แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

จีโนมิกส์ของเชื้อ Methicillin-resistant Staphylococcus aureus สายพันธุ์ที่มีกำเนิดในโรงพยาบาล ชุมชน และปศุสัตว์ เพื่อการประยุกต์ใช้ทางการแพทย์และสาธารณสุข

dc.contributor.authorอุษณีย์ วัฒนนันท์กุลth_TH
dc.contributor.authorUsanee Wattananandkulth_TH
dc.contributor.authorศิริพงษ์ ตองใจth_TH
dc.contributor.authorSiripong Tongjaith_TH
dc.contributor.authorปาริชาติ สาลีth_TH
dc.contributor.authorParichat Saleeth_TH
dc.contributor.authorนงเยาว์ เกษตร์ภิบาลth_TH
dc.contributor.authorNongyao Kasatpibalth_TH
dc.contributor.authorวสันต์ กาติ๊บth_TH
dc.contributor.authorWasan Katipth_TH
dc.contributor.authorหทัยรัตน์ ธนัญชัยth_TH
dc.contributor.authorHathairat Thananchaith_TH
dc.contributor.authorผดุงเกียรติ แข็มน้อยth_TH
dc.contributor.authorPhadungkiat Khamnoith_TH
dc.contributor.authorขจรศักดิ์ ตระกูลพัวth_TH
dc.contributor.authorKhajornsak Tragoolpuath_TH
dc.contributor.authorกัญญา ปรีชาศุทธิ์th_TH
dc.contributor.authorKanya Preechasuthth_TH
dc.date.accessioned2024-05-21T06:47:36Z
dc.date.available2024-05-21T06:47:36Z
dc.date.issued2567-03
dc.identifier.otherhs3110
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6062
dc.description.abstractเชื้อ Methicillin-Resistant Staphylococcus Aureus (MRSA) เป็นหนึ่งในแบคทีเรียดื้อยาสำคัญ เนื่องจากมีความหลากหลายทางพันธุกรรมและระบาดวิทยาสูง พบได้ทั่วโลกและสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อได้ทั้งในโรงพยาบาล ชุมชนและปศุสัตว์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิวัฒนาการสายพันธุ์และระบาดวิทยาของเชื้อ MRSA เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับอุบัติการณ์ของโรคติดเชื้อและชนิดโคลนที่พบในผู้ป่วยในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ รวมถึงศึกษารูปแบบความไวต่อยาปฏิชีวนะและปัจจัยการก่อโรค โดยใช้เทคโนโลยีการหาลำดับนิวคลีโอไทด์ทั่วจีโนม (Whole Genome Sequencing, WGS) และการวิเคราะห์ข้อมูลทางชีวสารสนเทศของเชื้อ MRSA ที่เก็บได้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2561-2562 และปี พ.ศ. 2564-2565 ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลทางห้องปฏิบัติการและข้อมูลทางระบาดวิทยา การวิเคราะห์ข้อมูลของเชื้อ S. aureus ทั้งหมด 115 isolates (MRSA=54, MSSA=61) พบว่า ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ MRSA มีอายุเฉลี่ย 58.52±19.43 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (62.5%) และมีโรคแทรกซ้อน (75.9%) เป็นผู้ป่วยในมากกว่าผู้ป่วยนอก (77.8% vs. 23.2%) ตรวจพบเชื้อจากสิ่งส่งตรวจเสมหะมากที่สุด (38.9%) พบเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่ผิวหนังและเนื้อเยื่อมากที่สุด (44.4%) และเป็นการติดเชื้อในชุมชน (Community Onset Infections, COI) ที่ร้อยละ 27.8 ระยะการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอยู่ในช่วง 3-128 วัน และรักษาหายที่ร้อยละ 64.8 การใช้สถิติ t-test และ Fisher’s Exact test ทำให้พบปัจจัยที่มีความแตกต่างระหว่างการติดเชื้อ Methicillin-Susceptible S. Aureus (MSSA) และ MRSA อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การเข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยใน (p=0.001), การติดเชื้อในโรงพยาบาล (HOI) (p=0.007), ระยะเวลาการรักษาในโรงพยาบาล (p=0.043) และความไวต่อยา co-trimoxazole (p=0.001) และ clindamycin (p=0.001) การวิเคราะห์ด้วย univariate analysis พบว่า มีปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลทำให้มีผู้ป่วยติดเชื้อ MRSA ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อเกิดขึ้นในโรงพยาบาล (HOI) (OR=4.30, 95%Cl 1.45–12.83, p=0.009) และการวิเคราะห์ multivariate analysis โดยใช้ logistic regression พบว่า ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการติดเชื้อ MRSA ของผู้ป่วย ได้แก่ การใส่สายสวนหลอดเลือด (aOR=3.65, 95%Cl 1.63–24.02, p=0.008) และผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในโรงพยาบาล (HOI) (aOR=5.15, 95%Cl 1.40–18.91, p=0.013) โดยผลการวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองการถดถอยพหุตัวแปรพบว่ามีค่า Area Under the Receiver Operating Characteristic Curve (AUC) เท่ากับ 0.757 นอกจากนี้การทดสอบความไวต่อยาต้านจุลชีพ จำนวน 12 ชนิด พบว่า เชื้อทุกไอโซเลทดื้อต่อยา oxacillin แต่ไวต่อยา vancomycin, teicoplanin, daptomycin และ linezolid แม้ว่าเชื้อมีอัตราการดื้อต่อต่อยา erythromycin, amoxicillin และ clindamycin ในอัตราสูงที่ 87.0%, 81.5% และ 79.6%, ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูล WGS ของเชื้อ MRSA จำนวน 40 ไอโซเลท ได้แก่ 36 ไอโซเลท ที่เก็บในปี พ.ศ. 2561-2562 และ พ.ศ. 2564–2565 และเชื้อ 4 ไอโซเลท ที่เก็บในปี พ.ศ. 2554–2555 ซึ่งทราบว่าเป็นโคลนที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อในปศุสัตว์ ทำให้สามารถจำแนกเชื้อ MRSA ได้ทั้งหมด 20 สายพันธุ์ จากเชื้อทั้งหมด 36 isolates พบเป็นโคลน CC8-ST8-IV-t008 มากที่สุด (19.4%) รองลงมาเป็น CC1-ST9-IX-t337 (13.89%), CC8-ST239-III-t037 (11.1%) และ CC5-ST764-II-t045 (8.3%) นอกจากนี้ยังมีการตรวจพบเชื้อที่มี SCCmec มากกว่าหนึ่งชนิด ได้แก่ ST398-V, XII-t034 และ SCCmec II, III-t037 และการศึกษาความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของเชื้อโดยใช้ Maximum likelihood estimation ของเชื้อ MRSA 40 สายพันธุ์กับ MRSA สายพันธุ์อ้างอิง 7 สายพันธุ์ สามารถจัดกลุ่มสายพันธุ์ของ MRSA ได้ทั้งหมด 6 clades ซึ่งมีการจัดกลุ่มอยู่ใน clade เดียวกันกับเชื้อสายพันธุ์ HA-MRSA, CA-MRSA, และ LA-MRSA ที่มีการแพร่ระบาดทั่วโลก บ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ของการแพร่เชื้อระหว่างโรงพยาบาล ชุมชนและปศุสัตว์ รวมถึงโอกาสการแพร่เชื้อระหว่างประเทศในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก อย่างไรก็ตาม การศึกษาครั้งนี้ยังเป็นเพียงการศึกษาเบื้องต้นกับตัวอย่างเชื้อเพียง 40 ไอโซเลทของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ผลที่ได้เป็นเพียงการอธิบายข้อมูลทางพันธุกรรม โครงสร้างและการกระจายของโคลนของเชื้อ MRSA เฉพาะในกลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษา จึงไม่สามารถบ่งชี้ถึงความชุกในการตรวจพบโคลนและชนิดสายพันธุ์ได้ เชื้อ MRSA โคลนที่ทำการศึกษาจีโนมส่วนใหญ่เป็นเชื้อดื้อยาหลายขนาน (92.5%) มีอัตราการการพบยีนดื้อยาปฏิชีวนะสูงสอดคล้องกับผลการทดสอบความไวของเชื้อและพบรูปแบบการดื้อยาทั้งหมด 12 รูปแบบ ตรวจพบมียีนที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยความรุนแรงในการก่อโรคทั้งหมด 28 ยีน ยีนที่พบมากที่สุด ได้แก่ aur, hlgA, hlgB และ hlgC พบในทุกไอโซเลท (100%) พบรูปแบบ virulence genotypes ทั้งหมด 25 รูปแบบ รูปแบบที่พบมากที่สุด คือ aur, splA, splB, splE, hlgA, hlgB, hlgC, lukD, lukE, lukF-PV, lukS-PV, sek, seq, ACME, sak, scn (17.5%) นอกจากนี้ยังมีการตรวจพบยีนที่กำหนดการสร้างสารพิษ PVL ใน MRSA โคลน CC8-ST8-IV-t008 และ ST1232-V-t034 ซึ่งเป็นเชื้อที่มีการติดเชื้อในชุมชน (COI) เป็นโคลนหลักที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในแผนกผู้ป่วยนอกและยังไม่มีรายงานมาก่อนในจังหวัดเชียงใหม่ ดังนั้น การศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมและระบาดวิทยาของ MRSA อย่างต่อเนื่องจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเฝ้าระวังและติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิวัฒนาการและระบาดวิทยาของเชื้อ MRSA โคลนจากแหล่งต่างๆ ซึ่งจำเป็นสำหรับการรับมือกับอุบัติการณ์และการแพร่กระจายของ MRSA สายพันธุ์ที่อาจรุนแรงสูงและการเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาด้านสาธารณสุขที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการติดเชื้อth_TH
dc.subjectการติดเชื้อ--การรักษาด้วยยาth_TH
dc.subjectBacteriath_TH
dc.subjectแบคทีเรียth_TH
dc.subjectแบคทีเรีย--การดื้อยาth_TH
dc.subjectยาปฏิชีวนะth_TH
dc.subjectAntibioticsth_TH
dc.subjectยีนth_TH
dc.subjectGeneth_TH
dc.subjectพันธุกรรมth_TH
dc.subjectGeneticsth_TH
dc.subjectจีโนมมนุษย์th_TH
dc.subjectHuman Genometh_TH
dc.subjectพันธุศาสตร์มนุษย์th_TH
dc.subjectHuman Geneticsth_TH
dc.subjectเภสัชพันธุศาสตร์th_TH
dc.subjectPharmacogenomicsth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleจีโนมิกส์ของเชื้อ Methicillin-resistant Staphylococcus aureus สายพันธุ์ที่มีกำเนิดในโรงพยาบาล ชุมชน และปศุสัตว์ เพื่อการประยุกต์ใช้ทางการแพทย์และสาธารณสุขth_TH
dc.title.alternativeGenomics of Hospital, Community and Livestock Associated Methicillin-Resistant Staphylococcus Aureus for Applications in Medicine and Public Healthth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeMethicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) is a major drug-resistant bacterium known for its high genetic and epidemiological diversity. MRSA is found worlwide and can cause hospital-, community-, and livestock-asscociated infections. The objective of this research was to study the evolution and epidemiology of MRSA strains, focusing on the incidence of infection and the distribution of MRSA clones among patients at Maharaj Nakhon Chiang Mai Hospital. Additionally, the study investigated the pattern of antimicrobial susceptibility and the presence of virulence factors. Whole genome sequencing (WGS) technology and bioinformatics analysis of MRSA collected from 2018 to 2019 and 2021 to 2022 were employed, along with the analysis of laboratory and epidemiological data. A total of 115 S. aureus isolates (MRSA = 54, MSSA = 61) were studied. Among MRSA-infected patients, the average age was 58.52±19.43 years, with the majority being male (62.5%) and experiencing complications (75.9%). Additionally, a higher proportion of patients were inpatients compared to outpatients (77.8% vs. 23.2%). Most MRSA isolates were detected from sputum specimens (38.9%) and caused skin and tissue infections (44.4%). Additionally, 27.8% were classified as community onset infections (COI). The length of hospital stay ranged from 3 to 128 days, with a cure rate of 64.8% among patients. Using the t-test and Fisher's Exact test, factors that were significantly different between the groups of MSSA and MRSA infections were found, including admission to the inpatient department (p = 0.001), hospital-onset infection (HOI) (p = 0.007), length of hospital stay (p = 0.043), and drug susceptibility to co-trimoxazole (p = 0.001) and clindamycin (p = 0.001). In addition, susceptibility testing of 12 antimicrobial agents revealed that all MRSA isolates were resistant to oxacillin but susceptible to vancomycin, teicoplanin, daptomycin, and linezolid though they exhibited high resistance rates to erythromycin, amoxicillin, and clindamycin at at 87.0%, 81.5% and 79.6%, respectively. WGS data analysis was performed on 40 MRSA isolates, comprising 36 isolates collected between 2018-2019 and 2021-2022, and 4 isolates collected in 2011-2012. The latter are known to be a clone associated with infection in livestock and 20 MRSA clones were classified. Among the 36 MRSA isolates, the most frequently identified clone was CC8-ST8-IV-t008 (19.4%), followed by ST9-IX-t337 (13.89%), CC8-ST239-III-t037 (11.1%), and CC5-ST764-II-t045 (8.3%). Additionally, MRSA isolates possessing multiple SCCmec types were detected, including ST398-V, XII-t034, and SCCmec II, III-t037. The evolutionary relationship among the 40 MRSA strains and 7 reference MRSA strains was elucidated using Maximum Likelihood estimation. Six clades of MRSA were clustered with HA-MRSA, CA-MRSA, and LA-MRSA clones reported worldwide, suggesting the potential for MRSA transmission between community, livestock, and hospital settings, as well as between countries across different continents. However, it is important to note that this study represents a preliminary investigation based on a limited sample size of only 40 MRSA isolates from a single hospital. The results solely encompass the genetic information, structure, and distribution of specific MRSA clones in the study samples. Therefore, it is not possible to ascertain the prevalence of the clones and strains detected. The majority of the MRSA clones studied were found to be multidrug resistant (92.5%), with a high prevalence of antibiotic resistance genes detected, consistent with the results of susceptibility testing. Moreover, a total of 12 drug resistance patterns were identified. Twenty-eight virulence genes were detected, and the most common virulence genes were aur, hlgA, hlgB, and hlgC, found in all isolates (100%). Twnety-five virulence genotypes were identified, with the most common being aur, splA, splB, splE, hlgA, hlgB, hlgC, lukD, lukE, lukF-PV, lukS-PV, sek, seq, ACME, sak, scn (17.5%). Genes encoding the PVL toxin were detected in MRSA clones CC8-ST8-IV-t008 and ST1232-V-t034. These clones were identified as community-onset infections (COI) and were the main cause of infections in outpatient departments. Notably, this finding has not been reported previously in Chiang Mai Province. Therefore, continuous study of the genetic characteristics and epidemiology of MRSA is crucial for surveillance and monitoring of evolutionary and epidemiological changes among MRSA clones originating from different sources. This knowledge is essential for addressing the emergence and spread of potentially highly severe strains and for preparing to combat the public health issues that may arise in the future.th_TH
dc.identifier.callnoQV350 อ863จ 2567
dc.identifier.contactno64-136
dc.subject.keywordMethicillin-Resistant Staphylococcus Aureusth_TH
dc.subject.keywordMRSAth_TH
dc.subject.keywordGenomics Thailandth_TH
.custom.citationอุษณีย์ วัฒนนันท์กุล, Usanee Wattananandkul, ศิริพงษ์ ตองใจ, Siripong Tongjai, ปาริชาติ สาลี, Parichat Salee, นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล, Nongyao Kasatpibal, วสันต์ กาติ๊บ, Wasan Katip, หทัยรัตน์ ธนัญชัย, Hathairat Thananchai, ผดุงเกียรติ แข็มน้อย, Phadungkiat Khamnoi, ขจรศักดิ์ ตระกูลพัว, Khajornsak Tragoolpua, กัญญา ปรีชาศุทธิ์ and Kanya Preechasuth. "จีโนมิกส์ของเชื้อ Methicillin-resistant Staphylococcus aureus สายพันธุ์ที่มีกำเนิดในโรงพยาบาล ชุมชน และปศุสัตว์ เพื่อการประยุกต์ใช้ทางการแพทย์และสาธารณสุข." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6062">http://hdl.handle.net/11228/6062</a>.
.custom.total_download15
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year15
.custom.downloaded_fiscal_year5

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs3110.pdf
ขนาด: 2.839Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย