แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านสุขภาพโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ เพื่อรับมือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในจังหวัดนครราชสีมา

dc.contributor.authorนิวัฒน์ชัย นามวิชัยศิริกุลth_TH
dc.contributor.authorNiwatchai Namwichaisirikulth_TH
dc.contributor.authorปัทมา ทองดีth_TH
dc.contributor.authorPattama Tongdeeth_TH
dc.contributor.authorพรทิพย์ นิ่มขุนทดth_TH
dc.contributor.authorPorntip Nimkuntodth_TH
dc.contributor.authorนรา สมัตถภาพงศ์th_TH
dc.contributor.authorNara Samattapapongth_TH
dc.contributor.authorสายันต์ แก่นนาคำth_TH
dc.contributor.authorSayan Kaennakamth_TH
dc.contributor.authorนฤชา ตนัยอัชฌาวุฒth_TH
dc.contributor.authorNarucha Tanaiutchawootth_TH
dc.contributor.authorคมกริช ฤทธิ์บุรีth_TH
dc.contributor.authorKhomkrit Ritburith_TH
dc.contributor.authorวราภรณ์ เริงฤทธิ์th_TH
dc.contributor.authorWaraporn Rernglitth_TH
dc.date.accessioned2024-10-28T07:45:11Z
dc.date.available2024-10-28T07:45:11Z
dc.date.issued2567-07
dc.identifier.otherhs3193
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6181
dc.description.abstractด้วยปัญหาการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง non-communicable diseases ; NCDs ที่พบว่าผู้ป่วยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น มีภาวะแทรกซ้อนมากขึ้นและโรคมีความซับซ้อนมากขึ้น รวมทั้งประเทศใช้งบประมาณในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้มากขึ้นด้วยในเวลาเดียวกัน การวิจัยครั้งนี้เป็น Participatory Action Research เป็นการทำงานร่วมกันของทีมวิจัยผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา ทั้งแพทย์ นักคณิตศาสตร์ วิศวกร นักสารสนเทศ ฯลฯ กับทีมสหสาขาวิชาชีพ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักกำหนดอาหาร นักวิชาการคอมพิวเตอร์ อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ฯลฯ ซึ่งเดิมผู้ให้บริการจะมีการบันทึกข้อมูลการวินิจฉัยและการรักษาในสมุดประจำตัวของผู้ป่วย และต้องนำข้อมูลที่อยู่ในสมุดประจำตัวผู้ป่วยมาบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นการทำงานที่ซ้ำซ้อน ส่วนผู้ป่วยอาจพบปัญหา เช่น ลืมสมุดบันทึก สมุดบันทึกหาย บันทึกข้อมูลไม่ครบถ้วน อ่านลายมือไม่ออก ทำให้ข้อมูลไม่ต่อเนื่อง และส่งผลให้เกิดปัญหาการสื่อสารข้อมูลผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล ทีมวิจัยจึงพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ในรูปแบบของแอปพลิเคชัน เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้กับระบบการให้บริการประชาชน โดยดำเนินการวิจัยใน 5 โรงพยาบาลนำร่องในจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ 1) โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 2) โรงพยาบาลปากช่องนานา 3) โรงพยาบาลโนนสูง 4) โรงพยาบาลสีคิ้ว และ 5) โรงพยาบาลจักราช ซึ่งหลังจากเห็นปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานดูแลผู้ป่วย NCDs ในพื้นที่แล้ว เช่น ภาระงานในการดูแลผู้ป่วย กระบวนการทำงานหลายขั้นตอน ซ้ำซ้อน ข้อมูลไม่มีการเชื่อมต่อระหว่างหน่วยบริการ ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนและมีความเสี่ยงทางคลินิกเฉพาะโรคเพิ่มขึ้น ระบบ Telemedicine ยังไม่ได้นำมาใช้อย่างจริงจัง ฯลฯ จึงมีการพัฒนาระบบบริการการดูแลผู้ป่วย NCDs โดยสร้างแอปพลิเคชันที่เรียกว่า A.I. ใจดี ซึ่งลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น เพิ่มขั้นตอนที่ให้คุณค่ากับการดูแลผู้ป่วยมากขึ้น มีระบบที่เป็นประโยชน์กับผู้ป่วย อาทิ ระบบสนับสนุนและเพิ่มความรู้/ทักษะในการดูแลตนเองอย่างถูกต้องเพื่อจัดการสุขภาพ, ระบบติดตามสภาวะและข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วยด้วยตนเอง, ระบบการแจ้งเตือนอัตโนมัติและการให้คำปรึกษาทางไกลโดยแพทย์/บุคลากรทางการแพทย์, ระบบประมวลผลข้อมูลเพื่อการทำนายทิศทาง/พยากรณ์โรคและความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน รวมทั้งมีระบบเสริมสร้างความรู้และทักษะของบุคลากรทางการแพทย์ในการใช้ AI เพื่อเป็นประโยชน์ทางด้านการแพทย์ ฯลฯ ผลจากการใช้ Application พบว่า ค่าน้ำตาลสะสมดีขึ้นกว่าเดิม โดยเฉลี่ยแล้วค่าน้ำตาล HbA1c ของผู้ป่วยมีค่าลดลงอยู่ที่ 45.45% เท่าเดิมหรือคงที่อยู่ที่ 33.33% และให้ผลแย่ลงอยู่ที่ 21.21% โดยพบว่า น้ำตาลสะสมที่ดีขึ้น HbA1c ลดลงจาก 12.4 เหลือ 8.7 และ 10.5 เหลือ 5.7 ซึ่งลดลงมาก นับเป็นการใช้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ดูแลผู้ป่วย และสนับสนุนให้ผู้ป่วยเข้าถึงการดูแลได้ง่ายขึ้น และสามารถดูแลตนเองได้ดีขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectMobile Applicationth_TH
dc.subjectแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือth_TH
dc.subjectArtificial Intelligenceth_TH
dc.subjectNoncommunicable Diseasesth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies)th_TH
dc.subjectปัญญาประดิษฐ์--การใช้ในการแพทย์th_TH
dc.titleข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านสุขภาพโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ เพื่อรับมือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในจังหวัดนครราชสีมาth_TH
dc.title.alternativeStrengthening a Competent Healthcare Workforce for the Provision of Smart and Humanized Healthcare Services by using Artificial Intelligence (A.I.) to Cope with Non-communicable Diseases in Nakhon Ratchasima Provinceth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis participatory action research addresses the growing challenges in caring for patients with non-communicable diseases (NCDs), including increasing patient numbers, complications, and disease complexity, alongside rising healthcare costs. The study involved collaboration between a multidisciplinary research team comprising doctors, mathematicians, engineers, and information scientists, and a healthcare team including physicians, nurses, pharmacists, dietitians, computer technicians, and village health volunteers. Previously, healthcare providers recorded diagnosis and treatment information in patients' personal booklets, which then had to be transferred to computer systems, resulting in redundant work. Patients often faced issues such as forgetting or losing their booklets, incomplete records, or illegible handwriting, leading to discontinuity of information and communication problems between hospitals. To address these issues, the research team developed an artificial intelligence (AI) technology in the form of an application. The study was conducted in five pilot hospitals in Nakhon Ratchasima province: 1 ) Suranaree University of Technology Hospital, 2) Pak Chong Nana Hospital, 3) Non Sung Hospital, 4) Sikhio Hospital, and 5) Chakkarat Hospital After identifying challenges in NCD patient care, such as high workload, complex and redundant processes, lack of data connectivity between service units, increasing patient complications and clinical risks, and limited use of telemedicine, the team developed an NCD patient care service system called "A.I. Jai Dee" (A.I. Kind Heart) application. This system reduces unnecessary steps, enhances value-added processes in patient care, and incorporates beneficial features for patients, including: 1. A support system to increase knowledge and skills for proper self-care and health management 2. A self-monitoring system for patients' health status and data 3. An automatic notification system and telemedicine consultation with medical professionals 4. A data processing system for disease trajectory prediction and complication risk assessment 5. A system to enhance medical personnel's knowledge and skills in utilizing AI for medical benefits This innovative approach aims to improve NCD patient care efficiency, reduce complications, and optimize healthcare resource utilization. The results from using the Application show that accumulated blood sugar improved by 45.45%, remained the same or stable at 3.33%, and worsened by 21.21%. It was found that the accumulated blood sugar improved when HbA1c decreased from 12.8 to 8.7 and from 10.5 to 5.7, which is a significant reduction. This technology may help and support the healthcare providers to empower and improve the patient’s self-care.th_TH
dc.identifier.contactno66-061
dc.subject.keywordA.I. ใจดีth_TH
dc.subject.keywordโรคไม่ติดต่อเรื้อรังth_TH
.custom.citationนิวัฒน์ชัย นามวิชัยศิริกุล, Niwatchai Namwichaisirikul, ปัทมา ทองดี, Pattama Tongdee, พรทิพย์ นิ่มขุนทด, Porntip Nimkuntod, นรา สมัตถภาพงศ์, Nara Samattapapong, สายันต์ แก่นนาคำ, Sayan Kaennakam, นฤชา ตนัยอัชฌาวุฒ, Narucha Tanaiutchawoot, คมกริช ฤทธิ์บุรี, Khomkrit Ritburi, วราภรณ์ เริงฤทธิ์ and Waraporn Rernglit. "ข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านสุขภาพโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ เพื่อรับมือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในจังหวัดนครราชสีมา." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6181">http://hdl.handle.net/11228/6181</a>.
.custom.total_download3
.custom.downloaded_today3
.custom.downloaded_this_month3
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year3

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs3193.pdf
ขนาด: 5.851Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย