Show simple item record

Research Program to Survey Behaviors of Cannabis and Substance use in the Thai Population, the Impact of Cannabis on Health Equity and Cost of Illness

dc.contributor.authorรัศมน กัลยาศิริth_TH
dc.contributor.authorRasmon Kalayasirith_TH
dc.contributor.authorสุริยัน บุญแท้th_TH
dc.contributor.authorSuriyan Boonthaeth_TH
dc.contributor.authorเกื้อการุณย์ ครูส่งth_TH
dc.contributor.authorKuakarun Krusongth_TH
dc.contributor.authorภัททา เกิดเรืองth_TH
dc.contributor.authorPhatta Kirdruangth_TH
dc.contributor.authorศยามล เจริญรัตน์th_TH
dc.contributor.authorSayamol Charoenratanath_TH
dc.date.accessioned2024-10-17T09:03:51Z
dc.date.available2024-10-17T09:03:51Z
dc.date.issued2567-10-09
dc.identifier.otherhs3188
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6174
dc.description.abstractการนำพืชกัญชาออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษประเภท 5 ในปี พ.ศ. 2565 โดยมีการอนุญาตให้ปลูก จำหน่าย และทำให้เกิดการใช้กัญชาได้ในประเทศไทยนอกหนือจากการใช้ทางการแพทย์ จำเป็นต้องมีการประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องถึงจำนวนผู้ใช้และผลกระทบทางสุขภาพโดยเฉพาะต้นทุนทางสุขภาพที่เกิดการเจ็บป่วยจากการใช้กัญชาในประชากรไทย รวมไปถึงการสำรวจร้านค้าที่ดำเนินกิจการขายกัญชา และตัวผลิตภัณฑ์กัญชาที่วางจำหน่ายเพื่อบริโภคตามร้านค้าทั่วประเทศ การดำเนินการศึกษาครั้งนี้ทำในรูปแบบชุดโครงการ โดยส่วนหนึ่งใช้ข้อมูลจากศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.) ที่จัดให้มีการสำรวจทัศนคติและพฤติกรรมการใช้สารเสพติดของประชากรไทยอายุ 18-65 ปี ในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ พบว่า ความชุกของผู้ที่ใช้กัญชาเพื่อนันทนาการใน 12 เดือน ที่ผ่านมามีแนวโน้มสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2565 มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 24.9 โดยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 487 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ขณะที่สัดส่วนของผู้ใช้กัญชาทางการแพทย์ แม้ว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังมีสัดส่วนเพียงแค่ร้อยละ 2.59 ในปี พ.ศ. 2566 โดยมีสัดส่วนการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 109 และร้อยละ 122 ในปี พ.ศ. 2565 และ พ.ศ. 2566 ตามลำดับ ทั้งนี้ การวิเคราะห์ค่าประมาณต้นทุนรวมจากการเจ็บป่วยทั้งประเภทผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน รวมทั้งต้นทุนทางอ้อมจากค่าเสียโอกาสในการทำงานของผู้ป่วยด้วยโรคจิตเวชจากการใช้กัญชา (F12) โดยใช้ข้อสมมติให้สัดส่วนของผู้ป่วยด้วยโรคทางจิตเวชจากการใช้กัญชาอยู่ที่ร้อยละ 8 พบว่าต้นทุนทั้งหมดมีจำนวนไม่เกิน 2,000 ล้านบาทต่อปี ในปี พ.ศ. 2562-2564 แต่กลับเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในปี พ.ศ. 2565 และมีมูลค่าสูงถึง 10,222 ล้านบาท ในจำนวนนี้แบ่งเป็นต้นทุนการรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยใน ต้นทุนการรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก และต้นทุนทางอ้อม 6,736 ล้านบาท 749 ล้านบาท และ 2,736 ล้านบาท ตามลำดับ นอกจากนี้ ผลการสำรวจด้านอุปทานโดยสำรวจเครื่องดื่มกัญชาซึ่งเป็นสินค้าที่เข้าถึงได้ง่าย โดยทำการตรวจสอบระดับสาร เดลต้า-9-เตตร้าไฮโดรแคนนาบินอล (delta-9-tetrahydrocannabinol) หรือ ∆9-THC พบว่า จากเครื่องดื่มทั้งหมด 207 ตัวอย่าง จากทั่วประเทศตรวจพบว่ามี ∆9-THC ถึงร้อยละ 42.51 และ 6 ตัวอย่าง มี ∆9-THC เกิน 1.6 มิลลิกรัมต่อแก้ว ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค และจากผลการศึกษาร้านค้าย่านถนนสีลม และถนนข้าวสาร พบว่าร้านค้าปลีกกัญชาตั้งอยู่ในพื้นที่การค้า ติดหรือใกล้ถนน มองเห็นได้ง่าย และใกล้กับสถานบันเทิง ร้านค้าแบ่งได้เป็น 4 รูปแบบ ได้แก่ ร้านขนาดใหญ่ ร้านขนาดกลาง ร้านที่ตั้งแยกตัวออกมา และร้านแบบแผงลอย ซึ่งขนาดของร้านจะส่งผลต่อแนวปฏิบัติในการจำหน่ายกัญชา ราคา และคุณภาพของกัญชา โดยแนวปฏิบัติในการจำหน่ายกัญชาตามที่กฎหมายกำหนดในแต่ละร้านนั้นมีการดำเนินการเพียงบางส่วนเท่านั้น เช่น ข้อกำหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัย การป้องกันผู้เยาว์มิให้เข้าถึงกัญชา ประเภทผลิตภัณฑ์กัญชาที่จัดจำหน่าย ประเภทของกิจกรรมส่งเสริมประชาสัมพันธ์ สภาพร้านและที่ตั้ง สำหรับการประเมินผลกระทบด้านความเป็นธรรมทางสุขภาพต่อกลุ่มเปราะบางพบว่าได้รับผลกระทบเชิงลบมากกว่าเชิงบวก กล่าวโดยสรุป การเปลี่ยนแปลงนโยบายในการทำให้เกิดการเข้าถึงการใช้กัญชาได้ง่ายของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2565 ส่งผลให้ทั้งจำนวนผู้ใช้กัญชา จำนวนผู้ป่วย และต้นทุนของการเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวชเนื่องจากการใช้กัญชาเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด แม้การศึกษาครั้งนี้จะไม่ได้คำนึงถึงต้นทุนจากการเจ็บป่วยจากการติดกัญชาที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตในระยะยาว ซึ่งหากมีการเก็บข้อมูลแบบติดตามผู้ป่วยในระยะหนึ่ง ก็จะสามารถนำไปสู่การคำนวณต้นทุนการเจ็บป่วยที่มากขึ้นตรงกับความเป็นจริง นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์กัญชาที่ทำเพื่อการบริโภคส่วนหนึ่งมีค่าสารออกฤทธิ์ที่เกินกว่าที่ควร และร้านค้ามีการปฏิบัติตามแนวทางทางกฎหมายเพียงบางส่วนเท่านั้น จึงมีข้อเสนอให้ออกกฎกระทรวงในการนำพืชกัญชาเข้าอยู่ในการควบคุมตามกฎหมายยาเสพติด สอดคล้องกับผลจากการสำรวจทัศนคติของประชากรไทยพบว่าส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวคิดการ “นำกัญชากลับไปเป็นยาเสพติด” โดยให้ใช้กัญชาได้เฉพาะทางการแพทย์เท่านั้น เพื่อลดผลกระทบและต้นทุนทางสุขภาพที่เกิดจากการใช้กัญชา โดยสามารถพัฒนามาตรการแนวทางจำกัดให้ใช้เฉพาะทางการแพทย์ได้ต่อไปโดยการทำโซนนิ่ง การจำกัดใบอนุญาต และมาตรการกำกับดูแลร้านจำหน่ายและมาตรการลงโทษตามกฎหมายต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectกัญชาth_TH
dc.subjectCannabisth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectนโยบายสุขภาพth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectHealth Equityth_TH
dc.titleการสำรวจพฤติกรรมการใช้กัญชาและสารเสพติดในประชากรไทย ผลกระทบจากกัญชาต่อความเป็นธรรมทางสุขภาพ และต้นทุนการเจ็บป่วยจากการใช้กัญชาth_TH
dc.title.alternativeResearch Program to Survey Behaviors of Cannabis and Substance use in the Thai Population, the Impact of Cannabis on Health Equity and Cost of Illnessth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe removal of cannabis plants from the list of Category 5 narcotic drugs in 2022, which included permission to grow, sell, and use cannabis beyond medical purposes, necessitates close and continuous monitoring of the number of users and health impacts, particularly the health costs arising from cannabis-related illnesses in the Thai population. This includes surveying shops that sell cannabis and cannabis products available for consumption nationwide. This study was conducted as a project series, partly using data from the Centre for Addiction Studies (CADS), which conducted a survey on the attitudes and behaviors of drug use among Thais aged 18-65 years in 20-30 provinces across all regions of the country. It was found that the prevalence of recreational cannabis users in the past 12 months has significantly increased, especially in 2022, with a proportion as high as 24.9%, an increase of 487% compared to the previous year. The proportion of medical cannabis users, although increasing, was still only 2.59% in 2023, with a growth rate of 109% and 122% in 2022 and 2023, respectively. An analysis of