การสำรวจพฤติกรรมการใช้กัญชาและสารเสพติดชนิดอื่น การเข้าถึงความรู้ และทัศนคติต่อกัญชาในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาและเยาวชนนอกสถานศึกษา
dc.contributor.author | วิไลลักษณ์ ลังกา | th_TH |
dc.contributor.author | Wilailak Langka | th_TH |
dc.contributor.author | ศุภวรรณ สัจจพิบูล | th_TH |
dc.contributor.author | Suppawan Satjapiboon | th_TH |
dc.date.accessioned | 2024-09-20T04:26:37Z | |
dc.date.available | 2024-09-20T04:26:37Z | |
dc.date.issued | 2567-08 | |
dc.identifier.other | hs3178 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/6152 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ย่อย 4 ข้อ ได้แก่ 1. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้กัญชาและสารเสพติด การเข้าถึง แบบอย่างการใช้ฯ การรับรู้ประโยชน์/โทษ ผลกระทบของการใช้กัญชาต่อตนเองและผู้อื่น และทัศนคติต่อกัญชาในนักเรียนระดับมัธยมศึกษา และเยาวชนนอกสถานศึกษา 2. เพื่อวิเคราะห์โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการใช้กัญชาและสารเสพติดชนิดอื่นของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาและเยาวชนนอกสถานศึกษา 3. เพื่อค้นหาคำอธิบายเชิงลึกเกี่ยวกับสาเหตุของพฤติกรรมการใช้กัญชาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาและเยาวชนนอกสถานศึกษา ทั้งในมิติภูมิหลัง สาเหตุ กระบวนการ และผลกระทบทางพฤติกรรมศาสตร์ 4. เพื่อสร้างข้อเสนอ แนวทางการป้องกันการเกิดพฤติกรรมการใช้กัญชาในกลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษาและเยาวชนนอกสถานศึกษา โดยใช้การออกแบบการวิจัยผสมวิธี (Mixed Methods Research) แบบลำดับขั้นเชิงอธิบาย (Explanatory Sequential Design) งานวิจัยระยะที่ 1 เป็นการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 10,583 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) จาก 5 ภูมิภาค โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน 5 กลุ่ม ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระดับอาชีวศึกษา และเยาวชนนอกสถานศึกษา เพื่อสำรวจสถานการณ์พฤติกรรมการใช้กัญชาและสารเสพติดฯ และวิเคราะห์โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการใช้กัญชาและสารเสพติดของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาและเยาวชนนอกสถานศึกษา ส่วนงานวิจัยระยะที่ 2 เป็นการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลซึ่งเป็นนักเรียน และเยาวชนนอกสถานศึกษา ในเขตกรุงเทพ นนทบุรี ปทุมธานี และจังหวัดอุทัยธานี รวมจำนวน 29 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการให้ข้อเสนอแนวทางการป้องกันการเกิดพฤติกรรมการใช้กัญชาในกลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษาและเยาวชนนอกสถานศึกษา จำนวน 11 คน ในระยะนี้เป็นการค้นหาคำอธิบายเชิงลึกเกี่ยวกับสาเหตุของพฤติกรรมการใช้กัญชา ทั้งในมิติภูมิหลัง สาเหตุ แบบแผนการใช้ และผลกระทบของการใช้กัญชาในกลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษา และเยาวชนนอกสถานศึกษา และสร้างข้อเสนอแนวทางการป้องกันการเกิดพฤติกรรมการใช้กัญชาในกลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษาและเยาวชนนอกสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ที่ผ่านการหาคุณภาพเครื่องมือทั้งในเรื่องของความเที่ยงตรง อำนาจจำแนกและความเชื่อมั่น ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติอ้างอิงใช้การวิเคราะห์เปรียบ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One-Way ANOVA และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้น (Structural Equation Modeling: SEM) ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย สรุปได้ ดังนี้ 1. ผลการศึกษาพฤติกรรมการใช้กัญชาและสารเสพติดชนิดอื่น ในนักเรียนระดับมัธยมศึกษา และเยาวชนนอกสถานศึกษา พบว่า นักเรียนระดับมัธยมศึกษาและเยาวชนนอกสถานศึกษา จำนวน 10,583 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ไม่เคยใช้กัญชา คิดเป็นร้อยละ 70.25 แต่มากกว่าครึ่งหนึ่งเคยใช้สารเสพติดอื่น คิดเป็นร้อยละ 56.77 และมีผู้ที่ไม่เคยใช้กัญชาและสารเสพติดอื่นใด น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง คิดเป็นร้อยละ 39.94 เมื่อพิจารณาการใช้กัญชาแต่ละลักษณะพบว่า “การรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของกัญชา” เป็นลักษณะที่พบมากกว่าลักษณะอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 19.32 สำหรับการใช้สารเสพติดอื่น พบว่าสารเสพติดที่ได้รับความนิยมมากกว่าประเภทอื่น ๆ คือ “เครื่องดื่มแอลกอฮอล์” ซึ่งมีผู้ใช้ประมาณครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 49.90) ขณะที่สารเสพติดประเภทอื่นที่ได้รับความนิยมรองลงมาคือ “ใบกระท่อม” “ผลิตภัณฑ์ยาสูบ” “สารผสมน้ำกระท่อม” และ “โคเคน” 2. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้กัญชาและสารเสพติดชนิดอื่น พบว่า เยาวชนที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้กัญชา การใช้สารเสพติดอื่น และภาพรวมพฤติกรรมการใช้กัญชาและสารเสพติดอื่น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการวิเคราะห์โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการใช้กัญชาและสารเสพติดชนิดอื่นของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาและเยาวชนนอกสถานศึกษา พบว่า ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการใช้กัญชาและสารเสพติดชนิดอื่นของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาและเยาวชนนอกสถานศึกษา มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2=32.29 df=14 p=.004 GFI=0.99 AGFI=0.99 CFI=0.99 RMSEA=0.01 SRMR=0.00) โดยพฤติกรรมการใช้กัญชา และสารเสพติด ได้รับอิทธิพลทางตรงจากกลุ่มตัวแปรปัจจัยเสี่ยง (การเข้าถึงกัญชาฯ, ทัศนคติที่ดีต่อกัญชาฯ และการคล้อยตามกลุ่มคนใช้กัญชาฯ) สูงสุด มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเป็นบวกเท่ากับ 0.67 4. ผลการค้นหาคำอธิบายเชิงลึกเกี่ยวกับสาเหตุของพฤติกรรมการใช้กัญชาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาและเยาวชนนอกสถานศึกษา พบว่า ในประเด็นอายุเริ่มต้นที่ใช้กัญชา เหตุผลของการใช้กัญชา สาเหตุของการใช้กัญชา และผลกระทบการใช้กัญชา มีลักษณะที่คล้ายกัน คือเริ่มจากการถูกชักชวนโดยกลุ่มเพื่อนหรือรุ่นพี่ โดยเริ่มจากการใช้บ้องไม้ไผ่ หรือขวดที่ดัดแปลงทำขึ้นเองแบบท่อ และมีวิธีการใช้การยำ และอัดแท่ง ด้วยเหตุผลของการลอง คือการอยากรู้อยากลอง ผลกระทบที่เกิดจากการใช้กัญชา จำแนกเป็นประเด็นผลกระทบต่อด้านการเรียน พบว่า เรียนไม่รู้เรื่อง คิดอะไรไม่ออก สมองคิดช้า ง่วงนอน มาสายหรือขาดเรียนบ่อย ส่งผลให้ผลการเรียนแย่ลง ผลกระทบด้านสุขภาพ ร่ายกายเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย คอแห้ง และปวดเมื่อยตัว ผลกระทบด้านอารมณ์ความรู้สึก อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด ไม่กล้าแสดงออก แต่ถ้าหากได้สูบกัญชา จะอารมณ์ดี สนุกสนาน กล้าแสดงออก ในส่วนของกลุ่มวัยรุ่นที่ไม่ใช้กัญชา ให้เหตุผลถึงการไม่ลองใช้ เป็นเพราะกลัวผลข้างเคียง กลัวปัญหาสุขภาพกายและใจ รู้ว่าผลกระทบจากการใช้กัญชาเป็นสิ่งที่น่ากลัว และยังกระทบต่อความรู้สึกของคนในครอบครัว ตระหนักรู้ว่ากัญชาเป็นสิ่งไม่ดี มีวิธีการปฏิเสธการใช้กัญชา คือใช้การปฏิเสธโดยตรงโดยให้เหตุผลถึงเรื่องสุขภาพ ครอบครัว กฎหมาย และจะพยายามหลีกเลี่ยงไม่เข้าไปข้องเกี่ยวกับผู้ชักชวน เมื่อปฏิเสธได้จะรู้สึกดีกับตนเอง เห็นคุณค่าในตนเองที่ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งไม่ดี ที่มีผลกระทบทั้งต่อสุขภาพกาย ใจ และผลการเรียน 5. ข้อเสนอแนวทางการป้องกันการเกิดพฤติกรรมการใช้กัญชาในกลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษา และเยาวชนนอกสถานศึกษา คณะผู้วิจัยได้เสนอแนวทางการป้องกันการเกิดพฤติกรรมการใช้กัญชาในกลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษาและเยาวชนนอกสถานศึกษา ที่แบ่งตามระดับระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาดูแลและช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่ระดับนโยบาย/กระทรวง ศูนย์กลางพื้นที่ภูมิภาค/จังหวัด องค์กรหน่วยงาน/สถานศึกษา ชุมชน และครอบครัว และจากข้อเสนอแนวทางการป้องกันการเกิดพฤติกรรมการใช้กัญชาในกลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษา และเยาวชนนอกสถานศึกษา ที่แบ่งตามระดับระบบนิเวศ ผู้วิจัยขอยกตัวอย่างการนำข้อเสนอแนวทางฯ มาบูรณาการในการสร้าง “พื้นที่ปล่อยพลังสร้างสรรค์นวัตกรรม ลดความเสี่ยงต่อการใช้กัญชาและสารเสพติด โดยการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน” โดยเป็นโมเดลพื้นที่เป็นฐานการสร้างนวัตกรรมการป้องกันการใช้กัญชาและสารเสพติด โดยการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในพื้นที่ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | กัญชา | th_TH |
dc.subject | การใช้สารเสพติด | th_TH |
dc.subject | ยาเสพติดกับเยาวชน | th_TH |
dc.subject | Cannabis | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.subject | นโยบายสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Policy | en_EN |
dc.title | การสำรวจพฤติกรรมการใช้กัญชาและสารเสพติดชนิดอื่น การเข้าถึงความรู้ และทัศนคติต่อกัญชาในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาและเยาวชนนอกสถานศึกษา | th_TH |
dc.title.alternative | A Survey of Cannabis and Other Substance Use Behaviors, Access, Knowledge and Attitudes Towards Cannabis Among Students in the Secondary School and Out-of-school Youth | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This study aims to achieve four main objectives: first, to compare the behaviors of drug and cannabis users, acquisition channel, use patterns, awareness of drawbacks and benefits associated with cannabis use, and the attitudes of secondary school students and out-of-school adolescents towards cannabis consumption; second, to analyze the Casual Factor Model influencing drug and cannabis use behavior among secondary school students and out-of-school adolescents; third, to investigate and obtain a comprehensive understanding of causes and behaviors of adolescent cannabis users both secondary school students and out-of-school adolescents in several perspectives: background, causes, processes and effects regarding behavioral sciences; and fourth, to propose preventive guidelines for cannabis consumption behavior for secondary school and out-of-school adolescents. This study was undertaken by using Mixed Method Research with Explanatory Sequential Design for research methodologies. The operation time frame of this study can be divided into two phases: quantitative and qualitative data collection. The first phase was operated by using 10,583 samples of students from five groups: grade 7th, grade 9th, grade 11th, vocational college level, and out-of-school adolescents. The collected samples were used to survey the situation of adolescent behavior regarding cannabis and drug use. The second phase was undertaken by qualitative data collection obtained from 29 adolescents in Bangkok, Nonthaburi, Pathumthani, and Uthaithanee provinces. Another qualitative data was obtained from 11 people who proposed preventive measures and guidelines for cannabis consumption behavior for secondary school and out-of-school adolescents. This study stage also undertook a comprehensive investigation into the cannabis consumption behaviors of adolescents from various perspectives: backgrounds, causes, consumption patterns, and the effects of cannabis consumption in secondary school and out-of-school adolescents. Regarding the research instruments, questionnaires and interview forms were used for qualitative data collection. Meanwhile, fundamental statistical analysis: Frequency, Percentage, Mean, and Standard Deviation, including t-test, One-Way ANOVA, and Structural Equation Modeling (SEM) were used for quantitative data analysis. Content Analysis was used to analyze qualitative data. The research findings can be into five main points: 1) The results of cannabis and drug use behaviors in secondary school students and out-of-school adolescents, 10,583 samples, showed that most adolescents have never used cannabis (70.25%). However, more than half of them used to try other kinds of drugs (56.77%), and 39.94 percent of adolescents have never tried any kind of drug. In terms of cannabis consumption patterns, eating food containing cannabis is a more frequently founded pattern than other kinds of consumption (19.32%). For drug consumption patterns, drinking alcohol is the most discovered pattern of drug use (49.90%), followed by Kratom, tobacco products, Kratom juice, and Cocaine. 2) The comparison results between cannabis and other drug uses It revealed that adolescents who have various education levels expressed different behaviors in cannabis and drug use. These behaviors indicated a statistical significant association at 0.05. 3) The analytical results of the Causal Factors Model of cannabis and drug use behaviors among secondary school students and out-of-school adolescents The causal factors of cannabis and drug use behaviors of secondary school students and outof-school adolescents showed correspondence with the empirical data (χ2=32.29 df=14 p=.004 GFI=0.99 AGFI=0.99 CFI=0.99 RMSEA=0.01 SRMR=0.00). The cannabis and drug use behaviors were influenced by several risk factor variables (cannabis acquisition method, positive attitude toward cannabis use, and invitations from existing cannabis users), showing positive influence coefficient of 0.67. 4) The comprehensive study results regarding the causes of cannabis and drug use behaviors of secondary school students and out-of-school adolescents The results revealed that reasons for Initial cannabis use were mainly from peer or senior influences. The initial cannabis use was performed with an improvised device like bamboo pipe or self-modified bottle. The cannabis consumption methods include chopped or ground cannabis into prepared cannabis. The reason for cannabis use trial was motivated by experimentation driven by desire and curiosity. Cannabis use negatively affects educational outcomes, such as poor academic performance, impaired cognitive function, drowsiness, dry throat, and muscle pain in terms of health and emotional issues, such as emotional instability, irritability, and lack of assertiveness. When adolescents consume cannabis by any method, it can increase feelings of joyfulness, amusement and assertiveness. Meanwhile, the group of cannabis-abstinent adolescents provided the reasons that they were concerned about adverse health effects and the method to refuse cannabis use is rationalization of health, legal, and family relation concerns, including self-worth recognition, practicing non-association with individuals who invite them to try cannabis. 5) The recommendations for preventing cannabis use behavior among secondary school students and out-of-school adolescents The investigators proposed solutional guidelines, categorized by the ecology of development and target group assistance for preventing cannabis use behavior among secondary school students and out-of-school adolescents. The presented solutions consist of frameworks involving policy, ministerial, regional, provincial, organizational, school, community, and family levels. These proposed guidelines, categorized by various ecology levels, lead to the exemplification of investigators to integrate in forming “Creative Space to Empower Innovative Solutions for Reducing Cannabis and Drug Use with Child and Adolescent Participation.” This model will be innovation base in preventing cannabis and drug use by the participation of local children and adolescents. | th_TH |
dc.identifier.callno | QV77.7 ว734ก 2567 | |
dc.identifier.contactno | 66-019 | |
.custom.citation | วิไลลักษณ์ ลังกา, Wilailak Langka, ศุภวรรณ สัจจพิบูล and Suppawan Satjapiboon. "การสำรวจพฤติกรรมการใช้กัญชาและสารเสพติดชนิดอื่น การเข้าถึงความรู้ และทัศนคติต่อกัญชาในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาและเยาวชนนอกสถานศึกษา." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6152">http://hdl.handle.net/11228/6152</a>. | |
.custom.total_download | 12 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 12 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 6 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Research Reports [2419]
งานวิจัย