แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบบริการด้านยาและการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด

dc.contributor.authorเพ็ญนภา ศรีหริ่งth_TH
dc.contributor.authorPennapa Sriringth_TH
dc.contributor.authorทิพาพร กาญจนราชth_TH
dc.contributor.authorTipaporn Kanjanarachth_TH
dc.contributor.authorฉวีวรรณ ศรีดาวเรืองth_TH
dc.contributor.authorChaweewan Sridawruangth_TH
dc.contributor.authorอัจฉราวดี ศรียะศักดิ์th_TH
dc.contributor.authorAtcharawadee Sriyasakth_TH
dc.contributor.authorวุฒิกุล ธนากาญจนภักดีth_TH
dc.contributor.authorWuttikul Thanakanjanaphakdeeth_TH
dc.contributor.authorบัณฑิต นิตย์คำหาญth_TH
dc.contributor.authorBandit Nitkhamhanth_TH
dc.contributor.authorวีรพงษ์ ธัมโชตังth_TH
dc.contributor.authorWeerapong Thumchotangth_TH
dc.contributor.authorศุภวิชญ์ ภูวฤทธิ์th_TH
dc.contributor.authorSupavit Phuvaritth_TH
dc.date.accessioned2024-06-28T09:27:17Z
dc.date.available2024-06-28T09:27:17Z
dc.date.issued2567-06
dc.identifier.otherhs3142
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6111
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินสถานการณ์การบริหารจัดการระบบบริการด้านยาและการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ความพร้อม ประสิทธิภาพ ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพ ระบบการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา และพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในกลุ่มตัวอย่าง สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ประกอบด้วย เภสัชกร จำนวน 300 คน ผู้ปฏิบัติงานใน รพ.สต. สังกัด อบจ. จำนวน 808 คน และประชาชน จำนวน 400 คน และมีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลที่คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 170 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร เภสัชกร ผู้ให้บริการและผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มย่อย และวิเคราะห์ปัจจัยโดยใช้สมการถดถอยโลจิสติกส์พหุนาม ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 38.8 ± 9.53 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี อยู่ในเขตสุขภาพที่ 7, 10 และ 1 มากที่สุด หลังการโอนเปลี่ยนไปสังกัด อบจ. พบว่า รพ.สต. มีอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะเพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่ยังคงเบิกยาและเวชภัณฑ์จากโรงพยาบาลแม่ข่าย มีเพียงบางแห่งที่มีการจัดซื้อเอง ระยะเวลาในการสำรองนาน 30 วัน มากที่สุด รองลงมา คือ 7-15 วัน และ 60 วัน มีค่ามัธยฐานของยอดคงคลัง 13,196.05 บาท มากที่สุด คือ 899,650 บาท ยอดคงคลังน้อยที่สุด คือ ไม่มีการสำรองยาไว้ในคลังเวชภัณฑ์เลย เภสัชกรมีการเวียนไปที่ รพ.สต. เพื่อให้บริการเภสัชกรรมเพียงบางครั้งและมีการบังคับใช้กฎหมายการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพปฏิบัติได้น้อยครั้ง การสนับสนุน อบจ. อยู่ในระดับที่น้อย จากคะแนนเต็ม 5 มีค่าเฉลี่ยของการสนับสนุนในด้านการบริหารจัดการด้านยา เท่ากับ 2.38 ± 1.12 และในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ เท่ากับ 2.26 ± 1.26 โดยผู้ปฏิบัติมีผลคะแนนประเมินมากกว่าในมุมมองของเภสัชกรครึ่งหนึ่งของทั้งหมดมีความพร้อมบริหารจัดการระบบบริการด้านยาในภาพรวม โดยมีความพร้อมในการทำแผนการจัดซื้อยา ร้อยละ 36.7 และการรายงานข้อมูลการรับจ่ายยาที่เป็นปัจจุบัน ร้อยละ 29.3 ส่วนใหญ่มีความพร้อมในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (ร้อยละ 54.0) โดยประมาณ 1 ใน 3 มีความพร้อมตรวจสถานประกอบการเชิงรุกในพื้นที่และแนวทางการตรวจสถานที่ รวบรวมพยานหลักฐานและการเขียนรายงาน (ร้อยละ 25.0) ในด้านประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบบริการด้านยาและในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ พบว่า มีประสิทธิภาพในระดับมากถึงมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 46.7 และร้อยละ 43.1 ตามลำดับ โดยในแต่ละกลุ่มจังหวัด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการบริหารจัดการระบบบริการด้านยา ได้แก่ ทัศนคติ ความพึงพอใจ การสนับสนุนของเภสัชกรสังกัดโรงพยาบาลแม่ข่าย ความพร้อมและการปฏิบัติตามแนวทาง ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ได้แก่ ความรอบรู้ ความพร้อมในการดำเนินงานและระดับความพึงพอใจ ผลการศึกษาระบบการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา พบว่า ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานการบริการเภสัชกรรมได้ทุกครั้ง ยังขาดเทคโนโลยีสำหรับการบริหารจัดการด้านยาและในการจ่ายยาที่ยังไม่มีขั้นตอนของการตรวจสอบซ้ำเพื่อป้องกันความผิดพลาดก่อนส่งมอบให้ผู้ป่วย ในมุมมองของประชาชนผู้รับบริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 20-86 ปี ค่ามัธยฐานของอายุ เท่ากับ 56 ปี เคยไปรับบริการที่ รพ.สต. เฉลี่ยเท่ากับ 5.40 ± 4.26 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2565 และ ลดลงเป็น 3.92 ± 3.49 ครั้งในปี พ.ศ. 2566 ความพึงพอใจต่อการรับบริการด้านจัดจ่ายยาของ รพ.สต. อยู่ในระดับมาก และมีความพึงพอใจเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา สรุปได้ว่า ในช่วงเริ่มต้นของ รพ.สต. สังกัด อบจ. มีแนวโน้มที่จะใช้ยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่มีผลกระทบต่อความพึงพอใจของประชาชนผู้มารับบริการ ในแต่ละกลุ่มจังหวัดมีความพร้อมและประสิทธิภาพที่แตกต่าง แม้ว่าจะมีทัศนคติที่ดี แต่การรายงานเกี่ยวกับยายังไม่ได้ทำอย่างต่อเนื่องให้เป็นปัจจุบัน และมีความไม่พร้อมในขั้นตอนการทำแผนการจัดซื้อยา การตรวจเฝ้าระวังสถานประกอบการเชิงรุก การบังคับใช้กฎหมายและการจัดการเรื่องร้องเรียน ดังนั้น การเตรียมความพร้อมโดยคำนึงถึงความพึงพอใจของทีมผู้ปฏิบัติและเครือข่ายเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุดต่อทั้งการบริหารจัดการระบบบริการด้านยาและการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ นอกจากนี้ยังมีทัศนคติ การสนับสนุนของเภสัชกรสังกัด โรงพยาบาลแม่ข่ายและการปฏิบัติตามมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อการบริหารจัดการระบบบริการด้านยา นอกจากนี้ การป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยายังไม่สามารถทำได้ตามขั้นตอนทุกครั้ง จึงควรมีเภสัชกรเป็นพี่เลี้ยงส่งต่อองค์ความรู้ เทคนิควิธีการอบรมพัฒนาทักษะเชิงวิชาการ ผ่านการทบทวนปรับปรุงการดำเนินงานร่วมกัน นิเทศ กำกับ ติดตาม รวมทั้งอาศัยเครือข่ายดั้งเดิมที่มีอยู่ โดยใช้เทคโนโลยีเชื่อมโยงกันแบบไร้รอยต่อ สร้างบรรยากาศที่ดีในการปฏิบัติงานร่วมกัน ด้วยสัมพันธภาพที่ดีอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องควบคู่กับด้านโครงสร้างพื้นฐาน ให้เกิดผลลัพธ์ตามเป้าหมายด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่อย่างยั่งยืนต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectยาth_TH
dc.subjectDrugsth_TH
dc.subjectระบบยาth_TH
dc.subjectDrug Systemsth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุข--ยาth_TH
dc.subjectการคุ้มครองผู้บริโภคth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบบริการด้านยาและการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดth_TH
dc.title.alternativeEvaluation of the Efficiency of the Medicine Service Systems Management and Health Consumer Protection of the Health Promotion Hospitals under Provincial Administrative Organizationth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research is to explore the situation of medication management systems and health consumer protection of the health promotion in hospitals under the provincial administrative organization. The readiness, efficiency, medication error prevention, and factors which affect the efficiency were determined to compose policy recommendations. Questionnaires were used as a research tool to collect data. The subjects were stratified random for sampling; this included 300 pharmacists, 808 health team staff and 400 clients. The 170 informants including administrators, pharmacists, clients, and key informants were selected for in-depth interviews. The descriptive statistics, subgroups analysis and binary logistic regression were used to analyze the data. Content analysis was determined some given qualitative data. It was found that most of the respondents were female with a mean age of 38.8 ± 9.53 yrs. The majority graduated with a bachelor’s degree working in the health service area 7, 10 and 1. The rate of antibiotics dispensing among the health promotion hospitals under provincial administrative organization was increased. Most of the Contracting Unit for Primary Care supplied medications, and some of the health promotion hospitals bought all items. The inventory period consisted of 30 days, 7-15 days, and 60 days. Median cost of inventory stock was 13,196.05 baht and maximum were 899,650 baht. The minimum was zero stock. Pharmacists sometimes rotated to service and rarely to enforcement of health consumer protection laws. The support by the provincial administrative organization was low level. Of score 5, mean support in medication management was 2.38 ± 1.12 and health consumer protection was 2.26 ± 1.26. The score by the health team was higher than the scoring of the pharmacists. Half of them were ready in medication management and only 36.7% were ready in purchase planning and 29.3 % could update the inventory and dispensing reports. The majority (54.0%) ready in health consumer protection. One-third ready to follow the guidelines of proactive inspection of the establishment in their service and with 25.0 % of them ready to collect evidence, witnesses and report writing. Of total, 46.7% with high level of efficiency in medication management and 43.1% of the health consumer protection. A statistically significant difference of efficiency was found among groups of provinces. Factors effecting the medication management were attitudes, satisfactions, pharmacists support, readiness, and the practice following the guidelines or recommendations regularly. Factors effecting health consumer protection including health literacy, readiness, satisfaction. The medication error practice was not completed. The triple checking was not incorporating prior to dispensing. It was found there was a low rate in technology application for medication management. In the opinion of the clients, most of those were females aged 20-86 years old. Median of age was 56. The frequency to visit the health promotion hospitals was 5.40 ± 4.26 times in 2022 and was 3.92 ± 3.49 times in 2023. The satisfaction of clients toward drug dispensing in 2023 was in higher level than 2022. Conclusion: The dispensing of antibiotics in the health promotion hospitals under provincial administrative organization was increase in 2022 and 2023. These trends had no effect on the satisfaction of clients and there was no difference among the provinces. The attitudes of the health team towards the medication management and health consumer protection were high level; however, the reports of drug inventory and dispensing had not been updated. They were not ready to make drug purchasing plan and proactive consumer protection, law enforcement and complaints management. Readiness and satisfaction among health team and network were counted to be significant factors for the management and health consumer protection. Attitudes, pharmacists support, and the practice following the guideline regularly effects to the management. Health literacy of health team effects to health consumer protection. Medication error and practice were incomplete, so pharmacists were needed to be their mentors and train them in the knowledge, tactic, and review and improve using technologies seamless connecting to their networks. Relationships need to be built and continue along with the development of the structure to help meet their targets and goals of rational drug uses and health consumer protection of sustainability to the healthy people in the area.th_TH
dc.identifier.callnoQV55 พ887ก 2567
dc.identifier.contactno66-105
.custom.citationเพ็ญนภา ศรีหริ่ง, Pennapa Sriring, ทิพาพร กาญจนราช, Tipaporn Kanjanarach, ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง, Chaweewan Sridawruang, อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์, Atcharawadee Sriyasak, วุฒิกุล ธนากาญจนภักดี, Wuttikul Thanakanjanaphakdee, บัณฑิต นิตย์คำหาญ, Bandit Nitkhamhan, วีรพงษ์ ธัมโชตัง, Weerapong Thumchotang, ศุภวิชญ์ ภูวฤทธิ์ and Supavit Phuvarit. "การประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบบริการด้านยาและการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6111">http://hdl.handle.net/11228/6111</a>.
.custom.total_download67
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month4
.custom.downloaded_this_year67
.custom.downloaded_fiscal_year10

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs3142.pdf
ขนาด: 7.498Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย