Show simple item record

Efficacy of WOWBOT Platform and Chatbot 21 Days+ for Better Oral Health on Improvement of Oral Health Care of Caregivers for Children 6 Months – 3.5 Years-Old

dc.contributor.authorจรัญญา หุ่นศรีสกุลth_TH
dc.contributor.authorJaranya Hunsrisakhunth_TH
dc.contributor.authorวัชรวลี ตั้งคุปตานนท์th_TH
dc.contributor.authorWatcharawalee Tangkuptanonth_TH
dc.contributor.authorเสมอจิต พิธพรชัยกุลth_TH
dc.contributor.authorSamerchit Pithpornchaiyakulth_TH
dc.contributor.authorสุภาวดี เนาว์รุ่งโรจน์th_TH
dc.contributor.authorSupawadee Naorungrojth_TH
dc.contributor.authorพิสมัย วัฒนสิทธิ์th_TH
dc.contributor.authorPissamai Wattanasitth_TH
dc.date.accessioned2024-05-29T03:21:45Z
dc.date.available2024-05-29T03:21:45Z
dc.date.issued2567-05
dc.identifier.otherhs3106
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6068
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ : 1. พัฒนา Chatbot Platform สำหรับงานด้านสุขภาพและประเมินความยากง่ายของการใช้งาน 2. เปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างการฝึกแปรงฟันในเด็กจริงโดยผู้ดูแลเด็กร่วมกับการใช้ Chatbot 21 วันฟันดี (ปรับปรุง) (กลุ่มที่ 1) กับการใช้ Chatbot 21 วันฟันดีพลัส (กลุ่มที่ 2) ต่อการเกิดฟันผุ ระดับแผ่นคราบจุลินทรีย์และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ดูแลเด็กต่อเด็กอายุ 6 เดือน - 3.5 ปี วิธีการศึกษา : ระยะที่ 1 ภายหลังพัฒนา Wowbot Platform เชื่อมต่อกับ Botnoi Platform นักพัฒนาแชทบอท จำนวน 6 คน ทดสอบ จำนวน 6 ภารกิจ ที่สัมพันธ์กับฟังก์ชันของ Wowbot Platform ด้วยวิธีให้เปล่งเสียงขณะใช้ตามสภาพจริง (Think Aloud, TA) นักวิจัยสังเกตพฤติกรรมและให้คะแนนผู้ทดสอบประเมินความยากง่ายในการใช้งานของระบบผ่านแบบประเมิน (The Software Usability Measurement Inventory, SUMI) และสัมภาษณ์เชิงลึก ระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 315 คน จากพื้นที่ในอำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุงและอำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี สุ่มแยกเป็นกลุ่มที่ 1 (จำนวน 159 คน) และกลุ่มที่ 2 (จำนวน 156 คน) เปรียบเทียบผลสองกลุ่มโดยใช้แบบบันทึกการตรวจฟัน แบบสอบถามพฤติกรรมดูแลสุขภาพช่องปากและการรับรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากตามแนว Protection-Motivation Theory (PMT) ที่ระยะเวลา 3 และ 6 เดือนจากระยะก่อนการศึกษา ตลอดถึงความพึงพอใจต่อการใช้ Chatbot ที่ระยะ 3 เดือน ระดับการมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ p-value<0.05 ผลการศึกษา: พัฒนา Wowbot platform โดยมีฟังก์ชัน Broadcast, Export Data, Application Programming Interface, API : สร้างกรอบรูป ค่าความยากง่ายการใช้งาน (SUMI) ภาพรวมเฉลี่ยเท่ากับ 4.03±1.12 จากการสังเกต ภารกิจส่วนใหญ่ทำได้สมบูรณ์ โดยภารกิจที่ยาก ได้แก่ API ผู้เข้าร่วมวิจัยระบุว่าฟังก์ชันใหม่ของ Wowbot Platform มีประโยชน์ในทุกด้าน และแนะนำปรับปรุงคู่มือจากการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำในคนเดียวกันของค่าเฉลี่ยประสบการณ์ฟันผุ ถอน อุด ทั้งรายซี่และรายด้าน ระดับแผ่นคราบจุลินทรีย์ ความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก ที่ระยะเวลา 3 เดือน และ 6 เดือน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากค่าเริ่มต้น (มีการเพิ่มขึ้นของฟันผุใหม่ แผ่นคราบจุลินทรีย์ลดลง ระดับความรู้เพิ่มขึ้น) แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างทั้งสองกลุ่มศึกษา ส่วนการรับรู้ในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มที่ 1 และ 2 โดยไม่พบผลร่วมกันของกลุ่มการศึกษาและระยะเวลาที่ศึกษา ที่ระยะเวลา 3 เดือน และ 6 เดือน พบร้อยละของการแปรงฟันให้เด็กหรือเด็กแปรงด้วยตนเองและผู้ปกครองแปรงซ้ำ ความถี่ที่เด็กตื่นมากินนมขวดหรือดูดนมแม่ในเวลากลางคืนหลังจากหลับไปแล้วและความถี่ในการดูดนมจากขวด ภายในแต่ละกลุ่มแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเป็นพฤติกรรมที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการศึกษา แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นที่ระยะ 6 เดือน พบว่า ความถี่ในการหลับพร้อมนมขวดและร้อยละของการรับประทานผลไม้เพิ่มขึ้นในกลุ่มที่ 1 สูงกว่ากลุ่มที่ 2 ขณะที่ร้อยละการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ กลุ่มที่ 2 สูงกว่ากลุ่มที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งสองกลุ่มมีความพึงพอใจในการใช้ Chatbot ในระดับที่ดี (4.0±0.5, 4.0±0.6) สรุป : เมื่อสิ้นสุดการศึกษา การฝึกปฏิบัติแปรงฟันจริงร่วมกับการใช้ Chatbot 21 วันฟันดี (ปรับปรุง) และการใช้ Chatbot 21 วันฟันดีพลัส มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากโดยรวมและระดับแผ่นคราบจุลินทรีย์ที่ดีขึ้น มีระดับการเกิดฟันผุที่ไม่แตกต่างระหว่างกลุ่ม และ Wowbot Platform รวมถึง Chatbot ได้รับการยอมรับในระดับที่ดีth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectเด็กth_TH
dc.subjectChildrenth_TH
dc.subjectอนามัยช่องปากth_TH
dc.subjectสุขภาพช่องปากth_TH
dc.subjectOral Healthth_TH
dc.subjectDental Healthth_TH
dc.subjectDental Health Servicesth_TH
dc.subjectทันตกรรมth_TH
dc.subjectทันตาภิบาลth_TH
dc.subjectทันตสาธารณสุขth_TH
dc.subjectปัญญาประดิษฐ์th_TH
dc.subjectArtificial Intelligenceth_TH
dc.subjectโปรแกรมประยุกต์th_TH
dc.subjectApplication Softwareth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies)th_TH
dc.titleประสิทธิภาพของแพลตฟอร์ม WOWBOT และสื่อ Chatbot 21 วัน ฟันดีพลัส ในการดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับผู้ดูแลเด็ก ช่วงอายุ 6 เดือน - 3.5 ปีth_TH
dc.title.alternativeEfficacy of WOWBOT Platform and Chatbot 21 Days+ for Better Oral Health on Improvement of Oral Health Care of Caregivers for Children 6 Months – 3.5 Years-Oldth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeObjectives: 1. Develop a chatbot platform for healthcare applications and assess its usability 2. Compare the effectiveness of in-person toothbrushing training by caregivers with the modified 21-Day FunDee chatbot (Gr.1) and the 21-Day Fundee plus (Gr.2) chatbot alone, on caries prevalence, plaque, and oral hygiene care practices by caregivers in children aged 6 months to 3.5 years. Methods: In phase 1, after the Wowbot platform was integrated with the Botnoi Platform, 6 chatbot developers performed 6 tasks that pertained to the functions of the Wowbot platform. Researchers observed their behaviors and assessed their performance by Think aloud method. The SUMI (The Software Usability Measurement Inventory) questionnaire and in-depth interviews was used to assess the platform’s usability. In phase 2, 315 participants from Kong-Ra district in Phatthalung province and Mai-Kaen district in Pattani province were randomly assigned to Gr.1 (n=159) and Gr.2 (n=156). The comparisons between the two groups were conducted using dental examination records, oral healthcare questionnaires, perception of oral healthcare based on protection-motivation theory (PMT) at 3 and 6 months and satisfaction with the chatbot usage at 3 months. The statistical significance level was set at p-value<0.05. Results: The developed Wowbot platform’s functions included broadcast, export data, API (Application Programming Interface): image frame, and parameter comparisons. The average SUMI score was 4.03±1.12. From observation, most chatbot developers completed the assigned tasks and the most challenging tasks were those involving API function. They suggested that all new functions be beneficial and that the user manual should be revised. Repeated measured ANOVA showed plaque scores decreased, while means of dmft, dmfs and oral healthcare knowledge scores increased significantly at 3 and 6 months. However, these outcomes were not statistically significant between Gr. 1 and 2. Oral health care perception was statistically significant between Gr.1 and 2, with no study groups and follow-up time interaction. At 3 and 6 months, each group showed significant improvement in percentages of toothbrushing by a caregiver or supervised by a caregiver, frequency of breastfeeding or nighttime bottle milk consumption, and frequency of bottle milk usage but there was no statistically significant difference between groups. At 6 months, frequency of falling asleep with a bottle of milk and percentages of fruit consumption significantly increased in Gr.1 than in Gr.2, while using fluoride toothpaste significantly increased in Gr. 2 than in Gr.1. Both groups were highly satisfied with the chatbot (4.0±0.5, 4.0±0.6, respectively.) Conclusion: At the end of the study, both groups led in overall improved oral health behaviors and reduced plaque levels, increased dental caries with no significant difference between groups. The Wowbot platform and chatbots exhibited good acceptability.th_TH
dc.identifier.callnoWU113 จ155ป 2567
dc.identifier.contactno64-157
dc.subject.keywordWOWBOT Platformth_TH
dc.subject.keywordChatbot Platformth_TH
.custom.citationจรัญญา หุ่นศรีสกุล, Jaranya Hunsrisakhun, วัชรวลี ตั้งคุปตานนท์, Watcharawalee Tangkuptanon, เสมอจิต พิธพรชัยกุล, Samerchit Pithpornchaiyakul, สุภาวดี เนาว์รุ่งโรจน์, Supawadee Naorungroj, พิสมัย วัฒนสิทธิ์ and Pissamai Wattanasit. "ประสิทธิภาพของแพลตฟอร์ม WOWBOT และสื่อ Chatbot 21 วัน ฟันดีพลัส ในการดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับผู้ดูแลเด็ก ช่วงอายุ 6 เดือน - 3.5 ปี." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6068">http://hdl.handle.net/11228/6068</a>.
.custom.total_download10
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month7
.custom.downloaded_this_year10
.custom.downloaded_fiscal_year10

Fulltext
Icon
Name: hs3106.pdf
Size: 4.906Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record