the estimated total cost of illnesses, including both outpatient and inpatient cases and indirect costs from lost work opportunities of patients with psychiatric disorders due to cannabis use (F12), assuming that the proportion of patients with psychiatric disorders from cannabis use is 8%, found that the total costs were not more than 2 billion baht per year from 2019-2021. However, this sharply increased in 2022 to a value as high as 10.222 billion baht, with inpatient medical treatment costs, outpatient medical treatment costs, and indirect costs being 6.736 billion baht, 749 million baht, and 2.736 billion baht, respectively. Additionally, a supply-side survey examining cannabis beverages, which are easily accessible products, by testing the levels of delta-9-tetrahydrocannabinol (∆9-THC) found that out of 207 samples nationwide, 42.51% contained ∆9-THC, and six samples had more than 1.6 mg per glass, which could affect consumer health. A study of shops in Silom Road and Khao San Road areas revealed that cannabis retail shops are located in commercial areas, visible and near entertainment venues. The shops are categorized into four types: large shops, medium shops, standalone shops, and stalls. The size of the shop affects the cannabis sales practices, price, and quality. However, legal compliance in each shop, such as safety standards, prevention of youth access, types of cannabis products sold, promotional activities, shop condition, and location, was only partially followed. The health equity impact assessment on vulnerable groups found more negative than positive impacts. In summary, the policy change to allow easier access to cannabis use in 2022 led to a sharp increase in cannabis users, patients, and costs associated with cannabis-related psychiatric illnesses. Even though this study did not consider the long-term mental health costs of cannabis addiction, tracking patients over time could lead to more accurate cost calculations. Moreover, some cannabis products have active ingredient levels above recommended limits, and shops only partially comply with legal guidelines. Therefore, it is proposed to issue ministerial regulations to bring cannabis plants under narcotic control laws again, aligning with the survey results where the majority of the Thai population supports the idea of reclassifying cannabis as a narcotic, allowing its use only for medical purposes to reduce health impacts and costs. Further measures to restrict its use to medical purposes can be developed, such as zoning, license restrictions, shop supervision, and legal penalties.th_TH
dc.identifier.callnoQV77.7 ร388ก 2567
dc.identifier.contactno66-050
dc.subject.keywordความเป็นธรรมทางสุขภาพth_TH
.custom.citationรัศมน กัลยาศิริ, Rasmon Kalayasiri, สุริยัน บุญแท้, Suriyan Boonthae, เกื้อการุณย์ ครูส่ง, Kuakarun Krusong, ภัททา เกิดเรือง, Phatta Kirdruang, ศยามล เจริญรัตน์ and Sayamol Charoenratana. "การสำรวจพฤติกรรมการใช้กัญชาและสารเสพติดในประชากรไทย ผลกระทบจากกัญชาต่อความเป็นธรรมทางสุขภาพ และต้นทุนการเจ็บป่วยจากการใช้กัญชา." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6174">http://hdl.handle.net/11228/6174</a>.
.custom.total_download86
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month12
.custom.downloaded_this_year86
.custom.downloaded_fiscal_year86
.custom.is_recommendedtrue

Fulltext
Icon
Name: hs3188.pdf
Size: 6.726Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record