Show simple item record

Feasibility of Adding Mental Health Benefit Package in the Public Health Insurance for Migrants and Stateless People in Thailand

dc.contributor.authorศรวณีย์ อวนศรีth_TH
dc.contributor.authorSonvanee Uansrith_TH
dc.contributor.authorนิจนันท์ ปาณะพงศ์th_TH
dc.contributor.authorNitjanan Pananpongth_TH
dc.contributor.authorศุภณัฐ โชติชวาลรัตนกุลth_TH
dc.contributor.authorSupanut Chotichavalrattanakulth_TH
dc.contributor.authorระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์th_TH
dc.contributor.authorRapeepong Suphanchaimatth_TH
dc.contributor.authorวาทินี คุณเผือกth_TH
dc.contributor.authorWatinee Kunpeukth_TH
dc.contributor.authorปวันรัตน์ มิ่งเมืองth_TH
dc.contributor.authorPawanrat Mingmaungth_TH
dc.contributor.authorชญาน์นันท์ ครุตศุทธิพิพัฒนน์th_TH
dc.contributor.authorChayanan Khutsutthipipatth_TH
dc.contributor.authorกานติมา วิชชุวรนันท์th_TH
dc.contributor.authorKantima Wichuwarananth_TH
dc.contributor.authorพิกุลแก้ว ศรีนามth_TH
dc.contributor.authorPigunkaew Sinamth_TH
dc.contributor.authorสตพร จุลชูth_TH
dc.contributor.authorSataporn Julchooth_TH
dc.date.accessioned2024-05-21T07:25:59Z
dc.date.available2024-05-21T07:25:59Z
dc.date.issued2566-12
dc.identifier.otherhs3092
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6064
dc.description.abstractการศึกษานี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการเพิ่มชุดสิทธิประโยชน์ด้านจิตเวชในประกันสุขภาพ สำหรับคนต่างด้าวและบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิในประเทศไทย เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายในการนำบริการจิตเวชสู่ชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้กองทุนประกันสุขภาพคนต่างด้าว และกองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ (1) การทบทวนสิทธิประโยชน์ของการให้บริการจิตเวชในคนต่างด้าว บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิหรือไร้รัฐในต่างประเทศ (2) การศึกษาเชิงปริมาณ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นการศึกษาการเข้าถึงของผู้ป่วยจิตเวชต่างด้าวและบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิที่เข้ารับบริการในประเทศไทย ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (Health Data Center, HDC) ของกระทรวงสาธารณสุข ในช่วงระยะเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2561–2565 (ระยะเวลา 5 ปี) โดยเน้นศึกษาเฉพาะในกลุ่มสัญชาติกัมพูชา พม่า เวียดนามและลาว และสิทธิการรักษาที่ซื้อบัตรประกันสุขภาพกับกระทรวงสาธารณสุข หรือบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ (ท.99) หรือผู้ที่ชำระเงินเองที่ใช้บริการในสถานพยาบาลของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น ส่วนที่ 2 เป็นการศึกษาความชุกของผู้ป่วยจิตเวช การใช้บริการด้านสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตของคนต่างด้าวและบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิในชุมชน งานวิจัยนี้ทำการสำรวจในพื้นที่ 4 จังหวัด คือ สมุทรสาคร ระนอง ตากและเชียงราย ด้วยการใช้แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์ที่แปลออกเป็น 4 ภาษาตามกลุ่มประชากรและใช้ล่ามในการเก็บข้อมูลแบบตัวต่อตัว ส่วนที่ 3 คือ การวิเคราะห์ผลกระทบงบประมาณของการให้บริการจิตเวชในคนต่างด้าวและบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ และ (3) การศึกษาเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการอภิปรายกลุ่ม ประกอบด้วย 4 กลุ่ม คือ ผู้กำหนดนโยบาย ผู้ให้บริการ นักวิชาการและผู้รับบริการ เพื่อสอบถามความพร้อมของโรงพยาบาลที่ให้บริการผู้ป่วยจิตเวชต่างด้าวและบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ (ด้านบุคลากร เครื่องมือและยาสำหรับการให้บริการ) ปัญหาอุปสรรคที่พบและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของการร่างข้อเสนอชุดสิทธิประโยชน์รวมถึงข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ผลการศึกษา พบว่า 1) สิทธิประโยชน์ของการดูแลผู้ป่วยจิตเวชต่างด้าว บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิหรือบุคคลไร้รัฐในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่า ยังไม่ครอบคลุมบริการโรคจิตเวชทั้งหมดและต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการเข้ารับบริการ แต่มีความพยายามให้การช่วยเหลือสนับสนุน สร้างความตระหนักรู้และให้คำปรึกษาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตประชากรต่างด้าว จากหลายหน่วยงานทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคมและองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในประเทศนั้นๆ ดังเช่น ในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย ออสเตรเลีย ที่ครอบคลุมการให้คำปรึกษาทางด้านจิตเวชทั้งที่คลินิกหรือการรักษาทางไกลหรือโทรเวช (Telemedicine) แต่ยังคงมีการเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าใช้บริการ ในขณะที่ประเทศที่มีรายได้สูงอย่างประเทศการ์ต้าจะครอบคลุมการให้บริการด้านสุขภาพและการแพทย์ฟรีเฉพาะคนต่างชาติที่เข้ามาอยู่ในประเทศเป็นระยะเวลานานและที่มีใบอนุญาตให้พักอาศัยในประเทศรวมถึงแรงงานทักษะต่ำที่มี Human Health Card 2) ผลจากการทบทวนงานวิจัยและฐานข้อมูลด้านการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยจิตเวชต่างด้าวและบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ในช่วงปี พ.ศ. 2561–2565 พบว่า มีผู้ป่วยจิตเวชต่างด้าวและบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิมาใช้บริการที่โรงพยาบาล ทั้งสิ้น จำนวน 4,929 ราย เมื่อพิจารณาแยกจำนวนการใช้บริการของผู้ป่วยเป็นรายครั้ง พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยจิตเวชต่างด้าวและบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิมาใช้บริการ ทั้งหมด จำนวน 13,159 ครั้ง แบ่งเป็นผู้ป่วยใน (In-Patient Department, IPD) จำนวน 207 ครั้ง ผู้ป่วยนอก (Out-Patient Department, OPD) จำนวน 12,952 ครั้ง พบว่า การใช้บริการมากที่สุดในกลุ่มโรคที่วินิจฉัยด้วยรหัสโรค F1 (ความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมที่เกิดจากการใช้สารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท) จำนวน 4,928 ครั้ง (ร้อยละ 37.45) เมื่อพิจารณาแยกตามสิทธิการรักษาในการเข้ารับบริการ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชำระเงินเอง จำนวน 10,236 ครั้ง (ร้อยละ 77.79) กลุ่มที่มีบัตรประกันสุขภาพคนต่างด้าวของกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 1,924 ครั้ง (ร้อยละ 14.62) และใช้สิทธิตามโครงการคืนสิทธิของกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 999 ครั้ง (ร้อยละ 7.59) ส่วนการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายในการให้บริการ ในช่วง 5 ปี พบว่า มีค่าบริการ (ต้นทุนในการให้บริการ) รวมทุกสิทธิการรักษา จำนวนทั้งหมด 10,572,891.5 บาท และมีจำนวนที่เรียกเก็บกับผู้ป่วยเพิ่มเติมหลังหักค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 5,313,141.1 บาท แต่จำนวนที่เก็บได้จริงจากผู้ป่วยมีเพียง 4,094,682.0 บาท 3) การสำรวจความชุกของโรคจิตเวชและคุณภาพชีวิตของคนต่างด้าวและบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิในพื้นที่ 4 จังหวัด จำนวน 480 คน พบว่า มีความชุกของโรค ร้อยละ 24.2 และมีความชุกของภาวะวิตกกังวล ร้อยละ 11.2 ส่วนการใช้บริการสุขภาพจิต พบว่า มีเพียง จำนวน 19 คน (ร้อยละ 4) ที่เคยไปใช้บริการที่สถานพยาบาลและภายหลังจากการเข้ารับการรักษามีเพียง จำนวน 4 คน (ร้อยละ 21) ที่หายจากการเป็นโรคจิตเวช ในขณะที่คุณภาพชีวิตในแต่ละด้าน เช่น ด้านสุขภาพกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธ์ภาพทางสังคมและด้านสิ่งแวดล้อมของคนต่างด้าวและผู้ที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ พบว่า มีค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตระดับปานกลาง (คะแนนเฉลี่ย 82.26+13.60 SD) 4) การคาดการณ์งบประมาณ พบว่า งบประมาณที่พึงกันไว้สำหรับชดเชยให้กับสถานพยาบาลของกองทุนประกันสุขภาพคนต่างด้าวที่ขายบัตรประกันสุขภาพคนต่างด้าว ในช่วงเวลา 5 ปี เป็นเงิน 1,822,059.90 บาท (เฉพาะสัญชาติกัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนาม) และกองทุนบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิที่พึงกันไว้สำหรับชดเชยให้กับสถานพยาบาลในช่วงเวลา 5 ปี เป็นเงิน 12,493,137.11 บาท 5) มุมมองของผู้ให้บริการมองว่ามีความเป็นไปได้ในการเพิ่มชุดสิทธิประโยชน์ด้านจิตเวชในประกันสุขภาพสำหรับคนต่างด้าวและบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิในประเทศไทย เนื่องจาก ทุกโรงพยาบาลมีการให้บริการคนต่างด้าวและบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิที่เน้นความเท่าเทียมกันในทุกสิทธิการรักษาเทียบเท่ากับสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอยู่แล้ว สรุปผลจากการศึกษาในครั้งนี้ พบว่า มีความเป็นไปได้ในการเพิ่มชุดสิทธิประโยชน์ด้านจิตเวชในประกันสุขภาพสำหรับคนต่างด้าวและบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิในประเทศไทย เนื่องจาก 1) ด้านการให้บริการในทางปฏิบัติโรงพยาบาลส่วนใหญ่มีการให้บริการจิตเวชกับผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มอยู่แล้ว (แม้ไม่อยู่ในสิทธิประโยชน์) 2) ข้อมูลต้นทุนการให้บริการ ฯ ในช่วงปี พ.ศ. 2561-2565 มีจำนวนทั้งหมด 15,042,083.7 บาท และมีจำนวนที่เรียกเก็บกับผู้ป่วยเพิ่มเติมหลังหลักค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 5,387,310.97 บาท แสดงให้เห็นว่ามีค่าใช้จ่ายบางรายการที่โรงพยาบาลสามารถเบิกได้แม้บริการดังกล่าวไม่ได้อยู่ในสิทธิประโยชน์ 3) ด้านภาระงบประมาณในการให้บริการในช่วงเวลา 5 ปี มีเพียง 1,822,059.90 บาท สำหรับกองทุนประกันสุขภาพคนต่างด้าวที่ขายบัตรประกันสุขภาพคนต่างด้าว และ 12,493,137.11 บาท สำหรับกองทุนบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ และ 4) การเพิ่มสิทธิประโยชน์ดังกล่าวจะช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพจิตและจิตเวช ทั้งยังเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ป่วยโรคจิตเวชในประเทศไทย ซึ่งการมีสุขภาพจิตที่ดีนอกจากจะช่วยลดความรุนแรงต่อคนรอบข้างผู้ป่วยและคนไทยแล้ว ยังจะนำไปสู่การมีสุขภาวะที่ยั่งยืน ซึ่งสอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals; SDG) เพื่อเป็นการให้ความคุ้มครองด้านสุขภาพและประชาชนทุกคนที่อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินไทยอย่างแท้จริงและไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลังth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectแรงงานต่างด้าวth_TH
dc.subjectแรงงานข้ามชาติth_TH
dc.subjectMigrant Workersth_TH
dc.subjectForeign Workersth_TH
dc.subjectสุขภาพจิตth_TH
dc.subjectMental Healthth_TH
dc.subjectสุขภาพจิต, การบริการth_TH
dc.subjectUniversal Coverage Schemeth_TH
dc.subjectUniversal Health Coverageth_TH
dc.subjectประกันสุขภาพแห่งชาติth_TH
dc.subjectหลักประกันสุขภาพแห่งชาติth_TH
dc.subjectสิทธิประโยชน์th_TH
dc.subjectสิทธิประโยชน์--การคุ้มครองth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการศึกษาความเป็นไปได้ในการเพิ่มชุดสิทธิประโยชน์ด้านจิตเวชในประกันสุขภาพสำหรับคนต่างด้าวและบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeFeasibility of Adding Mental Health Benefit Package in the Public Health Insurance for Migrants and Stateless People in Thailandth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe aim is to provide policy decision-makers with relevant information for incorporating mental health services into the benefits package under Health Insurance Card Scheme (HICS) for migrants and the Health Insurance for People with Citizenship Problems in Thailand. This study utilizes both quantitative and qualitative research methodologies, encompassing (1) a review literature about the benefits of mental health services for migrants and stateless people in foreign countries; (2) a quantitative study is divided into two parts. Part 1 investigates the accessibility of mental health services for migrants and stateless psychiatric patients in Thailand. This involves analyzing data from the Ministry of Public Health's Health Data Center (HDC) for the period between 2018 and 2022, with a specific focus on nationals from Cambodia, Myanmar, Vietnam, and Lao PDR who utilized the Health Insurance Card Scheme (HICS) and the Health Insurance Scheme for stateless people. Part 2 examines the prevalence of mental health patients, access to health services, and the quality of life of migrants and stateless people within communities. The survey is conducted in four provinces: Samut Sakhon, Ranong, Tak, and Chiang Rai, using interviews translated into four languages and conducted with interpreters for face-to-face data collection. (3) The analysis of budgetary impacts of providing mental health services to migrants and stateless people, and (4) a qualitative study consisting of in-depth interviews and focus group discussions with policymakers, healthcare providers, and healthcare recipients. The aim is to inquire about the readiness of hospitals providing mental health services to migrants and stateless psychiatric patients (personnel, tools, and medications for mental health service), identify encountered challenges, and assess the practical feasibility of the proposed comprehensive benefits package. Additionally, policy recommendations are provided based on the findings. The study finding; 1) The mental health care benefits for migrants and stateless psychiatric patients in Southeast Asia countries are largely not comprehensive, with only Qatar providing full coverage (as it has a lower-skilled migrant workers). Moreover, there are efforts to provide assistance, support, raise awareness, and offer relevant counselling services for the mental health of migrant workers from various organizations, including governmental, social, and non-profit organizations. As in Singapore, Malaysia, and Australia, where covers both psychiatric consultations at the clinic and through telemedicine. Nevertheless, there is still a cost to use the service while high-income countries like Qatar covers free health and medical services to long-term expatriates with a residence permit, as well as workers with low skills that have a Haman Health Card. 2) During the period from 2018 to 2022, regarding the access to services for migrants and stateless psychiatric patients, it was found that a total of 4,929 psychiatric patients sought services at hospitals. When considering the number of services uses per instance, a total of 13,159 service uses were recorded. This included 207 inpatient services (IPD) and 12,952 outpatient services (OPD). The most frequent service utilization was in the category of diseases diagnosed with the F1 code (Abnormalities of psychological and behavioral functions due to substance use) with a total of 4,928 instances (37.45%). Regarding the treatment entitlement of those seeking services, the majority were self-payers with 10,236 instances (77.79%), followed by the Health Insurance Card Scheme for migrant workers issued by the Ministry of Public Health with 1,924 instances (14.62%), and Health Insurance for People with Citizenship Problems (HIS-PCP) with 999 instances (ท.99) (7.59%). Analyzing the service expenditure over the 5-year period, the total service cost (cost of service) was 1 0 ,5 7 2 ,8 9 1 .5 Baht, with an additional 5,313,141.1 Baht billed to patients, but the actual amount collected from patients was only 4,094,682.0 Baht. 3) Surveying the prevalence of mental health disorders and the quality of life of migrants and stateless people in four provinces, totaling 480 participants, it was found that the prevalence of mental health disorders was 24.2%, and the prevalence of anxiety disorders was 11.2%. Meanwhile, regarding the quality of life in various aspects (physical health, mental health, social relationships, and environment) of migrants and stateless people, the average quality of life score was at a moderate level (mean score 82.26 + 13.60 SD). 4) The budget prediction reveals that the allocated budget for compensating hospitals which selling health insurance cards under the Health Insurance Card Scheme for migrant workers, over a period of 5 years, is 1,822,059.90 Baht (specifically for Cambodian, Lao PDR, Myanmar, and Vietnam). Additionally, the Health Insurance for People with Citizenship Problems (ท99) set aside for compensating hospitals over the same 5-year period is 12,493,137.11 Baht. 5) The perspective of healthcare providers suggests that there is a possibility of enhancing mental health benefits in the Health Insurance Card Scheme for migrants and the Health Insurance Scheme stateless people in Thailand. This is because all hospitals provide services to migrants and stateless people, emphasizing equality in treatment rights as with the Universal Health coverage. Summary of the findings from this study indicate that there is a possibility of enhancing mental health benefits in The Health Insurance Card Scheme for migrants and the Health Insurance for People with Citizenship Problems in Thailand. This is supported by the following reasons: 1) In practical terms, most hospitals already provide mental health services to both groups of patients, even though it may not be covered by the existing benefits. 2) The cost of service during the period from 2018 to 2022 amounted to a total of 15,042,083.7 Baht. Additionally, there was an additional amount charged to patients after the main expenses, totaling 5,387,310.97 Baht. This indicates that there are certain items of expenditure for which hospitals can make claims even if the services are not covered by health insurance. 3) In terms of budget burden for the services provided over a 5-year period, it is only 1,822,059.90 Baht for the Health Insurance Card Scheme funding and 12,493,137.11 Baht for the Health Insurance for People with Citizenship Problems. 4) Increasing these benefits is likely to improve access to mental health services and enhance the quality of life for psychiatric patients in Thailand. Good mental health contributes to sustainable well-being, aligning with the Sustainable Development Goals (SDG).th_TH
dc.identifier.callnoHB886 ศ148ก 2566
dc.identifier.contactno66-002
dc.subject.keywordคนต่างด้าวth_TH
dc.subject.keywordประชากรข้ามชาติth_TH
.custom.citationศรวณีย์ อวนศรี, Sonvanee Uansri, นิจนันท์ ปาณะพงศ์, Nitjanan Pananpong, ศุภณัฐ โชติชวาลรัตนกุล, Supanut Chotichavalrattanakul, ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์, Rapeepong Suphanchaimat, วาทินี คุณเผือก, Watinee Kunpeuk, ปวันรัตน์ มิ่งเมือง, Pawanrat Mingmaung, ชญาน์นันท์ ครุตศุทธิพิพัฒนน์, Chayanan Khutsutthipipat, กานติมา วิชชุวรนันท์, Kantima Wichuwaranan, พิกุลแก้ว ศรีนาม, Pigunkaew Sinam, สตพร จุลชู and Sataporn Julchoo. "การศึกษาความเป็นไปได้ในการเพิ่มชุดสิทธิประโยชน์ด้านจิตเวชในประกันสุขภาพสำหรับคนต่างด้าวและบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิในประเทศไทย." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6064">http://hdl.handle.net/11228/6064</a>.
.custom.total_download12
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year12
.custom.downloaded_fiscal_year12

Fulltext
Icon
Name: hs3092.pdf
Size: 3.524Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record