dc.description.abstract | ที่มาและความสำคัญ : การจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรที่เป็นปัญหาสำคัญระดับโลกโดยมีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำสูงถึง 372,000 คนต่อปี นอกจากนี้ ข้อมูลของประเทศไทย พบว่า เด็กอายุน้อยกว่า 15 ปีมีสัดส่วนการเสียชีวิตจากการจมน้ำสูงถึง 30.2% ของเหตุการณ์ทั้งหมด จากสถานการณ์ดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2549 กระทรวงสาธารณสุขได้ออกนโยบายแก้ไขปัญหาการจมน้ำ เช่น การสอนว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดในเด็ก การให้ความรู้ประชาชนและเด็ก รวมทั้งการสร้างป้ายเตือนและติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการจมน้ำในแหล่งน้ำเสี่ยง ส่งผลให้อุบัติการณ์การเสียชีวิตจากการจมน้ำลดลงอย่างเห็นได้ชัดจาก 11.5 เป็น 6.8 การเสียชีวิตต่อประชากรแสนคน ระหว่างปี พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2557 ตามลำดับ ถึงแม้ว่าผลการดำเนินการการป้องกันการจมน้ำจะมีทิศทางที่ดีขึ้น มาตรการการป้องกันและลดความเสี่ยงของการจมน้ำในเด็กที่ทางกองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรคได้เสนอ มีการดำเนินการค่อนข้างจำกัดและแนวทางในการดำเนินงานของแต่ละพื้นที่ยังไม่มีความชัดเจน กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและลดความเสี่ยงจมน้ำในเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี ในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ให้หน่วยงานในพื้นที่สมัครใจเข้าร่วม มีชุดกิจกรรมป้องกันและลดความเสี่ยงการจมน้ำ รวมทั้งสิ้นจำนวน 10 รายการ และสามารถแบ่งระดับพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการออกเป็น 3 ระดับจากน้อยไปมาก คือ ทองแดง เงินและทอง ตามความครอบคลุมของชุดกิจกรรมที่หน่วยงานในพื้นที่ได้ดำเนินการหลังจากที่มีการดำเนินโครงการป้องกันและลดความเสี่ยงการจมน้ำในเด็ก อัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กลดลงจาก 6.8 เป็น 6.1 การเสียชีวิตต่อประชากรแสนรายระหว่างปี พ.ศ. 2557 ถึง พ.ศ. 2560 และมีการดำเนินโครงการครอบคลุมในทุกจังหวัด อย่างไรก็ตาม ยังไม่เคยมีการประเมินประสิทธิผลของโครงการอย่างเป็นรูปธรรม การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุจมน้ำและการเสียชีวิตจากการจมน้ำที่ลดได้อันเนื่องมาจากผลของโครงการป้องกันและลดความเสี่ยงจมน้ำในเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี ระเบียบวิธีวิจัย : การศึกษานี้ ใช้ข้อมูล 3 แหล่งในการวิเคราะห์ ประกอบด้วย 1. ข้อมูลโครงการป้องกันและลดความเสี่ยงจมน้ำในเด็กระหว่างปี พ.ศ.2558 ถึง พ.ศ. 2562 จากกองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค 2. ข้อมูลการเสียชีวิตจากการจมน้ำจากฐานข้อมูลมรณบัตร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระหว่างปี พ.ศ.2552 ถึง พ.ศ. 2562 และ 3. ข้อมูลการใช้บริการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุจมน้ำจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ระหว่างปี พ.ศ.2559 ถึง พ.ศ. 2562 โดยข้อมูลทั้งหมดถูกนำมาจัดเรียงเป็นข้อมูล Time Series Analysis ระดับอำเภอรายปี สำหรับการวิเคราะห์ประสิทธิผลของโครงการ การศึกษานี้ได้แบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 ช่วงเวลา คือ 1. การเปรียบเทียบความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุจมน้ำและการเสียชีวิตจากการจมน้ำระหว่างอำเภอที่มีและไม่มีโครงการในช่วงปี พ.ศ. 2558 ถึง พ.ศ. 2562 (ปีที่มีการดำเนินโครงการ) ด้วยวิธี Multilevel mixed-effect negative binomial regression และ 2. การเปรียบเทียบประสิทธิผลในการลดการเสียชีวิตจากการจมน้ำของโครงการ โดยใช้ข้อมูลระหว่างปี พ.ศ. 2552 ถึง พ.ศ. 2562 ด้วยวิธี Difference-in-differences นอกจากนี้ การศึกษาได้กำหนดตัวแปรต้นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการออกเป็น 3 รูปแบบการวิเคราะห์หลัก คือ 1. แบ่งอำเภอออกเป็น 2 กลุ่มระหว่างอำเภอที่มีและไม่มีการดำเนินโครงการ 2. แบ่งตามระดับโครงการสูงสุดของอำเภอออกเป็น 4 กลุ่ม คือ อำเภอที่ไม่มีโครงการ อำเภอที่มีโครงการสูงสุดเป็นระดับทองแดง เงินและทอง ตามลำดับ และ 3. แบ่งตามจำนวนโครงการในแต่ละอำเภอออกเป็น 4 กลุ่ม คือ อำเภอที่ไม่มีโครงการ อำเภอที่มี 1 โครงการ 2-3 โครงการ และ 4 โครงการขึ้นไป ตามลำดับ นอกเหนือจากการแบ่งรูปแบบการวิเคราะห์แล้ว ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ประสิทธิผลของโครงการเพิ่มเติมแยกตามเพศและช่วงอายุ (น้อยกว่า 2 ปี, 2 ถึง 5 ปี, และ 6 ถึง 14 ปี) เนื่องจากปัจจัยดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุจมน้ำและอาจส่งผลให้ประสิทธิผลของโครงการในแต่ละกลุ่มย่อยแตกต่างกัน รวมทั้งมีการวิเคราะห์ความไวใน 3 หัวข้อหลัก ประกอบด้วย 1. ระยะเวลาที่โครงการได้รับการรับรอง 2. การรวมอุบัติเหตุการขนส่งทางน้ำเข้าไปในการวิเคราะห์ และ 3. การจัดระดับความเสี่ยงการจมน้ำของพื้นที่ ผลการศึกษา : การวิเคราะห์ประสิทธิผลของโครงการโดยใช้ข้อมูลเฉพาะช่วงที่มีการดำเนินโครงการ (พ.ศ. 2558 ถึง พ.ศ. 2562) ด้วยวิธี Multilevel mixed-effect negative binomial regression ซึ่งจัดลำดับชั้นของกลุ่มตัวอย่างตามระดับจังหวัดและอำเภอและควบคุมปัจจัยเรื่องความเสี่ยงของพื้นที่ได้ผลลัพธ์ที่สำคัญดังนี้ 1. อำเภอที่มีโครงการมีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจมน้ำ (IRR: 1.01, p=0.73) และการเสียชีวิตจากการจมน้ำ (IRR: 1.07, p=0.11) ในเด็กไม่แตกต่างกับอำเภอที่ไม่มีโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. การวิเคราะห์ประสิทธิผลแบ่งตามระดับโครงการสูงสุดของอำเภอและจำนวนโครงการในแต่ละอำเภอให้ผลเป็นไปในทิศทางเดียวกับการวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างอำเภอที่มีและไม่มีโครงการ 3. การวิเคราะห์ประสิทธิผลของโครงการสำหรับการป้องกันอุบัติเหตุจมน้ำแยกตามเพศและช่วงอายุ พบว่า อำเภอที่มีโครงการมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุจมน้ำในเด็กชาย (IRR: 0.99, p=0.76) เด็กหญิง (IRR: 1.10, p=0.06) เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี (IRR: 0.97, p=0.71) เด็กอายุ 2 ถึง 5 ปี (IRR: 1.07, p=0.20) และ เด็กอายุ 6 ถึง 14 ปี (IRR: 1.02, p=0.68) ไม่แตกต่างกับอำเภอที่ไม่มีโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. การวิเคราะห์ประสิทธิผลของโครงการสำหรับการป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำแยกตามเพศและช่วงอายุ พบว่า อำเภอที่มีโครงการมีโอกาสเกิดการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กชาย (IRR: 1.04, p=0.42) เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี (IRR: 0.96, p=0.71) เด็กอายุ 2 ถึง 5 ปี (IRR: 1.12, p=0.10) และเด็กอายุ 6 ถึง 14 ปี (IRR: 1.09, p=0.16) ไม่แตกต่างกับอำเภอที่ไม่มีโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่พบว่า อำเภอที่มีโครงการมีโอกาสเกิดการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กหญิงสูงกว่าอำเภอที่ไม่มีโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (IRR: 1.19, p=0.03) 5. สำหรับการวิเคราะห์ความไว พบว่า เมื่อขยายระยะเวลาที่โครงการได้รับการรับรองจาก 1 เป็น 2 ปี รวมเหตุการณ์ของอุบัติเหตุการขนส่งทางน้ำเข้าไปในการวิเคราะห์ หรือ เปลี่ยนวิธีการสร้างตัวแปรระดับความเสี่ยงการจมน้ำของอำเภอจากเดิมที่ใช้ข้อมูลการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กในช่วงก่อนปีที่ดำเนินโครงการ (พ.ศ.2552 ถึง พ.ศ. 2557) เป็นข้อมูลการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กและผู้ใหญ่ พบว่า ผลการวิเคราะห์ความไวไม่ได้แตกต่างกับการวิเคราะห์หลักสำหรับการวิเคราะห์ประสิทธิผลในการป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำโดยใช้ข้อมูลระหว่างปี พ.ศ.2552 ถึง พ.ศ. 2562 ด้วยวิธี Difference-in-differences ให้ผลไปในทิศทางเดียวกับการวิเคราะห์ก่อนหน้า โดยพบว่า อำเภอที่มีโครงการมีจำนวนเด็กที่เสียชีวิตจากการจมน้ำไม่แตกต่างกับอำเภอที่ไม่มีโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (difference = -0.09, p=0.25) หรือกล่าวได้ว่าโครงการสามารถลดจำนวนเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำได้ 84 (-55 ถึง 213) คนต่อปีทั่วประเทศและการวิเคราะห์กลุ่มย่อยแยกตามเพศและช่วงอายุให้ผลการศึกษาไปในทิศทางเดียวกับการวิเคราะห์หลัก สรุปผลการศึกษา : การศึกษานี้ ไม่พบหลักฐานสนับสนุนที่แสดงให้เห็นว่า โครงการป้องกันและลดความเสี่ยงการจมน้ำในเด็กมีประสิทธิผลในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจมน้ำและการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Introduction: Drowning is one of the most significant premature deaths in the world, where 372,000 people die due to drowning yearly. In Thailand, around 30.2% of all drownings were accounted for children under 15. In 2006, the Ministry of Public Health implemented a child drowning prevention policy that included survival swimming, education, and fencing around high-risk areas. Due to the implementations, child drowning significantly decreased from 11.5 to 6.8 deaths per 100,000 children between 2005 and 2014. Although the drowning was significantly improved, multiple drowning prevention interventions recommended by the Division of Injury Prevention, Department of Disease Control, were not widely implemented nationwide, and the guidelines were not well established. Thus, in 2015, the Division of Injury Prevention launched a comprehensive child drowning prevention program called "Merit Maker." Healthcare providers who want to establish a drowning prevention program can voluntarily join. This program consisted of 10 activities and was divided into three levels (Copper, Silver, and Gold) based on the coverage and activities the implementers could do. After initiating the Merit Maker program, the child drowning rate decreased from 6.8 to 6.1 per 100,000 children between 2014 and 2017. Furthermore, every province in Thailand has implemented the program. However, due to the nature of the program, where healthcare providers can voluntarily join, the program may not penetrate every area. This study aimed to systematically evaluate the program's efficacy, where two primary outcomes were a decrease in drowning and death due to drowning in children. Methods: This study used three secondary data sources included 1. the Merit Maker program records between 2015 and 2019 from the Division of Injury Prevention, MOPH, 2. Drowning records between 2009 and 2019 from Vital Statistic, MOPH, and 3. Drowning-related health utilization records between 2016 and 2019 from National Health Security Office. The data was cleaned and transformed into a yearly time series record where the district is the unit of analysis. There are two analysis types based on data timeframe. Multilevel mixed-effect negative binomial regression was used to compare the program's efficacy between districts that implemented and did not implement the program using data between 2015 and 2019. The second analysis used the Difference-in-differences method to evaluate the program's efficacy on drowning related death using data between 2009 and 2019. The Merit Maker program could be classified into three independent variables such as 1. The presence of the program (Yes/No) 2. The highest level of the program in the district (None, Copper, Silver, and Gold), and 3. The number of programs in the district (None, 1,2-3, and 4 and more programs). Furthermore, the analysis included subgroup analysis based on child gender and age group (aged less than 2, age 2-5, age 6-14). In addition, sensitivity analysis based on 1. Program's duration, 2. Water transport accidents, and 3. The district's drowning risk level was included. Results: The efficacy of the program analyses by Multilevel mixed-effect negative binomial regression using data between 2015 and 2019 was found as follows. 1. The districts that implemented the program had the same chance of child drowning (IRR: 1.01, p=0.73) and drowning-related death (IRR: 1.07, p=0.11) compared to districts that did not implement the program. 2. The analysis using other programs' configurations, the highest level of the program, and the number of programs in the district, also resulted similarly. 3. Subgroup analyses on drowning prevention's efficacy were similar to the primary analysis. Boys (IRR: 0.99, p=0.76), girls (IRR: 1.10, p=0.06), children aged less than 2 (IRR: 0.97, p=0.71), 2-5 (IRR: 1.07, p=0.20) and 6-14 (IRR: 1.02, p=0.68) living in the districts that implemented the program had the same chance of drowning as their peers in districts without the program. 4. Subgroup analyses on drowning-related death prevention's efficacy were similar to the primary analysis. Boys (IRR: 1.04, p=0.42), children aged less than 2 (IRR: 0.96, p=0.71), 2-5 (IRR: 1.12 , p=0.10 ), and 6-14 (IRR: 1.09 , p=0.16 ) living in the districts that implemented the program had the same chance of drowning-related death compared to their peers who lived in the districts without the program. However, girls who lived in the districts with the program had higher chances of drowning-related death (IRR: 1.19, p=0.03) than their peers who lived without it. 5. Sensitivity analyses on the three domains mentioned above were similar to the primary analysis. The efficacy of the program in drowning-related death prevention using the Difference-indifferences method had the same direction compared to Multilevel mixed-effect negative binomial regression, where the number of children drowning-related death between the district with and without the program were not statistically different (difference = -0.09, p=0.25). The analysis found that if the MOPH implements the program nationwide, child drowning-related death will be reduced by 84 (-55 to 213) per year. Additionally, subgroup and sensitivity analyses also yield similar results. Conclusion: There was insufficient data to support the effectiveness of a child drowning prevention program in preventing drowning and drowning-related fatalities among children under the age of 15. | th_TH |