Show simple item record

Integrated School-based Program to Improve Reading Ability and Its Cost-effectiveness for Screening and Managing Children at Risk of Dyslexia (Fourth Year)

dc.contributor.authorภาสกร ศรีทิพย์สุโขth_TH
dc.contributor.authorPaskorn Sritipsukhoth_TH
dc.contributor.authorอิสราภา ชื่นสุวรรณth_TH
dc.contributor.authorIssarapa Chunsuwanth_TH
dc.contributor.authorติรยา เลิศหัตถศิลป์th_TH
dc.contributor.authorTiraya Lerthattasilpth_TH
dc.contributor.authorกนกพร วิบูลพัฒนะวงศ์th_TH
dc.contributor.authorKanokporn Vibulpatanavongth_TH
dc.contributor.authorอัญชลิตา รัตนจารุรักษ์th_TH
dc.contributor.authorAnchalita Ratanajaruraksth_TH
dc.date.accessioned2024-07-24T08:29:40Z
dc.date.available2024-07-24T08:29:40Z
dc.date.issued2567-07
dc.identifier.otherhs3157
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6127
dc.description.abstractโครงการวิจัยในปีที่ 4 นี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ ข้อแรก คือ เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการอ่าน และหาค่าคะแนนที่เป็นเกณฑ์ในการคัดกรองเด็กกลุ่มเสี่ยงต่อปัญหาการอ่านที่ควรได้รับการช่วยเหลือทักษะพื้นฐานการอ่านเพิ่มเติม จำแนกตามระดับชั้น ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โดยใช้แบบทดสอบ SWU_TU Reading Test ซึ่งพัฒนาโดยคณะผู้วิจัย ประกอบด้วยการทดสอบ 5 ชุด คือ การอ่านคำที่มีความหมาย คำที่ไม่มีความหมาย และการอ่านเรื่องสั้น จำนวน 3 เรื่อง โดยศึกษาแบบภาคตัดขวางในเด็กนักเรียน 8 โรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 5,191 ราย จากการทดสอบการอ่านของเด็กนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ทำให้สามารถหาค่าจุดตัดในการคัดเลือกเด็กที่มีความเสี่ยงปัญหาในการอ่าน (คะแนนต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 10) และเด็กที่อ่านไม่คล่อง (คะแนนต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์ไทด์ที่ 25) สำหรับวัตถุประสงค์ข้อที่สองนั้น เป็นการศึกษาต่อยอดการดำเนินงานวิจัย เพื่อเปรียบเทียบผลของการช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงฯ ในระดับที่ 2 ตามแนวคิด Response to Intervention (RTI) ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร และโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี โดยการสอนเสริมกลุ่มย่อยซึ่งนำแผนการสอนที่พัฒนาขึ้นใน 3 ปีแรกของโครงการวิจัยไปจัดการสอนเสริมกลุ่มย่อย ระหว่างกลุ่มเด็กในโรงเรียนที่ได้รับการสอนโดยครูของโครงการวิจัยร่วมกับครูในโรงเรียน (Hybrid Teaching Group) จำนวน 49 คน กลุ่มเด็กในโรงเรียนที่ได้รับการสอนโดยครูของโรงเรียนที่มีทีมผู้วิจัยเป็นพี่เลี้ยง (Coaching Group) จำนวน 75 คน และกลุ่มเด็กเด็กที่ได้รับการช่วยเหลือตามปกติโดยครูในโรงเรียน ซึ่งไม่ได้มีการกำกับดูแลจัดการสอนเสริมกลุ่มย่อยโดยทีมผู้วิจัย (Control Group) จำนวน 100 คน เป็นเวลา 1 ปีการศึกษา โดยคัดเลือกโรงเรียนเป็น 3 กลุ่มในการทดลองสอนเสริมด้วยวิธี Quasi-Experimental Study ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการช่วยเหลือ และติดตามเป็นระยะเวลา 1 ปี เด็กมีพัฒนาการในการอ่านแต่ละด้านที่ดีขึ้นทั้ง 3 กลุ่ม โดยเด็กกลุ่มเสี่ยงฯ ของแต่ละกลุ่มก่อนเข้าสอนเสริมจำนวนร้อยละ 44, 53 และ 27 จากกลุ่ม Control, Hybrid Teaching และ Coaching ปรับขยับดีขึ้นเป็นกลุ่มที่ไม่ถูกจัดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงฯ อีกต่อไป และมีเด็กร้อยละ 13-25 ที่มีพัฒนาการในการอ่านน้อยมาก และควรได้รับการช่วยเหลือในระดับที่ 3 ต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectเด็กth_TH
dc.subjectนักเรียนth_TH
dc.subjectChildrenth_TH
dc.subjectการอ่านth_TH
dc.subjectReadingth_TH
dc.subjectReading--Ability Testingth_TH
dc.subjectโรงเรียนth_TH
dc.subjectSchoolsth_TH
dc.subjectDyslexiath_TH
dc.subjectDyslexia--Diagnosisth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleโปรแกรมพัฒนาทักษะด้านการอ่านแบบบูรณาการในโรงเรียนและต้นทุนประสิทธิผลของโปรแกรม สำหรับคัดกรองและบำบัดช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงต่อความบกพร่องทักษะด้านการอ่าน (ปีที่ 4)th_TH
dc.title.alternativeIntegrated School-based Program to Improve Reading Ability and Its Cost-effectiveness for Screening and Managing Children at Risk of Dyslexia (Fourth Year)th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeIn the fourth year of this research project, there are two main objectives. The first is to study reading abilities and establish scoring criteria for screening children at risk of reading difficulties, who require additional help to enhance their basic reading skills. This study categorizes students from Grade 1 to Grade 6 using the SWU_TU reading test, developed by the research team. The test includes five sets: reading meaningful words, meaningless words, and three short passages. The cross-sectional study involves 8 schools in Pathum Thani province, covering 5,191 students from Grade 1 to Grade 6. This allows for identifying cutoff scores to select children at risk of reading problems (scoring below the 10th percentile) and those with poor reading proficiency (scoring below the 25th percentile). The second objective research is to investigate the outcomes of interventions for atrisk children, using a Response to Intervention (RTI) approach at Level 2 in Grade 2. This is implemented in schools affiliated with Bangkok Metropolitan Administration and schools in Pathum Thani. The intervention involves supplementary teaching groups based on a curriculum developed during the project's first three years. The groups include a hybrid teaching group (49 students), where project researchers and school teachers collaborate in teaching, and a coaching group (75 students), where school teachers trained by the research team provide instruction. A control group (100 students) receives normal school-based assistance without specific supplementary teaching from the research team. This quasi-experimental study findings indicate that after one year of intervention and follow-up, there was significant improvement in various aspects of reading across all three groups. Children identified as at-risk in each group showed improvement rates of 44%, 53%, and 27% respectively in the control, hybrid teaching, and coaching groups, progressing out of the at-risk category. Additionally, 13-25% of children demonstrated minimal improvement and are recommended for Level 3 intervention in the future.th_TH
dc.identifier.callnoWS19 ภ493ป 2567
dc.identifier.contactno66-015
dc.subject.keywordทักษะด้านการอ่านth_TH
dc.subject.keywordแบบทดสอบการอ่านth_TH
dc.subject.keywordความบกพร่องทักษะด้านการอ่านth_TH
dc.subject.keywordภาวะบกพร่องด้านการอ่านth_TH
.custom.citationภาสกร ศรีทิพย์สุโข, Paskorn Sritipsukho, อิสราภา ชื่นสุวรรณ, Issarapa Chunsuwan, ติรยา เลิศหัตถศิลป์, Tiraya Lerthattasilp, กนกพร วิบูลพัฒนะวงศ์, Kanokporn Vibulpatanavong, อัญชลิตา รัตนจารุรักษ์ and Anchalita Ratanajaruraks. "โปรแกรมพัฒนาทักษะด้านการอ่านแบบบูรณาการในโรงเรียนและต้นทุนประสิทธิผลของโปรแกรม สำหรับคัดกรองและบำบัดช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงต่อความบกพร่องทักษะด้านการอ่าน (ปีที่ 4)." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6127">http://hdl.handle.net/11228/6127</a>.
.custom.total_download2
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year2

Fulltext
Icon
Name: hs3157.pdf
Size: 538.6Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record