แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การใช้แร่เฉพาะที่เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีเนื้องอกในตา

dc.contributor.authorสุรศักดิ์ เสาแก้วth_TH
dc.contributor.authorSurasak Saokaewth_TH
dc.contributor.authorพจมาน พิศาลประภาth_TH
dc.contributor.authorPochamana Phisalprapath_TH
dc.contributor.authorกิรติ เก่งกล้าth_TH
dc.contributor.authorKirati Kengklath_TH
dc.contributor.authorสุกฤษฏิ์ กาญจนสุระกิจth_TH
dc.contributor.authorSukrit Kanchanasurakitth_TH
dc.contributor.authorชญานิศ โฆสิตะมงคลth_TH
dc.contributor.authorChayanis Kositamongkolth_TH
dc.date.accessioned2024-07-03T02:42:15Z
dc.date.available2024-07-03T02:42:15Z
dc.date.issued2567-06
dc.identifier.otherhs3143
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6114
dc.description.abstractที่มาและความสำคัญ : การรักษาด้วยการวางแร่ (Eye Plaque Brachytherapy) เป็นการรักษาทางเลือกใหม่ที่กำลังมีการใช้อย่างแพร่หลาย มีประสิทธิภาพในการรักษาไม่ต่างจากการฉายรังสีแบบภายนอกในแง่ของการควบคุมมะเร็ง ลดอัตราการกลับเป็นซ้ำ และอัตราการตายไม่แตกต่างกัน แต่สามารถลดการสูญเสียลูกตาได้มากกว่า คงการมองเห็นได้มากกว่า และทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า นอกจากนี้ ยังพบว่าค่าใช้จ่ายในการรักษาด้วยการวางแร่เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นครั้งเดียว เมื่อเทียบกับการฉายรังสีภายนอก และเสียเวลาในการมารับบริการน้อยกว่า วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการรักษาด้วยวิธีวางแร่ที่ตา (Eye-Plaque Brachytherapy) สำหรับรักษามะเร็งเม็ดสีที่ลูกตา (Intraocular Melanoma) ในประเทศไทย และประเมินผลกระทบด้านงบประมาณ (Budget Impact Analysis) หากเทคโนโลยีวางแร่ที่ตา สำหรับรักษามะเร็งที่ตา (Intraocular Tumors) มีความคุ้มค่าทางการแพทย์ และบรรจุในสิทธิการรักษาประกันสุขภาพถ้วนหน้า วิธีการศึกษา : ทำการวิเคราะห์ต้นทุนและอรรถประโยชน์ของการรักษา (Cost-Utility Analysis) ของเทคโนโลยีการวางแร่ที่ตา เปรียบเทียบกับการผ่าตัดเอาลูกตาออกทั้งหมด (Enucleation) ในผู้ป่วยมะเร็งที่ลูกตา โดยทำการศึกษาในมะเร็งเม็ดสีที่ลูกตา ประกอบด้วย Uveal Melanoma และ Retinoblastoma โดยใช้แบบจำลอง Markov และวิเคราะห์ในรูปอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่ม (Incremental Cost-Effectiveness Ratio; ICER) โดยการวิเคราะห์หาค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นต่อปีชีวิตที่มีคุณภาพ หรือปีสุขภาวะของผู้ป่วย (Cost Per Quality-Adjusted Life Year Gained) และทำการประเมินผลกระทบด้านงบประมาณ (Budget Impact Analysis, BIA) โดยการวิเคราะห์ผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้น หากทางเลือกที่คุ้มค่าถูกบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ของผู้ป่วยที่มีสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าสำหรับรักษามะเร็งเม็ดสีที่ลูกตา และทำการประเมินผลกระทบด้านงบประมาณ หากขยายสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ป่วยเนื้องอกที่ลูกตาทุกชนิด (Intraocular Tumors) ผลการศึกษา : ผลการวิเคราะห์แบบอุบัติการณ์ (Incidence-Based Analysis) การรักษาด้วยการฝังแร่ที่ตา (Plaque Brachytherapy) เป็นการรักษาที่มีค่าอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่มเท่ากับ 193,852 บาท เมื่อเทียบกับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด (Enucleation) ซึ่งอยู่ภายในระดับ Cost-Effectiveness Threshold ของกลุ่มโรคที่พบไม่บ่อย (Rare Disease) ที่ประเทศไทยที่กำหนด และมีค่าอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่มเท่ากับ 133,648 เมื่อวิเคราะห์แบบความสามารถสูงสุดของระบบบริการที่รองรับได้ (Maximum Capacity) สำหรับผลกระทบด้านงบประมาณจะใช้งบประมาณปีละ 2.28 ล้านบาท ทั้งในผู้ป่วยรักษามะเร็งเม็ดสีที่ลูกตา และมะเร็งตาชนิดไม่ใช่เมลาโนมา อย่างไรก็ตาม โรคเนื้องอกในตา (Intraocular Tumors) ชนิดอื่น ๆ ที่สามารถรักษาด้วยการวางแร่ที่ตา เช่น Eye Hemangioma, Retinal Vasoproliferative Tumors, Choroidal Metastasis, Retinal Pigment Epithelium Adenoma, Hemangioblastoma, Leiomyosarcoma, Von Hippel-Lindau ซึ่งเป็น Very Rare Diseases มีจำนวน Estimated Cases รวมกันน้อยกว่า 1 รายต่อปี จะได้ประโยชน์ในการรักษาด้วยการวางแร่ที่ตา และไม่เกินจำนวนสูงสุดที่สามารถให้บริการได้ ดังนั้น จึงเสนอพิจารณาบรรจุการรักษาด้วยการฝังแร่ที่ตาในมะเร็งเม็ดสีในดวงตา (Uveal Melanoma และ Retinoblastoma) รวมถึงเนื้องอกในลูกตาทุกชนิดที่จัดเป็นโรคที่พบไม่บ่อยเป็นสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยโรคมะเร็งเม็ดสีในดวงตา หรือเนื้องอกในตาชนิดอื่น ๆ ที่สามารถรักษาด้วยการวางแร่ที่ตา สรุปผลการศึกษา : การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการรักษาด้วยการฝังแร่ที่ตามีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ สามารถใช้เป็นทางเลือกในการรักษาเนื้องอกที่ลูกตา สามารถลดการสูญเสียดวงตา และสูญเสียการมองเห็นของผู้ป่วยมะเร็งที่ลูกตาได้ และใช้งบประมาณไม่เกิน 2.5 ล้านบาทต่อปีth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectตา, โรคth_TH
dc.subjectEye--Cancerth_TH
dc.subjectEye--Tumorsth_TH
dc.subjectตา--การรักษาth_TH
dc.subjectRare Diseasesth_TH
dc.subjectเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Economicsth_TH
dc.subjectต้นทุนต่อหน่วยth_TH
dc.subjectCost--Analysisth_TH
dc.subjectCost-Benefit Analysisth_TH
dc.subjectการวิเคราะห์ความคุ้มทุนth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.titleการใช้แร่เฉพาะที่เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีเนื้องอกในตาth_TH
dc.title.alternativeEye-Plaque Brachytherapy for the Treatment of Intraocular Tumorsth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeBackground: Brachytherapy is an emerging alternative treatment modality that is becoming increasingly widespread. It has demonstrated efficacy, with similar rates of recurrence and no significant difference in overall survival compared to enucleation and external beam radiotherapy. However, it offers the advantage of reducing the risk of eye loss, improving visual outcomes, and enhancing the overall quality of life for patients. Objective: To assess the economic evaluation of eye-plaque brachytherapy as a treatment option for intraocular melanoma in Thailand. Furthermore, we aim to evaluate the budgetary implications of incorporating eye-plaque brachytherapy into comprehensive health insurance coverage in Thailand. Methods: We conducted a cost-utility analysis to compare the cost-effectiveness of eye-plaque brachytherapy and eye enucleation in patients with intraocular tumors, with a focus on intraocular melanoma, which includes uveal melanoma and retinoblastoma. Our analysis utilized a Markov model and calculated the Incremental Cost-Effectiveness Ratio (ICER) to determine the additional cost per quality-adjusted life year gained (cost per QALY). Additionally, we performed a Budget Impact Analysis (BIA) to evaluate the financial implications of adopting this cost-effective treatment option within comprehensive health insurance coverage for all types of intraocular tumors. Results: In an incidence-based analysis, plaque brachytherapy emerged as a cost-effective treatment option for intraocular tumors. The Incremental Cost-Effectiveness Ratio (ICER) for plaque brachytherapy compared to total enucleation was 193,852 Thai Baht per (QALY. This ICER was found to be within the cost-effectiveness threshold for rare diseases in Thailand. In addition, when we analyzed the scenario with maximum healthcare system capacity, the ICER remained favorable at 133,648 Thai Baht per QALY gained. This indicates that plaque brachytherapy continues to be a cost-effective strategy, even under conditions of higher demand for treatment. Regarding the budget impact, adopting plaque brachytherapy for patients with intraocular melanoma and non-melanoma intraocular tumors would result in an annual budget impact of 2.28 million Thai Baht. This budget allocation covers both rare intraocular tumors and other very rare diseases, such as eye hemangioma, retinal vasoproliferative tumors, choroidal metastasis, retinal pigment epithelium adenoma, hemangioblastoma, leiomyosarcoma, von Hippel-Lindau, with estimated cases totaling fewer than 1 case per year. These findings suggest that including plaque brachytherapy in the national comprehensive health insurance system for the treatment of intraocular tumors, including uveal melanoma and retinoblastoma, as well as all other rare intraocular tumor types, is a beneficial and cost effectively. Conclusion: Our study suggests that plaque brachytherapy is cost-effective as a treatment option for intraocular tumors. It offers the potential to reduce eye loss and improve visual outcomes in patients with intraocular melanoma and other rare intraocular tumors while maintaining a budget impact of no more than 2.5 million Thai Baht per year.th_TH
dc.identifier.callnoWW100 ส854ก 2567
dc.identifier.contactno64-221
dc.subject.keywordโรคหายากth_TH
dc.subject.keywordการใช้แร่เฉพาะที่th_TH
dc.subject.keywordการรักษาด้วยการวางแร่th_TH
dc.subject.keywordโรคมะเร็งที่ตาth_TH
dc.subject.keywordEye Tumorsth_TH
dc.subject.keywordEye-Plaque Brachytherapyth_TH
dc.subject.keywordIntraocular Tumorsth_TH
.custom.citationสุรศักดิ์ เสาแก้ว, Surasak Saokaew, พจมาน พิศาลประภา, Pochamana Phisalprapa, กิรติ เก่งกล้า, Kirati Kengkla, สุกฤษฏิ์ กาญจนสุระกิจ, Sukrit Kanchanasurakit, ชญานิศ โฆสิตะมงคล and Chayanis Kositamongkol. "การใช้แร่เฉพาะที่เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีเนื้องอกในตา." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6114">http://hdl.handle.net/11228/6114</a>.
.custom.total_download10
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year10
.custom.downloaded_fiscal_year2

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs3143.pdf
ขนาด: 1.244Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย