Effectiveness of the Innovative Portable Urinal with an Odor-Suppressant Design Feature
dc.contributor.author | พิสิฐ รุ่งโรจน์วัฒนศิริ | th_TH |
dc.contributor.author | Pisit Rungrojwatanasiri | th_TH |
dc.contributor.author | กาญจณี พันธุ์ไพโรจน์ | th_TH |
dc.contributor.author | Kanjanee Phanphairoj | th_TH |
dc.contributor.author | ทิพย์สุดา สำเนียงเสนาะ | th_TH |
dc.contributor.author | Tipsuda Sumneangsanor | th_TH |
dc.contributor.author | บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ | th_TH |
dc.contributor.author | Bunyong Rungroungdouyboon | th_TH |
dc.contributor.author | วีระ เนริกูล | th_TH |
dc.contributor.author | Weera Nerikool | th_TH |
dc.date.accessioned | 2024-09-16T09:00:18Z | |
dc.date.available | 2024-09-16T09:00:18Z | |
dc.date.issued | 2567-09 | |
dc.identifier.other | hs3171 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/6146 | |
dc.description.abstract | ในประเทศไทย มีรายงานการศึกษาความชุกของกลุ่มผู้ป่วยโรคจิตที่มีอาการดื่มน้ำมากผิดปกติจากสถาบันหรือโรงพยาบาลด้านจิตเวชหลายแห่งพบความชุกร้อยละ 6–17 ของผู้ป่วยโรคจิตเรื้อรัง และประมาณ 1 ใน 4 ถึงครึ่งหนึ่งจะมีอาการของภาวะน้ำเป็นพิษ โดยอาการดื่มน้ำมากผิดปกติ (polydipsia) ในผู้ป่วยโรคจิตเรื้อรังมักถูกละเลยไม่ได้สังเกต และถูกเข้าใจว่าการดื่มน้ำเป็นเรื่องปกติ โดยผู้ป่วยจะมีพฤติกรรมแสวงหาน้ำและอาการดื่มน้ำมากผิดปกติ (water seeking behavior and polydipsia) ซึ่งจะส่งผลให้เกิดภาวะน้ำเป็นพิษ เป็นเหตุให้มีการแยกห้องผู้ป่วย และเนื่องจากในห้องแยกไม่มีสุขาให้ผู้ป่วยได้ใช้ในการปัสสาวะ โดยทั่วไปสถานพยาบาลได้ดำเนินการจัดเตรียมภาชนะชั่วคราวโดยการใช้ถังสำหรับให้ผู้ป่วยได้ถ่ายปัสสาวะภายในห้องแยก แต่ยังคงพบปัญหาด้านสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของผู้ป่วย เช่น ห้องมีกลิ่นปัสสาวะ ฝาผนังและพื้นมีสภาพสกปรก อันเป็นสาเหตุของการแพร่กระจายเชื้อโรค ซึ่งปัญหาที่กล่าวมานี้ได้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเวชชายในห้องแยก อีกทั้ง พบอุบัติการณ์ความเสี่ยงขึ้น เช่น ผู้ป่วยเดินเตะถังปัสสาวะล้มในเวลากลางคืนเป็นผลให้สภาพของพื้นลื่นและผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุหกล้ม และในผู้ป่วยบางรายที่อาการทางจิตยังไม่สงบมีการยกถังปัสสาวะขึ้นมาราดตนเอง การวิจัยครั้งนี้จึงดำเนินการเพื่อพัฒนาโถปัสสาวะชายเคลื่อนที่จำกัดการใช้น้ำที่มีระบบการดับกลิ่น เพื่อลดปัญหาดังกล่าวและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น วัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบประสิทธิผลของการใช้นวัตกรรมโถปัสสาวะชายเคลื่อนที่แบบจำกัดกลิ่นและพัฒนาและปรับปรุงนวัตกรรมโถปัสสาวะชายเคลื่อนที่แบบจำกัดกลิ่น ให้เหมาะสำหรับการใช้งานในห้องแยกสำหรับผู้ป่วยจิตเวชชาย วิธีดำเนินการวิจัย การศึกษาเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development: R&D) ในรูปแบบของการสร้างนวัตกรรม และนำนวัตกรรมโถปัสสาวะฯ ทดสอบประสิทธิภาพ ระยะที่ 1 ทดสอบต้นแบบในกลุ่มผู้ใช้งานขนาดเล็ก และครั้งนี้เป็นระยะที่ 2 นำต้นแบบที่ได้รับการปรับปรุงไปใช้ในห้องแยกผู้ป่วยจิตเวช ในโรงพยาบาลที่มีหอผู้ป่วยจิตเวช ห้องแยกจำกัดพฤติกรรมของผู้ป่วยจิตเวชชาย เป็นระยะเวลาการใช้งาน 3 เดือน โดยมีเครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ประกอบด้วย และเครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยาย และสถิติทดสอบ independent t-test; Independent-Samples Mann-Whitney U Test เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ใช้โถแบบเดิมกับกลุ่มที่ใช้นวัตกรรม และ one group t-test เปรียบเทียบความพึงพอใจในการใช้งานนวัตกรรมกับเกณฑ์ที่กำหนด และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาสรุปประเด็นสำคัญที่ได้ เพื่อนำไปพัฒนาและปรับปรุงนวัตกรรมโถปัสสาวะชายเคลื่อนที่แบบจำกัดกลิ่นสำหรับนำไปใช้ส่งเสริมสุขอนามัยของห้องแยกสำหรับผู้ป่วยจิตเวชชายที่ถูกจำกัดพฤติกรรม ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิผลของการใช้นวัตกรรมโถปัสสาวะชายเคลื่อนที่แบบจำกัดกลิ่น ในห้องแยกสำหรับผู้ป่วยจิตเวชชาย เวอร์ชันผลิตภัณฑ์ต้นแบบ และการเปรียบเทียบสุขอนามัยของห้องแยกสำหรับผู้ป่วยจิตเวชชายที่ถูกจำกัดพฤติกรรมระหว่างกลุ่มควบคุมที่ใช้โถรูปแบบเดิมกับกลุ่มทดลองที่ใช้นวัตกรรมโถปัสสาวะชายเคลื่อนที่แบบจำกัดกลิ่น ด้วยการทดสอบ t-test independent พบว่า ระดับค่า ammonia ที่สูงสุดในแต่ละวันก่อนนำโถปัสสาวะไปทำความสะอาดของกลุ่มควบคุมสูงกว่ากลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่า t (df) = 21.75 (76.45); p <.001 สอดคล้องกับระยะเวลาในการทำความสะอาดที่กลุ่มควบคุมใช้มากกว่ากว่ากลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่า t (df) = 3.32 (113.95); p = .001 และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนรวมตามการประเมินของผู้เชี่ยวชาญโดย Independent-Samples Mann-Whitney U Test พบว่า ค่ามีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่า Mann-Whitney U (SE) = 81.00 (10.468); p < .001 โดยการประเมินความเสี่ยงจากการใช้โถปัสสาวะชายแบบเคลื่อนที่ จากการสังเกตพฤติกรรมการใช้นวัตกรรมโถปัสสาวะฯ ของผู้ป่วยจิตเวชชาย และอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการใช้นวัตกรรม เป็นระยะเวลาห้องละ 3 เดือน พบว่า กลุ่มควบคุม มีประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1) ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการปัสสาวะที่ไม่ถูกสุขอนามัย 2) มีกลิ่นและคราบสกปรกในพื้นที่โดยรอบ กลุ่มทดลอง มีประเด็นสำคัญได้แก่ 1) ปัญหาจากความไม่พร้อมของอุปกรณ์โถปัสสาวะ 2) การใช้โถปัสสาวะผิดวัตถุประสงค์ สรุปผลการวิจัย ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโถปัสสาวะชายเคลื่อนที่แบบจำกัดกลิ่น สามารถลดภาระงานของการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในห้องแยก ทั้งระยะเวลาในการทำความสะอาดและอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งส่งเสริมสุขอนามัยภายในห้องแยกของผู้ป่วยได้ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ผู้ป่วยจิตเวช--การดูแล | th_TH |
dc.subject | การพยาบาลจิตเวชศาสตร์ | th_TH |
dc.subject | การส่งเสริมสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Promotion | th_TH |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.title | ประสิทธิผลการใช้นวัตกรรมส่งเสริมสุขอนามัยและการดูแลผู้ป่วยจิตเวชชาย : การพัฒนาต่อยอดของโถปัสสาวะชายเคลื่อนที่แบบจำกัดกลิ่น (ระยะที่ 2) | th_TH |
dc.title.alternative | Effectiveness of the Innovative Portable Urinal with an Odor-Suppressant Design Feature | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Several studies from psychiatric institutions and hospitals in Thailand have reported a prevalence of excessive water intake among psychiatric patients, ranging from 6% to 17%, with water intoxication observed in approximately 25% to 50% of chronic psychiatric patients. Polydipsia, or excessive water intake, is often overlooked due to the assumption that drinking large amounts of water is normal. However, this behavior can lead to water intoxication, resulting in patients being isolated in rooms without access to proper sanitation facilities. Temporary solutions, such as providing buckets for urination, have led to unsanitary living conditions, including unpleasant odors, dirty walls and floors, and an increased risk of germ transmission. Additionally, patients face safety hazards, such as slipping on wet floors or mishandling the urine buckets, potentially pouring urine on themselves. To address these issues and improve the quality of life for male psychiatric patients in isolation, research was undertaken to develop a mobile male urinal with a water usage limit and deodorizing system, aimed at reducing these risks and promoting a healthier living environment. Objective: To evaluate the effectiveness of the innovative odor-limiting mobile male urinal and to