แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนภายหลังการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ระยะที่ 2 การประเมินสัญญาณเตือนของผลกระทบต่อสถานะสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการศึกษาข้อมูลย้อนหลังและการจัดทำกรณีศึกษา

dc.contributor.authorจิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์th_TH
dc.contributor.authorJiruth Sriratanabanth_TH
dc.contributor.authorนภชา สิงห์วีรธรรมth_TH
dc.contributor.authorNoppcha Singwerathamth_TH
dc.contributor.authorมโน มณีฉายth_TH
dc.contributor.authorMano Maneechayth_TH
dc.contributor.authorดาวรุ่ง คำวงศ์th_TH
dc.contributor.authorDaoroong Komwongth_TH
dc.contributor.authorจิรยุทธ์ สินธุพันธุ์th_TH
dc.contributor.authorJirayudh Sinthuphanth_TH
dc.contributor.authorพัลลภ เซียวชัยสกุลth_TH
dc.contributor.authorPallop Siewchaisakulth_TH
dc.contributor.authorนิตย์ธิดา ภัทรธีรกุลth_TH
dc.contributor.authorNittida Pattarateerakunth_TH
dc.contributor.authorสุพัสตรา เสนสายth_TH
dc.contributor.authorSupustra Sensaith_TH
dc.contributor.authorทักษิณา วัชรีบูรพ์th_TH
dc.contributor.authorTuksina Watchareeboonth_TH
dc.date.accessioned2024-10-18T03:49:32Z
dc.date.available2024-10-18T03:49:32Z
dc.date.issued2567-10-05
dc.identifier.otherhs3186
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6175
dc.description.abstractโครงการประเมินผลฯ ระยะที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเมินผลกระทบทางสุขภาพที่มีต่อประชาชน อันอาจเป็นผลเชื่อมโยงมาจากการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในปีงบประมาณ 2566 ทั้งในส่วนของผลกระทบจากการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิและผลกระทบจากการดำเนินงานสาธารณสุข ติดตามและทบทวนความสามารถในการคาดการณ์ของสัญญาณเตือนการเปลี่ยนแปลงเบื้องต้น หรือปัจจัยเสี่ยงของการเกิดผลกระทบทางสุขภาพอันเป็นผลเชื่อมโยงมาจากการถ่ายโอน รพ.สต. ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของการจัดการทรัพยากร การจัดบริการสุขภาพและการดำเนินงานด้านสาธารณสุขของรพ.สต. ที่ได้รับการถ่ายโอนไปองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบทางสุขภาพที่เกิดขึ้น และวิเคราะห์ สังเคราะห์แนวทางในการบริหารจัดการเชิงระบบที่จำเป็น รวมถึงเสนอแนวทางการใช้เครื่องมือทางการเงินการคลัง สารสนเทศและกฎหมายเพื่อจัดระบบนิเวศน์ทางสาธารณสุขที่แวดล้อม รพ.สต. ให้ตอบสนองต่อสถานการณ์ของผลกระทบทางสุขภาพ การดำเนินการใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน (mixed methods) ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 เป็นการจัดทำกรณีศึกษาใน 10 จังหวัด รวม 12 พื้นที่ ครอบคลุมพื้นที่ที่มีการถ่ายโอน รพ.สต. ทั้งหมด พื้นที่ที่มีการถ่ายโอน รพ.สต. บางส่วน และพื้นที่ที่ไม่มีการถ่ายโอน รพ.สต. เลย เพื่อเป็นพื้นที่ควบคุม รวมถึงการจัดทำกรณีศึกษาเฉพาะด้าน 5 เรื่อง ได้แก่ ยา พยาบาล หน่วยบริการปฐมภูมิ การควบคุมโรคไข้เลือดออก และบทบาทสาธารณสุขอำเภอ โดยมีประเด็นศึกษาที่ครอบคลุมข้อมูลการประชุมสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบ และการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) อบจ. โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) และ รพ.สต. ส่วนที่ 2 เป็นการศึกษาแบบกลุ่มย้อนหลัง (retrospective cohort study) โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากฐานข้อมูลสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข (ฐานข้อมูล 52 แฟ้ม) ด้วยความร่วมมือจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)ประมวลผลข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561 ถึง 2565 เป็นข้อมูลพื้นฐาน และข้อมูลปีงบประมาณ 2566 และ 2567 (หากมีความพร้อม) เป็นผลการดำเนินการภายหลังการถ่ายโอน ครอบคลุมตัวชี้วัดในการเข้าถึงบริการ ประสิทธิผลของกระบวนการ และผลลัพธ์ทางสุขภาพสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพปฐมภูมิและการควบคุมโรคติดต่อ โดยมีระยะเวลาดำเนินการโครงการระยะที่ 2 ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ถึงกันยายน พ.ศ. 2567 ผลการศึกษาจากกรณีศึกษาพบว่าประเด็นที่เป็นสัญญาณเตือนผลกระทบทางสุขภาพที่สำคัญ ได้แก่ (1) ลักษณะทั่วไปของ รพ.สต. เช่น ขนาดของ รพ.สต. เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรในเขตรับผิดชอบและความสัมพันธ์ระหว่าง รพ.สต. กับ รพ.แม่ข่ายของเครือข่ายการดูแลสุขภาพปฐมภูมิ (CUP), (2) ลักษณะของการถ่ายโอนของ รพ.สต. เช่น การมีสัดส่วน รพ.สต. ที่ถ่ายโอนในพื้นที่น้อย เปรียบเทียบกับพื้นที่ที่ไม่ถ่ายโอน/ถ่ายโอนไปทั้งหมด, (3) การจัดสรรเงินค่าบริการสาธารณสุขและเงินเพื่อใช้ในการบริการสาธารณสุข เช่น รูปแบบการบริหารจัดการเงินเหมาจ่ายผู้ป่วยนอก OP และส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค PP ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสถานะการเงินเครือข่าย, นโยบาย 30 บาท รักษาได้ทุกที่ /คลินิกนวัตกรรมบริการ (สปสช.), (4) ลักษณะบุคลากรและการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ เช่น การหมุนเวียนและแพทย์ที่มาสนับสนุนการทำงาน, จำนวนพยาบาลและเจ้าหน้าที่รพ.สต. รวมถึงศักยภาพทางวิชาการ, ระบบบริหารงานบุคคลของ อบจ., (5) การสนับสนุนยา/เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา และทรัพยากรทางด้านสุขภาพ เช่น ยา (จัดซื้อ/บัญชียา), เครื่องมือ/อุปกรณ์ และการจัดการด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ (Infection control), (6) รูปแบบการจัดบริการปฐมภูมิ เช่น บริการสุขภาพทั่วไป, การส่งเสริมสุขภาพ/ป้องกันโรค, คลินิกโรคเรื้อรัง, บริการทันตกรรม, บริการที่บ้านและในชุมชน, การส่งต่อผู้ป่วย ตลอดจนระบบเวชระเบียน/สารสนเทศ, (7) รูปแบบการจัดการงานด้านสาธารณสุข เช่น การควบคุมโรคติดต่อ และบทบาทหน้าที่ สสอ., (8) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เช่น การประสานการทำงาน ดูแลและพัฒนาการปฏิบัติงาน, (9) การควบคุมกำกับติดตามงานตามตัวชี้วัด และวางแผนสุขภาพระดับพื้นที่, การรายงาน/ส่งข้อมูล, การสนับสนุนทางวิชาการ และการวางแผนสุขภาพระดับพื้นที่ รวมถึงการเตรียมพร้อมรับภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพ ผลการศึกษาฐานข้อมูลที่ได้รับจาก สปสช. พบว่า มีข้อมูลที่ครบถ้วนถึงปีงบประมาณ 2566 ซึ่งสามารถนำมาประมวลผลตามที่กำหนดไว้ได้เพียงบางส่วน เช่น ข้อมูลการคัดกรองโรคเบาหวาน (DM) และความดันโลหิตสูง (HT), ข้อมูลการคัดกรองผู้สูงอายุ, ข้อมูลการให้การบริการ OPD ในโรคเรื้อรัง, การคัดกรองพัฒนาการเด็ก, ข้อมูลประสิทธิผลของการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (QCB ของ 4 กลุ่มโรค ได้แก่ DM, HT, COPD,CKD), ข้อมูลการคัดกรอง ตรวจยืนยัน และรักษามะเร็งปากมดลูก, ข้อมูลด้านทันตกรรม, ข้อมูลการควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเป้าหมาย (DM) และสถิติผู้ป่วยนอก-ใน ในงานสาธารณสุข (ไข้เลือดออก) ทั้งนี้ข้อมูลที่พร้อมใช้ในฐานข้อมูลมีการส่งข้อมูลไม่ครบทุกหน่วยบริการ แปรผันไปตามช่วงเวลาของปี และมีแนวโน้มการส่งข้อมูลลดลงในปี 2567 เมื่อเปรียบเทียบกับ 2566 รวมถึงปีก่อนหน้า ทั้งส่วนของ รพ.สต.ที่ถ่ายโอน และไม่ถ่ายโอน ส่วนหนึ่งอาจขึ้นกับการเป็นหรือไม่เป็นผลงานเพื่อเบิกจ่ายค่าบริการฯ (ตัวชี้วัดที่ได้เงิน-ไม่ได้เงิน) และความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่และระดับประเทศ ผลการศึกษาเฉพาะตัวชี้วัดที่มีข้อมูลครบปี พ.ศ. 2561-2566 แสดงสถิติพื้นฐานและการเปลี่ยนแปลง ส่วนใหญ่บ่งชี้ว่าประชากรในพื้นที่ที่มีการถ่ายโอน รพ.สต. ไปยัง อบจ. มีความเสี่ยงทางสุขภาพมากกว่าพื้นที่ที่ไม่ได้มีการถ่ายโอน โดยเฉพาะตัวชี้วัดพื้นฐานที่สำคัญ เช่น การคัดกรองพัฒนาการเด็ก การคัดกรองกลุ่มเสี่ยง (DM/HT) การคัดกรองผู้สูงอายุ คุณภาพของการดูแลในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และพบว่าประชากรในเขตความรับผิดชอบของ รพ.สต. ที่มีการถ่ายโอน มีโรคประจำตัวเป็นโรคเรื้อรัง ที่ประเมินโดย Charlson Comorbidity Index สูงกว่าในพื้นที่ที่ รพ.สต. ไม่ได้ถ่ายโอน นอกจากนี้การนำร่องการประมวลผลสัญญาณเตือนผลด้านสุขภาพเพื่อการจัดการระดับจังหวัด และการกำกับดูแลระบบสุขภาพระดับประเทศ Health Performance Warning Index for Provincial management and National Health Systems Oversight (HPW-PN) เป็นรายตัวชี้วัด พบว่าสามารถดำเนินการได้ผ่านหลักเกณฑ์ 2 กลุ่ม 5 เรื่อง ประกอบด้วย (1) ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดช่วงก่อนการถ่ายโอน ได้แก่ ระดับพื้นฐาน การเปลี่ยนแปลงหรือแนวโน้ม และ (2) ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดในปีแรกของการถ่ายโอน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงหรือผลต่างของผลงานกับปีงบประมาณ 2565 อัตราการเปลี่ยนแปลง และระดับของผลงานที่ดำเนินการได้ในปีงบประมาณ 2566 สรุปผลการศึกษาโดยรวมพบว่า ปัจจัยด้านการถ่ายโอนของ รพ.สต. การจัดการทรัพยากร การจัดบริการปฐมภูมิ และตัวชี้วัดหลายตัวเกี่ยวกับการเข้าถึงบริการ ประสิทธิผลของกระบวนการ และผลลัพธ์ด้านการควบคุมโรค แสดงสัญญาณเตือนที่บ่งชี้ความเสี่ยงของการถ่ายโอน รพ.สต. ให้แก่ อบจ. มีต่อผลกระทบทางสุขภาพกับประชาชนอย่างน้อยในระยะเปลี่ยนผ่านth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลth_TH
dc.subjectองค์การบริหารส่วนจังหวัดth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectPublic Health Administrationth_TH
dc.subjectการกระจายอำนาจด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectการประเมินผลth_TH
dc.subjectEvaluationth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนภายหลังการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ระยะที่ 2 การประเมินสัญญาณเตือนของผลกระทบต่อสถานะสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการศึกษาข้อมูลย้อนหลังและการจัดทำกรณีศึกษาth_TH
dc.title.alternativeAssessment of Population Health Impacts Subsequent to the Transfer of Tambon Health Promoting Hospitals (THPH) to the Provincial Administrative Organizations (PAOs) in the Fiscal Year 2566: Phase 2 Evaluation of Impacts on Health and Health Services by a Retrospective Cohort Study and Case Studiesth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe Phase 2 evaluation project aims to assess the health impacts on the population potentially resulting from the transfer of Tambon Health Promoting Hospitals (THPH) in the 2023 fiscal year. This includes impacts from primary healthcare services and public health operations. It also aims to monitor and review the predictability of early warning signals or risk factors for health impacts linked to the THPH transfer. The study will explore changes in resource management, healthcare service delivery, and public health operations of the THPHs transferred to Provincial Administrative Organizations (PAOs) concerning health impacts, as well as analyze and synthesize necessary systemic management approaches. Additionally, it proposes the use of financial, fiscal, informational, and legal tools to create a public health ecosystem around THPHs that is responsive to health impact situations. The project employs a mixed-methods research approach, consisting of two parts. Part 1 involves conducting case studies in 10 provinces covering 12 areas, which include areas with full THPH transfers, partial transfers, and areas with no transfers as controls. Five specific case studies will also be conducted, focusing on drugs, nursing, primary care units, dengue fever control, and the role of district public health. Data will be collected through group discussions, interviews with responsible parties, and document reviews at provincial public health offices (PPHOs), PAOs, community hospitals, and THPHs. Part 2 involves a retrospective cohort study using secondary data from the Ministry of Public Health's health database (52 files), with cooperation from the National Health Security Office (NHSO). The data will cover the fiscal years 2018–2022 as the baseline, and fiscal years 2023–2024 (if available) will represent post-transfer outcomes. The study focuses on key indicators related to healthcare access, process effectiveness, and health outcomes concerning primary care and communicable disease control. Phase 2 of the project will be conducted from October 2023 to September 2024. Findings from the case studies indicate the following key health impact warning signs: (1) general characteristics of THPHs, such as size relative to the population served and their relationship with primary care networks (CUP hospitals); (2) transfer characteristics, such as the proportion of transferred THPHs compared to non-transferred ones; (3) health service funding allocations, including the management of outpatient care (OP) and health promotion/disease prevention (PP) budgets under the national health insurance system and the financial status of the network, the MOPH “30-baht to go anywhere” policy initiative and the NHSO service innovation clinics; (4) human resource management, including staff rotation, medical personnel, nurses, and THPH staff capabilities; (5) support for drugs and medical supplies, such as procurement, equipment, and infection control; (6) primary care service models, such as general healthcare, health promotion, chronic disease clinics, dental care, home, and community services; (7) public health management, including communicable disease control and district public health roles; (8) village health volunteers (VHVs), including their coordination, care, and development; and (9) monitoring and health planning based on indicators and the preparation for health emergencies. The data provided by the NHSO for fiscal year 2023 showed partial completeness. The complete analyses include, for example, diabetes (DM) and hypertension (HT) screenings, elderly health screenings, chronic disease outpatient service data, child development screenings, chronic disease care effectiveness (QCB for DM, HT, COPD, CKD), cervical cancer screening and treatment, dental care data, and data on dengue fever. However, there was incomplete data submission across all service units, and the trend showed a decrease in data submission in 2024 compared to 2023 and previous years. The findings suggest that the population in areas where THPHs were transferred to PAOs faces higher health risks compared to non-transferred areas, especially in key indicators such as child development screening, DM/HT risk screening, elderly screenings, and chronic disease care quality. The early results from the Health Performance Warning Index for Provincial Management and National Health Systems Oversight (HPW-PN) suggest that this tool can be used for provincial-level management and national health system oversight. It tracks performance based on pretransfer indicators, changes or trends, and performance during the first-year post-transfer, including changes compared to fiscal year 2022.th_TH
dc.identifier.contactno67-007
dc.subject.keywordการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขth_TH
dc.subject.keywordHealth Decentralizationth_TH
dc.subject.keywordHealth Decentralizeth_TH
.custom.citationจิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์, Jiruth Sriratanaban, นภชา สิงห์วีรธรรม, Noppcha Singweratham, มโน มณีฉาย, Mano Maneechay, ดาวรุ่ง คำวงศ์, Daoroong Komwong, จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์, Jirayudh Sinthuphan, พัลลภ เซียวชัยสกุล, Pallop Siewchaisakul, นิตย์ธิดา ภัทรธีรกุล, Nittida Pattarateerakun, สุพัสตรา เสนสาย, Supustra Sensai, ทักษิณา วัชรีบูรพ์ and Tuksina Watchareeboon. "การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนภายหลังการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ระยะที่ 2 การประเมินสัญญาณเตือนของผลกระทบต่อสถานะสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการศึกษาข้อมูลย้อนหลังและการจัดทำกรณีศึกษา." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6175">http://hdl.handle.net/11228/6175</a>.
.custom.total_download37
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month6
.custom.downloaded_this_year37
.custom.downloaded_fiscal_year37

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs3186.pdf
ขนาด: 7.053Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย