การประเมินประสิทธิผลและการวางแนวทางในการประเมินผลกระทบของโครงการวิจัยที่หวังผลสูง: กรณีศึกษา โครงการการพัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน จังหวัดน่าน ประเทศไทย (กรณีมลพิษข้ามพรมแดนจากโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสา ประเทศลาว)
dc.contributor.author | ชื่นจิต ชาญชิตปรีชา | th_TH |
dc.contributor.author | Chaunjit Chanchitpricha | th_TH |
dc.contributor.author | Bond, Alan | th_TH |
dc.contributor.author | ชลาลัย หาญเจนลักษณ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Chalalai Hanchenlaksh | th_TH |
dc.contributor.author | นลิน สิทธิธูรณ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Nalin Sittitoon | th_TH |
dc.date.accessioned | 2024-05-29T08:10:17Z | |
dc.date.available | 2024-05-29T08:10:17Z | |
dc.date.issued | 2567-05 | |
dc.identifier.other | hs3114 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/6072 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงประเมินผล (Evaluation Research) ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Methodology) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากรอบการประเมินกระบวนการและผลกระทบของงานวิจัย และประเมินกระบวนการวิจัยของโครงการวิจัยที่หวังผลสูง:กรณีศึกษา โครงการการพัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน จังหวัดน่าน ประเทศไทย (กรณีมลพิษข้ามพรมแดนจากโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสา ประเทศลาว การศึกษานี้ใช้หลักการของทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory of Change, TOC) ในการออกแบบกรอบการประเมินกระบวนการและผลกระทบงานวิจัย โดยเน้นการวิเคราะห์เชิงเหตุและผล ประกอบกับการวิเคราะห์องค์ประกอบของบริบทของกรณีศึกษา โครงการการพัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน จังหวัดน่าน ประเทศไทย (กรณีมลพิษข้ามพรมแดนจากโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสา ประเทศลาว) โดยทีมประเมินได้ทบทวนและวิเคราะห์องค์ประกอบเพื่อพิสูจน์ความแม่นยำ หรือ Re-Structure Theory of Change ของโครงการวิจัยกรณีศึกษาตามองค์ประกอบ ดังนี้ 1) การวิเคราะห์บริบท 2) การระบุ Long-Term Change หรือ Development Impact 3) Sequencing of Events และ 4) การระบุสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นเพื่อการบรรลุเป้าหมาย (ข้อสันนิษฐาน หรือ Assumptions) และพัฒนาความชัดเจนของ Assumptions เพื่อมุ่งสู่การบรรลุผลลัพธ์และการเปลี่ยนแปลงที่ปรารถนา (Desirable Changes) องค์ประกอบสำหรับการประเมินโครงการวิจัย 2 ส่วนหลัก ได้แก่ กรอบการประเมินกระบวนการ (Procedural Audit Framework) และกรอบการประเมินผลกระทบของโครงการวิจัย (Research Impact Assessment (RIA) Framework) และแตกย่อยออกเป็น 2 ส่วน คือ Checklist ข้อคำถามสำหรับการประเมินกระบวนการวิจัย (Procedural Audit Framework Checklist) ตามหลักทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง และ Checklist ข้อคำถามสำหรับกรอบการประเมินผลกระทบของโครงการวิจัยตามหลักทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องในการพัฒนากรอบการประเมินฯ และการเก็บข้อมูล ประกอบด้วยการสนทนากลุ่มย่อย จำนวน 9 ครั้ง การสัมภาษณ์ จำนวน 18 ครั้ง กับผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 66 คน และการประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 2 ครั้ง ผลการประเมินกระบวนการและผลลัพธ์ของงานวิจัยโดยใช้กรอบการประเมินฯ ตามหลักทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง พบว่า ในการสร้างทีมเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชนที่จะมุ่งให้เกิด Active Citizen และความรอบรู้ในชุมชนเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อสุขภาพจากโรงไฟฟ้าถ่านหินนั้น ต้องอาศัยปัจจัยหรือสิ่งที่ต้องเกิดขึ้น (Assumptions) ประกอบด้วย การมีทีมเฝ้าระวังฯ ที่มีทักษะในการเฝ้าระวังผลกระทบฯ ที่มีจำนวนเพียงพอ และเกิดอาสาสมัครที่ได้รับการอบรมกลายเป็น Active Citizens ที่สามารถปฏิบัติงานได้ตามแนวทางที่คาดหวังของระบบเฝ้าระวังฯ ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติทีมวิจัยได้มีการจัดอบรมทีมเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน และมีการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์พลเมืองมาใช้ในการผลิตความรู้ร่วม เพื่อนำไปสู่การสร้างทีมเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชนในการพัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชนเพื่อให้เกิดการทำงานที่เป็นรูปธรรมนั้น จะต้องอาศัยสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้น (Assumptions) คือ 1) มีฐานข้อมูลของชุมชนที่ประกอบด้วยข้อมูลด้านสุขภาพ และข้อมูลการดำเนินการของระบบเฝ้าระวังฯ 2) ข้อมูลที่เก็บรวบรวมสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง – เกิดการใช้ข้อมูลในการจัดการและลดความเสี่ยง (ข้อมูลมีความเพียงพอและเป็นที่ยอมรับในการพิจารณาระดับความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการใช้ข้อมูลในการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามบทบาทของหน่วยงาน) และ 3) Guidebook/Factsheet ช่วยเพิ่มพูนความรอบรู้ด้านสุขภาพในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยปัจจัยสนับสนุนต่อการเกิดระบบเฝ้าระวังฯ ที่มีความต่อเนื่องและยั่งยืน ได้แก่ 1) การที่มี Active Citizen เป็นตัวหลักในการดำเนินการ 2) มีงบประมาณและค่าตอบแทนในการดำเนินการของระบบเฝ้าระวังฯ 3) การมีหน่วยงานหรือผู้ประสานงานในการดูแลเครื่องมืออย่างต่อเนื่องเพื่อการซ่อมแซมกรณีเครื่องมือเกิดขัดข้อง 4) มีระบบ Active System ที่พัฒนาถึงจุดที่เป็นมิตรกับผู้ใช้งาน (User Friendly) และเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานที่ต้องการใช้ประโยชน์จากข้อมูลในระบบ เพื่อการตอบสนองอย่างรวดเร็วและเพียงพอ 5) มีองค์ความรู้สำหรับชุมชนเป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่การสร้างความรู้และความตระหนักต่อปัญหาและผลกระทบ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่เครื่องมือและแนวทาง (Tools & Guidelines) ควรสร้างโดยชุมชนตามบริบทชุมชน เพื่อให้ชุมชนเรียนรู้และทำด้วยตนเองได้ 6) มีการวิเคราะห์ชุมชน รวมถึงผลประโยชน์ร่วมกันที่จะได้รับจากการดำเนินการของระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชนสำหรับการสร้างระบบข้อมูลความรู้ของชุมชนที่เข้าถึงง่าย (Information System) และการสร้างวัฒนธรรมการใช้ข้อมูล (Data Driver Culture) ผลการศึกษา พบว่า ทีมวิจัยได้อบรมกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน พร้อมทั้งมีการอบรมกการผลิตสื่อวิดีทัศน์เพื่อการสื่อสารความรู้ในการเฝ้าระวังผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเพื่อการสื่อสารข้อมูลความรู้ดังกล่าว ส่วนการเก็บข้อมูลจริงนั้น อาจยังไม่ได้ดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบและยังขาดความต่อเนื่องของการเก็บข้อมูล ข้อมูลบนระบบจึงประกอบด้วยข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ และข้อมูลจากชุมชนบางส่วน ทั้งนี้ ในการดำเนินการวิจัยของชุดโครงการหงสาในระยะที่ 2 มีโอกาสที่จะพัฒนาระบบข้อมูลและใช้งานจริงให้ครอบคลุมกลุ่มและหน่วยงานได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ การที่จะเกิดการสร้างระบบข้อมูลความรู้ของชุมชนและการสร้างวัฒนธรรมการใช้ข้อมูลนั้น จะต้องมีเงื่อนไข (Assumptions) ดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อน ได้แก่ 1) การเก็บข้อมูลนั้นยังคงสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นประจำ หากขาดกำลังคน เนื่องด้วยการเจ็บป่วย หรือ การหยุดพักผ่อน และ 2) ชุมชนให้ความสำคัญกับข้อมูลของระบบเฝ้าระวังฯ การสร้างพื้นที่ความร่วมมือในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างทีมเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่า เกิดการสร้างพื้นที่ความร่วมมือที่เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างทีมเฝ้าระวังหรือเกิดขึ้นเฉพาะในส่วนของทีมวิจัยเองที่ผู้เชี่ยวชาญได้มีการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมพร้อมทั้งการสังเกตและคาดการณ์ผลกระทบตามวัตถุประสงค์วิจัยของโครงการย่อยต่างๆ ภายใต้ชุดโครงการหงสา มีระบบ Digital Platform (C-Site Application) สำหรับการรวบรวมข้อมูลโดยทีมนักวิจัยและทีมเฝ้าระวังอาสาสมัครจากโรงเรียนและชุมชน ซึ่งในการใช้งานระบบนั้น ช่วงแรกของการดำเนินการวิจัยของชุดโครงการอยู่ในระหว่างการพัฒนาในเรื่องของความง่ายและความคล่องตัวในการเข้าถึงระบบข้อมูล ทั้งนี้ ความง่ายของการเข้าถึงข้อมูลและการใช้ประโยชน์ข้อมูลบนฐานข้อมูลนั้นพบว่ายังมีข้อจำกัดทางเทคนิคอยู่บ้าง นอกจากนี้ ในช่วงเวลาดังกล่าว การเข้าถึงข้อมูลยังมีข้อจำกัดเนื่องจากยังไม่ใช่ข้อมูลเปิด (Open Data) ในการสร้างพื้นที่ความร่วมมือในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างทีมเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะประสบความสำเร็จที่ช่วยนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงหรือ ผลกระทบที่ต้องการนั้นจำเป็นต้องดำเนินการภายใต้สิ่งที่จะต้องมีกระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้น (Assumptions) ได้แก่ 1) มีการส่งต่อข้อมูลและเกิดการใช้ประโยชน์ของข้อมูลโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย 2) มีการส่งต่อข้อมูลและเกิดการใช้ประโยชน์ของข้อมูลโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการติดตามตรวจสอบผลกระทบทางสุขภาพ โดยผู้มีอำนาจในการตัดสินใจในระดับท้องถิ่นใช้ข้อมูลกรณีจำเป็นต้องมีการดำเนินการบางอย่างในการเฝ้าระวังและลดความเสี่ยง รวมถึง 3) มีการส่งต่อข้อมูลและเกิดการใช้ประโยชน์ของข้อมูลโดยโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสา อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบัน (เดือน พฤษภาคม 2567) มีแนวโน้มที่ข้อมูลดังกล่าวจะนำไปพิจารณาในระดับคณะทำงานของจังหวัดน่าน แต่ยังคงอยู่ในระยะเริ่มต้นในการสร้างความเข้าใจในข้อมูลร่วมกันระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สืบเนื่องจากการประชุมของคณะกรรมการติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังมลพิษทางสิ่งแวดล้อมจังหวัดน่านร่วมกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และทีมนักวิจัย เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2567 | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | มลพิษทางอากาศ | th_TH |
dc.subject | Air Pollution | th_TH |
dc.subject | คุณภาพอากาศ | th_TH |
dc.subject | ชุมชน | th_TH |
dc.subject | Community | th_TH |
dc.subject | โรงไฟฟ้าถ่านหิน | th_TH |
dc.subject | โรงไฟฟ้าถ่านหิน--ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม | th_TH |
dc.subject | สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว | th_TH |
dc.subject | Health Impact Assessment | th_TH |
dc.subject | การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | การประเมินสิ่งแวดล้อม | th_TH |
dc.subject | ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) | th_TH |
dc.title | การประเมินประสิทธิผลและการวางแนวทางในการประเมินผลกระทบของโครงการวิจัยที่หวังผลสูง: กรณีศึกษา โครงการการพัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน จังหวัดน่าน ประเทศไทย (กรณีมลพิษข้ามพรมแดนจากโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสา ประเทศลาว) | th_TH |
dc.title.alternative | Assessing Research Effectiveness and Conceptualising Research Impact Assessment Framework: A Case of Developing Community-Led Health Impact Monitoring in Nan Province, Thailand (Regarding Transboundary Pollution Risks Around Lao PDR – Thailand Border) | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This evaluation research was conducted based on qualitative research methodology with the objectives aiming to develop a framework for assessing research process and its impact of the granted research programme: a case study of “developing community-led health impact monitoring in Nan Province, Thailand (regarding transboundary pollution risks around Lao PDR – Thailand Border”). Theory of change (TOC) concept was applied guiding the development of the assessment framework, concerning causal mechanisms and factors related to the context of the case study. This study restructured theory of change as applied in the design of proposed research approach as conducted by the assessed research teams (the case study); by starting from 1) Context analysis 2) identification of Long-term change, or the impact of development 3) Sequencing of events, and 4) identification of assumptions prior to clarifying the assumptions towards desirable changes. These processes were conducted based on documentary analysis, workshops with key informants and experts, including interviews, and focused groups. In total, 9 focus groups and 18 interviews with 66 people and 2 workshops. There are 2 key components for assessing the case study: 1) Procedural audit framework, and 2) Research Impact Assessment (RIA) framework. Regarding the developed frameworks based on theory of change, 2 sets of Checklists were obtained as procedural audit framework checklist questions, and Research Impact Assessment (RIA) framework checklist questions. Key aspects proposed by the assessed research team that they aimed to deliver are 1) community-led health surveillance team, 2) community-led surveillance system, 3) lay knowledge system for the vulnerable communities and data driver culture, 4) cooperation platform connecting data between the surveillance team and project proponent, government authorities at operational level, policy level in both Thailand and Lao PDR, prior to 5) synthesizing the lessons learned and 6) disclose research findings to the public. In terms of building community-led health surveillance team, in order to gain health literacy on risks from coal fired power plant, and active citizen; we raised the assumptions that it is essential that there are sufficient number of citizens trained (quantitively & qualitatively) in connection with the guidebook (as identified in the surveillance system), and trained citizens become active in practice as the surveillance team (as the assumptions). The results suggested that training courses were conducted applying the citizen sciences concept for co-production of knowledge as part of building the community-lead health impact surveillance team. Building community-led health surveillance/ monitoring system, to make it works, it is necessary that the assumptions should be 1) community database includes data related to health, outcomes and interventions 2) data collected can lead to change – data can lead to management action to reduce risks and 3) Guidebook/ factsheet helps increase health literacy for relevant authorities/ stakeholders. Factors supporting the continuity and sustainability of the system reflected by key informants suggested that there should be 1) Active citizen as key actors in operating the system 2) Budget allocation for the surveillance team and maintaining the system 3) Coordinating authorities taking care of the monitoring devices an equipment operation and maintenance 4) Availability of user-friendly and active surveillance system, which allows relevant authorities make use of the data/ information to make decision and respond adequately in time in case relevant actions are required 5) Providing relevant knowledge for community as factors leading to raising awareness towards the problems and impact. As such, tools & guidelines should be tailored made based on community context, while the people can learn and practice by themselves for their communities 6) Community analysis which include mutual benefits gained from the operation of community-led health impact assessment system. In terms of building lay knowledge system of the vulnerable communities and data driver culture, the results suggested that a number of targeted citizens have been trained by the case study research teams, VDO clips were produced and communicated publicly via the Thai public broadcasting service (TPBS) channel. Meanwhile, data collection by the surveillance team remained limited. Data input in the information system were mainly from the experts (case study research team projects), and partially collected by trained community (active) citizens. As such, in phase 2 of the Hongsa research project teams, there are opportunity that the surveillance system is developed and applied more practically, for relevant involved authorities. To help making this works, the proposed assumptions are 1) community recognise need for data collection, and 2) build in redundancy to ensure data collection. Building platform connecting data between the surveillance team and project proponent, governmental authorities at operation level, policy level in both Thailand & Laos: Co-operation platform (C-Site application) was established. At the initial stage of the system, the application was trialled and adjusted for better performance, user friendly impression, and simplicity. The platform was used among the experts (the case study research teams) that the environmental quality was observed and studied, based on their research project objectives. Community-led team (school and community volunteers) also supplied collected data upon their assignments to C-Site application. Nevertheless, it was found that technical issues were occasionally encountered, according to the time of interviews & focused groups. There was limited accessibility as it was not an open data yet. In order that this cooperation platform can be successful, we addressed the assumptions that 1) the data are delivered to, and used by relevant Thai authorities in terms of health impact monitoring, decision-makers of required action at local level , and decision-makers of required actions at policy level; 2) the data are delivered to, and used by relevant Lao authorities for health impact surveillance, decision-makers of required action at local level, and decision-makers of required action at policy level. Currently (as of May 2024), it is likely that the data of the research findings as supplied by the expert teams will be considered at the level of Nan provincial working group on pollution surveillance committee. Although this is at the initial stage of the collaborations between the provincial committee, the research team with their trained citizens and the community-led surveillance system; it is a sign that provincial authority and relevant sectors in Nan welcome the collaborations with researchers and the community-led surveillance team, according to meeting minute of Nan provincial environmental pollution surveillance and monitoring committee, the national human right commission officers, and the research team on 19th April 2024. | th_TH |
dc.identifier.callno | WA754 ช592ก 2567 | |
dc.identifier.contactno | 65-144 | |
dc.subject.keyword | HIA | th_TH |
dc.subject.keyword | สปป.ลาว | th_TH |
dc.subject.keyword | The Lao People's Democratic Republic, LPDR | th_TH |
dc.subject.keyword | Lao PDR | th_TH |
.custom.citation | ชื่นจิต ชาญชิตปรีชา, Chaunjit Chanchitpricha, Bond, Alan, ชลาลัย หาญเจนลักษณ์, Chalalai Hanchenlaksh, นลิน สิทธิธูรณ์ and Nalin Sittitoon. "การประเมินประสิทธิผลและการวางแนวทางในการประเมินผลกระทบของโครงการวิจัยที่หวังผลสูง: กรณีศึกษา โครงการการพัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน จังหวัดน่าน ประเทศไทย (กรณีมลพิษข้ามพรมแดนจากโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสา ประเทศลาว)." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6072">http://hdl.handle.net/11228/6072</a>. | |
.custom.total_download | 31 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 31 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 3 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Research Reports [2419]
งานวิจัย