further develop and enhance its design for use in isolated rooms designated for male psychiatric patients. Methodology: This research and development (R&D) study focuses on the creation and evaluation of an innovative odor-limiting mobile male urinal. In Phase 1, a prototype was tested with a small user group. In Phase 2, the improved prototype was tested over a 3-month period in a psychiatric isolation room within a hospital psychiatric ward for male patients. Quantitative data collection tools included descriptive statistics, independent t-tests, and the Independent-Samples Mann-Whitney U Test to compare outcomes between the group using a traditional toilet and the group using the innovation. Additionally, a one-sample t-test was employed to assess satisfaction with the innovation against predetermined criteria. Qualitative data was analyzed using content analysis to identify key themes for further refinement of the urinal, with the goal of promoting hygiene in isolation rooms for male psychiatric patients with behavioral restrictions. Results: The study results demonstrated the effectiveness of the innovative odor-limiting mobile urinal in isolation rooms for male psychiatric patients. A comparison of hygiene between the control group, using the traditional urinal, and the experimental group, using the innovative mobile urinal, revealed significant differences. The independent t-test showed that the highest daily ammonia levels before cleaning were significantly higher in the control group than in the experimental group at the .05 level, t(df) = 21.75 (76.45), p < .001. The control group also required significantly more time for cleaning compared to the experimental group, with t(df) = 3.32 (113.95), p = .001. The Independent-Samples Mann-Whitney U Test, used to compare total scores from expert evaluations, indicated a statistically significant difference between the groups at the .05 level, Mann-Whitney U(SE) = 81.00 (10.468), p < .001. Additionally, an assessment of risks from observations over three months identified key issues in the control group, including unhygienic urination behavior and odor and stains in the surrounding area, while the experimental group faced challenges with equipment unavailability and misuse of the urinals. Conclusion: The findings of this study indicate that the odor-limiting mobile urinal effectively reduces the workload associated with managing psychiatric patients in isolation rooms, notably decreasing both cleaning time and the incidence of accidents. Furthermore, the use of this innovation significantly promotes hygiene within the isolation rooms, contributing to a cleaner and safer environment for patients. | th_TH |
dc.identifier.callno | WM20 พ778ป 2567 | |
dc.identifier.contactno | 64-118 | |
dc.subject.keyword | โถปัสสาวะชายเคลื่อนที่แบบจำกัดกลิ่น | th_TH |
.custom.citation | พิสิฐ รุ่งโรจน์วัฒนศิริ, Pisit Rungrojwatanasiri, กาญจณี พันธุ์ไพโรจน์, Kanjanee Phanphairoj, ทิพย์สุดา สำเนียงเสนาะ, Tipsuda Sumneangsanor, บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ, Bunyong Rungroungdouyboon, วีระ เนริกูล and Weera Nerikool. "ประสิทธิผลการใช้นวัตกรรมส่งเสริมสุขอนามัยและการดูแลผู้ป่วยจิตเวชชาย : การพัฒนาต่อยอดของโถปัสสาวะชายเคลื่อนที่แบบจำกัดกลิ่น (ระยะที่ 2)." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6146">http://hdl.handle.net/11228/6146</a>. | |
.custom.total_download | 10 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 10 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 3 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
Research Reports [2419]
งานวิจัย