แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การศึกษาระยะยาวและติดตามโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและปัจจัยเสี่ยงของคนวัยทำงานเขตเมืองในบางกอกน้อย (โครงการศิริราชวันเฮลท์)

dc.contributor.authorกรภัทร มยุระสาครth_TH
dc.contributor.authorKorapat Mayurasakornth_TH
dc.contributor.authorมานพ พิทักษ์ภากรth_TH
dc.contributor.authorManop Pithukpakornth_TH
dc.contributor.authorวินัย รัตนสุวรรณth_TH
dc.contributor.authorWinai Ratanasuwanth_TH
dc.contributor.authorภูมิ สุขธิติพัฒน์th_TH
dc.contributor.authorBhoom Suktitipatth_TH
dc.contributor.authorประพัฒน์ สุริยผลth_TH
dc.contributor.authorPrapat Suriyapholth_TH
dc.contributor.authorไอยฤทธิ์ ไทยพิสุทธิกุลth_TH
dc.contributor.authorIyarit Thaipisuttikulth_TH
dc.date.accessioned2024-10-25T06:28:15Z
dc.date.available2024-10-25T06:28:15Z
dc.date.issued2567-09
dc.identifier.otherhs3196
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6178
dc.description.abstractวัตถุประสงค์การวิจัย: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามอาสาสมัครในระยะยาว โดยศึกษาความชุกและการเปลี่ยนแปลงของภาวะสุขภาพ ชีวเคมี ปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรม และพฤติกรรมสุขภาพที่ส่งผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง รวมถึงสร้างฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการติดตามภาวะสุขภาพของประชากรวัยทำงานในเขตเมือง วิธีการดำเนินงานวิจัย: อาสาสมัครจากโครงการศิริราชวันเฮลท์ประกอบด้วย บุคลากรของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ญาติสายตรงของบุคลากร และผู้มีสิทธิ์การรักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลศิริราช อาสาสมัครได้รับการตรวจเลือด การวิเคราะห์องค์ประกอบในร่างกาย การตรวจปัสสาวะ การตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ และเก็บตัวอย่างเลือดสำหรับการศึกษาด้านพันธุกรรม อาสาสมัครบางรายได้รับการตรวจไมโครไบโอมเพื่อศึกษาความหลากหลายของจุลินทรีย์ หลังจากเข้าร่วมโครงการ อาสาสมัครจะได้รับการติดตามข้อมูลสุขภาพทุก 2-3 ครั้งต่อปี และตรวจสุขภาพทุก 3-5 ปี ผลการวิจัย: อาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมดมีจำนวน 1,595 คน (เพศชาย 370 คน และเพศหญิง 1,225 คน) อาสาสมัครส่วนใหญ่มีภาวะอ้วนระดับ 1 และรอบเอวสูงกว่าเกณฑ์ปกติทั้งในเพศชายและเพศหญิง นอกจากนี้ยังพบว่า 1 ใน 3 ของอาสาสมัครทั้งหมดมีความดันโลหิตเฉลี่ยเกินเกณฑ์ปกติ และมีอัตราการเกิดโรคเบาหวาน ร้อยละ 7.5 โดยแนวโน้มการเกิดความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.001) ในด้านพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันพบว่าเพศชายมีการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และมีกิจกรรมทางกายมากกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) นอกจากนี้ยังพบว่าความแตกต่างของเวลาในการรับประทานอาหารระหว่างวันธรรมดาและวันหยุด (eating jetlag) ระดับเล็กน้อยเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะน้ำหนักเกิน (OR = 1.50, 95% CI: 1.02–2.20, P = 0.038) อย่างมีนัยสำคัญ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรมในอาสาสมัคร จำนวน 536 คน พบการกลายพันธุ์ในยีนที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคทางพันธุกรรม โดยเฉพาะโรคมะเร็งเต้านม โรควิลสัน และโรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ ในด้านการวิเคราะห์ไมโครไบโอมของกลุ่มอาสาสมัคร จำนวน 124 คน แสดงให้เห็นว่าแบคทีเรียในไฟลัม Firmicutes พบได้มากที่สุดทั้งในกลุ่มที่มีภาวะอ้วนและไม่อ้วน แต่ไม่พบความแตกต่างทางสถิติ (ns) จากการศึกษาสรุปได้ว่า: การวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพในประชากรเขตเมืองโดยเฉพาะในเรื่องของภาวะน้ำหนักเกิน ความดันโลหิตสูง และการเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน การวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรมและไมโครไบโอมชี้ให้เห็นถึงบทบาทของการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมและจุลินทรีย์ในลำไส้ต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการวางแผนและพัฒนากลยุทธ์ในการป้องกันโรคในอนาคตth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectโรคไม่ติดต่อth_TH
dc.subjectNoncommunicable Diseasesth_TH
dc.subjectความหลากหลายทางพันธุกรรมth_TH
dc.subjectHealth Behaviorth_TH
dc.subjectSingle Nucleotide Polymorphismsth_TH
dc.subjectโรคเรื้อรัง--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการศึกษาระยะยาวและติดตามโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและปัจจัยเสี่ยงของคนวัยทำงานเขตเมืองในบางกอกน้อย (โครงการศิริราชวันเฮลท์)th_TH
dc.title.alternativeSiriraj One Health Study: a Prospective Cohort and Follow up on Noncommunicable Disease and Risk Factors Among Urbanized Working Population in Bangkok Noi Districtth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeObjective: This study aims to follow long-term follow up of participants to assess changes in health conditions, biochemical markers, genetic risks, and behaviors influencing noncommunicable diseases (NCDs). Additionally, the study involved establishing a health database for monitoring urban working-age populations. Method: Participants included staff members of the Faculty of Medicine, Siriraj Hospital and their immediate relatives and individuals with continuous medical care rights at Siriraj Hospital. Assessments include blood tests, body composition, urinalysis, behavior questionnaires, and genetic studies, with some volunteers undergoing microbiome analysis. Health data is collected 2-3 times per year, with full health checks every 3-5 years. Results: Among 1,595 participants (370 males and 1,225 females), most of the participants were obesity class 1 and their waist circumferences were higher than normal. One-third of the participants had elevated average blood pressure and a diabetes incidence rate of 7.5%, with significantly higher rates in males compared to females (P < 0.001). Males were significantly more likely than females to engage in smoking, alcohol consumption, and physical activity (P < 0.05). Additionally, a slight eating jetlag was associated with a significantly increased risk of overweight (OR = 1.50, 95% CI: 1.02–2.20, P = 0.038). Genetic analysis of 536 participants revealed mutations in genes associated with an increased risk of genetic diseases, particularly breast cancer, Wilson’s disease, and cardiomyopathy. Microbiome analysis of 124 participants showed that the phylum Firmicutes were most prevalent in both obese and non-obese groups, without statistically significant differences (ns). Conclusion: This study identifies key risk factors associated with health conditions in urban populations, focusing on overweight, high blood pressure, and diabetes risk. Genetic and microbiome analyses elucidate the roles of genetic mutations and gut microbiota in the development of NCDs, providing valuable insights for the formulation and advancement of future disease prevention.th_TH
dc.identifier.callnoWA108 ก169ก 2567
dc.identifier.contactno65-126
dc.subject.keywordโรคไม่ติดต่อเรื้อรังth_TH
dc.subject.keywordศิริราชวันเฮลท์th_TH
dc.subject.keywordSiriraj One Healthth_TH
.custom.citationกรภัทร มยุระสาคร, Korapat Mayurasakorn, มานพ พิทักษ์ภากร, Manop Pithukpakorn, วินัย รัตนสุวรรณ, Winai Ratanasuwan, ภูมิ สุขธิติพัฒน์, Bhoom Suktitipat, ประพัฒน์ สุริยผล, Prapat Suriyaphol, ไอยฤทธิ์ ไทยพิสุทธิกุล and Iyarit Thaipisuttikul. "การศึกษาระยะยาวและติดตามโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและปัจจัยเสี่ยงของคนวัยทำงานเขตเมืองในบางกอกน้อย (โครงการศิริราชวันเฮลท์)." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6178">http://hdl.handle.net/11228/6178</a>.
.custom.total_download1
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs3196.pdf
ขนาด: 11.46Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย