dc.contributor.author | ชวรัช โรจนประเสริฐ | th_TH |
dc.contributor.author | Chawarat Rotejanaprasert | th_TH |
dc.contributor.author | นพมาส เครือสุวรรณ | th_TH |
dc.contributor.author | Noppamas Kruasuwan | th_TH |
dc.contributor.author | อาภาพร กฤษณพันธุ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Apaporn Kitsanapun | th_TH |
dc.contributor.author | ณรงค์ ใจเที่ยง | th_TH |
dc.contributor.author | Narong Chaitiang | th_TH |
dc.contributor.author | มณีรัตน์ เอกพงศ์ไพสิฐ | th_TH |
dc.contributor.author | Maneerat Ekkapongpisit | th_TH |
dc.contributor.author | มนภัทร จงดีไพศาล | th_TH |
dc.contributor.author | Monnaphat Jongdeepaisal | th_TH |
dc.contributor.author | James Maude, Richard | th_TH |
dc.date.accessioned | 2024-10-30T07:35:32Z | |
dc.date.available | 2024-10-30T07:35:32Z | |
dc.date.issued | 2567-05 | |
dc.identifier.other | hs3187 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/6185 | |
dc.description.abstract | บทบาทและหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ. 2554 ได้มีการส่งเสริมให้ อสม. มีบทบาทที่เน้นการเสริมสร้างสุขภาพประชาชนในชุมชนโดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง อีกทั้งยังมีการเน้นให้ อสม. มีทักษะและเพิ่มความรู้เพื่อเป็นผู้นำและจัดการด้านสุขภาพของชุมชน และมีการเชื่อมโยงบทบาทกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) นอกจากนี้ ยังมีการระบุบทบาทที่ อสม. ควรพัฒนาเพิ่มเติมในอนาคต เพื่อตอบสนองต่อแนวโน้มปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยในอนาคต อย่างไรก็ตาม ตามที่มีการโอนถ่ายการบริหารส่วนท้องถิ่นซึ่งอาจจะมีกระทบต่อบทบาทการทำงานของ อสม. อีกทั้งเพื่อเป็นการตอบสนองต่อการเสริมสร้างบริการสุขภาพและการพัฒนาชุมชนหลังมีการถ่ายโอน รพ.สต. ไปองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) โดยให้มีการบริการของ อสม. ภายใต้การถ่ายโอนภารกิจที่มีการสอดคล้องกับระบบสาธารณสุขที่เปลี่ยนไป โครงการวิจัยนี้ออกแบบการศึกษาวิจัยเชิงอนาคตโดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกในรายละเอียดและสะท้อนมุมมองความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับคำถามวิจัยจากกลุ่มผู้บริหารระดับสูงและผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญของการวิจัยภายใต้การถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุขให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของจังหวัดกาญจนบุรี โดยวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้ เป็นไปดังนี้ 1. เพื่อระบุและอธิบายความรู้ ความสามารถของ อสม. ก่อนและหลังการถ่ายโอน ตลอดจนความท้าทายของการถ่ายโอน รพ.สต. ในอำเภอท่าม่วง ไปอยู่ใต้การดำเนินงานของ อบจ. กาญจนบุรี 2. เพื่อพัฒนาบทบาทการทำงานของ อสม. ที่ตอบสนองต่อการเสริมสร้างบริการสุขภาพและการพัฒนาชุมชนหลังมีการถ่ายโอน รพ.สต. ไป อบจ.กาญจนบุรี และ 3. เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับ อสม. ในการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันโรคในพื้นที่ที่มีการถ่ายโอน รพ.สต. ไป อบจ.กาญจนบุรี ผลการวิจัยพบว่า ตามจุดประสงค์ที่ 1. หน้าที่หลักของ อสม. ยังคงเห็นว่าควรเป็นเหมือนเดิม แต่การเปลี่ยนแปลงในองค์กรสาธารณสุขระดับท้องถิ่นมีผลกระทบต่อการทำงานของ อสม. โดย อสม. ต้องพัฒนาทักษะในการใช้เทคโนโลยี เพื่อช่วยในการบันทึกและรายงานผลการทำงาน และจำเป็นต้องมีการฝึกอบรมเพิ่มเติม อีกทั้งยังต้องมีการสร้างความเข้าใจในเรื่องของสิทธิประโยชน์และค่าตอบแทน เพื่อลดความสับสนและเพิ่มความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของระบบการทำงาน ในขณะเดียวกัน การประสานงานต้องผ่าน อบจ. และองค์กรสาธารณสุขอำเภอแต่ อสม. ยังคงทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ รพ.สต. โดยมีการเพิ่มภาระงานเพื่อทำให้การทำงานของ อสม. ตรงตามนโยบายและข้อตกลงร่วมกัน สรุปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงนี้อาจทำให้การทำงานซับซ้อนขึ้น แต่การสนับสนุนและควบคุมเป็นสิ่งสำคัญในการให้บริการสุขภาพในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามจุดประสงค์ที่ 2. ความสามารถและความรู้ของ อสม. ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งอาจส่งผลให้การบริหารจัดการสาธารณสุขของหน่วยงานท้องถิ่นมีความเป็นไปได้ที่จะไม่สามารถสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนได้อย่างทั่วถึง ศักยภาพที่ควรพัฒนาเพิ่มเติม ได้แก่ ทักษะการใช้เครื่องมือ การบันทึกข้อมูลที่ถูกต้อง ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม ความท้าทายก็อยู่ที่ความไม่เท่าเทียมในระดับความสามารถและความรู้ของเจ้าหน้าที่ อสม. นอกจากนี้ การส่งเสริมความยอมรับและความเข้าใจในบทบาทของ อสม. ในชุมชนเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากบางชุมชนอาจมีการมองว่าบริการจาก อสม. ไม่จำเป็น หรือไม่เคยมีประสบการณ์ในการรับบริการจาก อสม. มาก่อน ดังนั้น การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและความเข้าใจในบทบาทของ อสม. ในชุมชนจึงเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาบริการสุขภาพในระดับท้องถิ่น ตามจุดประสงค์ข้อที่ 3. การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในท้องถิ่นมีความสำคัญต่อการพัฒนาและสนับสนุนงานในของ อสม. ควรส่งเสริมให้มีการทำงานแบบบูรณาการ ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีอย่างต่อเนื่อง มีนโยบายร่วมกันระหว่าง อบจ. และ สสจ. และมีการจัดทำแผนงานร่วมเพื่อความชัดเจนในการมอบหมายงานในความรับผิดชอบ โดยควรให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน เพื่อสนับสนุนงานและการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง การสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสร้างความตื่นตัวในการทำงานของ อสม. อย่างต่อเนื่อง และการให้ผู้บริหารเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานของ อสม. โดยเฉพาะผู้นำท้องถิ่น การพัฒนาศักยภาพ อสม. ในการทำงานด้านสาธารณสุขและการจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาต่อในระดับต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความรู้และทักษะที่เป็นมาตรฐาน การสนับสนุนเครื่องมือในการปฏิบัติงาน การจัดสวัสดิการ และการกำหนดหลักเกณฑ์การรับเข้า การลาออก และการเบิกค่าตอบแทน เป็นสิ่งที่สำคัญในการพัฒนา อสม. และสนับสนุนงานในชุมชนให้ดียิ่งขึ้นในระดับต่าง ๆ ในท้องถิ่น | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน | th_TH |
dc.subject | Village Health Volunteers | th_TH |
dc.subject | นโยบายสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Policy | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.subject | การถ่ายโอนสถานีอนามัย | th_TH |
dc.subject | การกระจายอำนาจปกครอง | th_TH |
dc.subject | องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | th_TH |
dc.title | ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลภายใต้การถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุขให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาในอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี | th_TH |
dc.title.alternative | Policy Recommendations for the Implementation of Village Health Volunteers with Primary Care Hospitals under the Transfer of Public Health Missions to Local Administrative Organizations: a Case Study in Tha Muang district, Kanchanaburi Province | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The regulations emphasize enhancing the role of village health volunteers (VHVs) in
promoting community health, especially among vulnerable groups. VHVs are encouraged to
develop skills and knowledge to become community health leaders and managers, with their
roles linked to Subdistrict Health Promoting Hospitals (SHPH). The regulations also outline how
VHVs should adapt to future public health trends in Thailand.
However, the decentralization of local administration may impact the roles of VHVs.
This research project aims to align VHV services with the evolving public health system after
the transfer of SHPHs to Provincial Administrative Organizations (PAOs). The study employs
qualitative research techniques to gather detailed insights and perspectives from senior
executives and experts, focusing on the transfer of public health responsibilities to local
administrative organizations in Kanchanaburi Province.
The research objectives of this study were: 1) To identify and explain the knowledge
and capabilities of VHVs before and after the transfer, and the challenges faced in transferring
SHPHs in Tha Muang District to the administration of Kanchanaburi PAO; 2) To develop the
roles of VHVs to enhance health services and community development following the transfer
of SHPHs to Kanchanaburi PAO; and 3) To develop policy recommendations for VHVs to
promote disease prevention behaviors in areas where SHPHs have been transferred to
Kanchanaburi PAO.
According to the first objective, the primary roles of VHVs remain unchanged, but
changes in local health organizations affect their work. VHVs need to develop technology skills
for recording and reporting work results and require additional training. There is also a need
for clarity regarding benefits and compensation to reduce confusion and enhance
understanding of the system changes. Coordination must pass through PAOs and district health
organizations, but VHVs continue to work with SHPH staff, with increased workloads to align
their work with policies and agreements. While these changes may complicate their work,
support and supervision are crucial for effective community health services.
Furthermore, there is a disparity in the capabilities and knowledge of VHVs, which may lead
to inconsistencies in local health management. Skills needing improvement include using
tools, accurate data recording, and IT proficiency, especially among the elderly. Addressing
unequal abilities and knowledge levels among VHVs is a challenge. Additionally, promoting
acceptance and understanding of VHVs' roles within the community is essential, as some
communities may not see VHV services as necessary or may lack prior experience with them.
Building trust and understanding of VHVs' roles is crucial for improving local health services.
For the last objective, collaboration between local agencies is vital for developing and
supporting VHVs' work. Integrated work and cooperation between agencies should be
encouraged to build ongoing positive relationships. Joint policies between PAOs and Provincial
Health Offices (PHOs) and collaborative work plans should be established for clear task
assignments. Emphasizing inter-agency cooperation and continuous data collection support is
important. Creating forums for knowledge exchange to maintain VHV engagement and
involving local leaders in VHV work are also necessary. Enhancing VHVs' public health work
capacity, allocating budgets for further education at various levels to standardize knowledge
and skills, supporting work tools, providing welfare, and setting criteria for admission,
resignation, and compensation are key to improving VHVs and supporting community work at
various local levels. | th_TH |
dc.identifier.callno | WA540.JT3 ช281ข 2567 | |
dc.identifier.contactno | 66-051 | |
dc.subject.keyword | การกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject.keyword | Health Decentralization | th_TH |
dc.subject.keyword | Health Decentralize | th_TH |
dc.subject.keyword | การกระจายอำนาจด้านสุขภาพ | th_TH |
.custom.citation | ชวรัช โรจนประเสริฐ, Chawarat Rotejanaprasert, นพมาส เครือสุวรรณ, Noppamas Kruasuwan, อาภาพร กฤษณพันธุ์, Apaporn Kitsanapun, ณรงค์ ใจเที่ยง, Narong Chaitiang, มณีรัตน์ เอกพงศ์ไพสิฐ, Maneerat Ekkapongpisit, มนภัทร จงดีไพศาล, Monnaphat Jongdeepaisal and James Maude, Richard. "ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลภายใต้การถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุขให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาในอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6185">http://hdl.handle.net/11228/6185</a>. | |
.custom.total_download | 9 | |
.custom.downloaded_today | 3 | |
.custom.downloaded_this_month | 3 | |
.custom.downloaded_this_year | 9 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 9 | |