Show simple item record

Developing a Policy Recommendations for the Efficiency of the Local Health Insurance Fund after Transferring the Mission of the Sub-District Health Promotion Hospital to the Provincial Administrative Organization

dc.contributor.authorศิราณี ศรีหาภาคth_TH
dc.contributor.authorSiranee Sihaparkth_TH
dc.contributor.authorศรีสุดา ลุนพุฒิth_TH
dc.contributor.authorSrisuda Lundputhth_TH
dc.contributor.authorชลการ ทรงศรีth_TH
dc.contributor.authorChonlakarn Songsrith_TH
dc.contributor.authorสถาพร แถวจันทึกth_TH
dc.contributor.authorStarporn Thaeochanthuekth_TH
dc.contributor.authorวิสุทธิ์ โนจิตต์th_TH
dc.contributor.authorWisut Nochitth_TH
dc.contributor.authorกำทร ดานาth_TH
dc.contributor.authorKamthorn Danath_TH
dc.contributor.authorอดิเรก เร่งมานะวงษ์th_TH
dc.contributor.authorAdirek Rengmanawongth_TH
dc.contributor.authorแสงดาว จันทร์ดาth_TH
dc.contributor.authorSaengdao Jandath_TH
dc.date.accessioned2024-09-18T07:22:53Z
dc.date.available2024-09-18T07:22:53Z
dc.date.issued2567-07
dc.identifier.otherhs3167
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6150
dc.description.abstractการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่หลังการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารจัดการกองทุน ผู้จัดบริการกองทุน และผู้รับบริการของกองทุน เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ในช่วงระยะเวลาระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 – พฤษภาคม พ.ศ. 2567 สรุปผลการศึกษาดังต่อไปนี้ 1) ความพร้อมของกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นก่อนและหลังการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง 4.95 (คะแนนเต็ม 7 คะแนน) และพบว่าระบบการกำกับติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนในระดับอำเภอและระดับจังหวัดหายไปจากโครงสร้างของกองทุน 2) สถานการณ์และผลกระทบกองทุนสุขภาพตำบล พบว่าหลังการถ่ายโอนภารกิจงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value <.001) และสัดส่วนการจัดสรรงบประมาณ รพ.สต. มีจำนวนเฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value <.001) อย่างไรก็ตามพบว่าประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณของกองทุนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value <.001) โดยมีสัดส่วนงบประมาณคงเหลือลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value <.001) อย่างไรก็ตามพบว่าผลลัพธ์ทางด้านคลินิกของการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของกองทุนยังไม่ชัดเจน 3) สถานการณ์และผลกระทบกองทุนระบบการดูแลระยะยาวพบว่า งบประมาณของกองทุนหลังการถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต. ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value<.001) และแผนการดูแลผู้ป่วยที่แล้วเสร็จหลังการถ่ายโอนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value<.001) ในขณะที่ประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณของกองทุนมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value <.001) โดยมีสัดส่วนการคงเหลืองบประมาณลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value<.001) อย่างไรก็ตามพบว่าจำนวนผู้จัดการดูแล และผู้ดูแลเป็นปัญหาหลักของกองทุนระบบการดูแลระยะยาวหลังการถ่ายโอน รพ.สต. รวมทั้งระเบียบการเบิกจ่ายงบประมาณที่มีความลักลั่น และขาดการติดตามเยี่ยมโดยทีมสหสาขาวิชาชีพจากโรงพยาบาล 4) สถานการณ์และผลกระทบกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ พบว่า ความครอบคลุมและการเข้าไม่ถึงกองทุนเป็นปัญหาหลักในการบริหารจัดการของกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งพบว่า 2 ใน 5 แห่ง สมัครเข้าร่วมกองทุนแต่ไม่สามารถจัดบริการ ในขณะที่การถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต. เป็นโอกาสให้กองทุนสามารถขยายเครือข่ายในการทำงานกองทุนได้มากขึ้น ผลจากการศึกษาครั้งนี้ทำให้ออกแบบจำลองพัฒนาประสิทธิภาพกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น 2 รูปแบบ คือ แบบจำลองการบูรณาการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น และแบบจำลองสุขภาพจังหวัด และนำไปสู่การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหลังการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ได้แก่ การปรับโครงสร้างคณะกรรมการกองทุนและระเบียบปฏิบัติ พัฒนาระบบการกำกับติดตามและประเมินผล พัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศของกองทุน พัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบกองทุนและผู้จัดการดูแล เป็นต้นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectPublic Health Administrationth_TH
dc.subjectหลักประกันสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Insuranceth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectองค์การบริหารส่วนจังหวัดth_TH
dc.subjectโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลth_TH
dc.subjectการกระจายอำนาจด้านสุขภาพth_TH
dc.titleการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อประสิทธิภาพกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหลังการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัดth_TH
dc.title.alternativeDeveloping a Policy Recommendations for the Efficiency of the Local Health Insurance Fund after Transferring the Mission of the Sub-District Health Promotion Hospital to the Provincial Administrative Organizationth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis was the developing policy proposals to improve the efficiency of the Local Health Insurance Funds after transferring the mission of the sub-district health promoting hospital to the Provincial Administrative Organization that was research and development. The target group included those involved in fund management, fund service providers, and fund recipients. Between May of 2023 to May of 2024, both quantitative and qualitative data were gathered. The results were summarized as follows. Firstly, it was discovered that the local health insurance fund's readiness was at a moderate level of 4.95 (full score of 7 points), both before and after the sub-district health promotion hospital's mission was transferred. Additionally, the structure of the fund was determined to be devoid of the district and province level monitoring and evaluation systems. Secondly, the situation and effects of the Sub-district Health Fund following the task transfer revealed a significant decline in the budgetary allotment (p value <.001). Also, the sub-district health promotion hospital's budget allocation percentage showed a statistically significant decreased from the average amount (p value <.001). However, it was found that the efficiency of the fund's budget expenditure increased with significance (p value <.001), with the proportion of the remaining budget decreasing statistically significant (p value <.001). Nevertheless, it was unclear how the fund's efforts to prevent diseases and promote health had effectively performed in practice. Thirdly, following the transfer of the sub-district health promotion hospital mission, the situation and impact of the Long-Term Care System Fund found that the budget of the fund declined statistically (p value <.001), and the care plan produced after the transfer also showed a statistically significant decrease (p value <.001). While the efficiency of the budget expenditure had increased statistically significant (p value <.001), with a statistically significant decrease in the proportion of the budget (p value <.001). Furthermore, it was showed that the primary problems with the long-term care system fund were the quantity of care managers and caregivers, along with fictitious budget disbursement limitations and the absence of multidisciplinary team visits. Lastly, the main problems with the Rehabilitation Fund's coverage and accessibility were investigated, revealing that two out of five provinces were unable to offer services. However, the sub-district health promotion hospital's mission transfer presented an opportunity to further expand the network of the fund. As a results, the integrated model of the local health insurance fund and the provincial health model were the two models created of this study. These models led to the formulation of policy recommendations to enhance the effectiveness of the health insurance fund locally following the transfer of the sub-district health promoting hospital's mission. These recommendations included reorganizing the fund committee and regulations, creating a system for monitoring and evaluation, developing an information database system for the fund, and building the potential of those in charge of funds and care managers.th_TH
dc.identifier.callnoWA540.JT3 ศ444ก 2567
dc.identifier.contactno66-108
dc.subject.keywordHealth Decentralizeen_EN
dc.subject.keywordHealth Decentralizationen_EN
dc.subject.keywordการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขth_TH
.custom.citationศิราณี ศรีหาภาค, Siranee Sihapark, ศรีสุดา ลุนพุฒิ, Srisuda Lundputh, ชลการ ทรงศรี, Chonlakarn Songsri, สถาพร แถวจันทึก, Starporn Thaeochanthuek, วิสุทธิ์ โนจิตต์, Wisut Nochit, กำทร ดานา, Kamthorn Dana, อดิเรก เร่งมานะวงษ์, Adirek Rengmanawong, แสงดาว จันทร์ดา and Saengdao Janda. "การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อประสิทธิภาพกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหลังการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6150">http://hdl.handle.net/11228/6150</a>.
.custom.total_download25
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month6
.custom.downloaded_this_year25
.custom.downloaded_fiscal_year15

Fulltext
Icon
Name: hs3167.pdf
Size: 3.798Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record