dc.contributor.author | ปัทมา ต.วรพานิช | th_TH |
dc.contributor.author | Pattama Torvorapanit | th_TH |
dc.contributor.author | สุรชัย เล็กสุวรรณกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Surachai Leksuwankun | th_TH |
dc.contributor.author | อริยา จินดามพร | th_TH |
dc.contributor.author | Ariya Chindamporn | th_TH |
dc.contributor.author | นวพร วรศิลป์ชัย | th_TH |
dc.contributor.author | Navaporn Worasilchai | th_TH |
dc.contributor.author | รองพงศ์ โพล้งละ | th_TH |
dc.contributor.author | Rongpong Plongla | th_TH |
dc.contributor.author | กษมา มโนธรรมเมธา | th_TH |
dc.contributor.author | Kasama Manothummetha | th_TH |
dc.contributor.author | ณัฐพงศ์ เหล็งศิริ | th_TH |
dc.contributor.author | Nattapong Langsiri | th_TH |
dc.contributor.author | กษิดิศ ป้องขันธ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Kasidis Phongkhun | th_TH |
dc.contributor.author | นิติพงศ์ เพิ่มพลัง | th_TH |
dc.contributor.author | Nitipong Permpalung | th_TH |
dc.date.accessioned | 2024-05-29T07:01:20Z | |
dc.date.available | 2024-05-29T07:01:20Z | |
dc.date.issued | 2567-01 | |
dc.identifier.other | hs3111 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/6070 | |
dc.description.abstract | โรคติดเชื้อพิธิโอซิส เกิดจากการติดเชื้อ Pythium Insidiosum ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคในกลุ่มที่คล้ายเชื้อราแต่ไม่ใช่เชื้อรา จัดอยู่ในกลุ่มใกล้เคียงกับไดอะตอม Pythium spp. ถูกค้นพบเป็นการติดเชื้อในพืชมาก่อน ต่อมามีรายงานการติดเชื้อในสัตว์ เมื่อ ค.ศ. 1983 และในที่สุดมีรายงานยืนยันว่าก่อโรคในคนได้ครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1985 ซึ่งเป็นผู้ป่วยในประเทศไทย ซึ่ง Pythium spp. มักปนเปื้อนอยู่ในดินและน้ำทางการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่เขตร้อนชื้น และมีคุณสมบัติสร้างสปอร์ที่เคลื่อนที่ได้ไปเกาะยังเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตที่นำไปสู่การติดเชื้อเกิดเป็นแผลเนื้อตาย และหากติดเชื้อที่หลอดเลือดนำไปสู่ผนังหลอดเลือดแดงอุดตันหรือโป่งพองทำให้อวัยวะบริเวณนั้นขาดเลือดตามมา ในเวลาต่อมามีรายงานผู้ป่วยจากประเทศต่างๆ เป็นระยะ นับถึงปี ค.ศ. 2021 รวมแล้ว จำนวน 771 ราย ซึ่งร้อยละ 94.3 เป็นผู้ป่วยจากประเทศไทยและอินเดีย ยิ่งไปกว่านั้นหากเป็นการติดเชื้อในหลอดเลือด ผู้ป่วยเกือบทั้งหมดทั่วโลกเป็นผู้ป่วยจากประเทศไทย แต่เนื่องจากช่วงก่อนศตวรรษที่ 20 เทคโนโลยีด้านการจำแนกเชื้อยังไม่ก้าวหน้า ทำให้การยืนยันวินิจฉัยทำได้อย่างจำกัด ส่งผลทำให้สถิติในอดีตมีประมาณอุบัติการณ์โรคพิธิโอซิสในประเทศไทยเพียง จำนวน 10 รายต่อปี ทำให้เสียโอกาสในการศึกษาเกี่ยวกับ การดำเนินโรค สายพันธุ์ของเชื้อ ความไวต่อยาต้านเชื้อโรคประเภทต่างๆ ข้อมูลในระยะยาวทางคลินิก ฯลฯ ทำได้จำกัดมาก สำหรับการเรียนการสอนเกี่ยวกับโรคนี้ในระดับนิสิตแพทย์ยังไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร เนื่องจากจัดว่าเป็นโรคพบน้อย ส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์ขาดประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยโรคนี้และประชาชนไม่รู้จักโรคนี้ ปัจจุบันการรักษาที่ประสบความสำเร็จยังคงเป็นการตัดส่วนที่ติดเชื้อออกให้หมด ร่วมกับการให้ยาต้านเชื้อหลายขนาน หากเป็นการติดเชื้อในหลอดเลือด จึงเกิดการผ่าตัด ซึ่งอาจนำไปสู่การสูญเสียอวัยวะหรือเสียชีวิต โดยความสูญเสียจะยิ่งเกิดมากขึ้น หากผู้ป่วยมาพบแพทย์ล่าช้า หรือแพทย์ให้การวินิจฉัยได้ล่าช้า ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดความรู้และประสบการณ์ในการวินิจฉัย ซึ่งจากการศึกษาในครั้งนี้ การสร้างหลักสูตรออนไลน์เกี่ยวกับการวินิจฉัยและรักษาโรคติดเชื้อพิธิโอซิสในหลอดเลือด จึงนับเป็นก้าวแรกของระบบการศึกษาทางการแพทย์และสาธารณสุขประเทศไทย ได้สร้างความตระหนักรู้ อีกทั้งมีการขยายองค์ความรู้ทั้งในบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะแพทย์และนักเทคนิคการแพทย์ที่ต้องจำแนกเชื้อก่อโรคนี้ และแพทย์ที่ต้องให้การรักษา เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างเหมาะสม และทันท่วงที แม้เป้าหมายหลักอาจจะยังมิได้บรรลุผลจากการศึกษาครั้งแรก แต่การสร้างหลักสูตรออนไลน์นี้จะนำไปสู่การกระตุ้นและความสำคัญของโรคนี้ ทั้งแก่บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนกลุ่มเสี่ยงให้รู้จักโรคนี้มากยิ่งขึ้น และอาจช่วยลดความล่าช้าในการยืนยันผลการวินิจฉัยได้ในอนาคต | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Pythium | th_TH |
dc.subject | Pythium--Diagnosis | th_TH |
dc.subject | ไพเทียม--การวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการ | th_TH |
dc.subject | การศึกษา | th_TH |
dc.subject | การเรียนการสอน | th_TH |
dc.subject | โปรแกรมประยุกต์ | th_TH |
dc.subject | Application Software | th_TH |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.title | การออกแบบหลักสูตรออนไลน์เพื่อส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคติดเชื้อพิธิโอซิสในหลอดเลือด | th_TH |
dc.title.alternative | Online Course Development to Improve Knowledge in Vascular Pythiosis Diagnosis | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Pythiosis, is a condition that results from being infected by Pythium insidiosum, a funguslike microorganism that is actually not classified as a fungus, but belongs to a similar group as diatom. Originally found to infect plants, reports of infections in animals were made in 1983 and eventually there were confirmed cases of the disease in humans for the first time in 1985. Pythium spp. are commonly present in soil and agricultural water sources, especially in warm, humid regions. They have motile spores that can move and attach to living tissues, leading to infections resulting necrotic lesions. If the infection occurs to the blood vessels, it can cause thrombosis or aneurysms, resulting in organ ischemia. Global reports of patients with pythiosis have been documented up to the year 2021, totaling 771 cases, with 94.3% of them coming from Thailand and India. Furthermore, almost all vascular pythiosis cases were Thai patients. However, due to limited diagnosis confirmation prior to the 2000s, leading to an underestimated prevalence of pythiosis in Thailand. Teaching about this disease among medical students less emphasized. As a result, medical personnel lack experience in managing patients with this disease, and public awareness of pythiosis remains low. At present, successful treatments need surgery and multiple antimicrobial medications. For vascular pythiosis, surgeries lead to organ loss with high mortality. Delayed medical consultation or diagnosis contributes to a higher risk of adverse outcomes, partly due to a lack of knowledge and diagnostic experience. Added value of this study Creating an online course on the diagnosis and treatment of vascular pythiosis marks the first step in medical and public health education in Thailand that recognizes the importance of this disease. This course aims to raise awareness about the problem, expanding knowledge among medical personnel, particularly doctors who must provide timely and appropriate treatment and medical technicians who need to identify the pathogen. Although the primary goal may not be fully achieved with just this initial study, the creation of this online course will stimulate recognition of the importance of this disease among medical personnel and at-risk populations. This increased awareness could help reduce delays in confirming diagnoses in the future. | th_TH |
dc.identifier.callno | WC501 ป533ก 2567 | |
dc.identifier.contactno | 65-081 | |
dc.subject.keyword | หลักสูตรออนไลน์ | th_TH |
dc.subject.keyword | Online Course | th_TH |
dc.subject.keyword | Pythiosis | th_TH |
dc.subject.keyword | โรคพิธิโอซิส | th_TH |
dc.subject.keyword | Pythiosis Diagnosis | th_TH |
dc.subject.keyword | Pythium Insidiosum | th_TH |
dc.subject.keyword | โรคติดเชื้อพิธิโอซิสในหลอดเลือด | th_TH |
dc.subject.keyword | Vascular Pythiosis | th_TH |
.custom.citation | ปัทมา ต.วรพานิช, Pattama Torvorapanit, สุรชัย เล็กสุวรรณกุล, Surachai Leksuwankun, อริยา จินดามพร, Ariya Chindamporn, นวพร วรศิลป์ชัย, Navaporn Worasilchai, รองพงศ์ โพล้งละ, Rongpong Plongla, กษมา มโนธรรมเมธา, Kasama Manothummetha, ณัฐพงศ์ เหล็งศิริ, Nattapong Langsiri, กษิดิศ ป้องขันธ์, Kasidis Phongkhun, นิติพงศ์ เพิ่มพลัง and Nitipong Permpalung. "การออกแบบหลักสูตรออนไลน์เพื่อส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคติดเชื้อพิธิโอซิสในหลอดเลือด." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6070">http://hdl.handle.net/11228/6070</a>. | |
.custom.total_download | 11 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 11 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 | |