dc.contributor.author | อะเคื้อ อุณหเลขกะ | th_TH |
dc.contributor.author | Akeau Unahalekhaka | en_EN |
dc.date.accessioned | 2024-05-16T07:10:21Z | |
dc.date.available | 2024-05-16T07:10:21Z | |
dc.date.issued | 2567-04 | |
dc.identifier.other | hs3108 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/6061 | |
dc.description.abstract | การขาดยารักษาวัณโรค (Tuberculosis, TB) ส่งผลกระทบรุนแรงต่อผู้ป่วยวัณโรค ทำให้เชื้อวัณโรคดื้อยา การรักษายุ่งยากยิ่งขึ้น ค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงขึ้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการป้องกันการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ โดยดำเนินการร่วมกับบุคลากรสหสาขาวิชาชีพของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 15 แห่งจากทุกภาคจำนวน 84 คน ประยุกต์ใช้แนวคิดการพัฒนาคุณภาพโดยความร่วมมือ (Collaborative Quality Improvement) ของสถาบันพัฒนาบริการสุขภาพ (The Institute for Healthcare Improvement [IHI]) ประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกับกระบวนการพัฒนาระบบ นำระบบที่พัฒนาขึ้นไปทดลองปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ในโรงพยาบาล และประเมินประสิทธิผลของระบบโดยเปรียบเทียบอัตราการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ก่อนและหลังโรงพยาบาลเข้าร่วมโครงการ และประเมินความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อระบบที่พัฒนาขึ้น โดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก ระบบการป้องกันการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ที่พัฒนาขึ้น มีการดำเนินงานที่สำคัญคือ 1) การมีคณะทำงานวัณโรค (TB Team) ของโรงพยาบาล ประกอบด้วย อายุรแพทย์หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคปอด (Mr.TB) พยาบาลเวชกรรมสังคมหรือพยาบาลประจำคลินิกวัณโรค (TB Manager) เภสัชกร นักเทคนิคการแพทย์ นักสังคมสงเคราะห์ นักโภชนาการและนักระบาดวิทยา 2) การจัดการสิทธิการรักษาผู้ป่วย 3) การคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการขาดยา 4) การให้คำปรึกษาและสนับสนุน และ 5) ระบบติดตามและส่งต่อผู้ป่วย ผลการประเมินประสิทธิผลของระบบป้องกันการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ที่พัฒนาขึ้น พบว่า โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการร้อยละ 92.86 มีอัตราการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ในปี พ.ศ. 2566 ลดลงเมื่อเทียบกับอัตราในปี พ.ศ. 2561-2565 โรงพยาบาล 2 แห่ง ไม่พบผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ขาดยา บุคลากรของโรงพยาบาล ร้อยละ 62 (52/84 คน) ตอบแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อระบบที่พัฒนาขึ้น ร้อยละ 80.77 เห็นด้วยอย่างยิ่งว่า ระบบป้องกันการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ และเกิดผลดีต่อผู้ป่วยและครอบครัว ร้อยละ 73.08 และร้อยละ 71.15 เห็นด้วยอย่างยิ่งว่า สามารถนำไปเผยแพร่แก่โรงพยาบาลอื่นๆ และสามารถนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ช่วยให้อัตราการขาดยาลดลง ตามลำดับ ผลการสัมภาษณ์เชิงลึก บุคลากรเห็นว่า ระบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ครอบคลุมกิจกรรมต่างๆ ที่โรงพยาบาลต้องดำเนินการมีส่วนช่วยให้การดูแลผู้ป่วยวัณโรคมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น คลินิกวัณโรคและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในโรงพยาบาลมีแนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจน เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับบุคลากรใหม่ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ระบบการป้องกันการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ควรมีการประเมินผลการนำระบบการป้องกันการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในโรงพยาบาลแต่ละแห่งเป็นระยะ ควรมีอัตรากำลังบุคลากรสหสาขาวิชาชีพผู้ปฏิบัติงานที่คลินิกวัณโรคที่เหมาะสมและปฏิบัติงานเต็มเวลา มีการพัฒนาสื่อเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ให้ตรงตามกลุ่มผู้ป่วยและส่งเสริมให้คลินิกวัณโรคมีสถานที่ที่ได้มาตรฐานเป็น One Stop Service อย่างแท้จริง | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | วัณโรคปอด | th_TH |
dc.subject | Pulmonary Tuberculosis | th_TH |
dc.subject | วัณโรค | th_TH |
dc.subject | Tuberculosis | th_TH |
dc.subject | วัณโรค--ผู้ป่วย | th_TH |
dc.subject | Tuberculosis--Patients | th_TH |
dc.subject | ยา | th_TH |
dc.subject | Drugs | th_TH |
dc.subject | ยารักษาวัณโรค | th_TH |
dc.subject | Tuberculosis--Drug Therapy | th_TH |
dc.subject | วัณโรค--การป้องกันและควบคุม | th_TH |
dc.subject | Tuberculosis--Prevention and Control | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.title | การพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของระบบป้องกันการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ | th_TH |
dc.title.alternative | Development and Evaluation of the Effectiveness of System for Prevention of Lost to Follow-Up among Newly Diagnosed Pulmonary Tuberculosis Patients | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | TB drug default severely affects new pulmonary TB patients. It causes TB drug resistance, more difficult, and higher cost of treatment. This study aimed to develop a system to prevent TB drug default among new pulmonary TB cases. It is carried out in collaboration with eighty-four multidisciplinary personnel of fifteen tertiary care hospitals from all regions by applying the collaborative quality improvement concept of The Institute for Healthcare Improvement [IHI], USA, and the system development process. The developed system was implemented for caring for new pulmonary TB patients in the participating hospitals The effectiveness of the system was evaluated by comparing the drug default rate of new pulmonary TB patients before and after hospitals participated in the project and determining personnel opinions on the developed system using self-administered questionnaires and in-depth interviews. A developed system for the prevention of TB drug default among new pulmonary TB patients consists of important operations: 1) the establishment of a hospital TB team, consisting of a physician or pulmonologist (Mr. TB), a social medicine nurse, or a TB clinic nurse (TB manager or coordinator), a pharmacist, a medical technologist, a social worker, a nutritionist, and an epidemiologist. 2) Patient treatment rights management, 3) Screening of patients at risk of drug default, 4) Counseling and support, and 5) Monitoring and referral system. The evaluation of the effectiveness of the TB drug-default prevention system revealed that the drug default rate of 92.86% of participating hospitals in 2023 decreased when compared to the default rate between 2018-2022. Two hospitals did not find any TB drug default cases. Sixty-two percent of participating hospital personnel (52/84 personnel) answered the questionnaire on their opinion toward the developed system. 80.77% strongly agreed that the system was beneficial for patients and their families. 73.08 % and 71.15 % strongly agreed that it could be disseminated to other hospitals and could be used to care for new pulmonary TB patients appropriately and effectively. It helps reduce the rate of drug default. Based on in-depth interviews with 29 personnel, they agreed that having a new TB care system that covers the activities that hospitals undertake contributed to more efficient TB care. TB clinics and related departments within the hospital have clear operational guidelines. It is very beneficial for new personnel. However, to develop a more effective system for preventing TB drug default, the implementation of the developed prevention system should be evaluated periodically in each hospital. There should be sufficient and full-time multidisciplinary personnel at TB clinics. Media should be developed for educating each new TB patient group and promote TB clinics to have a truly standardized facility as a One Stop Service. | th_TH |
dc.identifier.callno | WF360 อ584ก 2567 | |
dc.identifier.contactno | 66-048 | |
dc.subject.keyword | Lost to Follow-Up | th_TH |
dc.subject.keyword | การป้องกันการขาดยา | th_TH |
.custom.citation | อะเคื้อ อุณหเลขกะ and Akeau Unahalekhaka. "การพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของระบบป้องกันการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6061">http://hdl.handle.net/11228/6061</a>. | |
.custom.total_download | 37 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 3 | |
.custom.downloaded_this_year | 37 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 9 | |