ฉากทัศน์อนาคตระบบสุขภาพไทยใน 10 ปีข้างหน้า
dc.contributor.author | พงศธร พอกเพิ่มดี | th_TH |
dc.contributor.author | Pongsadhorn Pokpermdee | th_TH |
dc.contributor.author | นาฎอนงค์ เจริญสันติสุข | th_TH |
dc.contributor.author | Nardanong Charoensuntisuk | th_TH |
dc.contributor.author | เชาวรินทร์ คำหา | th_TH |
dc.contributor.author | Chaowarin Khamha | th_TH |
dc.contributor.author | โศรดากรณ์ พิมลา | th_TH |
dc.contributor.author | Soradakorn Phimla | th_TH |
dc.contributor.author | จุฑามาส พจน์สมพงษ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Chuthamat Pojsompong | th_TH |
dc.date.accessioned | 2024-07-08T06:38:40Z | |
dc.date.available | 2024-07-08T06:38:40Z | |
dc.date.issued | 2567-03 | |
dc.identifier.other | hs3141 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/6119 | |
dc.description.abstract | การวิจัยเชิงอนาคตครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์และแนวโน้มของปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อระบบสุขภาพ 2) ศึกษาฉากทัศน์ความเป็นไปได้ของระบบสุขภาพในอีก 10 ปีข้างหน้า และ 3) สังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านระบบสุขภาพที่เหมาะสมตามบริบทของประเทศไทย แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ สัมภาษณ์เชิงลึก และวิจัยอนาคตแบบ Ethnographic Delphi Future Research (EDFR) กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสุขภาพ จำนวน 25 คน 2) สร้างฉากทัศน์อนาคตระบบสุขภาพ ด้วยการจัดประชุมระดมสมอง จำนวน 2 ครั้ง ประกอบด้วย กลุ่มผู้บริหารจากหน่วยบริการสาธารณสุข และนักยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ จำนวน 48 คน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทั้งในและนอกภาคสาธารณสุข จากภาครัฐและเอกชน 38 คน และ 3) จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้านระบบสุขภาพจากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อระบบสุขภาพ ประกอบด้วย 2 กลุ่มปัจจัย ได้แก่ 1.1) ปัจจัยภายในบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส รายได้ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทางด้านสุขภาพ ความเชื่อทางด้านสุขภาพ พฤติกรรมทางด้านสุขภาพ การรับรู้ทางด้านสุขภาพ ทัศนคติทางด้านสุขภาพ ความเครียด และวิตกกังวล ความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ และ 1.2) ปัจจัยภายนอกบุคคล ได้แก่ สิ่งแวดล้อม การสนับสนุนทางสังคม กำลังคนทางด้านสุขภาพ ฐานข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพ แหล่งข้อมูลข่าวสารเทคโนโลยีทางด้านสุขภาพ นวัตกรรมสุขภาพ การเข้าถึงระบบสุขภาพ การเมืองการปกครอง และเศรษฐกิจ 2) ปัจจัยความไม่แน่นอน และผลกระทบต่อระบบสุขภาพ พบว่า มี 6 มิติ 33 ปัจจัย ได้แก่ มิติทางการเมือง และกฎหมาย 6 ปัจจัย มิติทางเศรษฐกิจ 6 ปัจจัย มิติทางสังคม 6 ปัจจัย มิติทางเทคโนโลยี 4 ปัจจัย มิติทางสิ่งแวดล้อม 5 ปัจจัย และมิติด้านระบบบริการสุขภาพ 6 ปัจจัย ทั้งนี้ ปัจจัยความไม่แน่นอนสูงสุด ได้แก่ โรคระบาดใหญ่ และความผันผวนทางเศรษฐกิจ ซึ่งได้นำมาจัดทำฉากทัศน์ระบบสุขภาพของประเทศไทย 4 ฉากทัศน์ ประกอบด้วยฉากทัศน์ที่ 1 เศรษฐกิจแบบก้าวกระโดดกับการดึงรั้งของโรคระบาด ฉากทัศน์ที่ 2 วิกฤติเศรษฐกิจ วิกฤติสุขภาพ ฉากทัศน์ที่ 3 ความผันผวนทางเศรษฐกิจที่ปราศจากโรคระบาด และฉากทัศน์ที่ 4 ประเทศมั่งคั่ง ระบบสุขภาพมั่นคง ผลการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้านระบบสุขภาพ จำแนกเป็นข้อเสนอในการจัดการปัจจัยกำหนดสุขภาพ ควรมุ่งเน้นการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ควรมีการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาให้เกิดเมืองสุขภาพดี และข้อเสนอในการจัดการระบบบริการสุขภาพที่สำคัญ ประกอบด้วย การบริหารงานองค์กรทั้ง Health และ Non Health การปรับรูปแบบบริการจาก Hospital Base เป็น Community Base พัฒนา 3 กองทุนให้มี Standard Requirements ที่เท่าเทียม ปฏิรูประบบ Information System ระบบ Cyber Security พัฒนา Big Data การพัฒนารูปแบบการจ้างงาน (Outsource, Skill Mix, Task Shifting) การส่งเสริม และพัฒนาเศรษฐกิจสุขภาพ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ระบบสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Systems | th_TH |
dc.subject | Health Policy | th_TH |
dc.subject | นโยบายสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Public Health Administration | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | ฉากทัศน์อนาคตระบบสุขภาพไทยใน 10 ปีข้างหน้า | th_TH |
dc.title.alternative | The Future Scenarios of the Thailand Health System in the Next 10 years | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This future research aims to study the situation and trends of factors that affect the health system, analyze scenarios of the health system in the next 10 years, and formulate policy for the Thailand's healthcare system. The research is divided into three phases: 1) Systematic literature review, in-depth interviews, and future research using EDFR. The target group includes 25 experts involved in health policy. 2) Creation of a future vision of the health system by organizing two brainstorming meetings, consisting of a group of executives from public health service units and health strategists (40 people) and a group of experts from both inside and outside the public and private health sectors (50 people). 3) Preparation of policy proposals on the health system based on the opinion of experts. Qualitative data were analyzed using content analysis, and quantitative data were analyzed using descriptive statistics. The study results indicate that 1) factors affecting the health system consist of two groups: 1.1) factors within the individual, including gender, age, marital status, income, educational level, health experience, health beliefs, health behavior, health awareness, health attitude, stress, and anxiety, and health literacy, and 1.2) factors outside the individual, including the environment, social support, health workforce, health information database, news sources, health technology, health innovation, access to the health system, politics, government, and economics. 2) uncertainty factors and impacts on the health system consist of six dimensions and 33 factors, including political and legal dimension (6 factors), economic dimensions (6 factors), social dimension (6 factors), technological dimension (4 factors), environmental dimension (4 factors), and health service system dimensions (6 factors). The highest uncertainty factors include pandemics and economic fluctuations, which have been used to create a 4-scenarios for Thailand's health system, consisting of Scenario 1: a fast-paced economy with the pull of the epidemic; Scenario 2: economic crisis, health crisis; Scenario 3: economic fluctuation without disease scourge, and Scenario 4: wealthy country, stable health system. The results of preparing health system policy proposals are classified as proposals for managing health determinants, which should focus on creating health literacy, developing a healthcare system for the elderly, and emphasizing healthy cities. Proposals for the management of health service systems include the management of both health and non-health organizations, adjustment of the service model from a hospital base to a community base, development of Three public health insurance schemes with equal standard requirements, reform of the information system, cybersecurity system, development of big data, development of employment models (outsourcing, skill mix, task shifting), and promotion and development of the health economy. | th_TH |
dc.identifier.callno | WA540.JT3 พ112ฉ 2567 | |
dc.identifier.contactno | 65-101 | |
dc.subject.keyword | Ethnographic Delphi Future Research, EDFR | th_TH |
.custom.citation | พงศธร พอกเพิ่มดี, Pongsadhorn Pokpermdee, นาฎอนงค์ เจริญสันติสุข, Nardanong Charoensuntisuk, เชาวรินทร์ คำหา, Chaowarin Khamha, โศรดากรณ์ พิมลา, Soradakorn Phimla, จุฑามาส พจน์สมพงษ์ and Chuthamat Pojsompong. "ฉากทัศน์อนาคตระบบสุขภาพไทยใน 10 ปีข้างหน้า." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6119">http://hdl.handle.net/11228/6119</a>. | |
.custom.total_download | 53 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 5 | |
.custom.downloaded_this_year | 53 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 9 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Research Reports [2419]
งานวิจัย