Show simple item record

The Universal Coverage Benefit Package Development of Sutureless Aortic Valve Replacement in Patients with Aortic Stenosis in Thailand

dc.contributor.authorอัญชลี เพิ่มสุวรรณth_TH
dc.contributor.authorUnchalee Permsuwanth_TH
dc.contributor.authorจิรวิชญ์ ยาดีth_TH
dc.contributor.authorJirawit Yadeeth_TH
dc.date.accessioned2024-04-30T06:43:27Z
dc.date.available2024-04-30T06:43:27Z
dc.date.issued2567-03
dc.identifier.otherhs3102
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6059
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ ผลกระทบด้าน งบประมาณ และความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของการผ่าตัด เปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกชนิด Sutureless (Sutureless/Rapid-Deployment Aortic Valve Replacement, SUAVR) เปรียบเทียบกับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกชนิด Conventional (Conventional Aortic Valve Replacement, CAVR) สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ วิธีการศึกษา : การประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์จะใช้แบบจำลองแผนภูมิต้นไม้ (Decision Tree) และแบบจำลองมาร์คอฟ (Markov Model) เปรียบเทียบการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติก ชนิด Sutureless (SUAVR) และการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกชนิด Conventional (CAVR) ในผู้ป่วยที่มีภาวะลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบในมุมมองทางสังคม อาศัยข้อมูลนำเข้าแบบจำลองจากการเก็บข้อมูลโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โรงพยาบาลศิริราชและสถาบันโรคทรวงอก ร่วมกับ การใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูล ระบบบันทึกข้อมูลและประมวลผลข้อมูลการบริการทางการแพทย์ (e-Claim database) ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และการทบทวนวรรณกรรม วัดผลลัพธ์ของการศึกษาในรูปต้นทุนรวมตลอดชีพ ปีชีวิตและปีสุขภาวะ ทำการปรับลดต้นทุนและผลลัพธ์ด้วยอัตราลด ร้อยละ 3 จากนั้นวิเคราะห์อัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่ม (Incremental Cost-Effectiveness Ratio, ICER) ทำการวิเคราะห์ความไวแบบทางเดียว และการวิเคราะห์ความไวแบบอาศัยความน่าจะเป็น การวิเคราะห์ผลกระทบด้านงบประมาณ อาศัยข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรมร่วมกับข้อมูลด้านระบาดวิทยาของประเทศไทย ทำการวิเคราะห์กรณีฐานเปรียบเทียบระหว่างสถานการณ์ที่มีการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติก ชนิด Conventional (CAVR) เท่านั้น (ไม่มีการผ่าตัด Sutureless) และสถานการณ์ที่มีการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติก ชนิด Sutureless (SUAVR) ร่วมกับการผ่าตัด Conventional (CAVR) ทำการวิเคราะห์ภาระงบประมาณรายปีของแต่ละสถานการณ์ ในระยะเวลา 5 ปี ภาระงบประมาณสุทธิซึ่งเป็นผลต่างของภาระงบประมาณของทั้ง 2 สถานการณ์และทำการวิเคราะห์ความไวการศึกษาความเป็นไปได้ อาศัยการสัมภาษณ์เชิงลึกทีมแพทย์และพยาบาลในประเด็นต่างๆ เช่น รูปแบบการให้บริการ การบริหารจัดการทรัพยากร เป็นต้น ผลการศึกษา : ผลการวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์กรณีฐาน พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกชนิด Sutureless (SUAVR) มีต้นทุนรวม 1,733,355 บาท ปีชีวิต 6.19 ปี ปีสุขภาวะ 4.95 ปี ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดชนิด Conventional (CAVR) มีต้นทุนรวม 1,220,643 บาท ปีชีวิต 6.29 ปี ปีสุขภาวะ 5.18 ปี ดังนั้น การผ่าตัดชนิด Sutureless (SUAVR) มีต้นทุนรวมที่สูงกว่า แต่ให้ปีชีวิตและปีสุขภาวะน้อยกว่า จึงจัดเป็นมาตรการด้อยเมื่อเปรียบเทียบกับผ่าตัดชนิด Conventional (CAVR) ผลการวิเคราะห์ความไวแสดงให้เห็นว่าค่าอรรถประโยชน์ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทั้ง Conventional (CAVR) และ Sutureless (SUAVR) มีผลต่ออัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่มเมื่อวิเคราะห์ภาระงบประมาณ พบว่า ภาระงบประมาณเฉลี่ยต่อปีของสถานการณ์ที่ 1 (ไม่มีการผ่าตัด Sutureless) เท่ากับ 579,881,017 บาท ภาระงบประมาณเฉลี่ยต่อปีของสถานการณ์ที่ 2 (มีการผ่าตัด Sutureless ร่วมด้วย) เท่ากับ 613,767,528 บาท ได้ภาระงบประมาณสุทธิเฉลี่ยต่อปีจากการใช้การผ่าตัดชนิด Sutureless (SUAVR) ทดแทนการผ่าตัดชนิด Conventional (CAVR) ในอัตราร้อยละ 4 ในปีที่ 1 และเพิ่มขึ้นปีละ ร้อยละ 0.5 มีมูลค่าเท่ากับ 33,886,511 บาท อย่างไรก็ตามสถานการณ์ที่มีการผ่าตัดชนิด Sutureless (SUAVR) มีค่าใช้จ่ายในการนอนโรงพยาบาลน้อยกว่าสถานการณ์ที่ไม่มีการผ่าตัดชนิด Sutureless (SUAVR) ภาระงบประมาณสุทธิที่เพิ่มขึ้นนี้มาจากค่าใช้จ่ายของลิ้นหัวใจ (Valve and Materials) การลดราคาลิ้นหัวใจชนิด Sutureless (SUAVR) ส่งผลให้ภาระงบประมาณสุทธิลดลงได้ ผลจากการศึกษาความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ พบว่า โรงพยาบาลที่สามารถทำ Open Heart Surgery ได้ จะสามารถทำหัตถการ Sutureless (SUAVR) ได้โดยไม่ต้องมีอุปกรณ์ใดๆ เพิ่มเติม ศัลยแพทย์โรคทรวงอกและพยาบาลห้องผ่าตัดสามารถทำหัตถการ Sutureless (SUAVR) ได้ โดยอาศัยการ Training เพิ่มเติมเล็กน้อย ปัจจุบันมีโรงพยาบาลที่มีศูนย์โรคหัวใจตามภูมิภาคต่างๆ ซึ่งสามารถใช้ระบบส่งต่อผู้ป่วยที่มีความจำเป็นได้ ทั้งนี้ควรกำหนดเกณฑ์หรือข้อบ่งใช้ให้ชัดเจนสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบที่ควรได้รับการผ่าตัด Sutureless (SUAVR) ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีแผลผ่าตัดเล็ก หรือผู้ป่วยที่ต้องได้รับหัตถการอื่นๆ ร่วมด้วยหรือผู้ป่วยที่ตรวจพบหินปูนปริมาณมากที่บริเวณหลอดเลือดแดงใหญ่ส่วนรากหรือส่วนวงรอบของลิ้นหัวใจเอออร์ติก หรือผู้ป่วยที่ต้องทำหัตถการซ้ำ เป็นต้น สรุปผลการศึกษา : การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติก ชนิด Sutureless (SUAVR) ยังเป็นเทคโนโลยีที่ไม่คุ้มค่า หรือมาตรการด้อย เพราะมีต้นทุนสูงกว่าแต่ให้ประสิทธิผลน้อยกว่า เมื่อเทียบกับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติก ชนิด Conventional (CAVR) อย่างไรก็ตามการผ่าตัด Sutureless (SUAVR) มีประโยชน์กับผู้ป่วยบางกลุ่มเนื่องจากช่วยลดระยะเวลาของการผ่าตัด และจำนวนวันนอนโรงพยาบาล การพิจารณาเข้าเป็นชุดสิทธิประโยชน์มีความจำเป็น แต่ควรกำหนดการเข้าถึงสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectลิ้นหัวใจth_TH
dc.subjectลิ้นหัวใจ--ศัลยกรรมth_TH
dc.subjectUniversal Coverage Schemeth_TH
dc.subjectUniversal Health Coverageth_TH
dc.subjectประกันสุขภาพแห่งชาติth_TH
dc.subjectหลักประกันสุขภาพแห่งชาติth_TH
dc.subjectสิทธิประโยชน์th_TH
dc.subjectสิทธิประโยชน์--การคุ้มครองth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectCost--Analysisth_TH
dc.subjectCost-Benefit Analysisth_TH
dc.subjectการวิเคราะห์ความคุ้มทุนth_TH
dc.subjectเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขth_TH
dc.subjectต้นทุนต่อหน่วยth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.titleการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ของการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกชนิด Sutureless ในผู้ป่วยที่มีภาวะลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeThe Universal Coverage Benefit Package Development of Sutureless Aortic Valve Replacement in Patients with Aortic Stenosis in Thailandth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeObjective: To assess the cost-utility, budget impact, and feasibility of sutureless/rapid-deployment aortic valve replacement (SUAVR) compared with conventional aortic valve replacement (CAVR) in patients with aortic stenosis Methods: To assess the cost-utility analysis, a hybrid model between decision tree and Markov model was used to compare SUAVR and CAVR in patients with aortic stenosis, considering the societal perspective. Input parameters were obtained from several sources such as primary data collection from three hospitals (Chulalongkorn, Siriraj, Central Chest Institute of Thailand), e-Claim database from National Health Security Office, and literature review. The study outcomes were measured in terms of total life-year costs, life-years, and quality-adjusted life-years (QALY). All costs and outcomes were discounted at an annual rate of 3%. Incremental cost-effectiveness ratio (ICER) was estimated. One-way sensitivity analysis and probabilistic sensitivity analysis were also performed. Budget impact analysis was also conducted based on the data from literature review and epidemiological data in Thailand. The base-case analysis comparing scenario 1 (CAVR used only) versus scenario 2 (SUAVR and CAVR used) was assessed. A five-year period of annual budget in each scenario was reported. Net budget impact is the difference in the budget of two scenarios. Sensitivity analyses were also performed. The Feasibility test was conducted by in-depth interviewing heart surgeons and nurses. Several issues, patterns of healthcare services, resource management were prior set up for interview. Results: The base-case results of cost-utility analysis showed that patients undergoing SUAVR had total life-time cost of 1,733,355 THB, life-year of 6.19 years, and QALY of 4.95 years, while those undergoing CAVR had total life-time cost of 1,220,643 THB, life-year of 6.29 years, and QALY of 5.18 years. Therefore, SUAVR had higher total life-time cost, but gained less life-years and QALYs compared with CAVR. This indicated that SUAVR was not a cost-effective strategy. The sensitivity analysis showed that utility of patients undergoing CAVR or SUAVR had the impact on ICER. The base-case results of budget impact analysis showed that the average annual of scenario 1 and scenario 2 was equal to 579,881,017 THB and 613,767,528 THB, respectively. The net budget impact (NBI) was equal to 33,886,511 THB per year for substituting SUAVR for CAVR at the initial uptake rate of 4% and increased 0.5% in subsequent year. However, SUAVR group had lower hospitalization costs than CAVR group. The higher budget of using SUAVR stemmed from the costs of valve and material. The reduction in the cost of SUAVR valve would lead to the reduction in NBI. The results of feasibility study showed that SUAVR can be performed in all hospitals that service open heart surgery without the need for additional devices. Heart surgeons and nurses can also perform SUAVR by few trainings. Nowadays, hospitals with heart care center are available in various regions so that the referring system can be used for those who are in need. Specific indications or criteria should be clearly defined for patients with aortic stenosis who are qualified for SUAVR; for example, patients with minimally invasive surgery, patients with concomitant procedures, patients with calcification at aortic root or aortic cannulus, or patients undergoing redo surgery etc. Conclusion: The findings of the study indicated that SUAVR is not a cost-effective technology compared with CAVR. However, SUAVR shows benefits for some patient groups due to reduction in surgery time, days of hospitalization. It is necessary to justify SUAVR to be included the benefit package with clear specifications of accessibility for those who truly receive the benefits.th_TH
dc.identifier.callnoW160 อ525ก 2567
dc.identifier.contactno65-077
dc.subject.keywordSuturelessth_TH
dc.subject.keywordConventionalth_TH
dc.subject.keywordAortic Stenosisth_TH
dc.subject.keywordภาวะลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบth_TH
dc.subject.keywordลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบth_TH
.custom.citationอัญชลี เพิ่มสุวรรณ, Unchalee Permsuwan, จิรวิชญ์ ยาดี and Jirawit Yadee. "การพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ของการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกชนิด Sutureless ในผู้ป่วยที่มีภาวะลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบในประเทศไทย." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6059">http://hdl.handle.net/11228/6059</a>.
.custom.total_download14
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year14
.custom.downloaded_fiscal_year14

Fulltext
Icon
Name: hs3102.pdf
Size: 4.129Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record