• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การวิจัยประเมินผลนโยบายการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ส่วนที่ 1 ความก้าวหน้าในการดำเนินการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด หลังได้รับการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

อุดม ทุมโฆสิต; Udom Tumkosit; ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์; Direk Patamasiriwat; วรพิทย์ มีมาก; Worapit Meemak; วีระวัฒน์ ปันนิตามัย; Werawat Punnitamai; นิธินันท์ ธรรมากรนนท์; Nithinant Thammakoranonta; จันทรานุช มหากาญจนะ; Chandranuj Mahakanjana; หลี่, เหรินเหลียง; Li, Renliang; ประยงค์ เต็มชวาลา; Prayong Temchavala; รติพร ถึงฝั่ง; Ratiporn Teungfung; ภาวิณี ช่วยประคอง; Pawinee Chuayprakong; สุรชัย พรหมพันธุ์; Surachai Phromphan; กรณ์ หุวะนันทน์; Gorn Huvanandana; วิทยา โชคเศรษฐกิจ; Wittaya Choksettakij; สมศักดิ์ จึงตระกูล; Somsak Jungtrakul; อลงกต สารกาล; Alongkot Sarakarn; จิรวัฒน์ ศรีเรือง; Jirawat Sriruang; สุพัฒน์จิตร ลาดบัวขาว; Supatjit Ladbuakhao;
วันที่: 2567-06
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความก้าวหน้าในการดำเนินการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เพื่อรองรับการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จากกระทรวงสาธารณสุขว่าได้ดำเนินการก้าวหน้าไปเพียงใด มีอุปสรรคปัญหาอะไรบ้าง และแนวทางการปรับปรุงพัฒนาเพิ่มเติมอย่างไรบ้าง ในการนี้คณะวิจัยได้เลือกใช้รูปแบบการวิจัยประเมินผลเป็นวิธีวิทยาการประเมิน โดยได้ทบทวนวรรณกรรมและกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัยขึ้นให้สอดคล้องกับเกณฑ์ที่คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.)กำหนดขึ้นให้ อบจ. ดำเนินการ 5 ข้อ คือ (1) ความก้าวหน้าในการดำเนินการด้านโครงสร้างองค์การ อันได้แก่ การจัดตั้งคณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ (กสพ.) และกองสาธารณสุขขึ้นใน อบจ. (2) ความก้าวหน้าในการจัดการบุคคลให้เป็นไปตามเงื่อนไขการถ่ายโอน (3) ความก้าวหน้าในการจัดการด้านงบประมาณและการบัญชี (4) ความก้าวหน้าในการจัดการด้านสาธารณสุขมูลฐาน และ (5) ความก้าวหน้าในการจัดการติดตาม กำกับ และประเมินผลการดำเนินงานของ รพ.สต. ในด้านวิธีวิทยา ได้เลือกใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน ในขั้นตอนที่ 1 ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสำรวจควบคู่ไปกับการสัมภาษณ์เจาะลึก จาก อบจ. และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ใน 8 จังหวัด 4 ภาค ขั้นตอนที่ 2 ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณโดยถอดประเด็นสำคัญบางประเด็นจากขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบความเป็นทั่วไป การวิจัยเชิงปริมาณได้เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง อบจ. และ สสจ. 49 จังหวัดที่รับการถ่ายโอนในปีงบประมาณ 2566 ผลการประเมินพบว่า ความก้าวหน้าในการดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2565 - เมษายน 2566 ในส่วนที่ อบจ. รับผิดชอบโดยตรงส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 80) ได้ดำเนินการลุล่วงไปแล้วตามเป้าหมาย ส่วนที่เหลือ (ประมาณร้อยละ 20) อยู่ระหว่างดำเนินการ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จทันปีงบประมาณ 2566 ในด้านปัญหาที่สำคัญที่พบ ได้แก่ การไม่ได้รับการถ่ายโอนในด้านสิทธิประโยชน์เฉพาะตัวของบุคลากรไปด้วย และบุคลากรจำนวนหนึ่งไม่สมัครใจถ่ายโอน ซึ่ง อบจ. ได้แก้ปัญหาโดยจัดสรรเงินของตนบรรเทาความเดือดร้อนไปก่อน ส่วนการแก้ปัญหาบุคลากรที่ไม่สมัครใจถ่ายโอนมาด้วย อบจ. ใช้วิธีรับสมัครบุคลากรเพิ่มเติม ซึ่งก็สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปได้ตามสมควร

บทคัดย่อ
This research aims to evaluate the progress of the Provincial Administrative Organization's (PAOs) operations to support the transfer of Subdistrict Health Promotion Hospitals from the Ministry of Public Health to see how much progress has been made. There are what obstacles and problems, and what are the guidelines for further improvement and development? For this purpose, the research team has chosen to use the evaluation research model as the evaluation methodology. They reviewed the literature and established a research concept framework to be in line with the criteria set by the National Decentralization Commission (NAC) for PAOs to carry out 5 items: (1) Progress in organizational structure operations This includes the establishment of the Public Health Service Area Office and the Public Health Division in the PAOs. (2) Progress in personnel management. to be in accordance with the transfer criteria’s (3) progress in budget management and accounting (4) progress in primary health care management and (5 ) progress in managing, monitoring, supervising, and evaluating the performance of Subdistrict Health Promoting Hospital. In terms of methodology, a mixed research method was chosen. In step 1 , a qualitative research method was used. Data were collected through surveys along with in-depth interviews from Provincial Administrative Organizations and Provincial Health Offices in 8 provinces, 4 regions. Step 2 used quantitative research methods by extracting some important issues from Step 1 to check for generality The quantitative research collected data using a questionnaire from a sample group of Provincial Administrative Organizations and Provincial Health Offices in 49 provinces that received transfers in fiscal year 2023. The evaluation results found that Progress in operations between October 2022 - April 2023 in the areas where the PAOs is most directly responsible. (Approximately 80 percent) has already achieved the target, while the remaining (approximately 20 percent) is in progress. which is expected to be completed in fiscal year 2023. Among the important problems found were the lack of transfer of personal fringe benefits for personnel. and a number of personnel did not voluntarily transfer. Which the PAOs solved the problem by allocating its own money to alleviate the suffering first. As for solving the problem of personnel not being voluntarily transferred, the PAOs uses the method of recruiting additional personnel. which can solve the immediate problem as appropriate.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs3147.pdf
ขนาด: 2.852Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 57
ปีพุทธศักราชนี้: 34
รวมทั้งหมด: 96
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2483]

    งานวิจัย

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • การประเมินศักยภาพของระบบสุขภาพในความพร้อมรับมือการระบาดโรค COVID-19 ในพื้นที่ชายแดน จังหวัดเชียงราย 

    อนุสรณ์ อุดปล้อง; Anusorn Udplong; ธวัชชัย อภิเดชกุล; Tawatchai Apidechkul; ฟาติมา ยีหมาด; Fartima Yeemard (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-10)
    การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพของบุคลากรและระบบสุขภาพในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรค COVID-19 ของหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงมหาดไทย ในพื้นที่อำเภอชายแดนจังหวัดเชียงราย คือ ...
  • การเปรียบเทียบสัดส่วนการจัดสรรงบประมาณกองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติระหว่างคู่สัญญาบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ถ่ายโอนและไม่ถ่ายโอนไปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย 

    นภชา สิงห์วีรธรรม; Noppcha Singweratham; ตวงรัตน์ โพธะ; Tuangrat Phodha; วิน เตชะเคหะกิจ; Win Techakehakij; ธีระศักดิ์ วงศ์ใหญ่; Dherasak Wongyai; อำพล บุญเพียร; Aumpol Bunpean; พัลลภ เซียวชัยสกุล; Pallop Siewchaisakul (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-12)
    การถ่ายโอนภารกิจด้านการให้บริการปฐมภูมิที่อยู่กับสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำให้เกิดความเป็นธรรม ความเสมอภาคและเท่าเทียม ...
  • การพัฒนาแบบจำลองทำนายความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประเทศไทยเพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อระบบหลักประกันสุขภาพและระบบสุขภาพ 

    ปิยะ หาญวรวงศ์ชัย; Piya Hanvoravongchai; เสกสรร เกียรติสุไพบูลย์; Seksan Kiatsupaibul; วิฐรา พึ่งพาพงศ์; Vitara Pungpapong; อรลักษณ์ พัฒนาประทีป; Oraluck Pattanaprateep; มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์; Montarat Thavorncharoensap; วศิน เลาหวินิจ; Wasin Laohavinij; จิดาภา หาญวรวงศ์ชัย; Jidapa Hanvoravongchai (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2566-10)
    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างแบบจำลองทำนายความเสี่ยง 2 แบบจำลองหลัก คือ 1.1 แบบจำลองทำนายความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชากรทั่วไป และ 1.2 แบบจำลองทำนายความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการเสีย ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1290]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [232]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV