แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การศึกษาสถานการณ์ของการเตรียมยาฉีดผสมให้ทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาลและความพร้อมของระบบในการนำระบบอัตโนมัติครบวงจรมาใช้ในทางปฏิบัติ

dc.contributor.authorศิตาพร ยังคงth_TH
dc.contributor.authorSitaporn Youngkongth_TH
dc.contributor.authorสมหญิง พุ่มทองth_TH
dc.contributor.authorSomying Pumtongth_TH
dc.contributor.authorจิรพงศ์ สุขสิริวรพงศ์th_TH
dc.contributor.authorJiraphong Suksiriworapongth_TH
dc.contributor.authorอุกฤษฏ์ สิทธิบุศย์th_TH
dc.contributor.authorUkrit Sitthibootth_TH
dc.contributor.authorปราการเกียรติ ยังคงth_TH
dc.contributor.authorPrakrankiat Youngkongth_TH
dc.date.accessioned2024-09-19T02:55:29Z
dc.date.available2024-09-19T02:55:29Z
dc.date.issued2567-06
dc.identifier.otherhs3175
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6151
dc.description.abstractการเตรียมยาฉีดผสมให้ทางหลอดเลือดดำ (intravenous admixture หรือ IV admixture) เป็นหนึ่งในงานบริการทางเภสัชกรรมที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาล ปัจจุบันมีการเตรียม IV admixture ในโรงพยาบาลเป็นจำนวนมากตามคำสั่งใช้ยาจากแพทย์ในแต่ละวัน และมีความหลากหลายในการเตรียม ที่ผ่านมา มีข้อแนะนำสำหรับการเตรียม IV admixture ในโรงพยาบาลในการนำระบบอัตโนมัติมาช่วยลดภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ (โดยเฉพาะในฝ่ายเภสัชกรรม) จากการเตรียมยาต่อวัน ลดความเสี่ยงในการสัมผัสสารเคมีของผู้เตรียมยา และช่วยลดความคลาดเคลื่อนในการเตรียมที่อาจจะส่งผลต่อผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังไม่เคยมีการศึกษาสถานการณ์ของการเตรียม IV admixture ในโรงพยาบาลอย่างเป็นระบบ ทำให้ไม่ทราบภาระงานและปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงไม่สามารถระบุความพร้อมในการใช้งานระบบอัตโนมัติได้อย่างชัดเจน ดังนั้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของการเตรียม IV admixture ในโรงพยาบาลในประเทศไทย และนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ความเป็นไปได้เบื้องต้นในการนำระบบอัตโนมัติสำหรับการเตรียม IV admixture มาใช้ในทางปฏิบัติ การสำรวจภาคตัดขวาง (cross-sectional survey) ด้วยแบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง (self administered questionnaire) ส่งแบบสอบถามไปยังโรงพยาบาลภาครัฐ 210 แห่ง ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 มีอัตราตอบกลับแบบสอบถาม ร้อยละ 53.3 โดยโรงพยาบาลจำนวน 13 แห่ง (ร้อยละ 6.2) ตอบกลับมาและแจ้งว่าไม่สามารถให้ข้อมูลได้เนื่องจากต้องขออนุมัติคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยของโรงพยาบาลก่อน ส่วนโรงพยาบาล อีก 96 แห่งที่ให้ข้อมูล (อัตราการตอบกลับเมื่อพิจารณาเฉพาะกลุ่มนี้ ร้อยละ 45.7) มีการเตรียม IV admixture 66 แห่ง (ร้อยละ 68.8) ในขณะที่อีก 30 แห่ง (ร้อยละ 31.2) ไม่มีการเตรียม IV admixture สถานการณ์การเตรียม IV admixture ในโรงพยาบาลภาครัฐ 66 แห่ง ที่มีการเตรียม IV admixture พบว่า ประเภทของ IV admixture ที่มีการเตรียมในโรงพยาบาลมากที่สุด ได้แก่ Cytotoxic preparations (ร้อยละ 90.9) รองลงมา คือ TPN (ร้อยละ 72.7), การเตรียม IV admixture สำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย (extemporaneous preparations) (ร้อยละ 40) และการผลิตยาปราศจากเชื้อในปริมาณมาก (ร้อยละ 14) โดยกลุ่ม Cytotoxic preparations มีการผลิตมากที่สุด ประมาณ 30±32 รายการต่อวัน รองลงมา คือ กลุ่ม Extemporaneous ประมาณ 17±23 รายการต่อวัน โดยจำนวนรายการที่เตรียมขึ้นกับระดับของโรงพยาบาล หากโรงพยาบาลมีจำนวนเตียงเพิ่มขึ้น จำนวนรายการที่เตรียมจะสูงตามไปด้วย โรงพยาบาลส่วนใหญ่ (มากกว่าครึ่งนึง) รายงานว่ามีการเตรียม Cytotoxic preparations มากกว่า 1 รอบต่อวัน จำนวนบุคลากรที่ทำหน้าที่เตรียม IV admixtures เต็มเวลาที่ทำงานในฝ่ายผลิตยาปราศจากเชื้อ มีเภสัชกรเต็มเวลาที่รับผิดชอบงานนี้ โดยเฉลี่ยโรงพยาบาลละประมาณ 2-3 คน บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่เตรียม IV admixtures ในโรงพยาบาลผ่านการฝึกอบรมมาก่อน เมื่อพิจารณาพื้นที่ที่ใช้สำหรับเตรียม Cytotoxic preparations เฉลี่ย (27.9±23.7 ตารางเมตร) ใหญ่กว่าพื้นที่ที่ใช้สำหรับการเตรียม IV admixtures ประเภทอื่น และคิดเป็นร้อยละ 29±28.4 ของพื้นที่ฝ่ายผลิตทั้งหมด สำหรับการเตรียม Cytotoxic preparations พบว่า 5-Fluorouracil, Cyclophosphamide, Doxorubicin, Oxaliplatin และ Paclitaxel เป็นยามะเร็ง 5 อันดับแรกที่มีการเตรียมในโรงพยาบาล สำหรับการเตรียมให้กับผู้ป่วยเฉพาะราย (extemporaneous preparations) พบว่ายาปฏิชีวนะ เช่น Cefotaxime, Ceftazidime และ Gentamicin เป็นต้น และยา High Alert Drugs เช่น Heparin และ Morphine เป็นต้น เป็นกลุ่มยาที่มีการเตรียมให้กับผู้ป่วยเฉพาะรายมากที่สุด และกลุ่มยา High Alert Drugs เป็นกลุ่มยาที่มีการเตรียมในปริมาณมากสูงสุด ความคลาดเคลื่อนในการเตรียมยา IV admixtures ส่วนใหญ่เป็นการเตรียมไม่ถูกต้องตามคำสั่งใช้ยา เช่น ผิดความแรง ผิดขนาดยา เป็นต้น โดยเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการเตรียมทั้งหมดในรอบปี เฉลี่ยแล้วพบน้อยกว่าร้อยละ 1 ทั้งนี้ โรงพยาบาลส่วนใหญ่มีข้อกำหนดในการทำลาย IV admixtures ที่เตรียมขึ้นในโรงพยาบาล ขณะทำการสำรวจ มีโรงพยาบาล 1 แห่งใช้หุ่นยนต์ผสมยาเคมีบำบัด และโรงพยาบาลอีก 1 แห่ง อยู่ระหว่างการทดลองใช้หุ่นยนต์ผสมยาเคมีบำบัดแบบระบบปิด อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้มีข้อจำกัดที่ส่งผลต่อการนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ การสำรวจนี้ไม่ได้เก็บข้อมูลในโรงพยาบาลระดับ M2 (โรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่) ซึ่งอาจจะมีการเตรียม cytotoxic preparations การตอบแบบสอบถามด้วยตัวเองอาจจะทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนได้ ความแตกต่างของระบบการบันทึกและติดตามข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียม IV admixture และความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการเตรียม รวมถึงรูปแบบการรายงานข้อมูลการเตรียม IV admixture ของแต่ละโรงพยาบาล อีกทั้ง การสำรวจนี้ดำเนินการในฝ่ายเภสัชกรรมเท่านั้น ไม่ได้รวมการเตรียม IV admixture บนหอผู้ป่วยโดยพยาบาลth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการฉีดเข้าหลอดเลือดดำth_TH
dc.subjectยาฉีดth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการศึกษาสถานการณ์ของการเตรียมยาฉีดผสมให้ทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาลและความพร้อมของระบบในการนำระบบอัตโนมัติครบวงจรมาใช้ในทางปฏิบัติth_TH
dc.title.alternativeSituation Analysis of Intravenous Admixture in Thai Hospitals and Their Readiness for Introducing Automated Intravenous Admixture Solutionsth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeIntravenous admixture (IV admixture) preparation is one of the most important pharmaceutical services provided for patients in hospitals. Currently, the increasing and varying demand for IV admixture items according to the medical prescriptions are observed. Automated solutions for IV admixture preparations in hospitals have been introduced to improve medication safety and workflow efficiency. However, there has been no study on situation of IV admixture in Thai hospitals. This resulted in the difficulties in determining the workflow problems and identifying the readiness for hospitals in introducing the automated solutions. Thus, this study aims to study the most recent situation of IV admixture preparations in the Thai hospitals and to preliminarily consider their readiness for introducing automated intravenous admixture solutions. The cross-sectional survey with self-administered questionnaire developed by the research team (COA.No.MU-DT/PY-IRB 2022/031.3006 approved on 30 June 2022) was conducted during August-December 2022. The questionnaires were distributed to 210 government hospitals in Thailand via post-mails. One hundred and twelve forms were returned (53.3% response rate). However, 13 hospitals (6.2%) could not fill the form due to the requirement of the hospital ethical committee approval, so this group was omitted from the survey. The other 96 hospitals completed the forms (response rate was 45.7% when considered the response from this group). Of these, 66 hospitals (68.8%) had IV admixture preparations in their hospitals and completed the forms, while the remaining 30 hospitals (31.2%) stated that they did not prepare IV admixture in their hospitals. From the total 66 hospitals with IV admixture preparations, cytotoxic drugs were the most common IV admixture items prepared in the hospitals (90.9%), followed by Total Parenteral Nutrition (TPN) (72.7%), extemporaneous IV admixture preparations (40%), and IV admixture prepared in large scale (14%), respectively. Average number of items prepared in the hospitals was 30 items per day for cytotoxic drugs, and 17 items per day for TPN. These number depends on the size of the hospitals (the more hospital-beds, the greater number of items prepared). More than half of the 66 hospitals reported that they prepared cytotoxic drugs more than a round per day. The workforce in the sterile production department (including the 4 categories of IV admixture preparations) of each hospital was around 2-3 full-time equivalent. All of them were trained prior to work in this department. For the IV admixture preparation working space, the largest area was for preparing cytotoxic drugs (27.9±23.7 m2), and this was around 29±28.4% of the total production area. From their reported IV admixture preparations, the top 5 cytotoxic preparations in hospital were 5-Fluorouracil, Cyclophosphamide, Doxorubicin, Oxaliplatin and Paclitaxel. The top extemporaneous IV admixture preparations were antibiotic group (e.g., Cefotaxime, Ceftazidime and Gentamicin) and high alert drugs (e.g., Heparin and Morphine). In addition, high alert drug group was reported as the top IV admixture prepared in large scale. According to the medication errors, inappropriate preparation, including wrong concentration and wrong dose, was the most commonly reported errors. However, the error incidents were reported less than 1% of the total IV admixture preparations. Almost all hospitals indicated their destruction protocols for the IV admixture prepared by their hospitals. During the survey, there has been one hospital using a robot for cytotoxic preparation and the other hospital was during the trial of using a robot for cytotoxic preparation in a closed system. There were a number of limitations of this study’s findings due to the scope of this study (the survey did not include the large community hospitals or M2-leveled hospitals, and did not include IV admixture preparation in the hospital in-patient wards), the misunderstanding nature of self-administered questionnaire used in this study, and the differences in the record, monitoring, and reporting systems of those hospitals.th_TH
dc.identifier.callnoQV786 ศ431ก 2567
dc.identifier.contactno64-190
dc.subject.keywordIntravenous Admixtureth_TH
dc.subject.keywordIV Admixtureth_TH
.custom.citationศิตาพร ยังคง, Sitaporn Youngkong, สมหญิง พุ่มทอง, Somying Pumtong, จิรพงศ์ สุขสิริวรพงศ์, Jiraphong Suksiriworapong, อุกฤษฏ์ สิทธิบุศย์, Ukrit Sitthiboot, ปราการเกียรติ ยังคง and Prakrankiat Youngkong. "การศึกษาสถานการณ์ของการเตรียมยาฉีดผสมให้ทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาลและความพร้อมของระบบในการนำระบบอัตโนมัติครบวงจรมาใช้ในทางปฏิบัติ." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6151">http://hdl.handle.net/11228/6151</a>.
.custom.total_download6
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year6
.custom.downloaded_fiscal_year2

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs3175.pdf
ขนาด: 1.316Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย