การพัฒนาสิทธิประโยชน์ในการจัดบริการครอบฟันโลหะไร้สนิมในฟันน้ำนม ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
dc.contributor.author | วรางคณา จิรรัตนโสภา | th_TH |
dc.contributor.author | Varangkanar Jirarattanasopha | th_TH |
dc.contributor.author | วรมน อัครสุต | th_TH |
dc.contributor.author | Voramon Agrasuta | th_TH |
dc.contributor.author | วรุต ชลิทธิกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Warut Chalittikul | th_TH |
dc.contributor.author | นพวรรณ โพชนุกูล | th_TH |
dc.contributor.author | Noppawan Pochanukul | th_TH |
dc.contributor.author | มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์ | th_TH |
dc.contributor.author | Montarat Thavorncharoensap | th_TH |
dc.date.accessioned | 2024-10-15T02:10:47Z | |
dc.date.available | 2024-10-15T02:10:47Z | |
dc.date.issued | 2567-10 | |
dc.identifier.other | hs3162 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/6170 | |
dc.description.abstract | ปัจจุบันการรักษาฟันผุในฟันน้ำนมด้วยการบูรณะฟันด้วยวัสดุอุด การรักษารากฟัน และการถอนฟันอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่การบูรณะด้วยครอบฟันโลหะไร้สนิมไม่อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ครอบฟันโลหะฯ เป็นครอบฟันสำเร็จรูปที่ใช้ในการบูรณะฟันน้ำนมที่ผุกว้าง มีโครงสร้างฟันเหลือน้อย หรือฟันที่รักษารากฟัน ซึ่งเป็นการรักษาที่ปฏิบัติกันมาก่อนมีพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปัจจุบันเด็กที่มีสิทธิสวัสดิการข้าราชการได้รับการสนับสนุนครอบฟันโลหะฯ แสดงถึงความแตกต่างระหว่างสิทธิการรักษา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการจัดบริการครอบฟันโลหะฯ ในฟันน้ำนมในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยทำการประเมินแบบเร่ง ประกอบด้วยการทบทวนวรรณกรรมถึงแนวทางปฏิบัติ ประสิทธิผล ความล้มเหลว ความคุ้มค่า และวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามและฐานข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติในปัจจัยด้านผู้มารับบริการ และผู้ให้บริการ รวมถึงวิเคราะห์ผลกระทบงบประมาณในการจัดบริการครอบฟันโลหะฯ ในชุดสิทธิประโยชน์การบูรณะฟันน้ำนมด้วยครอบฟันโลหะฯ อยู่ในแนวปฏิบัติขององค์กรวิชาชีพในระดับนานาชาติและอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ในประเทศต่างๆ เช่น มาเลเซีย นิวซีแลนด์ และอเมริกา เป็นต้น ซึ่งแต่ละประเทศมีเงื่อนไขแตกต่างกัน สำหรับประเทศไทยการบูรณะด้วยครอบฟันโลหะฯ อยู่ในหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ทันตแพทยสภากำหนดให้ผู้ขอขึ้นทะเบียนมีประสบการณ์การบูรณะอย่างน้อย 1 ซี่ จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า การบูรณะฟันที่มีโครงสร้างฟันเหลือน้อยด้วยครอบฟันโลหะฯ มีอัตราความสำเร็จสูงกว่าการบูรณะด้วยการอุดฟัน โดยความล้มเหลวที่เกิดจากการบูรณะด้วยครอบฟันโลหะฯ พบ 0-8% ส่วนบูรณะด้วยการอุดฟันมีโอกาสล้มเหลว 32 – 59% นอกจากนี้การบูรณะด้วยครอบฟันโลหะฯ มีความคุ้มค่ามากกว่าการบูรณะด้วยการวัสดุอุดทั้งในมุมมองทางสังคมและมุมมองของภาครัฐผู้จ่าย จากการวิเคราะห์ข้อมูลในประเทศไทยพบว่าเด็กไทยทุกช่วงอายุมีฟันผุที่ควรบูรณะด้วยครอบฟันโลหะฯ โดยเด็กอายุ 3 ปี ร้อยละ 12 และเด็กอายุ 5 ปี ร้อยละ 22 เฉลี่ยคนละ 2 ซี่ โดยช่วงอายุ 5-7 ปี เป็นกลุ่มที่มีการเข้ารับบริการครอบฟันโลหะฯ มากที่สุด ผู้ปกครองส่วนใหญ่ยอมรับการรักษาด้วยครอบฟันโลหะฯ แต่กังวลในด้านค่าใช้จ่าย ความเจ็บปวดจากการรักษา ความร่วมมือของเด็ก และผลกระทบต่อฟันแท้ เป็นต้น สำหรับด้านการบริการครอบฟันโลหะฯ ของสถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขพบว่าทุกเขตมีการให้บริการครอบฟันโลหะฯ โดยให้บริการรวมเขต 1-12 เฉลี่ยปีละ 31,885 ซี่ จากการสอบถามความคิดเห็นของสถานพยาบาล 376 แห่ง ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการให้ครอบฟันโลหะฯ อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ สำหรับผลกระทบด้านงบประมาณ การจัดบริการครอบฟันโลหะฯ ส่งผลให้รัฐมีต้นทุนเพิ่มขึ้น 92 บาท เมื่อเทียบกับการบูรณะด้วยวัสดุอุด และในแต่ละปีมีเด็กที่มีฟันผุต้องทำครอบฟันโลหะฯ 830,000 ราย หรือ 2 ล้านซี่ ซึ่งการทำครอบฟันโลหะฯ ใช้เวลา 30-60 นาที ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของเด็กและความชำนาญของทันตแพทย์ และจำนวนสถานพยาบาลที่มีการจัดบริการครอบฟันโลหะฯ ที่มีอยู่ และศักยภาพสูงสุดที่สามารถรองรับได้ หากวางแผนให้สถานพยาบาลในกระทรวงสาธารณสุขให้การบริการเพิ่มขึ้นจนครบทุกสถานพยาบาลในเวลา 5 ปี และพัฒนาศักยภาพของสถานพยาบาลให้สามารถให้การบริการครอบฟันโลหะฯ เพิ่มมากขึ้น จะสามารถเพิ่มการบริการได้ถึง 440,559 ซี่ หรือครอบคลุมการรักษาในฟันกรามประมาณ 35% ในปีที่ 5 โดยงบประมาณส่วนเพิ่มในปีแรก 12.6 ล้านบาท และในปีที่ 5 ประมาณ 40.5 ล้านบาท รวม 5 ปี สามารถให้การบริการได้ 1,441,961 ซี่ โดยงบประมาณส่วนเพิ่มรวม 5 ปี ประมาณ 132.7 ล้านบาท โดยสรุปการจัดให้การบริการครอบฟันโลหะฯ อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์นั้นมีความเป็นไปได้สูง ทั้งในแง่ของการยอมรับ ความต้องการ และการนำไปปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม จำนวนเด็กและซี่ฟันที่ต้องได้รับการรักษาด้วยครอบฟันโลหะฯ นั้นมีจำนวนมาก การบริการครอบฟันโลหะฯ ที่มีอยู่ในปัจจุบันควรจะปรับเปลี่ยน บูรณาการ และขยายผล ให้เด็กไทยได้รับการรักษามากขึ้น ซึ่งทางทีมผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ดังนี้ 1. ควรให้การบริการครอบฟันโลหะฯ ในฟันน้ำนมอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2. เพื่อให้การบริการครอบฟันโลหะฯ ในฟันน้ำนมครอบคลุมเด็กที่มีความต้องการการรักษาในทุกพื้นที่ ควรขยายการบริการครอบฟันโลหะฯ เพิ่มขึ้นให้ครอบคลุมทุกสถานพยาบาล 3. จัดลำดับความสำคัญของการบริการ เน้นการบริการฟันกรามมากกว่าฟันหน้า เนื่องจากอยู่ในช่องปากนานกว่า ต้องใช้ในการบดเคี้ยวอาหาร รักษาพื้นที่และเป็นแนวให้ฟันแท้ขึ้น 4. กระทรวงสาธารณสุขควรส่งเสริมให้มีทันตแพทย์เฉพาะทางทันตกรรมเด็กเพิ่มมากขึ้นในแต่ละเขตสุขภาพ เพื่อให้บริการเด็กที่ไม่ร่วมมือ ซึ่งทันตแพทย์โดยทั่วไปไม่สามารถจัดการพฤติกรรมได้ 5. ปรับระบบการจัดการของสถานพยาบาล ให้ทันตแพทย์เฉพาะทางเด็กทำงานบริการด้านทันตกรรมเด็กมากกว่าการบริการทันตกรรมทั่วไป 6. เพิ่มศักยภาพของผู้ที่จะจบมาเป็นทันตแพทย์ โดยทันตแพทยสภาควรเพิ่มเกณฑ์ขั้นต่ำในประสบการณ์การทำครอบฟันโลหะฯ มากกว่า 1 ซี่ 7. เพิ่มค่าตอบแทนให้แก่สถานพยาบาลที่ให้การบริการครอบฟันโลหะฯ ในลักษณะจ่ายตามรายการ 8. สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาคเอกชน และคลินิกทันตกรรมภาครัฐให้บริการนอกเวลาราชการ 9. เน้นงานส่งเสริมป้องกันโรคมากขึ้น ความชุกของฟันผุในเด็กไทยนั้นสูงมาก แม้เพิ่มศักยภาพของสถานพยาบาลและขยายการบริการไปยังภาคเอกชน ก็ยังไม่สามารถครอบคลุมการรักษาได้ทั้งหมด 10. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) และกระทรวงสาธารณสุข ควรร่วมกันติดตามประเมินผล ปัญหา อุปสรรค ผลกระทบเชิงบวก และเชิงลบในการให้บริการครอบฟันโลหะไร้สนิมในชุดสิทธิประโยชน์ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การครอบฟัน | th_TH |
dc.subject | หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ | th_TH |
dc.subject | Universal Coverage | th_TH |
dc.subject | บริการทางการแพทย์ | th_TH |
dc.subject | Medical Care | th_TH |
dc.subject | ประกันสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Insurance | th_TH |
dc.subject | ฟันผุในเด็ก | th_TH |
dc.subject | ทันตกรรมเด็ก | th_TH |
dc.subject | Children--Dental Care | th_TH |
dc.subject | Oral Health | th_TH |
dc.subject | ทันตกรรม | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การพัฒนาสิทธิประโยชน์ในการจัดบริการครอบฟันโลหะไร้สนิมในฟันน้ำนม ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ | th_TH |
dc.title.alternative | Development of Benefit Package for Delivering Service of Preformed Metal Crown for Primary Teeth under Universal Health Coverage Scheme | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Dental caries in primary teeth is a major issue in Thailand. While the national health insurance covers restorations, pulp treatment, and extractions for primary teeth, it does not include stainless steel crown (SSC) restorations. SSCs are a standard treatment for extensively decayed or pulp-treated primary teeth, but only children of civil servants currently have coverage, creating disparities in access. This rapid assessment study developed policy recommendations for including stainless steel crown (SSC) services in the National Health Insurance System. It reviewed evidence on SSCs' effectiveness, safety, and cost-effectiveness, collected stakeholder feedback on feasibility, and analyzed the budget impact of adding SSCs to the insurance benefits. The restoration of primary teeth using metal crowns is included in the practice guidelines of international professional organizations and is included in the benefit packages in various countries such as Malaysia, New Zealand, and the United States, among others. Each country has different conditions. In Thailand, SSC restoration is part of the dental degree curriculum, and the Dental Council requires registration applicants to have at least 1 tooth restoration experience. The literature review demonstrated that the restoration of teeth with minimal remaining structure using stainless steel crowns has a higher success rate compared to fillings. The failure rate for stainless steel crown restorations is found to be 0-8%, while for fillings, the failure rate ranges from 32 to 59%. Furthermore, the restoration using stainless steel crowns is more costeffective than fillings, from both the societal and payer/government perspectives. The analysis of data in Thailand found that Thai children of all age groups have carious teeth that should be restored with SSCs. About 12% of 3-year-olds and 22% of 5-year-olds have an average of 2 teeth requiring this treatment. The 5-7 age group has the highest utilization of SSCs. Most parents accept SSC treatment, but are concerned about the cost, pain, child cooperation, and impact on permanent teeth. Regarding the availability of SSCs services at hospitals under Thailand's Ministry of Public Health across health regions 1–12, it was found that every region offers these services, averaging 31,885 crowns per year. Most public hospitals agreed that SSCs should be included in the benefits package. In terms of budget impact, providing SSC services results in an additional cost of 92 Baht per case compared to fillings. Annually, 830,000 children (2 million teeth) require SSCs, taking 30- 60 minutes per procedure depending on child cooperation and dentist expertise. If all Ministry of Public Health hospitals expanded SSCs services over 5 years, the capacity could increase to 440,559 crowns per year, covering approximately 35% of molar carious teeth. The additional budget required would be 12.6 million Baht in the first year, rising to 40.5 million Baht by the fifth year, totaling 132.7 million Baht over 5 years. In summary, the inclusion of SSC services in the national benefits package is highly feasible, in terms of acceptability, demand, and implementation. However, the large number of children and teeth requiring this treatment means the current service provision should be adapted, integrated, and expanded to increase access for Thai children. The research team has the following policy recommendations: 1. SSCs services should be included in the National Health Security benefits package. 2. SSCs services should be expanded to all public hospitals. 3. Prioritize services for molar teeth over anterior teeth. 4. The Ministry of Public Health should promote increasing the number of pediatric dentistry specialists to serve uncooperative children. 5. Adjust the management system in healthcare facilities to have pediatric dentistry specialists focus more on child dental services rather than general dentistry. 6. The Dental Council should increase the minimum experience requirement of performing at least one SSC for new dentists. 7. Provide reimbursement to healthcare facilities offering SSC services on a fee schedule 8. Establish collaborative networks with the private sector and public dental clinics to offer services outside regular working hours. 9. Emphasize more disease prevention and health promotion, as the prevalence of dental caries is very high, and even with increased capacity and expanded services, it may not be possible to fully cover all treatment needs. 10. The National Health Security Office and Ministry of Public Health should jointly monitor and evaluate the implementation of SSC services in the benefits package, including identifying problems, obstacles, and both positive and negative impacts. | th_TH |
dc.identifier.contactno | 65-149 | |
dc.subject.keyword | Universal Health Coverage Scheme | th_TH |
.custom.citation | วรางคณา จิรรัตนโสภา, Varangkanar Jirarattanasopha, วรมน อัครสุต, Voramon Agrasuta, วรุต ชลิทธิกุล, Warut Chalittikul, นพวรรณ โพชนุกูล, Noppawan Pochanukul, มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์ and Montarat Thavorncharoensap. "การพัฒนาสิทธิประโยชน์ในการจัดบริการครอบฟันโลหะไร้สนิมในฟันน้ำนม ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6170">http://hdl.handle.net/11228/6170</a>. | |
.custom.total_download | 2 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 2 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 2 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Research Reports [2419]
งานวิจัย