Show simple item record

Policy Development for Governance on Health System Contributing to Pandemic Management for Public Health Emergencies in Southern Border Provinces, Thailand

dc.contributor.authorสุทัศน์ เสียมไหมth_TH
dc.contributor.authorSuthat Siammaith_TH
dc.contributor.authorอัญชลี พงศ์เกษตรth_TH
dc.contributor.authorAnchalee Pongkasetth_TH
dc.contributor.authorฟูซียะห์ หะยีth_TH
dc.contributor.authorFusiyah Hayeeth_TH
dc.contributor.authorพยงค์ เทพอักษรth_TH
dc.contributor.authorPhayong Thepaksornth_TH
dc.contributor.authorไพสิฐ บุณยะกวีth_TH
dc.contributor.authorPaisit Boonyakaweeth_TH
dc.contributor.authorพุทธิพงศ์ บุญชูth_TH
dc.contributor.authorPuttipong Boonchuth_TH
dc.contributor.authorชวนากร ศรีปรางค์th_TH
dc.contributor.authorChavanakorn Sriprangth_TH
dc.date.accessioned2024-06-25T02:42:14Z
dc.date.available2024-06-25T02:42:14Z
dc.date.issued2567-06
dc.identifier.otherhs3138
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6097
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสถานการณ์ ถอดบทเรียนปัญหาอุปสรรค ปัจจัยสนับสนุน ในการเตรียมการ การป้องกันและการตอบสนองภาวะฉุกเฉินของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2) เพื่อศึกษาความพร้อมและความต้องการของระบบสุขภาพในการจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขกรณีโรคระบาดระดับชาติ และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการอภิบาลระบบสุขภาพในการจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขกรณีโรคระบาดระดับชาติ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิจัยเอกสารและศึกษาสถานการณ์ ถอดบทเรียน ปัญหาอุปสรรค ปัจจัยสนับสนุน รวมถึงการศึกษาความพร้อมและความต้องการของระบบบริการสุขภาพในการจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขกรณีโรคระบาดระดับชาติ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 115 คน และระยะที่ 2 เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการอภิบาลระบบสุขภาพในการจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขกรณีโรคระบาดระดับชาติ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษาแบบ Delphi Technique ใช้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 633 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่มย่อยและแบบสอบถามชนิดให้ตอบเอง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติอนุมานใช้ Factor Analysis ผลการศึกษาพบว่า ผลการดำเนินการจัดการภาวะฉุกเฉินของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอก 1-3 ของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนใต้ ยังขาดประสิทธิภาพ พบปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ได้แก่ วัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรค และชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment, PPE) ไม่เพียงพอ บุคลากรไม่เพียงพอ ขาดความรู้ ทักษะในการปฏิบัติ งบประมาณไม่เพียงพอในการจัดการ การจัดการศพผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่ไม่ถูกต้องตามหลักการป้องกันโรค ประชาชนขาดความตระหนักในการป้องกันโรคไม่สวมหน้ากากอนามัย วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ความเชื่อหลักศาสนาเป็นอุปสรรคในการดำเนินงาน สำหรับความพร้อมของระบบสุขภาพ ได้แก่ บุคลากรมีความรู้และประสบการณ์ มีทีมบุคลากรสหวิชาชีพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ให้การสนับสนุน (คน เงิน ของ) ความต้องการของระบบสุขภาพ ได้แก่ ต้องการขวัญและกำลังใจผู้ปฏิบัติงาน/ค่าตอบแทน การส่งเสริมทักษะความรู้ใหม่ๆ ชุดอุปกรณ์ป้องกัน วัคซีน ยา เวชภัณฑ์ ให้มีความเพียงพอในสถานการณ์ฉุกเฉิน แนวทางเฝ้าระวัง สอบสวนโรคและการรักษาที่ชัดเจน มีงบประมาณฉุกเฉินในการดำเนินงาน การซ้อมแผนเผชิญเหตุทุกปี องค์ประกอบและปัจจัยการสนับสนุนจากหน่วยงานพิเศษในพื้นที่ความสำคัญมากที่สุด รองลงมา คือ การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย การพัฒนาศักยภาพ กำลังคนด้านสุขภาพ ข้อเสนอเชิงนโยบายที่มีความสำคัญ คือ การส่งเสริมสร้างอาชีพ สร้างรายได้ แก่ครอบครัวที่มีรายได้น้อย การสร้างขวัญกำลังใจแก่ลูกจ้าง พนักงานของหน่วยงานท้องถิ่น ฝ่ายปกครอง การพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้มีศักยภาพในระดับ Primary Care ที่ครบวงจร การพัฒนานักสื่อสารในระดับชุมชน การพัฒนารูปแบบการควบคุมป้องกันโรคระดับชุมชน การซ้อมแผนรองรับเผชิญเหตุ การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เชี่ยวชาญด้านโรคระบาด การพัฒนาศักยภาพทีมหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ (Communicable Disease Control Unit, CDCU) การพัฒนาศักยภาพแกนนำดาวะฮ์ด้านความรอบรู้ด้านสุขภาพ การพัฒนาขีดความสามารถของระบบบริการสุขภาพด้านเฝ้าระวังโรคสอบสวนโรค การพัฒนายกระดับความร่วมมือกับผู้นำจิตวิญญาณ (บาบอ) และหน่วยงานพิเศษในพื้นที่th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectโรคระบาดth_TH
dc.subjectโรคระบาด--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectระบบสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Systemsth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectPublic Health Administrationth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)th_TH
dc.subjectCoronavirusesth_TH
dc.subjectไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectCoronavirus Infectionsth_TH
dc.subjectการติดเชื้อไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectCOVID-19--Prevention and Controlth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการอภิบาลระบบสุขภาพต่อการจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข กรณีโรคระบาดระดับชาติ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativePolicy Development for Governance on Health System Contributing to Pandemic Management for Public Health Emergencies in Southern Border Provinces, Thailandth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis study, which employs a mixed methods approach, aims to: 1) examine the situations, lessons learned, problems, barriers, and contributing factors in the lead-up to, prevention of, and emergency response to the coronavirus disease in 2019; 2) examine the requirements and preparedness of the health system in the event of a national epidemic; and 3) examine the factors that impact health system governance in the event of a national epidemic in the southern border provinces. This research was split into two stages: Phase I: record investigation and analysis of the circumstances, lessons discovered, barriers, and contributing elements studying the health service system's requirements and preparedness for handling public health emergencies in the case of a nationwide epidemic. In Phase II of this qualitative study, 115 key informants were interviewed to examine the variables influencing health system governance in the event of a national epidemic. It is a qualitative research study that combines quantitative research with five experts and the Delphi technique. 633 individuals made up the sample. In-depth interviews, topics for discussions in small groups, and self-answer questionnaires made up the research instruments. Content analysis techniques were applied to the analysis of qualitative data. Descriptive statistics (frequency, percentage, mean, standard deviation) and inferential statistics (factor analysis) were employed for the analysis of quantitative data. The findings demonstrated that the primary, secondary, and tertiary health care systems in the five southern border provinces were still not operating efficiently when it came to emergency management of the coronavirus disease during waves 1-3 in 2019. Operations were hampered by a number of factors, such as a lack of PPE kits and disease prevention materials, a shortage of staff, a lack of knowledge and practical skills, an inadequate management budget, handling COVID patient corpses without adhering to disease prevention principles, a lack of awareness of disease prevention, people not wearing masks, and way of life or religious beliefs. Regarding the health service system's preparedness, it comprises knowledgeable and experienced staff. There is a group of personnel with various specialties. Local administrative organizations support the needs of the health system, including worker compensation and morale, with people, money, and goods, encouraging the acquisition of new skills and knowledge, providing a sufficient supply of emergency medical supplies, protective gear, vaccines, and medication, and well-defined protocols for disease investigation, treatment, and surveillance. Every year, incident response plans are rehearsed and an emergency budget is set aside for operations. The involvement of network partners, prospective development, and the health workforce are the next most crucial components and supporting factors, after those from special agencies. Development of Subdistrict Health Promotion Hospitals to have full potential at the primary care level, development of communicators at the community level, sub-districts, development of disease control and prevention models at the community level, practice of contingency plans, potential development of village health volunteers as an expert in epidemics, and building morale for employees of local agencies were all important policy proposals. They needed to improve the health service system's capacity for disease surveillance and investigation, strengthen collaboration with local special agencies and spiritual leaders (babo), and develop the CDCU team's and Dawah leaders' potential in health literacy.th_TH
dc.identifier.callnoWC503 ส778ก 2567
dc.identifier.contactno66-036
dc.subject.keywordPandemic Managementth_TH
.custom.citationสุทัศน์ เสียมไหม, Suthat Siammai, อัญชลี พงศ์เกษตร, Anchalee Pongkaset, ฟูซียะห์ หะยี, Fusiyah Hayee, พยงค์ เทพอักษร, Phayong Thepaksorn, ไพสิฐ บุณยะกวี, Paisit Boonyakawee, พุทธิพงศ์ บุญชู, Puttipong Boonchu, ชวนากร ศรีปรางค์ and Chavanakorn Sriprang. "การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการอภิบาลระบบสุขภาพต่อการจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข กรณีโรคระบาดระดับชาติ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ประเทศไทย." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6097">http://hdl.handle.net/11228/6097</a>.
.custom.total_download17
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month3
.custom.downloaded_this_year17
.custom.downloaded_fiscal_year7

Fulltext
Icon
Name: hs3138.pdf
Size: 3.865Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record