แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การวิจัยประเมินผลนโยบายการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ส่วนที่ 2 องค์รวมของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

dc.contributor.authorอุดม ทุมโฆสิตth_TH
dc.contributor.authorUdom Tumkositth_TH
dc.contributor.authorดิเรก ปัทมสิริวัฒน์th_TH
dc.contributor.authorDirek Patamasiriwatth_TH
dc.contributor.authorวรพิทย์ มีมากth_TH
dc.contributor.authorWorapit Meemakth_TH
dc.contributor.authorวีระวัฒน์ ปันนิตามัยth_TH
dc.contributor.authorWerawat Punnitamaith_TH
dc.contributor.authorนิธินันท์ ธรรมากรนนท์th_TH
dc.contributor.authorNithinant Thammakoranontath_TH
dc.contributor.authorจันทรานุช มหากาญจนะth_TH
dc.contributor.authorChandranuj Mahakanjanath_TH
dc.contributor.authorหลี่, เหรินเหลียงth_TH
dc.contributor.authorLi, Renliangth_TH
dc.contributor.authorประยงค์ เต็มชวาลาth_TH
dc.contributor.authorPrayong Temchavalath_TH
dc.contributor.authorรติพร ถึงฝั่งth_TH
dc.contributor.authorRatiporn Teungfungth_TH
dc.contributor.authorภาวิณี ช่วยประคองth_TH
dc.contributor.authorPawinee Chuayprakongth_TH
dc.contributor.authorสุรชัย พรหมพันธุ์th_TH
dc.contributor.authorSurachai Phromphanth_TH
dc.contributor.authorกรณ์ หุวะนันทน์th_TH
dc.contributor.authorGorn Huvanandanath_TH
dc.contributor.authorวิทยา โชคเศรษฐกิจth_TH
dc.contributor.authorWittaya Choksettakijth_TH
dc.contributor.authorสมศักดิ์ จึงตระกูลth_TH
dc.contributor.authorSomsak Jungtrakulth_TH
dc.contributor.authorอลงกต สารกาลth_TH
dc.contributor.authorAlongkot Sarakarnth_TH
dc.contributor.authorจิรวัฒน์ ศรีเรืองth_TH
dc.contributor.authorJirawat Sriruangth_TH
dc.contributor.authorสุพัฒน์จิตร ลาดบัวขาวth_TH
dc.contributor.authorSupatjit Ladbuakhaoth_TH
dc.date.accessioned2024-07-17T07:21:34Z
dc.date.available2024-07-17T07:21:34Z
dc.date.issued2567-06
dc.identifier.otherhs3148
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6123
dc.description.abstractการวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อ “ประเมินองค์รวมของระบบบริหารสุขภาพปฐมภูมิโดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่ได้รับการถ่ายโอนไปสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ในปีงบประมาณ 2566” ว่า “หลังการถ่ายโอนไปสู่สังกัดใหม่แล้ว ได้มีการเปลี่ยนแปลงประการใดเกิดขึ้นบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านคุณลักษณะตัวแบบองค์ประกอบสำคัญ (Building Blocks) อย่างไรบ้าง หรือไม่ ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกับสภาพที่เป็นอยู่ก่อนการถ่ายโอน” ในด้านวิธีวิทยาการวิจัย คณะวิจัยได้เลือกใช้วิธีวิจัยการประเมินผลแบบผสมผสาน เริ่มด้วยขั้นตอนวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสำรวจเชิงรุกร่วมไปกับการสัมภาษณ์ผู้มีประสบการณ์ตรงในการผลิตข้อมูลนั้น จาก 32 รพ.สต. ใน 8 จังหวัด 4 ภาค ส่วนในขั้นตอนที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ อันเป็นการถอดสาระสำคัญจากขั้นตอนแรกมาตรวจสอบความเป็นทั่วไป ขั้นตอนนี้ได้ใช้วิธีทอดแบบสอบถามไปยัง รพ.สต. จำนวน 3,263 แห่ง ซึ่งได้รับการตอบกลับ จำนวน 450 แห่ง จาก อบจ. และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) จำนวน 49 จังหวัด อันเพียงพอต่อการเป็นตัวอย่าง ณ ระดับความเชื่อมั่นที่ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 95 ผลการประเมิน พบว่า องค์ประกอบที่ 1 ลักษณะพื้นฐาน หรือฐานคติของระบบ พบว่า ทั้งก่อน และหลังการถ่ายโอนคุณลักษณะพื้นฐานขององค์ประกอบนี้ ยังคงยึดหลักความสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง เป็นระบบแบบองค์รวม เป็นระบบบริการแบบผสมผสาน และเป็นระบบที่เชื่อมโยงระหว่างระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ องค์ประกอบที่ 2 โครงสร้างของระบบสุขภาพปฐมภูมิ พบว่า มีโครงสร้างด้านการอภิบาลทางการเมืองที่เข้มแข็ง พร้อมต่อการรับมือกับการคุกคามของโรคสูง แต่โครงสร้างทางการเงินยังไม่เข้มแข็งมั่นคงเพียงพอ และยังไม่มีโครงสร้างทางด้านบุคลากรที่มั่นคง องค์ประกอบที่ 3 ความมั่นคงเพียงพอในทรัพยากรนำเข้า พบว่า ขนาดและที่ตั้งของ รพ.สต. มีความเหมาะสม แต่ยังมีระบบอื่น ๆ ที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ ระบบกำลังคนยังไม่เพียงพอกับความจำเป็นของภารกิจ ระบบยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ยังไม่มั่นคง ระบบสารสนเทศยังไม่เหมาะสม และยังไม่มีระบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม องค์ประกอบที่ 4 กระบวนการบริการ พบว่า มีตัวแบบบริการปฐมภูมิที่เหมาะสมแล้วแต่การปฏิบัติให้เป็นไปตามตัวแบบยังต่ำกว่ามาตรฐานมาก ยังไม่มีกระบวนการประเมิน และปรับปรุงบริการอย่างต่อเนื่องเหมาะสม มีระบบส่งต่อ และรับกลับทางการแพทย์แต่ในทางปฏิบัติส่วนใหญ่ยังมีข้อติดขัดด้านยานพาหนะ และระบบการแพทย์ฉุกเฉินก็ยังไม่ทั่วถึง องค์ประกอบที่ 5 ผลผลิตบริการ พบว่า มีความสามารถทางกายภาพในการเข้าถึงบริการได้สูง มีความพร้อมในการให้บริการสูงทั้งในเวลา และนอกเวลาราชการ คุณภาพบริการยังต่ำกว่ามาตรฐานมาก เนื่องจากยังขาดบุคลากรทางการแพทย์อีกมาก ในด้านประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการบริการยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะวินิจฉัย และในด้านความปลอดภัยในการให้บริการ พบว่า ยังไม่มีการร้องเรียนในเรื่องความไม่ปลอดภัยอันเนื่องจากการบริการของ รพ.สต. และองค์ประกอบที่ 6 ผลลัพธ์ของระบบบริหาร พบว่า มีความสามารถในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายสูง ความพึงพอใจของผู้รับบริการอยู่ในระดับสูง ความเสมอภาคเท่าเทียมให้บริการสูง แต่ยังมีบริการที่มิอาจตอบสนองได้โดย รพ.สต. เองในเกณฑ์สูง ในด้านการเปรียบเทียบการบริการระหว่างก่อนโอน และหลังโอน พบว่า ส่วนใหญ่ยังคงเหมือนเดิม มีส่วนน้อยที่ตอบว่าดีกว่าเดิม เนื่องจากมีงบประมาณ และคนเพิ่มขึ้นจากเดิม แต่ก็มีน้อยมากที่ตอบว่าแย่กว่าเดิม เนื่องจากมีบุคลากรที่ไม่สมัครใจโอนมาด้วย และ อบจ. ยังไม่สามารถหาบุคลากรมาทดแทนได้th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลth_TH
dc.subjectองค์การบริหารส่วนจังหวัดth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectPublic Health Administrationth_TH
dc.subjectการกระจายอำนาจด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectระบบสุขภาพปฐมภูมิth_TH
dc.subjectPrimary Health Careth_TH
dc.subjectบริการปฐมภูมิ (การแพทย์)th_TH
dc.subjectPrimary Care (Medicine)th_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectการประเมินผลth_TH
dc.subjectEvaluationth_TH
dc.subjectMeasurementth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการวิจัยประเมินผลนโยบายการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ส่วนที่ 2 องค์รวมของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิth_TH
dc.title.alternativeThe Policy Evaluative Research Project on The Transference of Tambol-Promotion-Hospitals to Provincial Administration Organization Part 2 Holistic of Primary Health Care Systemth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research is to “Assess the overall primary health management system of Subdistrict Health Promotion Hospitals that have been transferred to Provincial Administrative Organizations in the fiscal year 2023” that “after transferring to the new jurisdiction What changes have occurred? Particularly in terms of the characteristics of the model's key components (building blocks), how are they, or not, in comparison to the state they were in before the transfer?” in terms of research methodology. The research team has chosen a mixed methods evaluation research method. Start with the qualitative research process. Data were collected by means of proactive surveys along with interviews with people with direct experience in producing that data from 32 Subdistrict Health Promotion Hospitals in 8 provinces and 4 regions. The second step was quantitative research. This is to remove the important points from the first step to check for generality. This step involved sending questionnaires to 3,263 Subdistrict Health Promotion Hospitals, which received 450 responses from Provincial Administrative Organizations and Provincial Public Health Offices in 49 provinces, which was sufficient to serve as a sample at a low level of confidence. More than 95 percent. The results of the evaluation found that: Component 1: Basic characteristics or beliefs of the system, found both before and after the transfer. Basic features of this element Still adhering to the principle of being able to reach the target group thoroughly. It is a holistic system. It is an integrated service system. and is a system that connects primary, secondary, and tertiary levels. Component 2, the structure of the primary health system, was found to have a strong political governance structure. Ready to deal with the high threat of disease But the financial structure is not yet strong and stable enough. and there is still no stable personnel structure. Component 3: Sufficient stability in imported resources. It was found that the size and location of the Subdistrict Health Promotion Hospital were appropriate. But there are other systems that are not suitable, such as a manpower system that is not sufficient to meet the needs of the mission, a system of drugs, medical supplies, and medical equipment that is not stable. The information system is not yet suitable. And there is still no appropriate technology system. Component 4: Service Process: It was found that there was an appropriate primary care service model. But compliance with the model is still far below the standard. There is no appropriate process for continually evaluating and improving services. And there is a medical referral and return system, but in practice most of the time there are still problems with vehicles. and the emergency medical system is still not comprehensive. Component 5, service output, was found to have high physical ability to access services. There is high readiness to provide services both during and outside of business hours. The quality of service is still much lower than the standard. Because there is still a lack of medical personnel. In terms of service efficiency and effectiveness, there is not enough information to make a diagnosis. And regarding safety in providing services, it was found that there have been no complaints regarding insecurity due to the services of the Subdistrict Health Promoting Hospital. Component 6: The results of the management system were found to have a high ability to reach the target group. The satisfaction of service recipients is at a high level. Equality provides high service. But there are still services that cannot be responded to by the Subdistrict Health Promotion Hospitals themselves at a high level. In terms of comparing the services between before the transfer and after the transfer, it was found that most of them remained the same. There were only a few who answered that it was better than before. Because there was an increase in budget and personnel from before. But there were very few who answered that it was worse than before. This is because there are personnel who do not voluntarily transfer and the Provincial Administrative Organization is still unable to find replacement personnel.th_TH
dc.identifier.callnoWA540.JT3 อ785ก 2567
dc.identifier.contactno65-133
dc.subject.keywordHealth Decentralizeth_TH
dc.subject.keywordHealth Decentralizationth_TH
dc.subject.keywordการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขth_TH
dc.subject.keywordอบจ.th_TH
dc.subject.keywordรพ.สต.th_TH
.custom.citationอุดม ทุมโฆสิต, Udom Tumkosit, ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์, Direk Patamasiriwat, วรพิทย์ มีมาก, Worapit Meemak, วีระวัฒน์ ปันนิตามัย, Werawat Punnitamai, นิธินันท์ ธรรมากรนนท์, Nithinant Thammakoranonta, จันทรานุช มหากาญจนะ, Chandranuj Mahakanjana, หลี่, เหรินเหลียง, Li, Renliang, ประยงค์ เต็มชวาลา, Prayong Temchavala, รติพร ถึงฝั่ง, Ratiporn Teungfung, ภาวิณี ช่วยประคอง, Pawinee Chuayprakong, สุรชัย พรหมพันธุ์, Surachai Phromphan, กรณ์ หุวะนันทน์, Gorn Huvanandana, วิทยา โชคเศรษฐกิจ, Wittaya Choksettakij, สมศักดิ์ จึงตระกูล, Somsak Jungtrakul, อลงกต สารกาล, Alongkot Sarakarn, จิรวัฒน์ ศรีเรือง, Jirawat Sriruang, สุพัฒน์จิตร ลาดบัวขาว and Supatjit Ladbuakhao. "การวิจัยประเมินผลนโยบายการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ส่วนที่ 2 องค์รวมของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6123">http://hdl.handle.net/11228/6123</a>.
.custom.total_download62
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year62
.custom.downloaded_fiscal_year12

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs3148.pdf
ขนาด: 5.191Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย