Show simple item record

Integrative Cognitive Neuropsychological Program Emphasizing Brain Response to Enhance Inhibitory Control among Substance Abusers at The Alternative Rehabilitation Communities in Eastern Thailand

dc.contributor.authorจุฑามาศ แหนจอนth_TH
dc.contributor.authorJuthamas Haenjohnth_TH
dc.contributor.authorวรากร ทรัพย์วิระปกรณ์th_TH
dc.contributor.authorWarakorn Supwirapakornth_TH
dc.contributor.authorจตุพร นามเย็นth_TH
dc.contributor.authorJatuporn Namyenth_TH
dc.date.accessioned2024-06-17T04:49:44Z
dc.date.available2024-06-17T04:49:44Z
dc.date.issued2567-05
dc.identifier.otherhs3123
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6085
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามาตรวัดพฤติกรรมการควบคุมยับยั้งสำหรับผู้ติดสารเสพติด 2) สร้างแบบทดสอบสัญญาณหยุดสารเสพติดสำหรับผู้ติดสารเสพติด และ 3) พัฒนาโปรแกรมบูรณาการจิตประสาทวิทยาการรู้คิดที่เน้นการตอบสนองของสมอง การวิจัยนี้มี 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 พัฒนาเครื่องมือวัดพฤติกรรมการควบคุมยับยั้งสำหรับผู้ติดสารเสพติด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ติดสารเสพติดชายที่เข้ารับการบำบัดด้วยวิธีชุมชนบำบัดของเรือนจำกลางชลบุรี จำนวน 300 คน ที่มีอายุ 18-60 ปี ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้เทคนิคการจับฉลากแบบไม่ใส่คืน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ มาตรวัดพฤติกรรมการควบคุมยับยั้งสำหรับผู้ติดสารเสพติดและแบบทดสอบสัญญาณหยุดสารเสพติดสำหรับผู้ติดสารเสพติดที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและองค์ประกอบเชิงยืนยัน ระยะที่ 2 พัฒนาโปรแกรมบูรณาการจิตประสาทวิทยาการรู้คิดที่เน้นการตอบสนองของสมองเพื่อเสริมสร้างการควบคุมยับยั้งสำหรับผู้ติดสารเสพติด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ติดสารเสพติดในสถานบำบัดทางเลือกภาคตะวันออก จำนวน 30 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มได้สถานบำบัดทางเลือก 2 แห่ง สุ่มอย่างง่ายอีกครั้งโดยการจับฉลากเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน เครื่องมือวิจัย คือ โปรแกรมบูรณาการจิตประสาทวิทยาการรู้คิดที่เน้นการตอบสนองของสมอง เพื่อเสริมสร้างการควบคุมยับยั้งสำหรับผู้ติดสารเสพติด จำนวน 12 ครั้งๆ ละ 50 นาที ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น การดำเนินการทดลองแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ก่อนทดลอง หลังทดลอง และระยะติดตามผล 3 สัปดาห์ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมฯ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับวิธีปกติจากสถานบำบัดทางเลือก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่ง ตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่มเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีบอนเฟอรโรนี ผลการวิจัยพบว่า 1. มาตรวัดพฤติกรรมการควบคุมยับยั้งสำหรับผู้ติดสารเสพติดมี 2 องค์ประกอบหลักและ 4 องค์ประกอบย่อย จำนวน 45 ข้อ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า มาตรวัดมีความตรงเชิงโครงสร้าง (Chi-Square = 1976.68, df = 898, p-value = 0.00000, RMSEA = 0.063) เกณฑ์มาตรฐานของพฤติกรรมการควบคุมยับยั้ง ตั้งแต่ 1.00 – 3.50 หมายถึง มีพฤติกรรมควบคุมยับยั้งน้อยที่สุด ถึง 5.38 – 6.00 หมายถึง มีพฤติกรรมควบคุมยับยั้งมากที่สุด (Mean = 4.42, SD= 0.91) นอกจากนี้ พบว่า ผู้ติดสารเสพติดมีพฤติกรรมการควบคุมยับยั้งอยู่ในระดับค่อนข้างน้อย โดยประเภทของสารเสพติด และระยะเวลาการเสพติดส่งผลต่อพฤติกรรมการควบคุมยับยั้งและวินัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. แบบทดสอบสัญญาณหยุดสารเสพติดสำหรับผู้ติดสารเสพติด มี 2 รูปแบบ คือ การทดสอบสัญญาณหยุดด้วยภาพและการทดสอบสัญญาณหยุดด้วยเสียง โดยแบบทดสอบแต่ละรูปแบบประกอบด้วย 200 สิ่งเร้าโก และ 50 สิ่งเร้าหยุด (สัดส่วน 80:20) ผลการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์ความคงที่ด้วยวิธีการทดสอบ และทดสอบซ้ำภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้พบว่าผู้ติดสารเสพติดน้อยกว่า 2 ปี มีการควบคุมยับยั้งมากกว่าผู้ที่ใช้สารเสพติดมากกว่า 10 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. โปรแกรมบูรณาการจิตประสาทวิทยาการรู้คิดที่เน้นการตอบสนองของสมองเพื่อเสริมสร้างการควบคุมยับยั้งสำหรับผู้ติดสารเสพติด ผู้วิจัยสร้างขึ้นบนหลักการพื้นฐานของแนวคิดทางประสาทวิทยาศาสตร์ จิตวิทยาการรู้คิดและจิตวิทยาการปรึกษา โดยใช้หลักการและแนวคิดของทฤษฎีการยอมรับและความมุ่งมั่นร่วมกับการบูรณาการความรู้และทักษะการเสริมสร้างการควบคุมยับยั้งขณะอยู่ในสถานบำบัดทางเลือก จำนวน 12 ครั้ง ๆ ครั้งละ 50 นาที ระยะเวลาดำเนินการ 2 สัปดาห์ โปรแกรมฯ ประกอบด้วยการให้ความรู้ทางจิตวิทยา-ประสาทวิทยาศาสตร์ จำนวน 3 ครั้ง การฝึกทักษะการรู้คิด พฤติกรรมและกระตุ้นสมอง จำนวน 6 ครั้งและการนำไปใช้และติดตามผล จำนวน 3 ครั้ง 4. ผลการทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมฯ ด้วยมาตรวัดพฤติกรรมการควบคุมยับยั้งสำหรับผู้ติดสารเสพติด พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการควบคุมยับยั้ง ในระยะหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และติดตามผลสูงกว่าก่อนทดลองและสูงกว่าหลังทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รวมทั้งสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในระยะหลังทดลองและติดตามผล ส่วนกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยการควบคุมยับยั้งในระยะติดตามผลสูงกว่าก่อนทดลองและสูงกว่าหลังทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และไม่พบความแตกต่างในระยะหลังทดลองกับก่อนทดลอง ผลการทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมฯ ด้วยแบบทดสอบสัญญาณหยุดสารเสพติดด้วยภาพ พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยระยะเวลาการตอบสนองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในระยะหลังทดลองและติดตามผล กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยในทุกค่าตัวแปรไม่แตกต่าง ส่วนผลการทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมฯ ด้วยแบบทดสอบสัญญาณหยุดสารเสพติดด้วยเสียง พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยระยะเวลาการตอบสนองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในระยะหลังทดลองและติดตามผลกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยในทุกค่าตัวแปรไม่แตกต่างนอกจากนี้ผู้ติดสารเสพติดกลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงของระยะเวลาการเกิดคลื่นและค่าเฉลี่ยความสูงของคลื่น P3 ในสมองบริเวณ Pz, C4, Fz, F3 และ C3 ส่วนคลื่น N2 ในสมองบริเวณ F4 และ Fp2 หลังทดลองแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้ติดสารเสพติดกลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงของระยะเวลาการเกิดคลื่นและค่าเฉลี่ยความสูงของคลื่น P3 ในสมองบริเวณ F4 และ Fp2 และคลื่น N2 ของสมองส่วนหน้าบริเวณ F3 และ F4 หลังทดลองมากกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า โปรแกรมบูรณาการจิตประสาทวิทยาการรู้คิดฯ อาจจะเพิ่มการควบคุมยับยั้งได้ในกลุ่มผู้เสพสารติดในสถานบำบัดทางเลือกth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectCognitive Neuroscienceth_TH
dc.subjectสมองth_TH
dc.subjectBrainth_TH
dc.subjectพฤติกรรมth_TH
dc.subjectBehaviorth_TH
dc.subjectเยาวชนth_TH
dc.subjectYouthsth_TH
dc.subjectTeenagersth_TH
dc.subjectTeenagers--Drug Useth_TH
dc.subjectSubstance Abuse--Therapyth_TH
dc.subjectSubstance Abuse--Treatmentth_TH
dc.subjectสารเสพติดth_TH
dc.subjectสารเสพติด--ในวัยรุ่นth_TH
dc.subjectยาเสพติดกับเยาวชนth_TH
dc.subjectยาเสพติดกับนักเรียนth_TH
dc.subjectสารเสพติด--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectผู้ติดยาเสพติด--การบำบัดฟื้นฟูth_TH
dc.subjectการเลิกยาเสพติดth_TH
dc.subjectยาเสพติดth_TH
dc.subjectยาเสพติด--การบำบัดและรักษาth_TH
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleโปรแกรมบูรณาการจิตประสาทวิทยาการรู้คิดที่เน้นการตอบสนองของสมอง เพื่อเสริมสร้างการควบคุมยับยั้งสำหรับผู้ติดสารเสพติดในสถานบำบัดทางเลือกเขตภาคตะวันออกth_TH
dc.title.alternativeIntegrative Cognitive Neuropsychological Program Emphasizing Brain Response to Enhance Inhibitory Control among Substance Abusers at The Alternative Rehabilitation Communities in Eastern Thailandth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research is designed for the research and development with the following objectives 1) to study and develop the measurement of behavioral inhibitory control of substance abusers 2) to develop the Stop Signal Substance Task (SSST), and 3) to develop an integrative cognitive neuropsychological program emphasizing brain response to enhance inhibitory control (ICNIC program). The research study consisted of 2 phases, including: Phase 1) the development of research instruments to measure the behavioral aspects of inhibitory control, and Phase 2) the development of ICNIC program for substance abusers. In Phase 1, the participants consisted of 300 male substance abusers receiving community therapy at Chonburi Central Prison, aged 18-60 years, selected by simple random sampling without replacement. Research instruments included the Behavioral Inhibitory Control Inventory: Substance Use (BICI – SU) and the Stop Signal Substance Task (SSST) for drug addicts developed by the researchers. Analysis of basic data and confirmatory factor analysis were performed. During Phase 2, the recruited participants consisted of 30 substance abusers at the alternative rehabilitation communities in Eastern Thailand, selected with cluster random sampling from two rehabilitation centers. They were randomly assigned into the experimental group and the control group. Each group consisted of 15 substance abusers. There were 3 research instruments, including BICI – SU, SSST and ICNIC program, designed and developed by researchers. The data collection was performed during the pre-test, post-test, and follow up period of 3 weeks. The experimental group received an ICNIC program. The control group received regular treatment from the alternative rehabilitation communities. Data analysis was performed with the repeated-measures analysis of variance: one between-subject variable and one within-subject variable. Pairwise mean comparisons were conducted using the Bonferroni method. The results in this research study demonstrated that 1. BICI – SU consisted of 45 items 2 components and 4 subcomponents. According to the confirmatory factor analysis, the measurement model of BICI-SU was fitted well with the observed empirical data with Chi-squared value of 1976.68, degrees of freedom (df) of 898, and root mean square error of approximation (RMSEA) of 0.0063, statistically significant at the level of .01. The normative scores of BICI – SU, ranging from 1.00 to 3.50, meaning the lowest of inhibitory control (IC); additionally, the normative scores of BICI – SU, ranging from 5.38 to 6.00, indicating the highest IC. Furthermore, it was found that the substance abusers exhibited the low levels of IC. The types of substance use and duration of substance abuse had a significant effects on IC and discipline subcomponent at the statistical level of .05. 2. Two types of stop signal substance Task (SSST) were implemented, including the visual SSST and the audio SSST. Each SSST consisted of 200 Go trials and 50 Stop trials (ratio 80:20). The reliability test was performed using the test-retest method. The coefficient of stability was at a moderate level. In addition, the results showed that substance abusers who had been using drug less than 2 years exhibited significantly more IC than those who had been using drugs for more than 10 years, at the statistical level of .05. 3. The ICNIC program based on concepts of neuroscience, cognitive psychology, and acceptance and commitment therapy (ACT), which was designed and developed by the researchers. The ICNIC program consisted of 12 sessions, with 50-minute duration per session, conducted for 3 weeks. The ICNIC contained the neuropsycho-educational phase (3 sessions), the cognitive and behavioral skills acquisitions and brain stimulation phase (6 sessions), and the application as well as follow-up phase (3 sessions). 4. The results indicated the effectiveness of the ICNIC program, measuring with the BICI – SU. The experimental group had significantly higher IC after the implementation of ICNIC program and the follow-up period than before the implementation of the program; additionally, the IC was markedly higher than the control group at the statistical level of .05. The control group had a significantly higher mean IC score during the follow-up period than during before and after the implementation of ICNIC program, at the statistically significant at the .05 level. There were no differences during after the ICNIC program and before the program. The effectiveness of the ICNIC program after measuring with the visual SSST was implicated that the experimental group had a significantly higher mean reaction time score than the control group, at the statistical level of .05. The experimental group had mean score of Visual SSST no difference. Furthermore, the effectiveness of ICNIC program after measuring with the audio SSST was demonstrated that the experimental group had a significantly higher reaction time than the control group at the statistical level of .05, both after the program and at the follow-up period. The experimental group showed no differences in mean scores in all variables. In addition, the substance abusers in the experimental group had changes in the latency and amplitude of the P3 waves in the brain areas Pz, C4, Fz, F3, and C3. The N2 waves in the brain areas F4 and Fp2 were different than those in the control group after the experiment, with statistically significant at the .05 level. The experimental group had changes in latency and amplitude of the P3 waves in the F4 and Fp2 areas of the brain and the experimental group were significantly greater than before the ICNIC program, statistically significant at the .05 level. The experimental group had higher latency and amplitude of the N2 waves after the program in the F3 and F4 areas of the brain with the statistical significance at the .05 level. In conclusion, the ICNIC program may increase IC among substance abusers in alternative rehabilitation communities.th_TH
dc.identifier.callnoHV5840.T5 จ628ป 2567
dc.identifier.contactno66-135
dc.subject.keywordจิตประสาทวิทยาการรู้คิดth_TH
dc.subject.keywordCognitive Neuropsychologicalth_TH
.custom.citationจุฑามาศ แหนจอน, Juthamas Haenjohn, วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์, Warakorn Supwirapakorn, จตุพร นามเย็น and Jatuporn Namyen. "โปรแกรมบูรณาการจิตประสาทวิทยาการรู้คิดที่เน้นการตอบสนองของสมอง เพื่อเสริมสร้างการควบคุมยับยั้งสำหรับผู้ติดสารเสพติดในสถานบำบัดทางเลือกเขตภาคตะวันออก." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6085">http://hdl.handle.net/11228/6085</a>.
.custom.total_download4
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month4
.custom.downloaded_this_year4
.custom.downloaded_fiscal_year4

Fulltext
Icon
Name: hs3123.pdf
Size: 2.424Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record