Show simple item record

Policy Briefs to Service Management in Health Promotion Hospital After Transfer to Provincial Administrative Organization

dc.contributor.authorอัจฉราวดี ศรียะศักดิ์th_TH
dc.contributor.authorAtcharawadee Sriyasakth_TH
dc.contributor.authorฉวีวรรณ ศรีดาวเรืองth_TH
dc.contributor.authorChaweewan Sridawruangth_TH
dc.contributor.authorเพ็ญนภา ศรีหริ่งth_TH
dc.contributor.authorPennapa Sriringth_TH
dc.contributor.authorบัณฑิต นิตย์คำหาญth_TH
dc.contributor.authorBandit Nitkhamhanth_TH
dc.contributor.authorมนพร ชาติชำนิth_TH
dc.contributor.authorManaporn Chatchumnith_TH
dc.contributor.authorบุญเรือง ขาวนวลth_TH
dc.contributor.authorBoonruang Khaonuanth_TH
dc.contributor.authorอติญาณ์ ศรเกษตรินth_TH
dc.contributor.authorAtiya Sarakshetrinth_TH
dc.date.accessioned2024-06-17T08:09:15Z
dc.date.available2024-06-17T08:09:15Z
dc.date.issued2567-03
dc.identifier.otherhs3127
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6087
dc.description.abstractการศึกษาข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่ถ่ายโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ถอดบทเรียนการจัดบริการใน รพ.สต. ที่ถ่ายโอนไปสังกัด อบจ. 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดบริการใน รพ.สต. ที่ถ่ายโอนไปสังกัด อบจ. และ 3) พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดบริการใน รพ.สต. ที่ถ่ายโอนไปสังกัด อบจ. เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ จากการสุ่มจังหวัดที่มีการถ่ายโอน 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 (ถ่ายโอน 100%) กลุ่มที่ 2 (ถ่ายโอน 50-93%) และกลุ่มที่ 3 (ถ่ายโอน <50%) กลุ่มตัวอย่างข้อมูลเชิงปริมาณประกอบไปด้วยพยาบาล จำนวน 340 ราย ประชาชน จำนวน 400 ราย และคณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ จำนวน 88 ราย ผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพประกอบไปด้วยนายก อบจ. ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการ รพสต. คณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ (กสพ.) พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานใน รพ.สต. และประชาชนที่เคยมารับบริการที่ รพ.สต. ผลการศึกษา พบว่า 1) บทเรียนการจัดบริการใน รพ.สต. ที่ถ่ายโอนไปสังกัด อบจ. 1.1) ผลการเปรียบเทียบข้อมูลการให้บริการจากระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสาธารณสุขของหน่วยบริการปฐมภูมิก่อนปีงบประมาณ 2565 และหลังโอนย้าย ปีงบประมาณ 2566 พบว่า ทุกบริการมีค่าเฉลี่ยลดลงหลังโอนย้ายมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 1.2) ผลการเปรียบเทียบความต่างของผลลัพธ์ตามตัวชี้วัดของหน่วยงานปฐมภูมิ ผ่านตามเป้าหมาย ตามกลุ่มการถ่ายโอน กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 โดยพบว่า ทั้งสามกลุ่ม ทั้งสามตัวชี้วัด มีอย่างน้อย 1 กลุ่มที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และ 1.3) การให้บริการประชาชนตามภารกิจของ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนนั้นพยาบาลที่ปฏิบัติงานทั้ง 3 กลุ่ม ไม่มีความแตกต่างไปจากเดิมเนื่องจากยังเป็นภารกิจหลักของ รพ.สต. อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างในการให้บริการหลังการถ่ายโอนจะเน้นการให้บริการตามสภาพปัญหาของพื้นที่ โดยตัวชี้วัดด้านสุขภาพถูกกำหนดโดย กสพ. ส่วนตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข ที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่ใช่สภาพปัญหาในพื้นที่ จะไม่เน้นการให้บริการ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดบริการใน รพ.สต. ที่ถ่ายโอนไปสังกัด อบจ. 2.1) เจตคติของทีมผู้ให้บริการหลังโอนย้าย บทบาทสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพทุกด้าน มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการจัดบริการในหน่วยบริการปฐมภูมิตามการรับรู้จริงหลังโอนย้ายที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ 2.2) การกำหนดนโยบายการพัฒนาและบริการสุขภาพ ภาวะการนำและสมรรถนะการบริหารของผู้อำนวยการกองสาธารณสุข กำลังคนด้านสุขภาพและสมรรถนะของพยาบาลการเงิน งบประมาณ และการจัดการยา เวชภัณฑ์ วัคซีน เป็นปัจจัยสำคัญในการจัดบริการสุขภาพของ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนไปสังกัด อบจ. 3) ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดบริการใน รพ.สต. ที่ถ่ายโอนไปสังกัด อบจ. 3.1) พัฒนาการบริหารจัดการหน่วยบริการสุขภาพของ รพ.สต./ปฐมภูมิแนวใหม่ ปรับระบบการบริหารจัดการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยเน้นระบบบริการปฐมภูมิที่มีพื้นที่เป็นฐานและมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ในรูปของคณะกรรมการสุขภาพพื้นที่/อำเภอ (Local/District Health Board) 3.2) การจัดบริการสุขภาพในหน่วยบริการที่มีคุณภาพ ตามแนวคิดพื้นที่เป็นฐานประชาชนเป็นศูนย์กลาง เน้นการรักษาพยาบาลที่สำคัญเบื้องต้นโดยบุคลากรวิชาชีพและระบบการส่งต่อที่มีคุณภาพที่เชื่อมโยงกับหน่วยบริการทุติยภูมิ 3.3) การจัดการบริการเชิงรุกในชุมชน ด้วยกลยุทธ์ “สร้างนำซ่อมสุขภาพ” โดยเฉพาะการเสริมสร้างทักษะการดำเนินชีวิต (Life Style) ที่มีคุณภาพ และ 3.4) ยกระดับคุณภาพการบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับบริบทชุมชน สังคม โดยวิชาชีพสุขภาพมืออาชีพ ปรับภาพลักษณ์ใหม่ของการให้บริการสุขภาพโดยเฉพาะเชิงรุก ใกล้บ้านใกล้ใจ ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมออกแบบและจัดการตนเอง ทั้งรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับ รพ.สต. ขนาดใหญ่ หรือเขตชุมชนเมือง หรือ รพ.สต. ขนาดกลาง หรือเขตชุมชนกึ่งเมือง หรือเขตชุมชนชนบทth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectองค์การบริหารส่วนจังหวัดth_TH
dc.subjectโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลth_TH
dc.subjectระบบสุขภาพปฐมภูมิth_TH
dc.subjectPrimary Health Careth_TH
dc.subjectบริการปฐมภูมิ (การแพทย์)th_TH
dc.subjectPrimary Care (Medicine)th_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectPublic Health Administrationth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectการกระจายอำนาจด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ถ่ายโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดth_TH
dc.title.alternativePolicy Briefs to Service Management in Health Promotion Hospital After Transfer to Provincial Administrative Organizationth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe study of policy briefs to service management in health promotion hospital after transfer to provincial administrative organization is a mixed-methods research, with the objectives of 1) extracting lessons learned from service provision in Sub-district Health Promoting Hospitals transferred under the Provincial Administrative Organization, 2) studying factors affecting service provision in Sub-district Health Promoting Hospitals transferred under the Provincial Administrative Organization, and 3) developing policy proposals on service provision in Sub-district Health Promoting Hospitals transferred under the Provincial Administrative Organization. Both quantitative and qualitative data were collected from randomly selected provinces with transfers, divided into 3 groups: Group 1 (100% transfer), Group 2 (50-93% transfer), and Group 3 (<50% transfer). The quantitative sample consisted of 340 nurses, 400 citizens, and 88 local health committee members. The qualitative informants included Chief Executive of the PAO, directors of Provincial Public Health Office, directors of Division of Public Health and Environment, directors of Sub-district Health Promoting Hospitals, public health professionals, nurses working in Sub-district Health Promoting Hospitals, and citizens who had previously received services at Sub-district Health Promoting Hospitals. The study found that: 1) extracting lessons learned from service provision in Sub-district Health Promoting Hospitals transferred under the Provincial Administrative Organization 1.1) The comparison of service data from the medical and public health data warehouse of primary care units before fiscal year 2022 and after the transfer in fiscal year 2023 found that the mean values of all services decreased after the transfer, with a statistically significant difference at the 0.05 significance level. 1.2) The comparison of differences in primary care unit outcome indicators across targets, by transfer groups 1, 2, and 3, found that for all three indicators, there was at least one group with a statistically significant difference at the 0.05 significance level. 1.3) In providing services to the public according to the duties of the Transferred Sub-district Health Promoting Hospitals (SDHPs), the nurses working in all 3 groups did not differ from before, as these remain the main duties of SDHPs. However, the difference in service provision after the transfer will focus on providing services based on the local area's problems, where the health indicators are set by the local health committees. As for indicators from the Ministry of Public Health that are not relevant or do not represent local issues, service provision will not emphasize those. 2) studying factors affecting service provision in Sub-district Health Promoting Hospitals transferred under the Provincial Administrative Organization 2.1) The attitudes of the service provider teams after the transfer, and the competency roles of professional nurses in all aspects, were significantly related to the perceived quality of service provision in primary care units after the transfer, at the 0.05 statistical significance level. 2.2) The formulation of health development and service policies, leadership and managerial competencies of the public health director, health workforce and competencies of nurses, finances, budgeting, and the management of drugs, medical supplies, and vaccines are crucial factors in the health service provision of Subdistrict Health Promoting Hospitals transferred under the Provincial Administrative Organizations. 3) developing policy proposals on service provision in Sub-district Health Promoting Hospitals transferred under the Provincial Administrative Organization 3.1) Develop the management of health service units of new Sub-district Health Promoting Hospitals/primary care units by adjusting the management system with community participation, emphasizing area-based primary care services that are people-centered, in the form of local/district health committees. 3.2) Provision of quality health services in service units based on an area based, people-centered approach, emphasizing essential primary medical care by professional staff, and a quality referral system linked to secondary care units. 3.3) Provision of proactive community services using the "Create, Lead, Repair Health" strategy, especially promoting quality life skills (Lifestyle). 3.4) Here is the translation to English: Elevate the quality of health services in accordance with the community and social context, provided by professional health professionals. Reshape the new image of health service delivery, especially proactive, close to home and heart. Allow local communities to participate in design and self-management, with appropriate models for large sub-district health promoting hospitals or urban communities, medium-sized subdistrict health promoting hospitals or semi-urban communities, or rural communities.th_TH
dc.identifier.callnoWA540.JT3 อ513ข 2567
dc.identifier.contactno66-103
dc.subject.keywordHealth Decentralizeth_TH
dc.subject.keywordHealth Decentralizationth_TH
dc.subject.keywordการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขth_TH
dc.subject.keywordรพ.สต.th_TH
dc.subject.keywordอบจ.th_TH
.custom.citationอัจฉราวดี ศรียะศักดิ์, Atcharawadee Sriyasak, ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง, Chaweewan Sridawruang, เพ็ญนภา ศรีหริ่ง, Pennapa Sriring, บัณฑิต นิตย์คำหาญ, Bandit Nitkhamhan, มนพร ชาติชำนิ, Manaporn Chatchumni, บุญเรือง ขาวนวล, Boonruang Khaonuan, อติญาณ์ ศรเกษตริน and Atiya Sarakshetrin. "ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ถ่ายโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6087">http://hdl.handle.net/11228/6087</a>.
.custom.total_download14
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month14
.custom.downloaded_this_year14
.custom.downloaded_fiscal_year14

Fulltext
Icon
Name: hs3127.pdf
Size: 6.475Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record