dc.contributor.author | สุชาย ศรีทิพยวรรณ | th_TH |
dc.contributor.author | Suchai Sritippayawan | th_TH |
dc.contributor.author | อุษา ฉายเกล็ดแก้ว | th_TH |
dc.contributor.author | Usa Chaikledkaew | th_TH |
dc.contributor.author | มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์ | th_TH |
dc.contributor.author | Montarat Thavorncharoensap | th_TH |
dc.contributor.author | ศิตาพร ยังคง | th_TH |
dc.contributor.author | Sitaporn Youngkong | th_TH |
dc.contributor.author | ปิยะธิดา จึงสมาน | th_TH |
dc.contributor.author | Piyatida Chuengsaman | th_TH |
dc.contributor.author | ศศิมา ทองสาย | th_TH |
dc.contributor.author | Sasima Tongsai | th_TH |
dc.contributor.author | พนิดา อยู่เพ็ชร | th_TH |
dc.contributor.author | Panida Yoopetch | th_TH |
dc.contributor.author | นิภา อัยยสานนท์ | th_TH |
dc.contributor.author | Nipa Aiyasanon | th_TH |
dc.date.accessioned | 2024-10-28T09:30:26Z | |
dc.date.available | 2024-10-28T09:30:26Z | |
dc.date.issued | 2567-10 | |
dc.identifier.other | hs3198 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/6182 | |
dc.description.abstract | ปัจจุบัน การรักษาด้วยน้ำยา icodextrin และการล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ (automated PD, APD) ยังมีราคาแพงมาก การศึกษานี้ ต้องการศึกษาความเป็นได้ของการให้สิทธิประโยชน์การรักษา PD ด้วยน้ำยา icodextrin (CAPD with icodextrin) และ APD เฉพาะในเวลากลางคืน (night time intermittent PD) แก่ผู้ป่วย PD ผู้ใหญ่ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่มีภาวะน้ำและเกลือโซเดียมเกินในร่างกาย โดยการวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์ (cost utility analysis, CUA) ของการรักษาทั้งสองวิธีดังกล่าวข้างต้นเปรียบเทียบกับการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธี CAPD แบบใช้น้ำยากลูโคสทั้งหมด วิธีดำเนินการวิจัย ใช้รูปแบบการศึกษาแบบ stratified block randomization แบ่งผู้ป่วยออกเป็นสามกลุ่ม ได้แก่ ผู้ป่วยกลุ่ม CAPD, CAPD with icodextrin และ APD เพื่อศึกษาผลลัพธ์ทางคลินิกแล้วนำไปใช้ในการวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์ โดยคำนวณขนาดตัวอย่างจากการใช้ข้อมูลด้านคุณภาพชีวิต KDQOL-36 จากการศึกษาที่ผ่านมา ได้กลุ่มละ 60 ราย รวม 180 ราย ใน 16 โรงพยาบาล ทุกภาคทั่วประเทศ ซึ่งแต่ละโรงพยาบาลจะมีผู้ป่วยโรงพยาบาล 12 ราย กลุ่มละ 4 ราย (ยกเว้นมีสองโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยโรงพยาบาลละ 6 ราย) และตรวจติดตามผู้ป่วยทุกสองเดือนในส่วนของความดันเลือด ระดับเกลือแร่ต่าง ๆ ระดับฮีโมโกลบินและไขมันในเลือด ความเพียงพอของการล้างไตและการขจัดของสารต่าง ๆ ผ่านทางการล้างไตทางช่องท้อง อัตราการรอดชีวิต การติดเชื้อที่เยื่อบุช่องท้อง การเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุช่องท้อง จำนวนและชนิดยาที่ใช้ คุณภาพชีวิต EQ-5D-5L และ KDQOL-36 ไทย การศึกษานี้ใช้แบบจำลอง Markov model ในการประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ ตัวแปรที่ใช้ในแบบจำลอง ได้แก่ ตัวแปรด้านคลินิก และ transitional probability ได้จากข้อมูลที่เกิดขึ้นใน 16 โรงพยาบาล ข้อมูลต้นทุนทางตรงที่เกี่ยวกับการแพทย์ได้จากข้อมูลค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดจากฐานข้อมูลของโรงพยาบาล ในส่วนของข้อมูลค่าอรรถประโยชน์ และต้นทุนทางตรงที่ไม่เกี่ยวกับทางการแพทย์ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ป่วย สำหรับค่าอรรถประโยชน์วัดโดยใช้เครื่องมือ EQ-5D-5L การวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์ศึกษาในมุมมองของรัฐบาลและทางสังคม กำหนดกรอบระยะเวลาในการศึกษาคือตลอดช่วงชีวิตของผู้ป่วย และมีการใช้อัตราลดร้อยละ 3 ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนรวมตลอดชีพของ CAPD with icodextrin, APD และ CAPD ในมุมมองของรัฐบาลเท่ากับ 2,636,565 2,008,802 และ 1,804,929 บาท โดยมีปีสุขภาวะเท่ากับ 3.80 2.54 และ 2.76 QALYs ตามลำดับ และในมุมมองทางสังคมพบว่า ต้นทุนรวมตลอดชีพของ CAPD with icodextrin, APD และ CAPD เท่ากับ 3,429,977 2,623,402 และ 2,487,161 บาท และมีปีสุขภาวะเท่ากับ 3.80 2.54 และ 2.76 QALYs ตามลำดับ ในมุมมองของรัฐบาลและมุมมองทางสังคม พบว่า เมื่อเทียบกับ CAPD อัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่มของ CAPD with icodextrin เท่ากับ 801,315 และ 908,440 บาทต่อปีสุขภาวะที่เพิ่มขึ้น และอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่มของ APD พบว่า มีค่าติดลบ เนื่องจากก่อให้เกิดต้นทุนรวมที่เพิ่มขึ้นแต่ปีสุขภาวะลดลง นอกจากนี้ หากพิจารณาตามเกณฑ์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของประเทศไทยเท่ากับ 160,000 บาทต่อปีสุขภาวะที่เพิ่มขึ้น ในมุมมองทางสังคม CAPD จะเป็นทางเลือกที่มีโอกาสคุ้มค่าเท่ากับร้อยละ 90 โดยผลที่ได้ดังกล่าวจะเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งที่ช่วยกำหนดแนวทางการรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ล้างไตผ่านหน้าท้องภายใต้ความสามารถในการจ่ายได้ในมุมมองเชิงสังคมต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Renal Disease | th_TH |
dc.subject | Chronic Kidney Disease | th_TH |
dc.subject | โรคไตเรื้อรัง | th_TH |
dc.subject | ไตวายเรื้อรัง | th_TH |
dc.subject | การล้างไตทางช่องท้อง | th_TH |
dc.subject | หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ | th_TH |
dc.subject | Universal Coverage Health Insurance | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การศึกษาถึงความเป็นไปได้ของโครงการการให้บริการการล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติและน้ำยาไอโคเด็กซตรินสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายผู้ใหญ่ที่มีภาวะน้ำและเกลือโซเดียมเกินในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ปีที่ 3) | th_TH |
dc.title.alternative | Feasibility Study of the Inclusion of Automated Peritonieal Dialysis and Icodextrin Solution for Fluid Overload Adult Chronic ESKD Patients in the National Health Security System of Thailand (Year 3) | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Currently, the use of icodextrin solution and automated peritoneal dialysis (APD)
remains very expensive. This study aims to evaluate the feasibility of providing PD treatment
with icodextrin solution (CAPD with icodextrin) and nighttime intermittent PD (NIPD, APD during
night) for adult PD patients under the National Health Security System who suffer from fluid
and sodium overload. A cost-utility analysis (CUA) was conducted to compare these two
treatment methods with CAPD using only glucose-based solutions in PD patients.
Research Methodology: The study employed a stratified block randomization design, dividing
patients into 3 groups: CAPD, CAPD with icodextrin, and APD. Clinical outcomes were studied
and utilized for CUA. The sample size was calculated using KDQOL-36 quality of life data from
previous studies, resulting in 60 patients per group, totaling 180 patients from 16 hospitals
nationwide. Each hospital enrolled 12 patients, 4 per group. Patients were monitored every
two months for blood pressure, electrolyte levels, hemoglobin, lipid levels, dialysis adequacy,
solute removal via PD, survival rates, peritonitis incidence, peritoneal membrane changes, the
number and types of medications used, and quality of life using EQ-5D-5L and KDQOL-36
(Thai) tools. Markov model was use to evaluate cost-utility. Variables used in the model
included clinical variables and transitional probabilities derived from data collected in the 16
hospitals. Direct medical cost data were obtained from hospital databases, while utility and
non-medical direct cost data were gathered through patient interviews. Utility values were
measured using the EQ-5D-5L tool. The CUA was conducted from both governmental and
societal perspectives, with a lifetime study horizon and a 3% discount rate.
Results: From the governmental perspective, the lifetime costs of CAPD with icodextrin, APD,
and CAPD were 2,636,565, 2,008,802, and 1,804,929 THB, respectively, with quality-adjusted
life years (QALYs) of 3.80, 2.54, and 2.76, respectively. From a societal perspective, the lifetime
costs of CAPD with icodextrin, APD, and CAPD were 3,429,977, 2,623,402, and 2,487,161 THB,
with QALYs of 3.80, 2.54, and 2.76, respectively. In both governmental and societal
perspectives, compared to CAPD, the incremental cost-effectiveness ratio (ICER) of CAPD with
icodextrin was 801,315 THB per additional QALY and 908,440 THB per additional QALY from a
societal perspective. The ICER for APD was negative, as it resulted in increased costs with fewer
QALYs. Additionally, considering Thailand’s cost-effectiveness threshold of 160,000 THB per
additional QALY, CAPD had a 90% probability of being the most cost-effective option from a
societal perspective. These findings will serve as important data for shaping treatment
guidelines for end-stage renal disease patients undergoing peritoneal dialysis, in line with
societal affordability. | th_TH |
dc.identifier.contactno | 67-003 | |
dc.subject.keyword | ประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ | th_TH |
.custom.citation | สุชาย ศรีทิพยวรรณ, Suchai Sritippayawan, อุษา ฉายเกล็ดแก้ว, Usa Chaikledkaew, มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์, Montarat Thavorncharoensap, ศิตาพร ยังคง, Sitaporn Youngkong, ปิยะธิดา จึงสมาน, Piyatida Chuengsaman, ศศิมา ทองสาย, Sasima Tongsai, พนิดา อยู่เพ็ชร, Panida Yoopetch, นิภา อัยยสานนท์ and Nipa Aiyasanon. "การศึกษาถึงความเป็นไปได้ของโครงการการให้บริการการล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติและน้ำยาไอโคเด็กซตรินสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายผู้ใหญ่ที่มีภาวะน้ำและเกลือโซเดียมเกินในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ปีที่ 3)." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6182">http://hdl.handle.net/11228/6182</a>. | |
.custom.total_download | 2 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 2 | |
.custom.downloaded_this_year | 2 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 2 | |