แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การพัฒนาหลักสูตรบุคลากรแกนนำด้านการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ

dc.contributor.authorวณิชา ชื่นกองแก้วth_TH
dc.contributor.authorWanicha Chuenkongkaewth_TH
dc.contributor.authorพงษ์ศักดิ์ วรรณไกรโรจน์th_TH
dc.contributor.authorPongsak Wannakrairotth_TH
dc.contributor.authorอานุภาพ เลขะกุลth_TH
dc.contributor.authorArnuparp Lekhakulath_TH
dc.contributor.authorดุสิตา กระวานชิดth_TH
dc.contributor.authorDusita Krawanchidth_TH
dc.contributor.authorวิจิตรา สุวรรณอาสน์th_TH
dc.contributor.authorVichitra Suvannaardth_TH
dc.contributor.authorมนัสชนน์ คุณาพรสุจริตth_TH
dc.contributor.authorManuschon Kunapornsujaritth_TH
dc.contributor.authorสุกัญญา ยิ้มสมบูรณ์th_TH
dc.contributor.authorSukanya Yimsomboonth_TH
dc.contributor.authorธนวันต์ กัญญภัสth_TH
dc.contributor.authorTanawan Kanyapasth_TH
dc.date.accessioned2024-06-11T09:17:49Z
dc.date.available2024-06-11T09:17:49Z
dc.date.issued2567-02
dc.identifier.isbn9786169346692
dc.identifier.otherhs3118
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6081
dc.description.abstractการวิจัยพัฒนาหลักสูตรบุคลากรแกนนำด้านการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อจัดทำแนวทางและหลักสูตร การพัฒนาแกนนำบุคลากรด้านการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของแนวทางและหลักสูตร การพัฒนาแกนนำบุคลากรด้านการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ 3) เพื่อถอดบทเรียนการพัฒนาแกนนำบุคลากรด้านการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ และ 4) เพื่อสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายและนำเสนอต่อผู้กำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากรแกนนำด้านการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ 9 วิชาชีพ ได้แก่ 1) กายภาพบำบัดศึกษา 2) ทันตแพทยศาสตรศึกษา 3) เทคนิคการแพทยศาสตรศึกษา 4) พยาบาลศาสตรศึกษา 5) แพทย์แผนไทยศึกษา 6) แพทยศาสตรศึกษา 7) เภสัชศาสตรศึกษา 8) สาธารณสุขศาสตรศึกษา และ 9) สัตว์แพทยศาสตรศึกษา โดยมีการใช้กรอบ ADDIE Model ในการออกแบบและพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้และการฝึกอบรม ซึ่งมี 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย การวิเคราะห์ (Analysis) การออกแบบ (Design) การพัฒนา (Development) การนำไปใช้ (Implementation) และ การประเมิน (Evaluation) ซึ่งมีผู้เข้าอบรมทั้งสิ้น จำนวน 57 คน การประเมินประสิทธิภาพหลักสูตรมีการดำเนินการทั้งการประเมินผู้เข้าอบรมและการประเมินหลักสูตร จากผลการประเมินมีผู้เข้าอบรม จำนวน 57 คน ช่วงอายุระหว่าง 30-60 ปี ซึ่งเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษาจาก 9 วิชาชีพ ข้างต้น จากแบบสอบถามความรู้ความเข้าใจแนวทางการจัดหลักสูตรการพัฒนาการจัดการศึกษาบุคลากรสุขภาพและความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน ทั้ง 6 โมดูล ก่อนและหลังการอบรม ผู้เข้าอบรมที่ตอบแบบสอบถาม จำนวน 54 ท่าน มีระดับความรู้ความเข้าใจแนวทางการจัดหลักสูตรการพัฒนาการจัดการศึกษาบุคลากรสุขภาพและความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนเพิ่มขึ้นหลังจากเข้าร่วมการฝึกอบรมและจากแบบสอบถามความพึงพอใจการบริหารจัดการและการฝึกอบรม ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับสูงจากการประเมินหลักสูตร โดย Kirkpatrick Model ในระดับที่ 1 วัดการตอบสนองในห้องเรียน ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่มีความเข้าใจเนื้อหาโมดูล 1-6 และต้องการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมในสิ่งที่จะต้องนำไปประยุกต์ใช้และวางแผนในการจัดการเรียนการสอนของตนเอง ในระดับที่ 2 วัดความรู้ความเข้าใจที่ได้จากการเรียน ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่ทำงานที่ได้รับมอบหมายใน 6 โมดูล เช่น การวิพากษ์หลักสูตรที่สถาบันของตนเองและนำมาอภิปรายในกลุ่มย่อยร่วมกับวิทยากรพี่เลี้ยง เพื่อขอคำปรึกษาในการปรับปรุงงาน ในระดับที่ 3 วัดการนำความรู้ความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ในงานจนเกิดเป็นทักษะหรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ผู้เข้ารับการอบรมหลายท่านนำงานที่ได้รับมอบหมายไปดำเนินการต่อ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในสถาบันของตนเองและขยายผลความรู้ที่ได้รับจากการอบรมโดยการอบรมผู้อื่นต่อ ในระดับที่ 4 วัดผลของการนำความเข้าใจที่ได้ไปปฏิบัติจริงจนได้ผลลัพธ์ในสถาบัน เป็นการวัดผลในระยะยาว ซึ่งหลังจากการอบรม ผู้เข้ารับการอบรมบางท่านได้กลับไปริเริ่มเป็นแกนนำในการทำงานร่วมกับกลุ่มอาจารย์ในสถาบันที่ตนเองสังกัดและวางแผนให้การดำเนินการต่างๆ ทั้งการปรับปรุงหลักสูตร การพัฒนาอาจารย์ การประเมินผลและการวิจัยในชั้นเรียน เข้าไปอยู่ในโครงสร้างของสถาบัน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาการศึกษาวิชาชีพสุขภาพในระยะยาว การวิจัยนี้มีข้อเสนอเชิงแนะนโยบาย สำหรับสถาบันการศึกษาวิชาชีพสุขภาพและสภาวิชาชีพสุขภาพในการนำหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรแกนนำด้านการศึกษาวิชาชีพสุขภาพไปประยุกต์ใช้ในการฝึกอบรมอาจารย์โดยสถาบันและสภาวิชาชีพ เพื่อเป็นการพัฒนาอาจารย์ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีในระบบการศึกษาและระบบสุขภาพในระยะยาวth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectหลักสูตรการศึกษาth_TH
dc.subjectการศึกษาth_TH
dc.subjectการเรียนการสอนth_TH
dc.subjectบุคลากรทางการแพทย์th_TH
dc.subjectMedical Personnelth_TH
dc.subjectHealth Manpowerth_TH
dc.subjectHealth Workerth_TH
dc.subjectHealth Workforceth_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce)th_TH
dc.titleการพัฒนาหลักสูตรบุคลากรแกนนำด้านการศึกษาวิชาชีพสุขภาพth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of Training Program for the Trainers in Health Profession Educationth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe research on the Development of training program for the trainers in health profession education aimed to 1) Develop guidelines and curriculum for “ training program for the trainers in health profession education”, 2) Study the effectiveness of the guidelines and curriculum, 3) Extract lessons from on the development of training program for the trainers in health profession education and 4) Synthesize policy proposals and present them to policymakers involved in workforce development for the following 9 healthcare professions including dental education, medical technology education, medical education, nursing education, pharmaceutical education, physical therapy education, public health education, Thai traditional medicine education and veterinary education. The ADDIE model framework was utilized in designing and developing the learning and training curriculum, comprising 5 steps namely Analysis, Design, Development, Implementation, and Evaluation. A total of 57 participants took part in the training program. The evaluation of the course effectiveness involved both assessing the participants and evaluating the curriculum. Based on the assessment results, there were 57 participants. They were aged between 30-60 years and were educators from the aforementioned 9 health professions. From the questionnaire assessing their knowledge and understanding of the guidelines for healthcare workforce development management and teaching management skills across the 6 modules, both before and after the training, 54 respondents showed an increased level of knowledge and understanding after participating in the training. Moreover, from the satisfaction questionnaire on management and training management, the majority of the trainees expressed a high level of satisfaction. From the evaluation of the course using the Kirkpatrick Model, at Level 1, which measured classroom response, the majority of the trainees demonstrated understanding of Modules 1-6 content and expressed a desire to further explore more knowledge and information for application and integration into their own teaching practices. At Level 2, which measured knowledge and understanding gained from the training, many participants did tasks assigned in 6 modules such as analyzing their institution’s curriculum and discussing improvements within small groups with mentors for consultation on enhancing their work. At Level 3, which measured the application of knowledge and understanding for skill development or behavior change, many trainees proceeded to implement tasks assigned to them to develop teaching practices within their institutions. They also expanded upon the knowledge gained by training others, thereby applying their knowledge to practical situations and fostering behavior change. At Level 4, which measured the impact of applied understanding on actual outcomes of the institution, representing long-term assessment, some participants has become leaders and collaborated with other faculty members within their affiliated institutions in order to planning various activities such as curriculum revisions, faculty development, learner evaluations, and classroom research, and eventually integrate them into the institutional framework to ensure sustainable long-term development of health professional education and health systemsth_TH
dc.identifier.callnoW76 ว157ก 2567
dc.identifier.contactno65-018
dc.subject.keywordการศึกษาวิชาชีพสุขภาพth_TH
dc.subject.keywordHealth Profession Educationth_TH
.custom.citationวณิชา ชื่นกองแก้ว, Wanicha Chuenkongkaew, พงษ์ศักดิ์ วรรณไกรโรจน์, Pongsak Wannakrairot, อานุภาพ เลขะกุล, Arnuparp Lekhakula, ดุสิตา กระวานชิด, Dusita Krawanchid, วิจิตรา สุวรรณอาสน์, Vichitra Suvannaard, มนัสชนน์ คุณาพรสุจริต, Manuschon Kunapornsujarit, สุกัญญา ยิ้มสมบูรณ์, Sukanya Yimsomboon, ธนวันต์ กัญญภัส and Tanawan Kanyapas. "การพัฒนาหลักสูตรบุคลากรแกนนำด้านการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6081">http://hdl.handle.net/11228/6081</a>.
.custom.total_download8
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year8
.custom.downloaded_fiscal_year2

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs3118.pdf
ขนาด: 2.554Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย