Show simple item record

Cost-utility Analysis and Budget Impact Analysis of the Thai Diagnostic Autism Scale (TDAS)

dc.contributor.authorดวงกมล ตั้งวิริยะไพบูลย์th_TH
dc.contributor.authorDuangkamol Tangviriyapaiboonth_TH
dc.contributor.authorอัญชลี เพิ่มสุวรรณth_TH
dc.contributor.authorUnchalee Permsuwanth_TH
dc.contributor.authorปิยะเมธ ดิลกธรสกุลth_TH
dc.contributor.authorPiyameth Dilokthornsakulth_TH
dc.contributor.authorโชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐth_TH
dc.contributor.authorChosita Pavasuthipaisitth_TH
dc.contributor.authorอธิษฐาน ศรีมินิพันธ์th_TH
dc.contributor.authorAthithan Sriminipunth_TH
dc.date.accessioned2024-10-04T07:00:20Z
dc.date.available2024-10-04T07:00:20Z
dc.date.issued2567-10
dc.identifier.otherhs3183
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6165
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ ผลกระทบด้านงบประมาณ และความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของเครื่องมือวินิจฉัยภาวะออทิสซึม ในระยะเริ่มแรกสำหรับเด็กไทย วิธีการศึกษา การประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ จะใช้แบบจำลองแผนภูมิต้นไม้ (decision tree) และแบบจำลองมาร์คอฟ (Markov model) เปรียบเทียบระหว่างการตรวจวินิจฉัยภาวะออทิสซึมด้วยเครื่องมือ Thai Diagnosis Autism Scale (TDAS) และการตรวจวินิจฉัยจากประวัติ อาการแสดงทางคลินิกตามเกณฑ์ DSM-5 ด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ (การตรวจวินิจฉัยปัจจุบัน) ในมุมมองทางสังคม ข้อมูลนำเข้าแบบจำลองได้จากการเก็บข้อมูลจากสถานพยาบาล 5 แห่ง คือ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ โรงพยาบาลพะเยา โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย โรงพยาบาลบางพลี ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรม วัดผลลัพธ์ในรูปต้นทุนรวมตลอดชีพ ปีสุขภาวะ ทำการปรับลดต้นทุนและผลลัพธ์ด้วยอัตราลดร้อยละ 3 ทำการวิเคราะห์หาอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่ม การวิเคราะห์ความไวแบบทางเดียวและการวิเคราะห์ความไวแบบอาศัยความน่าจะเป็น การวิเคราะห์ผลกระทบด้านงบประมาณ อาศัยข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรมร่วมกับข้อมูลจากการประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ ทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างสถานการณ์ที่มีการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องมือ TDAS และสถานการณ์การตรวจวินิจฉัยที่ไม่ใช้เครื่องมือ TDAS และทำการวิเคราะห์ความไวแบบทางเดียว รายงานผลภาระงบประมาณรายปี ภาระงบประมาณเฉลี่ย และภาระงบประมาณสุทธิ การศึกษาความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ อาศัยการสัมภาษณ์เชิงลึกทีมแพทย์และพยาบาล ในประเด็นต่าง ๆ เช่น การยอมรับในการใช้เครื่องมือ TDAS ของแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ การนำไปใช้ในทางปฏิบัติ เป็นต้น ผลการศึกษา ผลการวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์กรณีฐาน พบว่า การตรวจวินิจฉัยด้วย TDAS มีต้นทุนรวมตลอดชีพ 1,511,151 บาท ปีสุขภาวะ 15.55 ปี การตรวจวินิจฉัยปัจจุบัน มีต้นทุนรวมตลอดชีพ 1,316,203 บาท ปีสุขภาวะ 13.59 ปี ได้อัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่ม เท่ากับ 99,682 บาทต่อปีสุขภาวะ ซึ่งไม่เกินระดับความเต็มใจที่จะจ่าย 160,000 บาทต่อปีสุขภาวะ จึงจัดว่าการตรวจวินิจฉัยด้วย TDAS เป็นมาตรการที่คุ้มค่า ผลการวิเคราะห์ความไว พบว่า TDAS เป็นมาตรการที่มีโอกาสคุ้มค่าถึงร้อยละ 81.19 ที่ระดับความเต็มใจที่จะจ่ายของประเทศไทย ผลการวิเคราะห์ภาระงบประมาณแสดงให้เห็นว่า การตรวจวินิจฉัยด้วย TDAS จะเพิ่มภาระงบประมาณในส่วนการตรวจวินิจฉัย โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 3,817,552 บาทต่อปี แต่มีผลช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาภาวะออทิสซึมได้ 6,210,074 บาทต่อปี ทำให้ประหยัดภาระงบประมาณเฉลี่ย 2,392,522 บาทต่อปี ผลการศึกษา ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ พบว่า TDAS ได้รับการยอมรับจากผู้มีประสบการณ์ในการใช้ว่า เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ มีความถูกต้อง สามารถช่วยให้ผู้ที่ได้รับการสงสัยเป็นภาวะออทิสซึม สามารถเข้าถึงการวินิจฉัยได้รวดเร็วขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการให้บริการคลินิกผู้ป่วยนอกในปัจจุบันได้ ทั้งในคลินิกพัฒนาการเด็ก คลินิกจิตเวชเด็ก หรือแม้แต่คลินิกทั่วไป โดยสามารถประยุกต์ใช้ได้ในโรงพยาบาลทุกระดับที่มีแพทย์ที่สามารถยืนยันการตรวจวินิจฉัยได้ สรุปผลการศึกษา การตรวจวินิจฉัยภาวะออทิสซึมจัดเป็นมาตรการที่มีความคุ้มทุนเมื่อเทียบกับการตรวจวินิจฉัยในปัจจุบัน ช่วยประหยัดงบประมาณในการรักษาภาวะออทิสซึมได้ และเป็นเครื่องมือที่ได้รับการยอมรับจากบุคลากรทางการแพทย์เป็นส่วนใหญ่th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectAutism--Diagnosisth_TH
dc.subjectAutismth_TH
dc.subjectออทิสซึมในเด็กth_TH
dc.subjectระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.titleการประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์และการวิเคราะห์ผลกระทบด้านงบประมาณของเครื่องมือวินิจฉัยภาวะออทิสซึม ในระยะเริ่มแรกสำหรับเด็กไทยth_TH
dc.title.alternativeCost-utility Analysis and Budget Impact Analysis of the Thai Diagnostic Autism Scale (TDAS)th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeObjective: To assess the cost-utility, budget impact, and feasibility of the Thai Diagnostic Autism Scale (TDAS) for Thai children Methods: To assess the cost-utility analysis, a hybrid model between decision tree and Markov model was used to compare TDAS and clinical diagnosis in the perspective of society. Input parameters were obtained from primary data collection from five hospitals (Rajanagarindra Institute of Child Development, Phayao Hospital, Suratthani Hospital, Dansai Crown Prince Hospital and Bangplee Hospital), and literature review. The study outcomes were measured in terms of total life-year costs, and quality-adjusted life-years (QALYs). All costs and outcomes were discounted at an annual rate of 3%. Incremental cost-effectiveness ratio (ICER) was estimated. One-way sensitivity analysis and probabilistic sensitivity analysis were also performed. Budget impact analysis was also conducted based on the data from literature review and costutility analysis. The base-case analysis comparing scenario 1 (TDAS) versus scenario 2 (clinical diagnosis) was assessed. One-way sensitivity analysis was performed. A five-year period of annual budget, average budget, and net budget impact were reported. The feasibility test was conducted by in-depth interviewing medical doctors and healthcare personnels. Several issues such as TDAS acceptance, practical use were prior set up for interview. Results: The base-case results of cost-utility analysis showed that patients with TDAS diagnosis had total life-time cost of 1,511,151 THB, and QALYs of 15.55 years, while those with clinical diagnosis had total life-time cost of 1,316,203 THB, and QALYs of 13.59 years. This yielded the ICER of 99,682 THB/QALY, which was below the acceptable threshold of 160,000 THB/QALY. This indicated that TDAS had 81.19% of being cost-effective at the acceptable threshold. The basecase results of budget impact analysis showed that on average TDAS increased 3,817,552 THB/year for the intervention cost but reduced 6,210,074 THB/year for autism treatment cost. This led to net budget saving of 2,392,522 THB/year. The results of feasibility study showed that healthcare personnels accepted TDAS as the benefit tool to assist suspected patients with autism to access the right and quick diagnosis. TDAS can be applied to other outpatient services, including child development clinics and child psychiatric clinics. In addition, it can be used in all hospital levels where the specialists who can confirm diagnosis are available.th_TH
dc.identifier.contactno65-148
dc.subject.keywordThai Diagnosis Autism Scale (TDAS)th_TH
.custom.citationดวงกมล ตั้งวิริยะไพบูลย์, Duangkamol Tangviriyapaiboon, อัญชลี เพิ่มสุวรรณ, Unchalee Permsuwan, ปิยะเมธ ดิลกธรสกุล, Piyameth Dilokthornsakul, โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ, Chosita Pavasuthipaisit, อธิษฐาน ศรีมินิพันธ์ and Athithan Sriminipun. "การประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์และการวิเคราะห์ผลกระทบด้านงบประมาณของเครื่องมือวินิจฉัยภาวะออทิสซึม ในระยะเริ่มแรกสำหรับเด็กไทย." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6165">http://hdl.handle.net/11228/6165</a>.
.custom.total_download13
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month13
.custom.downloaded_this_year13
.custom.downloaded_fiscal_year13

Fulltext
Icon
Name: hs3183.pdf
Size: 2.647Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record