมินผลการให้บริการรักษาอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยของร้านยาในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6056">http://hdl.handle.net/11228/6056</a>.
.custom.total_download310
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month11
.custom.downloaded_this_year310
.custom.downloaded_fiscal_year34

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs3088.pdf
ขนาด: 4.305Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย