การศึกษาการเพิ่มอัตราการเข้าถึงบริการชุดสิทธิประโยชน์การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่ส่งเสริมการเกิดอย่างมีคุณภาพ ผ่าน Telehealth
dc.contributor.author | เอกชัย เพียรศรีวัชรา | th_TH |
dc.contributor.author | Ekachai Piensriwatchara | th_TH |
dc.contributor.author | ภารินี หงส์สุวรรณ | th_TH |
dc.contributor.author | Parinee Hongsuwan | th_TH |
dc.contributor.author | เนตรชนก รัตนเนตร | th_TH |
dc.contributor.author | Netchanok Rattananet | th_TH |
dc.contributor.author | ณัฏฐา ฐานีพานิชสกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Nutta Taneepanichskul | th_TH |
dc.date.accessioned | 2024-07-08T05:02:45Z | |
dc.date.available | 2024-07-08T05:02:45Z | |
dc.date.issued | 2567-06 | |
dc.identifier.other | hs3144 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/6118 | |
dc.description.abstract | โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นโครงการที่ทำให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะการให้ความสำคัญของบริการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค (Promotion and Prevention, P&P) ซึ่งเป็นสิทธิประโยชน์เดียวในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่จัดให้กับประชาชนคนไทยทุกสิทธิ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ อัตราการป่วย อัตราตายที่เป็นภาระโรคของประเทศ และส่งเสริมสุขภาพ แต่ยังคงพบจุดอ่อน คือ ประชาชนยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และอัตราความครอบคลุมของการเข้าถึงบริการตามชุดสิทธิประโยชน์ของการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคยังต่ำ ปัจจุบันเครื่องมือ Telehealth ได้ถูกนำมาใช้เพื่อดูแลสุขภาพของประชาชน สามารถลดความเลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการ และมีประโยชน์ในการเชื่อมต่อระหว่างผู้รับบริการ และผู้ให้บริการด้านสุขภาพ กรมอนามัยจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาการใช้ Telehealth เพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมให้เกิดการเข้าถึงบริการตามชุดสิทธิประโยชน์สร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคที่ส่งเสริมการเกิดอย่างมีคุณภาพ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการเพิ่มอัตราการเข้าถึงบริการตามชุดสิทธิประโยชน์ฯ กระบวนการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ โดยระยะที่ 1 การศึกษาความจำเป็น และปัญหาด้านการรับรู้สิทธิ ซึ่งประกอบด้วยการวิเคราะห์เอกสาร (Systematic Review) การศึกษาปัญหา และข้อจำกัดของการรับรู้สิทธิ และการเข้าถึงบริการของประชาชน ซึ่งเป็นการใช้กระบวนการวิจัยรูปแบบภาคตัดขวาง จำนวน 394 คน ร่วมกับการสนทนากลุ่ม ระยะที่ 2 การออกแบบ และพัฒนา คือ การสร้างรูปแบบ (Platform) การให้บริการในชุดสิทธิประโยชน์ส่งเสริมสุขภาพ ระยะที่ 3 เป็นการนำ Platform ไปทดลองใช้รูปแบบ ซึ่งเป็นการใช้กระบวนการวิจัยรูปแบบภาคตัดขวาง จำนวน 331 คน ร่วมกับการสนทนากลุ่ม และระยะที่ 4 คือ การประเมินผลรูปแบบเพื่อเปรียบเทียบผลการรับรู้ในบริการตามชุดสิทธิประโยชน์เมื่อนำ Platform ไปใช้ ซึ่งเป็นการใช้กระบวนการวิจัยรูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Study) เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม โดยในแต่ละระยะการดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างจะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ 2) กลุ่มเด็ก อายุ 0-5 ปี 3) กลุ่มเด็ก อายุ 6-24 ปี และ 4) กลุ่มผู้ใหญ่ อายุ 25-59 ปี การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาณ ได้แก่ chi-square tests, independent t-test, and paired t-test ผลการศึกษาวิจัย แบ่งออกเป็นระยะ 1, 3 และ 4 ดังนี้ การศึกษาระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 394 คน ส่วนใหญ่การใช้สิทธิการรักษาพยาบาล คือ สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ร้อยละ 68 รู้จักสิทธิประโยชน์การสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคที่อยู่ภายใต้ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ และร้อยละ 79.9 เคยใช้บริการสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ตามสิทธิประกันสุขภาพ เมื่อวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่า เพศ ระดับการศึกษา และค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยังสถานบริการสาธารณสุขที่ใกล้ที่สุด มีความสัมพันธ์กับการรับรู้สิทธิประโยชน์การสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ในขณะที่การเข้าถึงชุดสิทธิประโยชน์การสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค มีความสัมพันธ์กับ เพศ และการใช้สิทธิ การรักษาหลักของผู้ตอบแบบสอบถาม (p-value < 0.05) ในการสนทนากลุ่มประเด็นการรับรู้สิทธิ และประสบการณ์การใช้บริการสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคที่ส่งเสริมการเกิดอย่างมีคุณภาพ พบว่า ส่วนใหญ่ขาดการรับรู้ถึงสิทธิบริการสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคที่ส่งเสริมการเกิดอย่างมีคุณภาพ แต่มีประสบการณ์การเข้ารับบริการสุขภาพตามสิทธิบริการสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคที่ส่งเสริมการเกิดอย่างมีคุณภาพบางสิทธิ แต่ไม่ทราบว่าเป็นสิทธิที่ต้องได้รับ การศึกษาระยะที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 331 คน กลุ่มตัวอย่างรู้จักสิทธิประโยชน์การสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคที่อยู่ภายใต้ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ ร้อยละ74.9 กลุ่มที่มีความสนใจรับบริการผ่านช่องทางออนไลน์มากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็ก อายุ 0-5 ปี ร้อยละ 90.24 กลุ่มที่สนใจน้อยที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กโต และวัยรุ่น อายุ 6 - 24 ปี ร้อยละ 68.67 เมื่อพิจารณาวัตถุประสงค์ในการเข้ารับบริการผ่านช่องทางออนไลน์ของแต่ละกลุ่มวัย พบว่า กลุ่มเด็ก อายุ 6 – 24 ปี และกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ มีวัตถุประสงค์ใช้รับข้อมูลความรู้ด้านสุขภาพมากที่สุด ร้อยละ 73.5 และร้อยละ 67.5 ตามลำดับ ส่วนกลุ่มผู้ใหญ่ อายุ 25 – 59 ปี และกลุ่มเด็ก อายุ 0 – 5 ปี มีวัตถุประสงค์ในการใช้เพื่อค้นหาแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษามากที่สุด ร้อยละ 75.6 และร้อยละ 70.7 ตามลำดับ จากการสนทนากลุ่ม พบว่า ส่วนใหญ่มีประสบการในการใช้ เช่น ใช้ Google ค้นหาเกี่ยวกับข้อมูลของสถานบริการสุขภาพ ใช้แอปพลิเคชันในการนัดหมายฉีดวัคซีน ในส่วนของข้อดีการให้บริการด้านสุขภาพผ่านช่องทาง Online คือ ใช้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่าย ข้อเสีย คือ ข้อมูลหลากหลายแตกต่างกันไม่สามารถเชื่อถือได้ การศึกษาระยะที่ 4 ในกลุ่มควบคุม พบว่า การรับรู้บริการสิทธิประโยชน์จากการใช้ Platform Online และทัศนคติต่อการใช้บริการสิทธิประโยชน์ผ่าน Platform Online กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มเด็ก อายุ 0 – 5 ปี และกลุ่มผู้ใหญ่ อายุ 25 – 59 ปี เห็นว่าการรับบริการผ่าน Platform Online สามารถตระหนักได้ถึงความสำคัญสุขภาพมากยิ่งขึ้น กลุ่มเด็กโต และวัยรุ่น อายุ 6 – 24 ปี เห็นว่า Platform Online สามารถเข้าถึงบริการฯ ได้ดียิ่งขึ้น กลุ่มทดลอง พบว่า กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มเด็ก อายุ 0 – 5 ปี และกลุ่มผู้ใหญ่ อายุ 25 – 59 ปี ส่วนใหญ่เห็นว่าการรับบริการผ่าน Line-Telehealth สามารถตระหนักได้ถึงความสำคัญสุขภาพ ส่วนในกลุ่มเด็กโต และวัยรุ่น อายุ 6 – 24 ปี จะแนะนำให้เพื่อน ญาติ คนรู้จัก ใช้ Line-Telehealth จากการประเมินผลรูปแบบก่อน และหลังการใช้ Line-Telehealth ในกลุ่มทดลอง พบว่า ทัศนคติการใช้บริการด้านสุขภาพผ่านช่องทางออนไลน์ ร้อยละของการรับรู้ในการใช้บริการตามสิทธิประกันสุขภาพ และแนวโน้มการใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์ ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มเด็กเล็ก อายุ 0 – 5 ปี กลุ่มเด็กโต และวัยรุ่น อายุ 6 – 24 ปี และกลุ่มผู้ใหญ่ อายุ 25 - 59 ปี เพิ่มมากขึ้น และมีความแตกต่างกันระหว่างก่อน และหลังการใช้ Line-Telehealth อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) ในขณะที่กลุ่มควบคุม พบว่า การประเมินทัศนคติ การใช้บริการด้านสุขภาพผ่านช่องทางออนไลน์ และร้อยละของการรับรู้ในการใช้บริการตามสิทธิประกันสุขภาพ ก่อน และหลังการใช้ Platform Online มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน (p-value < 0.001) จากการศึกษาในครั้งนี้สามารถสรุปผลได้ว่า รูปแบบ Line-Telehealth มีประสิทธิผลในการเพิ่มอัตราการ รับรู้ถึงบริการชุดสิทธิประโยชน์การสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ที่ส่งเสริมการเกิดอย่างมีคุณภาพ โดยเมื่อเทียบร้อยละของการรับรู้ก่อน และหลังการใช้ Line-Telehealth ในทุกกลุ่มช่วงวัย รวมทั้ง Line-Telehealth สามารถส่งเสริมทัศนคติการใช้บริการด้านสุขภาพผ่านช่องทางออนไลน์ และเพิ่มแนวโน้มการใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์ได้ในทุกกลุ่มวัย อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาร่วมกับกลุ่มควบคุมที่มีการใช้ Platform Online พบว่า การใช้ Platform Online สามารถเพิ่มทัศนคติการใช้บริการด้านสุขภาพผ่านช่องทางออนไลน์ และร้อยละของการรับรู้ในการใช้บริการตามสิทธิประกันสุขภาพในทุกกลุ่มวัยได้เช่นกัน ดังนั้น การเพิ่มอัตราการรับรู้ถึงบริการชุดสิทธิประโยชน์การสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ที่ส่งเสริมการเกิดอย่างมีคุณภาพสามารถทำได้ ทั้งการใช้ Line-Telehealth และ Platform Online ร่วมกัน | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Universal Coverage Scheme | th_TH |
dc.subject | Universal Health Coverage | th_TH |
dc.subject | ประกันสุขภาพแห่งชาติ | th_TH |
dc.subject | หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ | th_TH |
dc.subject | สิทธิประโยชน์ | th_TH |
dc.subject | สิทธิประโยชน์--การคุ้มครอง | th_TH |
dc.subject | การสร้างเสริมสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Promotion | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | Telehealth | th_TH |
dc.subject | Telemedicine | th_TH |
dc.subject | การแพทย์ทางไกล | th_TH |
dc.subject | โปรแกรมประยุกต์ | th_TH |
dc.subject | Application Software | th_TH |
dc.subject | Mobile Applications | th_TH |
dc.subject | โทรศัพท์เคลื่อนที่--โปรแกรมประยุกต์ | th_TH |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.subject | ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) | th_TH |
dc.title | การศึกษาการเพิ่มอัตราการเข้าถึงบริการชุดสิทธิประโยชน์การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่ส่งเสริมการเกิดอย่างมีคุณภาพ ผ่าน Telehealth | th_TH |
dc.title.alternative | The Study of Accelerating the Rate of Accessing Birth Services and Accessing Care in Health Promoting and Prevention Benefit Package Services to Promote Quality of Birth through Telehealth | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The Universal Health Coverage (UHC) program is a project that enables everyone to access medical services, with a particular emphasis on the importance of promoting health and disease prevention (P&P) services. This is the benefit within the national health insurance system provided to all Thai citizens, aimed at reducing health risk factors, disease morbidity/mortality rates, and promoting health. However, a weakness is the lack of knowledge, understanding, and the low coverage rate of accessing services under the P&P benefit package for health promotion and disease prevention. Telehealth tools have been utilized to care for the public's health, reducing disparities in accessing services and benefiting in connecting service recipients with healthcare providers. Therefore, the Department of Health, Ministry of Public Health recognizes the importance of the study for using Telehealth as a tool to promote access to services under the benefit package for health promotion and disease prevention, promoting quality access to healthcare services. This study aims to developing a model to enhance access to services under the benefit package for health promotion and disease prevention. The research process is divided into four phases. Phase 1 is the necessity and perception analysis, consisting of a systematic document review and a study of the problems and limitations of perception and access to services. Cross sectional research was introduced with 394 participants and focus group discussions. Phase 2 is the design and development phase, which involves creating a service platform for the benefit package for health promotion. Phase 3 is the platform's pilot testing, utilizing a cross-sectional research process with 331 participants and focus group discussions. Phase 4 is the evaluation phase, comparing the perception of services received under the benefit package when using the platform. This involved a quasi-experimental study comparing an experimental group and a control group. Each phase involves four sample groups: pregnant women, children aged 0-5 years, children aged 6-24 years, and adults aged 25-59 years. Data analysis includes descriptive statistics, such as percentages, means, standard deviations, and inferential statistics, such as chisquare tests, independent t-test, and paired t-test. Results of the research study are divided into phases 1, 3, and 4 as follows: Phase 1: The sample group consisted of a total of 394 individuals. The majority utilized healthcare services under the universal health coverage at 68%. Additionally, 79.9% were aware of the benefits of health promotion and disease prevention services under the national health insurance system. Statistical analysis revealed associations between gender, education level, travel expenses to the nearest public health facility, and perception of health promotion and disease prevention benefits. Accessing the health promotion and disease prevention benefit package was associated with gender and primary healthcare utilization (p-value < 0.05). During the focus group discussions on the perception and experiences of utilizing quality health promotion and disease prevention services, it was found that there was a lack of awareness regarding the rights to quality health promotion and disease prevention services. However, there were some instances where individuals had experiences of accessing quality health services under certain benefits but were unaware to those rights. Phase 3 of the study involved a sample group of 331 individuals, with 32.0% having completed high school education. Within this group, 74.9 % were aware of the benefits of health promotion and disease prevention services under the national health insurance system. Children aged 0-5 years mostly intending to use online platform 90.24 %, while young adults aged 6-24 years smallest intending to use online platform 68.67 %. Young adults aged 6-24 years 73.5 % and Pregnant women 67.5 % mostly intending to use The online platform aimed to provide health knowledge. Adults aged 25-59 years 75.6 % and 70.7% of children aged 0-5 years intending to use health services to seek doctors for treatment. From the focus group discussions, it was found that the majority had experiences using online resources such as Google to search for information about healthcare facilities and using apps to schedule vaccination appointments. The advantages of online health services were ease of use, convenience, speed, and cost effectiveness. However, the disadvantages included varying and unreliable information. In Phase 4, among the control group, it was found that the perception of benefits from using the online platform and attitudes toward utilizing services through the online platform significantly increased in pregnant women, children aged 0-5 years, and adults aged 25-59 years. Pregnant women, children aged 0-5 years, and adults aged 25-59 years realized the importance of health services through the online platform. Adolescents and young adults aged 6-24 years saw that the online platform provided better access to services. Within the experimental group, pregnant women, children aged 0-5 years, and adults aged 25-59 years mostly recognized the importance of health through Line-Telehealth. However, adolescents and young adults aged 6-24 years were more inclined to recommend Line-Telehealth to friends and relatives. The preand post-evaluation of Line-Telehealth usage in the experimental group showed a significant increase in attitudes towards using online health services, perception of using services under the health insurance scheme, and trends in online service usage in all age groups (p-value < 0.001). Similarly, in the control group, significant statistical differences were found in attitudes towards using online health services and perceptions of using services under the health insurance scheme before and after using the online platform (p-value < 0.001). In conclusion, the Line-Telehealth model effectively increased the perception of accessing services under the health promotion and disease prevention benefit package. When comparing pre- and post-usage rates in all age groups, both Line-Telehealth and the online platform together were effective in promoting attitudes towards using online health services and increasing awareness of using services under the health insurance scheme. Therefore, enhancing the perception of accessing services under the health promotion and disease prevention benefit package with quality can be achieved through the combined utilization of Line-Telehealth and the online platform. | th_TH |
dc.identifier.callno | W160 อ951ก 2567 | |
dc.identifier.contactno | 65-099 | |
dc.subject.keyword | ระบบแพทย์ทางไกล | th_TH |
dc.subject.keyword | Line-Telehealth | th_TH |
.custom.citation | เอกชัย เพียรศรีวัชรา, Ekachai Piensriwatchara, ภารินี หงส์สุวรรณ, Parinee Hongsuwan, เนตรชนก รัตนเนตร, Netchanok Rattananet, ณัฏฐา ฐานีพานิชสกุล and Nutta Taneepanichskul. "การศึกษาการเพิ่มอัตราการเข้าถึงบริการชุดสิทธิประโยชน์การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่ส่งเสริมการเกิดอย่างมีคุณภาพ ผ่าน Telehealth." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6118">http://hdl.handle.net/11228/6118</a>. | |
.custom.total_download | 36 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 5 | |
.custom.downloaded_this_year | 36 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 10 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Research Reports [2419]
งานวิจัย