บทคัดย่อ
การเข้าถึงบริการเวชศาสตร์จีโนม สามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิตสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชนและครอบครัว อย่างไรก็ตามการให้บริการเวชศาสตร์จีโนมต้องการบุคลากรที่มีความรู้และทักษะที่เฉพาะที่สามารถให้การปรึกษาและสื่อสารให้ผู้ใช้บริการมีความเข้าใจและปรับตัวกับปัญหาสุขภาพได้ เนื่องจากความรู้และเทคโนโลยีทางเวชศาสตร์จีโนมมีความซับซ้อน เข้าใจยาก และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการอาจส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ อารมณ์ สังคม เศรษฐกิจ และการทำหน้าที่การงานของผู้ป่วยและครอบครัวได้ จึงจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรผู้ให้คำปรึกษาแนะนำทางพันธุศาสตร์ เพื่อให้สามารถประสานงานระหว่างแพทย์เวชพันธุศาสตร์และบุคลากรสุขภาพด้วยกัน และเชื่อมต่อข้อมูลการบริการ การส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพให้กับผู้ใช้บริการและครอบครัว เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง เกิดความรู้ความเข้าใจในปัญหาสุขภาพของตนเองและนำไปสู่การตัดสินใจเพื่อการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัวต่อไป คณะพยาบาลศาสตร์ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโปรแกรมการฝึกอบรมการให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาสหวิชาชีพทางสุขภาพ ที่ปฏิบัติงานโรงพยาบาลทุกระดับ ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลและเทคนิคการแพทย์ ให้มีความรู้และทักษะ ในการเป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำทางพันธุศาสตร์ (Genetic Counselor) และนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนและให้คำปรึกษาแนะนำทางพันธุศาสตร์ (Genetic Counseling) ให้กับกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้หลักสูตรที่พัฒนาโดยสมาคมเวชพันธุศาสตร์และสภาวิชาชีพทางสุขภาพ และได้รับอนุมัติให้ใช้หลักสูตรในการจัดฝึกอบรมได้ในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2565 คณะพยาบาลศาสตร์ได้เปิดการฝึกอบรมในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2566 มีบุคลากรสุขภาพสมัครเข้ารับการอบรมจำนวน 96 คน ได้ผ่านการคัดเลือกรับทุนสนับสนุนจาก สวรส และผ่านการฝึกอบรมได้รับประกาศนียบัตรผู้ให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์ จำนวน 45 คน ประกอบด้วยวิชาชีพแพทย์ 5 คน เภสัชกร 4 คน พยาบาล 21 คน และเทคนิคการแพทย์ 15 คน โปรแกรมการฝึกอบรมการให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์ ใช้ระยะเวลา 16 สัปดาห์ ประกอบด้วย 2 ชุดการเรียนรู้ (Modules) ชุดการเรียนรู้ที่ 1 มี 8 รายวิชา ๆ ละ 1 หน่วยกิต ใช้เวลาหน่วยกิตละ 15 ชั่วโมง จัดการเรียนการสอนแบบ online ในวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 17.00-20.00 น ใช้เวลาเรียนเป็นเวลา 2 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 - วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2566 ชุดการเรียนรู้ที่ 2 วิชาทฤษฎีและปฏิบัติ ประกอบด้วย 4 รายวิชา จำนวน 8 หน่วยกิต จัดการเรียนการสอนแบบ on site เนื่องจากแหล่งฝึกมีจำนวนน้อย และสถานที่คับแคบ จึงจัดการฝึกปฏิบัติเป็น 3 รอบ ๆ ละ 15-20 คน ในวันจันทร์ ถึง วันศุกร์ เวลา 9.00-16.00 น เป็นเวลารอบละ 2 เดือน ในการฝึกปฏิบัติ ผู้เข้าฝึกอบรมได้สังเกตการณ์และ/หรือฝึกปฏิบัติกับผู้มารับบริการในคลินิก ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และห้องปฏิบัติการเภสัชพันธุศาสตร์ ชั้น 4 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ครบถ้วนตามเกณฑ์การประเมินผลของหลักสูตร ฯ จึงมีบุคลากรทางสุขภาพเข้ารับประกาศนียบัตรการให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์ ในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ที่จัดโดยสมาคมเวชพันธุศาสตร์ร่วมกับสภาวิชาชีพจำนวน 45 คน ผลการประเมินจากผู้เข้าอบรมมีระดับความพึงพอใจต่อภาพรวมของการจัดหลักสูตร ฯ ในระดับมากถึงมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 4.84 จากคะแนนเต็ม 5 ผลการประเมินรายด้าน ได้แก่ การจัดการเรียนการสอน สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ เนื้อหารายวิชา การสอนของอาจารย์ ความเหมาะสมของแหล่งฝึกปฏิบัติ อยู่ในระดับดีถึงดีมากในทุกด้าน ผลการประเมินด้วยการสะท้อนคิดและการให้ข้อมูลป้อนกลับ ผู้เข้าอบรมสะท้อนว่าเป็นการอบรมที่ดีมาก การฝึกอบรมในระยะเวลา 4 เดือนอาจจะไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับปริมาณและความซับซ้อนของเนื้อหา แต่สามารถทำให้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการให้คำปรึกษาเป็นอย่างดี อยากให้จัดหลักสูตรนี้ต่อเนื่องเพราะเป็นประโยชน์กับสหวิชาชีพเป็นอย่างมาก ผู้เข้าอบรมให้ความเห็นว่าการจัดอบรมหลักสูตรการให้คำปรึกษาแก่สหวิชาชีพทางสุขภาพร่วมกันมีประโยชน์มาก ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน มีความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจในบทบาทหน้าที่การทำงานของแต่ละวิชาชีพสุขภาพ และมีเครือข่ายในการทำงานด้านการบริการจีโนมในอนาคต ซึ่งสามารถแบ่งปันความรู้ ข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์ในอนาคต
บทคัดย่อ
Evidences support that accessing to genomic medicine services can improve survival
rates, health, and quality of life for people and their families. However, providing genomic
medicine services requires personnel with specific knowledge and skills to provide consultation
and communication to patients. Genetic counselors is considered as a bridge between geneticists
and health professionals. The genetic counselors would provide accurate information on genetic
services, health promotion, prevention, treatment, and rehabilitation to patients and their families.
Working with the counselors, the patients could receive correct information, gain knowledge and
understand their health problems,
In 2023, Faculty of Nursing, in collaboration with Faculty of Medicine Siriraj Hospital,
Mahidol University, has launched a genetic counseling training program. This program has
equipped allied health professionals with the genetics knowledge and counseling in both theory
and practice counseling to patients. Healthcare professionals include physicians, dentists,
pharmacists, registered nurses, and medical technicians and others. The curriculum, developed
by committees from Medical Genetics and Genomics Association and Health Professional
Councils, was approved on December 16, 2022. Faculty of Nursing has conducted the training
program starting from February 1, 2023, to October 12, 2023. There were 96 healthcare
professionals who applied for the training program. Of 96, 45 applicants were selected to study
with scholarship from Health System Research Institute (HSRI). These trainees were five
physicians, four pharmacists, 21 nurses, and 15 medical technicians. They successfully
completed the training program and received genetic counseling certificates.
The training program is a 16-week program with two learning modules. Module 1
involves eight subjects with eight credits. One credit equals to 15 hours of teaching online during
Monday - Friday at 5 - 8 am. The class began on February 1 and end on March 31, 2023. Module
2 consists of four theory and practice subjects with eight credits. Due to a few number of training
sites, the training was organized into 3 groups, Each group has 15-20 trainees and practice from
Monday to Friday during 9am. - 4pm., for two months. The trainees could observe and practice
with patient at Siriraj Hospital, and Pharmacogenetics Laboratory, and Ramathibodi Hospital.
All trainees have passed the evaluation criteria set by the training program. On November 7, 2023,
forty-five trainees have received a certificate of genetic counseling, organized by Medical
Genetics and Genomics Association and Health Professional Councils.
The results showed that the trainees had high satisfaction with overall courses with an
average score of 4.84 out of a total score of 5. The evaluation included teaching and learning
organization, learning support, content, and teacher capacity. The suitability of the training venue
was at good to excellent level in all evaluation aspects. The trainees gave feedback on the program
as an excellent training experience. The length of training program (4 months) was too short since
the content of genetics was so co m p l ex . Some said the training program facilitated working in a
multidisciplinary team. Some stated that training in counseling was very beneficial. The trainees
could exchange knowledge and experiences with others, understand and sympathize with the roles
and responsibilities of each health professional, and develop a network for working in genomic
services in the future.