Show simple item record

Development of Recommendation and Guidance on Management of Educational Climate of Residents Trained at Thailand’s Medical Schools

dc.contributor.authorปริญญา ชำนาญth_TH
dc.contributor.authorParinya Chamnanth_TH
dc.contributor.authorดนัย วังสตุรคth_TH
dc.contributor.authorDanai Wangsaturakath_TH
dc.contributor.authorวาสนา หงษ์กันth_TH
dc.contributor.authorWasana Hongkanth_TH
dc.contributor.authorศรัญญา ประทัยเทพth_TH
dc.contributor.authorSaranya Prathaithepth_TH
dc.contributor.authorศิวัช เตชวรนันท์th_TH
dc.contributor.authorSiwat Techavoranantth_TH
dc.date.accessioned2024-10-29T08:05:40Z
dc.date.available2024-10-29T08:05:40Z
dc.date.issued2567-07
dc.identifier.otherhs3199
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6184
dc.description.abstractที่มาและความสำคัญ สิ่งแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ของโรงเรียนแพทย์และภาควิชาต่าง ๆ เป็นส่วนสำคัญของหลักสูตรที่มีผลต่อความพึงพอใจและผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ของผู้เรียน การประเมินการรับรู้บรรยากาศการเรียนรู้ของผู้เรียนน่าจะสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ในการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนา ปรับปรุงของคณะ ภาควิชาหรือโรงเรียนแพทย์ได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ข้อมูลการประเมินการรับรู้ของแพทย์ประจำบ้านเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ในสถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านในประเทศไทยมีอยู่น้อยมากและเป็นการศึกษาขนาดเล็ก โดยเป็นการศึกษาในสถาบันเดียว หรือศึกษาในสาขาการฝึกอบรม ยังไม่มีงานวิจัยที่ศึกษาและเปรียบเทียบสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ของแพทย์ประจำบ้านระหว่างสาขาและสถาบันฝึกอบรมที่แตกต่างกัน วัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและทดสอบเครื่องมือประเมินสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ของแพทย์ประจำบ้านฉบับภาษาไทย (Thai Residency Educational Climate Test: T-RECT) 2) เพื่อประเมินสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ของแพทย์ประจำบ้านในโรงเรียนแพทย์และสถาบันฝึกอบรมของประเทศไทย ระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบสำรวจภาคตัดขวางในหลายศูนย์ (Cross-sectional multi-center survey study) โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ เพื่อศึกษาสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ของแพทย์ประจำบ้าน และแพทย์ที่อยู่ระหว่างการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางในสถาบันฝึกอบรมในประเทศไทย โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาเครื่องมือประเมินบรรยากาศการเรียนรู้ของแพทย์ประจำบ้านที่เรียกว่า Thai Residency Educational Climate Test (T-RECT) จากการทบทวนวรรณกรรมและคัดเลือกข้อคำถามโดยผู้เชี่ยวชาญด้วยวิธี modified Delphi technique และวิเคราะห์ Factor analysis และระยะที่ 2 การสำรวจสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ในแพทย์ประจำบ้านในสาขาหลัก คือ อายุรศาสตร์ ศัลยศาสตร์ กุมารเวชศาสตร์ สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ออร์โธปิดิก เวชศาสตร์ครอบครัว รวมถึงสาขาอื่น ๆ ในสถาบันฝึกอบรมหลักทั้งโรงเรียนแพทย์/กรมการแพทย์ และในสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยทำการวิเคราะห์ค่าคะแนนเฉลี่ย (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ของคะแนนสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ของแพทย์ประจำบ้านในภาพรวม และแยกตามหมวดต่าง ๆ เพื่อให้เห็นถึงโอกาสพัฒนาในการปรับปรุงหลักสูตรหรือสิ่งแวดล้อมในการอบรมแพทย์ประจำบ้าน และเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ย (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ของคะแนนสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ของแพทย์ประจำบ้านระหว่างชั้นปีสาขาที่ฝึกอบรม และประเภทของสถาบันฝีกอบรม โดยใช้สถิติ independent t-test และ ANOVA ผลการศึกษา การศึกษาในระยะที่ 1 ผู้วิจัยได้พัฒนาเครื่องมือประเมินสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ของแพทย์ประจำบ้านของประเทศไทยขึ้น โดยมีข้อคำถามใน 7 หมวด รวม 49 ข้อ โดยผลการประเมินความเชื่อมั่นในระดับสูง (Cronbach’s alpha = 0.80-0.95) และในการศึกษาระยะที่ 2 ซึ่งทำการสำรวจออนไลน์โดยมีแพทย์ประจำบ้านที่ตอบแบบสอบถามจำนวนทั้งหมด 756 คน จาก 6 สาขาหลัก และสาขาย่อยอื่น ๆ โดยเป็นแพทย์ประจำบ้านที่ฝึกอบรมในชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 4 และ 3 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสอบถามมาจากสถาบันฝึกอบรมในสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผลการสำรวจพบว่า โดยรวม แพทย์ประจำบ้านรายงานคะแนนสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ของสถาบันฝึกอบรมค่อนข้างสูง ด้วยคะแนนค่าเฉลี่ย 173.34 คะแนน จากคะแนนเต็ม 245 คะแนน เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยของคะแนนแยกรายหมวดพบว่า หมวด “อาจารย์ผู้สอน” ได้คะแนนสูงที่สุด ในขณะที่ “กิจกรรมวิชาการ การจัดหลักสูตร และระบบการสนับสนุนผู้เรียน” และ “สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ สถานที่ ห้องพัก ห้องสมุดและแหล่งศึกษาค้นคว้า” ได้คะแนนต่ำที่สุด น่าจะเป็นโอกาสพัฒนาที่สำคัญในภาพรวม พบว่าคะแนนสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้มีความแตกต่างกันระหว่างชั้นปี สาขาฝึกอบรม และประเภทสถาบันฝึกอบรม โดยพบว่าแพทย์ประจำบ้านสาขาออร์โธปิดิกส์ รายงานค่าคะแนนสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้สูงที่สุด ในขณะที่แพทย์ประจำบ้านสาขาอายุรกรรม รายงานค่าคะแนนต่ำที่สุด และแพทย์ประจำบ้านที่ฝึกอบรมในสถาบันฝึกอบรมที่เป็นโรงเรียนแพทย์/กรมการแพทย์ รายงานสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ที่สูงกว่าแพทย์ประจำบ้านจากสถาบันฝึกอบรมในสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข แพทย์ประจำบ้านจากโรงเรียนแพทย์และกรมการแพทย์ รายงานค่าคะแนนหมวด “กิจกรรมวิชาการ การจัดหลักสูตร และระบบการสนับสนุนผู้เรียน” และ “สิ่งแวดล้อมทางกายภาย สถานที่ ห้องพัก ห้องสมุดและแหล่งศึกษาค้นคว้า” สูงกว่าแพทย์ประจำบ้านจากสถาบันฝึกอบรมในสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข อย่างไรก็ตาม แพทย์ประจำบ้านจากสถาบันฝึกอบรมในสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขรายงานค่าคะแนนสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้หมวด “เพื่อนร่วมงาน และทีมรักษา” และ “ผู้ป่วย และโอกาสการเรียนรู้จากผู้ป่วย” สูงกว่าโรงเรียนแพทย์และกรมการแพทย์ สรุปผลและข้อเสนอแนะ 1) การประเมินสิ่งแวดล้อมบรรยากาศการเรียนรู้แพทย์ประจำบ้านที่ได้ จะสามารถนำไปตอบมาตรฐาน WFME ของการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านของสถาบันได้หลายมาตรฐาน ราชวิทยาลัยทางการแพทย์และสถาบันฝึกอบรมจึงควรผลักดันให้มีการประเมินให้สถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อใช้ในการหาโอกาสพัฒนาของหลักสูตรและการเรียนการสอนแพทย์ประจำบ้านของสถาบันแต่ละสถาบันและในภาพรวมของราชวิทยาลัย และเพื่อใช้ในการติดตามและประเมินผลหลังการพัฒนาหลักสูตรด้วย และสำหรับสถาบันฝึกอบรมในสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขสามารถนำไปพัฒนาให้สอดคล้องกับการพัฒนาและยกระดับโรงพยาบาลตามกรอบ SAP (Service-Academic Premium/Professional) 2) กระทรวงสาธารณสุขควรจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านของสถาบันฝึกอบรมในสังกัดให้ชัดเจน 3) ควรกำหนดให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องทิศทางนโยบาย แผนการผลิตและพัฒนาแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งควรรับผิดชอบดูแลทั้งแพทย์ก่อนและหลังปริญญาth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectแพทย์ประจำบ้านth_TH
dc.subjectแพทย์ฝึกหัดและแพทย์ประจำบ้านth_TH
dc.subjectแพทยศาสตร์, การศึกษาth_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce)th_TH
dc.titleการพัฒนาข้อเสนอและแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ของแพทย์ประจำบ้านในโรงเรียนแพทย์และสถาบันฝึกอบรมของประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of Recommendation and Guidance on Management of Educational Climate of Residents Trained at Thailand’s Medical Schoolsth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeBackground Educational climate within medical schools and various departments is an important part of the curriculum, which has reportedly been associated with students' satisfaction and learning outcomes. Assessing residents’ perceptions of the learning environment could be beneficial to inform targets in the improvement of curriculum, teaching programs or medical schools. However, limited evidence exists to describe residents' perceptions of the learning environment in training institutions across Thailand. Previous studies were small or focused on a single specialist, with no formal comparison in residents’ educational climate across different specialties and training institutions. Objectives 1. To develop and validate a Thai version of the residency educational climate assessment tool (Thai Residency Educational Climate Test: T-RECT) 2. To assess the educational climate of residents in medical schools and training institutions in Thailand Methods This was a cross-sectional multi-center online survey to assess the learning environment and climate among residents and physicians undergoing specialized training in training institutions across Thailand. In Phase 1 we developed and validated the residency educational climate assessment tool through literature review, modified Delphi technique and factor analysis. In Phase 2, an online questionnaire was sent to residents in major specialties, including Internal Medicine, Surgery, Pediatrics, Obstetrics and Gynecology, Orthopedics, Family Medicine, as well as other specialties in primary training institutions, which include medical schools and those under the Ministry of Public Health. Mean (standard deviation) educational climate scores were described, overall and by characteristics of residents and training institutions. Comparisons of the educational climate scores across different training years, specialties, and types of training institutions were made using independent t-tests and ANOVA. Results In Phase 1, a new educational climate assessment tool was developed and it contains 49 questions across 7 categories with high reliability (Cronbach’s alpha = 0.80-0.95). In Phase 2, 756 residents from major specialties and others responded to the online questionnaire. Three-quarters of all respondents were from training institutions affiliated with the Ministry of Public Health. Residents reported relatively high scores for their learning environment and atmosphere, with an average score of 173.34 out of 245 points. Specifically, Subscale "teachers" received the highest scores, while Subscales "academic activities, curriculum organization, and student support systems" and "physical environment, facilities, libraries, and study resources" received the lowest scores, underscoring opportunities for improvement. Educational climate scores varied across training years, specialties, and types of training institutions. Notably, orthopedic residents reported the highest scores for the learning environment and atmosphere, whereas those in internal medicine reported the lowest scores. Residents training in medical schools/ Medical Services Department reported higher scores in Subscales “academic activities, curriculum and learner support system” and “physical environment, accomodations, library and resources foe literature search” than those from training institutions within the Office of Permanent Secretary, Ministry of Public Health (P<0.05). However, those from training institutions within the Office of Permanent Secretary reported higher scores in Subscale “colleagues and care team” and “patients and learning opportunities from patients" than their medical school counterpart (P<0.05). Implications 1) As assessment of residents’ learning environment and climate would help inform many WFME standards, Royal Colleges, medical schools and training institutions should promote regular assessment of educational climate to identify opportunities for improvement of curricula and teaching methods for residency programs. Assessment of educational climate should be integrated into monitoring and evaluation processes of any curriculum development. Additionally, training institutions under the Ministry of Public Health can leverage this information to align with the SAP (Service-Academic-Premium/Professional) developmental framework. 2) The Ministry of Public Health should allocate adequate budgets to support residency training in affiliated institutions. 3) A responsible agency should be established within the Ministry of Public Health to develop and oversee policy decision and implementation in production and professional development of physicians.th_TH
dc.identifier.contactno66-046
.custom.citationปริญญา ชำนาญ, Parinya Chamnan, ดนัย วังสตุรค, Danai Wangsaturaka, วาสนา หงษ์กัน, Wasana Hongkan, ศรัญญา ประทัยเทพ, Saranya Prathaithep, ศิวัช เตชวรนันท์ and Siwat Techavoranant. "การพัฒนาข้อเสนอและแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ของแพทย์ประจำบ้านในโรงเรียนแพทย์และสถาบันฝึกอบรมของประเทศไทย." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6184">http://hdl.handle.net/11228/6184</a>.
.custom.total_download9
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month4
.custom.downloaded_this_year9
.custom.downloaded_fiscal_year9

Fulltext
Icon
Name: hs3199.pdf
Size: 1.848Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record