Show simple item record

Addressing Neurodegenerative Diseases: Integrating Science and Technology into the Real-World Practice

dc.contributor.authorภูษณุ ธนาพรสังสุทธิ์th_TH
dc.contributor.authorPoosanu Thanapornsangsuthth_TH
dc.date.accessioned2024-06-04T03:21:32Z
dc.date.available2024-06-04T03:21:32Z
dc.date.issued2567-05-21
dc.identifier.otherhs3112
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6073
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ : ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและภาระทางเศรษฐกิจอันเกิดจากโรคความเสื่อมของระบบประสาท (Neurodegenerative Diseases, NDDs) จะพุ่งทะยานขึ้น ซึ่งนับเป็นความท้าทายอย่างมากสำหรับประเทศรายได้ปานกลาง ทั้งนี้ มาตรการการรับมือต่างๆ อาทิเช่น การรณรงค์ลดปัจจัยเสี่ยง วางแผนระบบการดูแลผู้ป่วย ผลักดันการวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ฯลฯ สามารถลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ มาตรการเหล่านี้จะสำเร็จได้หากใช้ประโยชน์จากตัวชี้วัดชีวภาพที่บ่งถึงพยาธิสภาพ เพราะสามารถตรวจพบ NDDs ได้ก่อนที่จะเริ่มมีอาการเป็นเวลานาน ในระยะที่ยังพอป้องกันทุพพลภาพได้ อย่างไรก็ดีตัวชี้วัดเหล่านี้ยังมีข้อจำกัด ได้แก่ ราคาแพง ผู้ใช้เข้าถึงยากและมีการทดสอบประสิทธิภาพเพียงในคนเชื้อชาติตะวันตก วัตถุประสงค์ของโครงการนี้คือ การพัฒนาตัวชี้วัดชีวภาพของ NDDs ได้แก่ Real-time quaking-induced conversion (RT-QuIC) สำหรับวินิจฉัยโรคพริออนและโรคในกลุ่ม synucleinopathies เทคนิคการวัดระดับ phosphorylated tau (p-tau) ในเลือด สำหรับวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease, AD) และแนวทางประเมินตัวชี้วัดชีวภาพหลากรูปแบบ สำหรับประเมินโรคน้ำเกินในโพรงสมองในผู้สูงอายุ (idiopathic normal pressure hydrocephalus, iNPH) และค่าอ้างอิงของตัวชี้วัดระดับภยันตรายและการสูญเสียเซลล์ประสาท เพื่อให้มีราคาถูก เข้าถึงง่าย ไม่คุกคามสวัสดิภาพของผู้ถูกตรวจและมีความแม่นยำในคนไทย รวมถึงรายละเอียดวิธีใช้ตัวชี้วัดเหล่านั้นในสถานการณ์ชีวิตจริง วัสดุและวิธีการ : ผู้ป่วยที่แพทย์สงสัยโรคพริออนได้รับการประเมินในโครงการเฝ้าระวังโรคพริออน ด้วยแบบสอบถามต่างๆ และตัวอย่างน้ำไขสันหลัง (Cerebrospinal Fluid, CSF) ของผู้ป่วยเหล่านั้นได้รับการตรวจด้วย prion RT-QuIC; โปรโตคอลการตรวจ α-synuclein RT-QuIC สามวิธีถูกทดสอบกับ CSF ผู้ป่วย จำนวน 16 คน เพื่อเลือกวิธีที่มีความแม่นยำที่สุดหนึ่งวิธีและนำมาทดสอบเพิ่มเติมกับตัวอย่างที่มีความชัดเจนทางคลินิกมากขึ้น; ตัวอย่างเลือดของผู้ป่วยคลินิกความจำที่ได้รับการตรวจ Florbetaben Positron Emission Tomography (PET) หรือ CSF เพื่อวินิจฉัยพยาธิสภาพของ AD ถูกนำมาวัดระดับ p-tau217 เพื่อทดสอบความแม่นยำ และเปรียบเทียบกับตัวชี้วัดชีวภาพในเลือดอื่น เช่น p-tau181 และการวินิจฉัยทางคลินิกโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ; อาสาสมัครผู้ป่วยที่สงสัย iNPH ถูกรวบรวมและใช้แนวทางการประเมินตัวชี้วัดชีวภาพหลากรูปแบบ เพื่อความสัมพันธ์ระหว่างกับการเปลี่ยนแปลงลักษณะการเดินก่อนและหลังการทดลองระบายน้ำ; เลือดของอาสาสมัครสุขภาพดีในช่วงอายุต่างๆ ถูกวัดระดับ Neurofilament Light Chain (NFL) เพื่อหาค่าอ้างอิงในการบ่งบอกถึงระดับภยันตรายและการสูญเสียเซลล์ประสาทในแต่ละอายุ ผลการศึกษา : โครงการเฝ้าระวังโรคพริออนได้ศึกษาติดตามผู้ป่วย จำนวน 19 คน ซึ่งมีจำนวน 8 คน (ร้อยละ 42) ที่ตรวจ CSF prion RT-QuIC ได้ผลบวก มีผู้ป่วยเพียงหนึ่งคนที่มีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคจากการติดเชื้อ ได้แก่ เคยได้รับการผ่าตัดสมองแต่ไม่ได้มีการปลูกถ่ายเยื่อหุ้มสมอง ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยที่ตรวจ prion RT-QuIC ได้ผลบวกทุกคนเข้าได้กับโรคครอยท์เฟลดท์-ยาคอบที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ; วิธีตรวจ α-synuclein RT-QuIC ที่อาศัยสารตั้งต้นสำเร็จรูปตรวจได้ผลบวกในตัวอย่าง CSF ผู้ป่วยที่มีอาการ 3 จาก 10 ตัวอย่าง โดยไม่ให้ผลบวกเลยในตัวอย่างควบคุมลบ 6 ตัวอย่าง เมื่อใช้โปรโตคอลนี้กับตัวอย่างอื่นๆ เพิ่มเติมพบว่า ได้ผลสอดคล้องกับการวินิจฉัยทางคลินิกโดยผู้เชี่ยวชาญ; ระดับ p-tau217 ในเลือดจากผู้ป่วยคลินิกความจำ จำนวน 132 คน (ซึ่งมีพยาธิสภาพของ AD ร้อยละ 54.5) สามารถวินิจฉัย AD ได้ด้วย AUC 0.94 (95% CI 0.90-0.98) ในขณะที่ p-tau181 และการวินิจฉัยทางคลินิกโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สามารถวินิจฉัย AD ได้ด้วย AUC 0.86 (95% CI 0.80-0.93) และ 0.84 (95% CI 0.77-0.90) ตามลำดับ หากใช้ค่าอ้างอิง p-tau217 ที่ 0.24 pg/mL จะได้ความไวและความจำเพาะที่ร้อยละ 90.3 และ 92.0 ตามลำดับ; การศึกษาได้รวบรวมอาสาสมัคร iNPH จำนวน 13 คนเพื่อประเมินตัวชี้วัดชีวภาพหลากรูปแบบ โดยอาสาสมัคร จำนวน 12 จาก จำนวน 13 คน มีการเดินที่ดีขึ้นวัดด้วยมุมงอเข่าและข้อเท้า ซึ่งระดับ p-tau181 ใน CSF แนวโน้มว่าจะสัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว; จากตัวอย่างเลือดของอาสาสมัครสุขภาพดี 233 คน พบว่า ระดับ NFL ในเลือดสัมพันธ์กับอายุอย่างชัดเจน ในเบื้องต้น ค่าอ้างอิงที่วัดได้สอดคล้องกับค่าที่เคยรายงานไว้ในประชากรชาติตะวันตก สรุป : โครงการวิจัยนี้มุ่งเน้นการพัฒนาตัวชี้วัดชีวภาพที่มีประสิทธิภาพและเข้าถึงง่ายสำหรับ NDDs ต่างๆ อาทิเช่น โรคพริออน โรคกลุ่ม synucleinopathy โรคอัลไซเมอร์ ฯลฯ การดำเนินการในปีที่สามประสบความสำเร็จดี กล่าวคือ prion RT-QuIC ถูกนำไปใช้ดำเนินการเฝ้าระวังโรคพริออน เกิดผลผลิตคือ ผู้ป่วยไทยที่สงสัยโรคพริออนในประเทศได้รับการตรวจโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้ผลภายใน 5 วัน ผลลัพธ์คือ แพทย์ผู้ดูแลสามารถวางแผนการรักษาได้เร็ว ส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ในขณะที่โครงการศึกษาการเกิดและการดำเนินของโรคทางปริชานปัญญาเกิดผลผลิตคือ ชุดตรวจ p-tau217 ในเลือดมีความแม่นยำสูงมากในการวินิจฉัย AD โดยสูงกว่า p-tau181 และการวินิจฉัยของผู้เชี่ยวชาญอย่างชัดเจน เกิดผลลัพธ์คือ ร่างแนวทางในการใช้ตัวชี้วัดชีวภาพในเวชปฏิบัติหรือการคัดกรองประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยงที่เหมาะสมกับประเทศไทย และตัวชี้วัดชีวภาพของ AD ในน้ำไขสันหลังที่เกี่ยวข้องกับพยาธิสรีระวิทยาของ NPH เกิดผลผลิตคือ การเผยแพร่ในงานประชุมนานาชาติและผลลัพธ์คือ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ NPH มากขึ้น ในขณะที่โครงการย่อยอื่นๆ ยังอยู่ในช่วงดำเนินการและคาดว่าจะมีผลผลิตให้เห็นในปีต่อๆ ไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectNeurodegenerative Diseasesth_TH
dc.subjectระบบประสาท--การเสื่อมth_TH
dc.subjectระบบประสาท--โรคth_TH
dc.subjectสมองเสื่อมth_TH
dc.subjectสมองเสื่อม--ในวัยชราth_TH
dc.subjectสมองเสื่อม--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectภาวะสมองเสื่อม--ผู้ป่วยth_TH
dc.subjectAlzheimer Diseaseth_TH
dc.subjectโรคอัลไซเมอร์th_TH
dc.subjectAging Societyth_TH
dc.subjectตัวชี้วัดth_TH
dc.subjectIndicatorsth_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectPublic Health Administrationth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleยุทธศาสตร์เพื่อการรองรับโรคสมองเสื่อมของระบบประสาท : สู่การใช้ตัวชี้วัดชีวภาพในเวชปฏิบัติจริงth_TH
dc.title.alternativeAddressing Neurodegenerative Diseases: Integrating Science and Technology into the Real-World Practiceth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeObjective: Thailand is experiencing demographic aging. Consequently, the socioeconomic burden of neurodegenerative diseases (NDDs) is expected to escalate drastically, posing a challenge for the middle-income country. Much can be done to mitigate the consequences of NDDs, including imposing preventive interventions, planning an integrated care chain, accelerating biomedical research, etc. Using neuropathology-specific biomarkers is indispensable for the successful implementation of such measures because they can detect NDDs in the long presymptomatic stages, during which disability can be prevented. Nevertheless, their use is limited by cost and accessibility, perceived invasiveness, and lack of validation in non-white populations. The aim of this project is to develop biomarkers for NDDs, including Real-time Quaking-induced Conversion (RT-QuIC) for diagnosing prion diseases and synucleinopathies, plasma phosphorylated tau (p-tau) for diagnosing Alzheimer's disease (AD), a multimodal biomarker evaluation scheme for evaluating idiopathic normal pressure hydrocephalus (iNPH), and reference values for biomarkers of neuronal injury that are affordable, accessible, non-invasive, and accurate with regards to Thai people, along with effective guidance for their real-world application. Materials and methods: Patients suspected of prion diseases by their attending physicians were evaluated in a nationwide surveillance program. Their cerebrospinal fluid (CSF) samples were tested using prion RT-QuIC. Three previously published methods of performing α-synuclein RT-QuIC were tested on 16 clinical patients, enabling the selection of the method with the most suitable accuracy. The method was subsequently performed on more CSF samples that were better characterized clinically. P-tau217 quantification using electrochemiluminescence (ECL) was performed on plasma specimens from participants with cognitive impairment who had previously undergone 18F-Florbetaben positron emission tomography (PET) or CSF biomarkers to determine its accuracy as well as the optimal cutoff for diagnosing AD. The diagnostic performance was compared with p-tau181 as well as clinical diagnosis. Participants suspected of having iNPH were recruited and evaluated with multimodal biomarkers. The correlation of those biomarkers and objective changes in gait parameters was determined. Healthy participants of various ages were evaluated with plasma neurofilament light chain (NFL) in order to find the optimal age-related threshold for defining an abnormal level of neuronal injury. Results: Nineteen patients joined the national prion surveillance program, of whom 8 (42%) tested positive for prion RT-QuIC. None of the patients had a risk for acquired prion disease except for one RT-QuIC positive patient, who had previous brain surgery without receiving a dura mater graft. Clinical features of all RT-QuIC positive patients were compatible with sporadic Creutzfeldt-Jakob disease. RT-QuIC using commercial rec-humα-synuclein was positive in 3 out of 10 clinical samples suspected of PD and negative in all 6 negative control specimens. It then showed substantial agreement with clinical diagnosis from a movement disorders specialist in a cohort of 26 patients. A total of 132 participants with cognitive impairment were evaluated for plasma p-tau, with 54.5% having AD confirmed by PET or CSF. Plasma p-tau217 measured by ECL achieved an AUC of 0.94 (95% CI 0.90-0.98), whereas plasma p-tau181 and clinical diagnosis only had AUCs of 0.86 (95% CI 0.80-0.93) and 0.84 (95% CI 0.77-0.90), respectively. Using the p-tau217 cutoff of 0.24 pg/mL, the sensitivity and specificity of this assay were 90.3% and 92.0%, respectively. The study had enrolled 13 iNPH participants to undergo the multimodal biomarker evaluation scheme. All but one showed improvement in ankle and knee flexion angles. CSF p-tau181 showed a trend toward correlation with those gait changes, Rho = 0.49 (p=0.09). Two-hundred and thirty-three healthy participants’ plasma was measured for NFL, and their values clearly increased with age. Preliminarily, the reference values obtained were similar to reported values from Western cohorts. Conclusion: This research project continues to focus on developing accurate and assessable fluid biomarkers for ND, including prion diseases, synucleinopathies, AD, etc., as well as testing them in real-life clinical practice. Its third year had completed with substantial success. RT-QuIC for prion disease has been successfully implemented in a nationwide surveillance program. This yielded the output of Thai patients receiving the test with short waiting time and achieved the outcome of guiding physician management in improved quality of life for the patients. The main output of the memory clinic study is showing that plasma p-tau217 was evaluated in real-life settings and considerably outperformed the former assay and specialist’s diagnosis leading to the outcome of a potential guideline for the use of blood-based AD biomarkers in Thailand. The study showed that CSF AD biomarkers could be related to the emergence of NPH physiology resulting in the output of abstract presentation at an international conference and outcome of insights on the mechanisms of NPH. The results for other studies are underway, possibly leading to tangible outputs and outcomes in the following years.th_TH
dc.identifier.callnoWM220 ภ696ย 2567
dc.identifier.contactno66-121
dc.subject.keywordโรคสมองเสื่อมth_TH
dc.subject.keywordสังคมผู้สูงอายุth_TH
.custom.citationภูษณุ ธนาพรสังสุทธิ์ and Poosanu Thanapornsangsuth. "ยุทธศาสตร์เพื่อการรองรับโรคสมองเสื่อมของระบบประสาท : สู่การใช้ตัวชี้วัดชีวภาพในเวชปฏิบัติจริง." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6073">http://hdl.handle.net/11228/6073</a>.
.custom.total_download15
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month15
.custom.downloaded_this_year15
.custom.downloaded_fiscal_year15

Fulltext
Icon
Name: hs3112.pdf
Size: 7.550Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record